วันอาทิตย์, กันยายน 23, 2555

OMG ช็อกไปตามๆกัน >>> นักประวัติศาสตร์เผยพระเยซูอาจมีเมีย


นักประวัติศาสตร์และผู้สนใจถกเถียงกันมาช้านานว่าพระเยซูแห่งนาซาเรธเคยแต่งงานมีเมียหรือไม่ บุคคลที่ต้องสงสัยที่สุดว่าเป็นเมียของเยซู คือ สาวกหญิงที่มีชื่อว่า Mary Magdalene หรือ Mary of Magdala ซึ่งเป็นคนแรกที่พบกับพระเยซูหลังจากที่เขาคืนชีพขึ้นมาจากการตรึงกางเขน (บางคนก็เชื่อกันว่า Mary เมียพระเยซูคนนี้นี่แหละที่เป็นจัดเตรียมเรือให้พระเยซูลี้ภัยหนีทหารโรมันไปทางตะวันออก)
Karen L. King แห่ง Harvard Divinity School คิดว่าเธอได้เจอเข้ากับหลักฐานชิ้นสำคัญของคดีนี้แล้ว หลักฐานชิ้นนั้นคือเศษกระดาษพาพีรัสชิ้นเล็กๆ ที่บรรจุข้อความบ่งบอกว่าพระเยซูพูดถึงเมียของเขา
ข้อความบนกระดาษพาพีรัสเขียนด้วยอักษรคอพติกซึ่ง Karen L. King ถอดความเป็นภาษาอังกฤษได้ดังนี้
not [to] me. My mother gave to me li[fe]
The disciples said to Jesus
deny. Mary is worthy of it
Jesus said to them, My wife
she will be able to be my disciple
Let wicked people swell up
As for me, I dwell with her in order to
....an image...

ภาพจาก New York Times
กระดาษชิ้นนี้มีขนาดประมาณแผ่นนามบัตร เจ้าของคนปัจจุบันซึ่งเป็นนักสะสมของโบราณหายาก (เจ้าของคนปัจจุบันไม่ยอมเปิดเผยชื่อและรายละเอียดส่วนตัวไปมากกว่านี้) ติดต่อหา Karen L. King ทางอีเมลเนื่องจากอยากให้เธอช่วยแปลข้อความบนนั้น พร้อมกับได้ให้ข้อมูลว่าเขาได้กระดาษพาพีรัสชิ้นนี้มาจากการเหมาซื้อเอกสารพาพีรัสโบราณในปี 1997 ดังนั้นปัจจุบันจึงไม่มีใครรู้ว่ามันถูกค้นพบที่ไหน เจ้าของเดิมเป็นคนเยอรมันชื่อว่า H. U. Laukamp ซึ่งเสียชีวิตไปแล้ว สิ่งที่ติดมาด้วยกับกระดาษพาพีรัสมีเพียงจดหมายและบันทึกสั้นๆ
จดหมายลงชื่อว่าเป็นของ ศ. Peter Munro แห่ง Freie Universität ในกรุงเบอร์ลินและลงวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1982 ส่วนบันทึกไม่ได้ลงทั้งชื่อและวันที่ แต่ก็เดาได้ว่าเป็นของ ศ. Peter Munro นั่นแหละ เนื่องจากเนื้อหาในบันทึกและจดหมายเขียนตรงกันว่า "ศ. Fecht ได้ตรวจกระดาษพาพีรัสชิ้นนี้แล้วและสรุปว่ามันเป็นส่วน Gospel of John ที่เขียนขึ้นในคริสตศตวรรษที่ 2-4"
(คาดกันว่า ศ. Fecht หมายถึง Gerhard Fecht ผู้เชี่ยวชาญด้านอียิปต์วิทยาแห่ง Freie Universität -- ข่าวร้ายคือ ศ. Peter Munro และ Gerhard Fecht ต่างก็เสียชีวิตไปแล้วทั้งคู่)
Karen King ได้นำกระดาษพาพีรัสชิ้นนี้ไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านอียิปต์วิทยาและผู้เชี่ยวชาญภาษาคอปติกหลายคนช่วยกันตรวจสอบ ทุกคนลงความเห็นไปในทางเดียวกันว่ากระดาษพาพีรัสและข้อความบนนั้นน่าจะเป็นของจริง เนื่องจากเนื้อกระดาษ, รอยหมึก, และรูปแบบไวยากรณ์ที่ใช้ เหมือนกับของที่ทำขึ้นในศตวรรษที่ 4 หรือก่อนหน้านั้นอย่างที่ไม่น่าจะมีคนปลอมแปลงได้
อย่างไรก็ตาม Karen King ก็ไม่คิดว่าเราควรสรุปกันทันทีว่าพระเยซูแต่งงานมีเมีย เอกสารพาพีรัสชิ้นนี้ถูกเขียนขึ้นหลังจากเหตุการณ์เป็นร้อยๆ ปีโดยใครก็ไม่รู้ (ลายมือคนเขียนก็โยกโย้ไปมา ซึ่งเป็นเรื่องปกติของการคัดลอกคัมภีร์คริสต์ในยุคแรกๆ ที่ต้องลักลอบทำกัน) ข้อสรุปอย่างเดียวที่ชัดเจนจากหลักฐานนี้คือ ชาวคริสต์ยุคแรกในอียิปต์เชื่อกันว่าพระเยซูมีเมียและชาวคริสต์อย่างน้อยบางกลุ่มก็ยอมรับในคำสอนนี้
ที่มา - New York Times
ศ. Karen King ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์คริสตศาสนา ถ่ายคู่กับกระดาษพาพีรัสที่กล่าวถึงเมียพระเยซู
ภาพจาก New York Times

ขอบคุณเนื้อหาจาก http://jusci.net/node/2796

วันพุธ, กันยายน 12, 2555

ซะมูไร น่าสนใจไม่เบานะ


ซะมุไร (ญี่ปุ่น: 侍, ภาษาไทยนิยมทับศัพท์ว่า "ซามูไร" ?) แปลเป็นภาษาไทยว่าทหาร คำว่า ซะมุไร มีต้นกำเนิดจากคำว่า ซะบุระอุ ซึ่งเป็นคำกริยาในภาษาญี่ปุ่นโบราณ ที่มีความหมายว่า รับใช้ ฉะนั้น ซะมุไรก็คือคนรับใช้นั่นเอง

จุดกำเนิด
เป็นที่เชื่อกันว่า รูปแบบของเหล่านักรบบนหลังม้า มือธนู และทหารเดินเท้าในช่วงศตวรรษที่ 6น่าจะเป็นตัวบทต้นแบบของซะมุไรดั้งเดิม ขณะที่จุดกำเนิดของซะมุไรสมัยใหม่ยังเป็นปัญหาที่โต้เถียงกัน


วัฒนธรรมซะมุไร
การศึกษา
ผู้ที่เป็นซะมุไรต่างได้รับการคาดหวังว่าจะต้องเป็นคนที่สามารถอ่านออกเขียนได้ พร้อมกับต้องมีความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ด้วย นอกจากนั้น ยังได้รับความคาดหวังว่าจะต้องเป็นผู้ที่มีความสนใจในศิลปะด้านอื่น ๆ อย่างเช่น การเต้นรำ การเล่นโกะ งานวรรณกรรม บทกวี และชา เป็นต้น ถึงแม้ว่าศิลปะเหล่านี้ไม่ได้จำเป็นต่อพวกเขาเลยก็ตาม
แต่ในประวัติศาสตร์ ซะมุไรผู้ที่มีชื่อเสียงหลายคนก็ไม่ได้มีคุณสมบัติตามวุฒิการศึกษาที่กล่าวไว้ข้างต้น ตัวอย่างเช่น โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ ซะมุไรผู้ยิ่งใหญ่ที่มีพื้นเพเป็นชาวนา ก็มีอุปสรรคสำคัญอยู่ตรงที่เขาสามารถอ่านและเขียนได้แต่ภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ตัวอักษรฮิรางานะเท่านั้น อีกผู้หนึ่งคือ โอดะ โดกัง บุคคลผู้ที่ปกครองเอะโดะเป็นคนแรก ก็เคยเขียนระบายความในใจของเขาว่า เขาละอายใจเหลือเกินที่ได้พบว่า แม้แต่ประชาชนธรรมดายังมีความรู้ทางด้านการกวีมากกว่าตัวเขาเอง ทำให้เขารู้สึกอัปยศจนต้องยอมสละสมบัติและตำแหน่งของเขาไปในที่สุด

ประเพณีชุโด


ชุโด (ญี่ปุ่น: 衆道 ?) คือ ประเพณีแห่งสายใยรักที่เกิดขึ้นระหว่างซะมุไรผู้แก่กล้าวิชากับซะมุไรที่ยังไร้ประสบการณ์ ที่เปรียบได้ดัง “ดอกไม้แห่งจิตวิญญาณของซะมุไร” ที่ได้ก่อร่างสร้างพื้นฐานที่แท้จริงของลัทธิความงามของผู้ที่เป็นซะมุไรขึ้นมา ประเพณีนี้มีความคล้ายคลึงกับประเพณีของกรีกโบราณที่ชายวัยผู้ใหญ่มักจะมีความสัมพันธ์ทางเพศกับเด็กผู้ชาย
สำหรับสังคมซะมุไร นี่ถือว่าเป็นประเพณีที่มีเกียรติ เป็นการปฏิบัติที่สำคัญ และเป็นเส้นทางสายหลักที่จะสืบทอดความคิด คุณค่า จิตวิญญาณ และทักษะแห่งประเพณีซะมุไร จากรุ่นหนึ่งไปสู่รุ่นต่อ ๆ ไปได้
อีกชื่อหนึ่งของประเพณีนี้คือ บิโด (ญี่ปุ่น: 美道 ?) (วิถีแห่งความงาม) เป็นประเพณีที่เชื่อว่า ความรักอันหนักแน่นที่ซะมุไรสองคนมีให้แก่กันนั้น เป็นสิ่งที่เกือบจะยิ่งใหญ่เท่ากับความรักแบบเดียวกันที่มีให้แก่ไดเมียว จากข้อมูลในบทบันทึกร่วมสมัยฉบับหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า ทางเลือกระหว่างความรักที่มีต่อซะมุไรอีกคน กับ เจ้านายของเขาเอง สามารถกลายมาเป็นปัญหาทางปรัชญาสำหรับซะมุไรได้
ในตำราฮะงะกุเระและคู่มือสำหรับซะมุไรฉบับอื่น ๆ ได้ให้คำสอนที่เจาะจงไปที่วิถีของประเพณีเช่นนี้ว่า เป็นสิ่งที่ซะมุไรควรจะต้องทำตามและให้ความเคารพ
หลังจากที่เกิดการปฏิรูปสมัยเมจิและการเข้ามาของแบบแผนการดำเนินชีวิตของตะวันตก การหลงใหลในความงามของผู้ชายก็ถูกแทนที่โดยความหลงใหลในเพศหญิงตามแบบยุโรปแทน นี่จึงเป็นจุดจบของประเพณีชุโดไปในที่สุด

ปรัชญา
หลักปรัชญาของศาสนาพุทธนิกายเซน บวกกับบางส่วนของลัทธิขงจื๊อ มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมซะมุไรได้ดีพอ ๆ กับลัทธิชินโต
นิกายเซนได้กลายเป็นหลักคำสอนสำคัญในเรื่องของวิธีการที่ทำให้จิตสงบ
ฐานคติของพุทธในเรื่องการกลับชาติมาเกิด ก็นำซะมุไรไปสู่การละเลิกการทรมานและการฆ่าฟันอย่างไร้เหตุผล ฐานคตินี้มีอิทธิพลมากจนซะมุไรบางคนถึงกับยอมเลิกใช้ความรุนแรง และบวชเป็นพระสงฆ์หลังจากที่ตระหนักว่าการฆ่าฟันไม่ได้ส่งผลดีอย่างไร ขณะที่ซะมุไรบางคนตระหนักถึงเรื่องเช่นนี้ได้ตอนที่อยูในสมรภูมิจริง จนเป็นเหตุให้เขาต้องถูกฆ่าตาย ณ ที่นั้นก็มี
ส่วนบทบาทของลัทธิขงจื๊อที่มีผลต่อวัฒนธรรมซะมุไรก็คือ การเน้นความสำคัญในการรักษาความสัมพันธ์ที่มีต่อผู้ปกครองให้ได้ ซึ่งนี่คือความจงรักภักดีที่ซะมุไรต้องการจะแสดงต่อเจ้านายของเขา
บูชิโดคือ “ประมวลหลักการปฏิบัติ” ที่ติดตัวซะมุไรทุก ๆ คน หลักนี้เริ่มบังคับใช้ในสมัยเอโดะ โดยรัฐบาลโชกุนโทกึงาวะ เพื่อพวกเขาจะได้ควบคุมเหล่าซะมุไรได้ง่ายขึ้น
แต่เหตุการณ์ของ “กลุ่มโรนิงทั้ง 47” ก็ทำให้เกิดการโต้เถียงกันเกี่ยวกับประเด็นความถูกต้องของหลักปฏิบัติของซะมุไร และประเด็นที่ว่าหลักบูชิโดควรจะประยุกต์ใช้ได้อย่างไร เนื่องจากซะมุไรซึ่งกลายเป็นโรนิงทั้ง 47 คนนี้ไม่ได้ให้ความเคารพต่อโชกุนซึ่งเป็นผู้ปกครองของพวกเขา แต่ที่ทำเช่นนี้ก็เพราะความภักดีและความซื่อสัตย์ที่มีต่อนายเก่าของพวกเขาเอง ผลสุดท้าย การกระทำของพวกเขาถูกตัดสินว่าเป็นการกระทำที่แสดงออกถึงความซื่อสัตย์ แต่ไม่เป็นการแสดงถึงความจงรักภักดีต่อโชกุน นี่จึงเป็นเหตุให้พวกเขาทั้ง 47 คนต้องถูกฆาตกรรมด้วยการสำนึกผิดและสิทธิในการคว้านท้องฆ่าตัวตาย

อาวุธ
อาวุธที่ซะมุไรใช้มีอยู่หลายชนิด แต่ดาบคะตะนะก็ไม่ได้เป็นอาวุธที่สำคัญที่สุดของซะมุไร เพราะว่าซะมุไรไม่สามารถนำคะตะนะติดตัวเข้าไปในบางสถานที่ได้ วะกิซะชิ คือ อาวุธติดตัวซะมุไรที่สำคัญที่สุด หลักบูชิโดได้สอนว่าจิตวิญญาณของซะมุไรก็คือคะตะนะของพวกเขาแต่ละคน และบางครั้งซะมุไรก็ถูกจินตานาการให้ต้องพึ่งพาคะตะนะเพื่อการต่อสู้ด้วย แนวคิดนี้เป็นแนวคิดที่ขัดแย้งกับหน้าไม้ของยุโรป หรือดาบของอัศวินที่ส่วนใหญ่ใช้เป็นแค่เครื่องมือในการต่อสู้เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ดาบคะตะนะมักจะไม่ถูกนำมาใช้เป็นอาวุธในสมรภูมิกัน จนกระทั่งยุคคะมะกุระ ตัวดาบคะตะนะเองก็ยังไม่ได้เป็นอาวุธหลักจนกระทั่งเกิดยุคเอโดะขึ้นมา

หลังจากที่บุตรชายของซะมุไรได้ถือกำเนิดขึ้น เขาจะได้รับดาบเล่มแรกของเขาในพิธีฉลองที่เรียกว่า มะโมะริ-คะตะนะ อย่างไรก็ตาม ดาบที่ให้ไปเป็นเพียงแค่ดาบเครื่องรางเท่านั้น โดยจะห่อหุ้มด้วยไหมยกดอกเงินหรือทองเพื่อที่จะให้เด็กอายุไม่เกินห้าขวบพกเอาไว้ในกระเป๋าสตางค์ได้ เมื่อถึงอายุสิบสามปี ในพิธีฉลองที่เรียกว่า เก็มบุกุ (ญี่ปุ่น: 元服 Gembuku ?) บุตรชายจะได้รับดาบจริงเล่มแรกพร้อมกับชุดเกราะ ชื่อในวัยผู้ใหญ่ และกลายเป็นซะมุไรในที่สุด ดาบคะตะนะและวะกิซะชิเมื่อใช้ร่วมกันแล้วจะเรียกว่าไดโช (แปลตามตัวอักษรว่า “ใหญ่กับเล็ก”)
วะกิซะชิ คือ “ดาบแห่งเกียรติยศ” ของซะมุไร ซะมุไรจะไม่ยอมให้มันหลุดจากข้างกายโดยเด็ดขาด มันจะต้องติดตัวพวกเขาไปตอนที่พวกเขาเข้าบ้านคนอื่น (แต่ต้องทิ้งอาวุธหลักเอาไว้ข้างนอก) ยามนอนก็ต้องมีมันอยู่ใต้หมอนด้วย
ทันโตะ คือ ดาบสั้นเล่มเล็กที่มักจะใส่คู่กับวะกิซะชิในไดโช ทันโตะหรือไม่ก็วะกิซะชินี่เองที่จะถูกนำมาใช้ในพิธีกรรมการฆ่าตัวตาย หรือที่เรียกว่าเซ็ปปุกุ
นอกจากดาบ ซะมุไรยังเน้นการฝึกทักษะในการใช้ยูมิ (ธนูยาว) เพื่อสะท้อนศิลปะแห่งคิวโด (แปลตามตัวอักษรว่า วิถีแห่งธนู) อีกด้วย ในช่วงยุคเซงโงะกุ ธนูยังคงเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับทหารชาวญี่ปุ่น ถึงแม้ว่าในช่วงนั้นพวกเขาจะรู้จักกับอาวุธปืนกันแล้วก็ตาม ยุมิเป็นธนูที่มีรูปร่างไม่รับส่วนกัน โดยประกอบขึ้นมาจากไม้ไผ่ ไม้ และหนัง ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับธนูแบบประกอบขึ้นเหมือนกันแต่ยืดหยุ่นกว่าของชาวยูเรเซียแล้ว ความทรงพลังของยุมิยังต่ำกว่า ยุมิมีระยะการโจมตีที่แม่นยำและมีประสิทธิภาพอยู่ที่ 50 เมตรหรือน้อยกว่านั้น (ระยะโจมตีเต็มที่คือ 100 เมตร) ยุมิมักจะใช้กันหลัง “เทะดะเทะ” (ญี่ปุ่น: 手盾 tedate ?) หรือกำแพงไม้ไผ่ขนาดใหญ่ที่เคลื่อนที่ได้ ส่วนธนูที่มีขนาดสั้นกว่า (ฮังกิว) มักจะใช้บนหลังม้ากัน (ต่อมา การฝึกฝนการยิงธนูบนหลังม้าได้กลายเป็นพิธีกรรมชินโตที่ชื่อ ยะบุซะเมะ (ญี่ปุ่น: 流鏑馬 Yabusame ?)
ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ยะริ (หอก) ได้กลายเป็นอาวุธที่ได้รับความนิยมพร้อมๆ กับนะงินะตะ (ง้าว) ยะริมักจะถูกนำมาใช้ในสมรภูมิ ที่ซึ่งการบริหารกองทหารเดินเท้าราคาถูกจำนวนมากเป็นปัจจัยที่สำคัญความกล้าหาญส่วนบุคคล การจู่โจมของทั้งทหารราบและทหารม้าจะมีประสิทธิภาพมากกว่าเมื่อใช้หอกแทนดาบคะตะนะ และเมื่อปะทะกับซะมุไรที่ใช้ดาบคะตะนะเป็นอาวุธ ผู้ที่ใช้หอกก็มีมักจะได้เปรียบกว่าเสมอ
ในยุทธการชิซุงะตะเกะ ที่ซึ่งฝ่ายของชิบะตะ คะสึอิเอะ แพ้ให้กับฝ่ายฮะชิบะ ฮิเดะโยะชิ (ต่อมารู้จักกันในนามโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ) ผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่ทำให้เกิดชัยชนะครั้งนั้นก็คือมือหอกทั้งเจ็ดแห่งชิซุงะตะเกะ (ญี่ปุ่น: 賤ヶ岳七本槍 Shizugatake ?)
ในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 16 ปืนเล็กยาวได้เดินทางเข้ามาในญี่ปุ่นผ่านทางพ่อค้าชาวโปรตุเกส อาวุธชนิดใหม่นี้ทำให้ขุนศึกหลาย ๆ คนสามารถสร้างกองกำลังที่มีประสิทธิภาพขึ้นมาจากมวลชนชาวนาได้ แต่ตัวมันก็กลายเป็นที่ถกเถียงกันอย่างมากในสมัยนั้น คนจำนวนมากแลเห็นว่า การที่มันเป็นอาวุธที่ใช้ได้ง่ายและมีประสิทธิภาพการสังหารสูง เป็นการหมิ่นประเพณีบะชิโดอย่างไร้เกียรติยศ
โอะดะ โนะบุนะงะ ได้ใช้ปืนเล็กยาวจำนวนมากในยุทธการนะงะชิโนะ เมื่อปี พ.ศ. 2118 (ค.ศ. 1575) จนนำไปสู่การสูญสิ้นของตระกูลทะเกะดะในที่สุด
หลังจากที่ชาวโปรตุเกสและชาวฮอลันดาได้นำปืนเล็กยาวแบบบรรจุดินปืน หรือที่เรียกกันว่าเท็ปโปะ เข้ามาในญี่ปุ่นในครั้งแรก ช่างสร้างปืนชาวญี่ปุ่นก็ได้ผลิตมันออกมาเองในปริมาณมาก จนกระทั่งสิ้นสุดศตวรรษที่ 16 จำนวนปืนในญี่ปุ่นก็เพิ่มขึ้นมามากกว่าประเทศใด ๆ ในทวีปยุโรป ปืนทั้งหมดถูกสร้างขึ้นมาอย่างประณีตและสะท้อนถึงความมีฝีมือของช่างที่สร้างได้เป็นอย่างดี
เมื่อมาถึงสมัยการปกครองโดยโชกุนโทะกุงะวะ และการสิ้นสุดลงของสงครามกลางเมือง ยอดการผลิตปืนก็ลดลงอย่างรวดเร็วพร้อมกับการออกคำสั่งห้ามไม่ให้ถือครองเป็นเจ้าของอาวุธปืน ในสมัยการปกครองนี้ อาวุธที่มีพื้นฐานมาจากหอกได้ถูกเลิกใช้ไปบางส่วน เนื่องจากอาวุธเหล่านี้มีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการต่อสู้ระยะประชิด (ที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ในสมัยเอโดะ) น้อย ส่วนกฎข้อห้ามเกี่ยวกับปืนที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น ก็มีผลให้ไดโชเป็นอาวุธชนิดเดียวเท่านั้นที่ซะมุไรสามารถพกพาได้
ส่วนอาวุธอื่นๆ ที่ซะมุไรนำมาใช้เป็นอาวุธก็ได้แก่ ไม้พลอง (โจะ), กระบองยาว (โบะ), ระเบิดมือ, เครื่องยิงหินแบบจีน (มักจะใช้ในการจู่โจมตัวบุคคลมากกว่าใช้เพื่อการล้อมโจมตี) และปืนใหญ่

บันทึกฉบับหยุดยาว


สวัสดี (Bonjour !) ทุกๆคนค่ะช่วงเกือบอาทิตย์ที่ผ่านมาฉันป่วยเป็นโรคอีสุก อีใสค่ะ มันไม่น่าเกิดกับคนในวัยของฉันแล้วใช่ไหมละคะ ก็อายุขนาดนี้แล้วอีสุก อีใสไม่น่าจะลืมฉันแล้วปล่อยให้เวลามันผ่านมานานขนาดนี้หรอกนะคะ แต่ไหนๆมันก็เกิดขึ้นแล้ว ฉันก็เลยตามเลยค่ะ ฉันจะดีใจเสียด้วยซ้ำที่ฉันได้มีโอกาสเป็นเสียตอนนี้ สมมติว่าโรคนี้มาเกิดกับฉันตอนปีหน้า ช่วงเวลาของการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ไหนจะป่วย ไหนจะอ่านหนังสือ ไหนจะต้องเรียนหนังสือ และไหนจะภาระพิเศษต่างๆนานา แล้วถ้าสมมติอีกว่าฉันไปเป็นตอนอายุสามสิบ สี่สิบ หรือมากกว่า อาการของโรคก็จะยิ่งร้ายกาจทวีคูณตามอายุกันเลยทีเดียว แต่ถึงมาเป็นตอนนี้ก็ยังจะได้ยินได้ฟัง บางคนที่เขารัก หรือหวังดีก็ว่าสงสาร แต่บางคนที่เกลียด หรือหวังร้าย เขาก็สมน้ำหน้าเอา ได้ฟังมาก็เศร้าทำไมต้องซ้ำเติมกันอีก แต่จะไปโกรธเขาที่คิดไม่ดีกับเรา ก็ไม่ได้ตราบใดที่เขาไม่ได้เกิด ไม่ได้ถูกสั่งสอนให้คิด ให้เชื่อมาพร้อมกับเราไม่ได้ฉันใด จิตใจของมนุษย์ก็พันเลี้ยวต่างกันตามที่มาฉันนั้น “ร้อยพ่อ พันแม่มาอยู่ด้วยกันนี่คะ” แต่ถามว่าเสียใจหรือไม่ที่มาเป็นอีสุก อีใสตอนนี้ ฉันก็ขอตอบเลยนะคะว่าไม่เลยคะ คนเราเกิดมาตายได้ครั้งเดียว เราจึงต้องใช้ชีวิตให้คุ้มค่า เป็นให้หมดทุกอย่าง สนุกเศร้าสุขทุกข์อย่างรู้รสให้ถึงแก่น และด้วยความที่ป่วยเป็นโรคอีสุก อีใส ทำให้ต้องหยุดเรียน ที่ถ้าเป็นธรรมดาก็คงดีใจจนหน้าบาน ตีพุงรอนอนอยู่บ้านเลยทีเดียว แต่นี่มันสัปดาห์ใกล้สอบแล้วกะจิตกะใจมันต่างกันเชียวละคะ ครั้นจะไปโรงเรียนก็เกรงใจเพื่อนๆที่เขายังไม่เคยเป็น กลัวจะไปทำเขาเดือดร้อนแบบไม่รู้ตัว ก็เลยต้องหยุดเรียนไปตามที่กล่าวมาก็คงโดนบรรดาอาจารย์เอ็ดว่ากันบ้าง แต่แหมถ้าจะมาโรงเรียน ขี้คร้านก็ถูกอาจารย์นั่นแหละที่ไล่ให้กลับบ้านเสียเอง ฉันก็เลยทิ้งท้ายบทความนี้ด้วยประโยคสั้นๆของเขาผู้นี้ค่ะ

“Be nice to nerds.
Chances are you’ll end up working for one”
.Bill Gates