วันพฤหัสบดี, กุมภาพันธ์ 28, 2556

บุญเพ็งหีบเหล็ก คือใคร



บุญเพ็งหีบเหล็ก เป็นฉายาของนายบุญเพ็ง ซึ่งเป็นฆาตกรที่เหี้ยมโหดในสมัยรัชกาลที่ 6 บุญเพ็งเกิดในปีขาล ที่เมืองท่าอุเทน มณฑลอุดร บิดาเป็นชาวจีน ส่วนมารดาเป็นลาว (อดีตไทยภาคกลางยังเรียกคนจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือว่า ลาว) บุญเพ็งได้เข้ามาอยู่ในกรุงเทพมหานครตั้งแต่อายุ 5 ขวบ โดยอาศัยอยู่กับตาชื่อสุก และยายชื่อเพียร เดิมนายบุญเพ็งเป็นภิกษุจำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งหนึ่งในเมืองนนทบุรี เนื่องจากพระบุญเพ็งเป็นพระที่ลูกศิษย์ส่วนมากเป็นผู้หญิงและร่ำรวยจึงทำให้บุญเพ็งมีความสัมพันธ์ทางเพศกับผู้หญิงเหล่านี้ ต่อมาเกิดโลภมากในทรัพย์จึงได้ฆ่าสีกาที่เป็นเศรษฐินีเจ็ดคน แล้วนำศพยัดใส่หีบเหล็กแล้วถ่วงน้ำทุกครั้ง ผู้คนจึงเรียกเขาว่า บุญเพ็งหีบเหล็ก ต่อมาเขาถูกจับได้และประหารชีวิตในที่สุด โดยบุญเพ็งเป็นนักโทษประหารชีวิตคนสุดท้าย ที่ถูกสังหารโดยการตัดคอ (โดยเล่าลือว่าในตอนแรกขณะที่ประหารเพชฌฆาตไม่สามารถตัดคอบุญเพ็งได้เนื่องจากความแก่กล้าในคาถาอาคม) เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2462 ศพฝั่งอยู่ที่ป่าช้า และทำพิธีกรรมทางศาสนาที่วัดภาษี เขตวัฒนา ริมคลองแสนแสบ ปัจจุบัน มีศาลบูชาบุญเพ็ง ซึ่งบุคคลในวัดจะเรียกบุญเพ็งว่า "ลุงบุญเพ็ง" และยังเชื่อว่าหีบเหล็กทั้ง 7 ใบนั้นถูกฝังอยู่ใต้ศาลของบุญเพ็งที่วัด

เรื่องราวของบุญเพ็งถูกได้รับการนำมาถ่ายทอดเป็นละครวิทยุหลายครั้ง และสร้างเป็นภาพยนตร์ไทยโดยพยุง พยกุล ในปี พ.ศ. 2510 นำแสดงโดย แมน ธีระพล และ พ.ศ. 2523 นำแสดงโดยสมบัติ เมทะนี และปริศนา ชบาไพร และเป็นภาพยนตร์ซีดี นำแสดงโดย พร้อมพงษ์ นพฤทธิ์, ทัดทรวง มณีจันทร์, มรกต มณีฉาย

ชาร์เลอมาญ



ชาร์เลอมาญ (อังกฤษ: Charlemagne; ฝรั่งเศส: Charlemagne; เยอรมัน: Karl der Große) (หรือ ชาร์ลมหาราช) (ค.ศ. 742 หรือ ค.ศ. 747 - 28 มกราคม ค.ศ. 814) เป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรแฟรงค์หรือฝรั่งเศสโบราณ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 1311 จนถึงวันสิ้นพระชนม์ เป็นผู้ทำให้จักรวรรดิแฟรงค์รวมเป็นหนึ่งเดียวและเจริญรุ่งเรือง ในปี พ.ศ. 1343 และได้สวมมงกุฎจักรพรรดิของ สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 3 ชาร์เลอมาญเป็นที่รู้จักกันในนาม "จักรพรรดิแห่งชาวโรมัน" (Emperor of The Romans) ถือเป็นจักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งของยุโรปสมัยกลาง

พระราชประวัติ

ชาร์เลอมาญเป็นพระโอรสของสมเด็จพระเจ้าเปแปงเดอะชอร์ทแห่งราชวงศ์คาโรแล็งเชียง ทรงร่วมตามเสด็จในกองทัพของพระบิดาในการสู้รบในดินแดนต่าง ๆ ซึ่งทำให้อาณาจักรแฟรงก์ขยายอำนาจไปอย่างกว้างไกล กองทัพของชาวแฟรงก์ได้ช่วยคุ้มครองพระสันตปาปาและกรุงโรมจากการรุกรานของชนเผ่าลอมบาร์ดส์ ทำให้ศาสนจักรสนับสนุนอำนาจของราชวงศ์คาโรแล็งเชียง
ชาร์เลอมาญขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งชาวแฟรงก์ใน ค.ศ. 768 หลังจากนั้นทรงประกอบพระกรณียกิจตามธรรมเนียมผู้นำนักรบของชนเผ่าแฟรงก์ด้วยการขยายอำนาจของอาณาจักร เริ่มด้วยการผูกมิตรกับชนเผ่าลอมบาร์ดส์ทางตะวันออกเฉียงใต้ด้วยการอภิเษกกับธิดากษัตริย์ลอมบาร์ดส์ ซึ่งจะทำให้พระองค์มีสิทธิเหนืออาณาเขตของพวกลอมบาร์ดส์ด้วย แต่ต่อมาก็เกิดความขัดแย้งระหว่างพระองค์กับพวกลอมบาร์ดส์ พระมเหสีถูกขับออกจากอาณาจักรแฟรงก์ พวกลอมบาร์ดส์ยังพยายามยึดกรุงโรมและควบคุมสันตปาปา ชาร์เลอมาญจึงส่งกองทัพไปช่วยสันตปาปาและมีชัยชนะเหนือพวกลอมบาร์ดส์ อาณาจักรแฟรงก์จึงทำหน้าที่คุ้มครองศาสนจักรที่โรมนับแต่นั้น และสันตปาปาก็ให้การรับรองชาร์เลอมาญในฐานะ "จักรพรรดิแห่งชาวโรมัน" ในพิธีสวมมงกุฎโดย สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 3 ที่มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ในกรุงโรม ในปี 800 ซึ่งหมายถึงการยอมรับว่าชาร์เลอมาญมีฐานะเทียบเท่าจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันในสมัยโบราณและเป็นประมุขเหนือดินแดนอิตาลี ก่อนหน้านั้นชาร์เลอมาญยังทรงขยายดินแดนไปทางตะวันตกเฉียงใต้และสเปนต่อเนื่องจากสมัยพระบิดา และยึดครองเยอรมันใต้หรือบาวาเรีย


การปกครอง

จักรพรรดิชาร์เลอมาญทรงเริ่มสร้างความมั่นคงและทำให้อาณาจักรแฟรงก์กลายเป็นอาณาจักรที่เป็นเอกภาพมากขึ้นกว่ายุคก่อน ทรงตั้งราชสำนักที่เมืองแอกซ์ลาชาแปล เริ่มการสร้างพระราชวังและมหาวิหารอาเคิน ที่เมืองอาเคิน ในประเทศเยอรมนีปัจจุบัน เป็นสัญลักษณ์ของการอุปถัมภ์ของอาณาจักรและศาสนจักรนับแต่นั้น โบสถ์วิหารได้รับอิทธิพลทางศิลปะจากกรุงโรม เรียกกันว่าสถาปัตยกรรมแบบโรมาแนสก์ (Romanesque) ชาร์เลอมาญทรงส่งเสริมการศึกษาด้วยการสร้างโรงเรียนหลวง นำพระจากวาติกันมาสอนวิทยาการต่าง ๆ ทำให้ฝรั่งเศสเริ่มก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางการศึกษาและอารยธรรมของยุโรปในเวลาต่อมา ชาร์เลอมาญทรงพยายามขยายพระราชอำนาจของราชสำนักไปยังส่วนต่าง ๆ ของอาณาจักรผ่านการส่งข้าหลวง และการเก็บภาษี แต่เมื่อทรงสิ้นพระชนม์ ราชสำนักก็ไม่อาจควบคุมพื้นที่ส่วนต่าง ๆได้อย่างเต็มที่นัก กลายเป็นปัญหาสำคัญต่อการสร้างอาณาจักรที่เป็นเอกภาพในสมัยกลาง หลังสวรรคต อาณาจักรของพระองค์แบ่งแยกให้แก่พระโอรส 3 พระองค์ บางส่วนอยู่ในดินแดนเยอรมนีปัจจุบัน
ร่างของพระองค์ถูกฝังไว้ที่มหาวิหารอาเคิน

วันเสาร์, กุมภาพันธ์ 09, 2556

แนวหลักคำสอนของศาสนาสิกข์


แนวหลักคำสอนของศาสนาสิกข์
·       สอนถึงศาสนาต่างๆว่าเป็นอันเดียวกัน
สุเหร่า มณเฑียร วิหาร เป็นสถานที่บำเพ็ญธรรมของคนทั้งหลายเหมือนกัน ที่เห็นแตกต่างกันบ้าง ก็เพราะความแตกต่างแห่งกาลและเทศะเท่านั้น”(คุรุโควินทสิงห์)
·       สอนถึงความเท่าเทียมกันของทุกคน
มนุษย์ทั้งหลายมีพระบิดาองค์เดียวกัน เราทั้งหลายเป็นบุตรของพระองค์นั้น เราจึงเป็นพี่น้องกัน
ไม่มีฮินดู ไม่มีมุสลิม มนุษยชาติทั้งหมดเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทุกคนมีเกียรติเท่าเทียมกัน ไม่ใช่เพราะวรรณะ แต่เพราะเขาเป็นคน มาจากพระเจ้า ทุกคนจึงเสมอเหมือนกัน ถึงแม้จะแตกต่างกันด้วยรูปร่างภายนอกก็ตาม
สิกข์ เป็นศาสนาของคนทั้งหลาย พระเจ้าเป็นผู้ปราศจากภัย ปราศจากเวร ไม่ใช่ผู้ทำลาย แต่เป็นผู้สร้าง เราไม่มีพระเจ้าสำหรับมุสลิม เรามีพระเจ้าองค์เดียว ผู้เป็นเจ้าโลกทั้งสิ้น พระองค์ไม่โปรดวรรณะ หรือลัทธิอันแตกแยกบัญญัติออกไปแต่ละอย่าง พระองค์ไม่มีการเกลียด ไม่มีการสาปแช่ง เหมือนพระเจ้าองค์อื่น”(คุรุนานัก)
·       สอนถึงความเท่าเทียมกันระหว่างบุรุษและสตรี
พวกท่านประณามสตรีด้วยเหตุอันใด สตรีเป็นผู้ให้กำเนิดแก่ราชา คุรุ ศาสดาและแม้แต่ตัวท่านเอง”(คุรุนานัก)
·       สอนหลักธรรมในการดำเนินชีวิต
ไม่มีตบะใดจะยิ่งกว่าความอดทน ไม่มีความสุขใดจะยิ่งใหญ่กว่าความสันโดษ ไม่มีความชั่วใดจะยิ่งใหญ่กว่าความโลภ ไม่มีบุญใดจะยิ่งใหญ่กว่าความกรุณา ไม่มีอาวุธใดจะมีอำนาจยิ่งกว่าการให้อภัย คนหว่านพืชเช่นไร ก็เก็บเกี่ยวผลเช่นนั้น ถ้าเขาหว่านความทุกข์ ความทุกข์ก็จะเป็นผลเก็บเกี่ยวของเขา ถ้าคนหว่านยาพิษเขาก็ไม่อาจหวังอาหารทิพย์ได้เลย”(คุรุอมรทาส)
บางคนทำกรรมแล้ว เข้าไปใกล้พระเจ้า แต่บางคนทำกรรมแล้วยิ่งห่างจากพระเจ้า”(คุรุนานัก)
ความจริงคือยาแก้โรคความชั่วได้ทั้งปวง” (คุรุนานัก)
ความอ่อนหวานและความถ่อมตนนั้น เป็นแก่นแห่งความดีและคุณธรรมทั้งปวง

ท่านคุรุนานักเดินทางไปทั่วอินเดียเพื่อนสอนประชาชนว่าพระเจ้าต้องการให้พวกเขาดำเนินชีวิตอย่างไร ดังนี้
1)   มีพระเจ้าเพียงองค์เดียว จงนมัสการและอธิษฐานต่อพระเจ้าองค์เดียวเท่านั้น
2)   จงระลึกถึงองค์พระผู้เป็นเจ้าจงขยันทำงานและช่วยเหลือผู้อื่น
3)   พระเจ้าทรงพอพระทัยในงานที่ทำอย่างซื่อสัตย์และในการดำเนินชีวิตอย่างสุจริต
4)   ต่อพระพักตร์ของพระเจ้าไม่มีคนร่ำรวย ไม่มีคนยากจน ไม่มีคนผิวดำ หรือผิวขาว(ห้ามถือวรรณะ) การกระทำของพวกเราต่างหากที่ทำให้เราเป็นคนดีหรือคนเลว
5)   ชายและหญิงเสมอภาคกันในสายพระเนตรของพระเจ้า
6)   จงรักทุกคนและอธิษฐานเพื่อความสุขสบายของทุกคน
7)   จงเอื้อเฟื้อแก่คนสัตว์ และนกทั้งหลาย
8)   จงอย่ากลัวและอย่าตระหนกตกใจ
9)   จงพูดความจริงเสมอ
ชาวสิกข์ตระหนักว่า การช่วยเหลือผู้อื่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง คำในศาสนาสิกข์ใช้ว่า เศวา (Sewa) ซึ่งอาจทำได้โดยการบริจาคเงิน สละเวลาไปช่วยผู้อื่นโดยไม่คิดค่าจ้าง เจ้าของร้านค้าจะถวายอาหารประจำสัปดาห์ที่มณเฑียรธรรมก็ได้
เอกสารอ้างอิง
ฟึ้น ดอกบัว. ความรู้เรื่องศาสนาทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 1: คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
เดวิด เซลฟ. ศาสนาของโลก. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์ จัดพิมพ์.

คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร ข้อมูล ข้อมูลการเข้าศึกษา


มารู้จัก คณะโบราณคดี
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
ชื่ออังกฤษ             Faculty of Archaeology, Silpakorn University
ที่อยู่                        31 ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ10200
วันก่อตั้ง                12 มิถุนายน พ.ศ. 2498
วารสาร                  ดำรงวิชาการ
สีประจำคณะ        สีม่วง

สัญลักษณ์             พระพิฆเนศวร์
เว็บไซต์
                 archae.su.ac.th
ประวัติความเป็นมา
มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ตั้งคณะโบราณคดีขึ้นเป็นคณะวิชาที่ 3 ของมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.2498 โดยมีจุดมุ่งหมายหลักให้เป็นคณะวิชาที่ผลิตครูอาจารย์และนักโบราณคดีรวมทั้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานโบราณคดี เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในกองโบราณคดีของกรมศิลปากรหรืองานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การอนุรักษ์ โบราณวัตถุโบราณสถานของประเทศ หลักสูตรและการเรียนการสอนในคณะโบราณคดีระยะแรกสุดนั้น เป็นหลักสูตรอนุปริญญา 3 ปีที่เน้นด้านการผลิต นักวิชาการสาขาโบราณคดีเท่านั้นจึงมีการปรับปรุง อย่างต่อเนื่อง มาโดยตลอด
ปรัชญา  "ศึกษามนุษย์ ขุดค้นก้าวหน้า ภาษาเชี่ยวชาญ สืบสานศิลปวัฒนธรรม"
ปณิธาน
1.            ผลิตบัณฑิตในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกที่เป็นที่ยอมรับว่าเป็นผู้ที่มีทักษะในการทำงานในสาขาวิชาที่เรียน ควบคู่กับการเป็นผู้รอบรู้ที่มีคุณธรรมซึ่งพร้อมที่จะเสียสละประโยชน์ตนเองเพื่อส่วนรวม
2.            มีระบบฐานข้อมูลขององค์ความรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมไทยทั้งสมัยอดีตและปัจจุบัน ที่เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ และสามารถให้บริการแก่ประชาคม ทั้งภายในและภายนอกคณะโบราณคดีได้อย่างสะดวกและรวดเร็วทำให้สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้สูงสุดต่อวิชาการหลากหลายสาขาทั้งด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ศิลปะ และวิทยาศาสตร์
3.            ผลิตงานวิชาการสาขาต่างๆ ในหลายลักษณะออกเผยแพร่อย่างสม่ำเสมอเพื่อส่งเสริมการพัฒนาการศึกษาของประเทศไทย
4.            ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทยและให้บริการวิชาการแก่สังคม
5.            เผยแพร่ความรู้แก่สังคมอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เป็นที่ยอมรับจากประชาคมทั้งภายในและภายนอกว่าเป็นสถาบันการศึกษาที่ทรงคุณค่าของประเทศ และสร้างประโยชน์สูงมากให้ประเทศไทย

หลักสูตรการศึกษา
ระดับปริญญาบัณฑิต
หลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตที่ใช้ในปัจจุบันมี 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรศิลปะศาสตร์บัณฑิต พ.ศ.2536ผู้ที่สำเร็จการศึกษาทุกสาขาวิชาเอกของคณะโบราณคดีตามหลักสูตรนี้ ต้องสอบได้ไม่น้อยกว่า 140 หน่วยกิต
และหลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต พ.ศ.2546 ได้เริ่มใช้กับนักศึกษาที่เข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2546ผู้สำเร็จการศึกษาทุกสาขาวิชาเอกต้องสอบได้ไม่น้อยกว่า 144 หน่วยกิต การศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตของคณะโบราณคดี จำนวน 7 สาขาวิชาเอก คือ
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอกโบราณคดี
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอกประวัติศาสตร์ศิลปะ
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอกมานุษยวิทยา
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอกภาษาไทย
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอกภาษาตะวันออก
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอกภาษาอังกฤษ
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอกภาษาฝรั่งเศส
และ 11 สาขาวิชาโท คือ
1.             สาขาวิชาโบราณคดี
2.             สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
3.             สาขาวิชามานุษยวิทยา
4.             สาขาวิชาภาษาไทย
5.             สาขาวิชาภาษาตะวันออก
6.             สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
7.             สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส
8.             สาขาวิชาประวัติศาสตร์
9.             สาขาวิชาพิพิธภัณฑสถานศึกษา
10.      สาขาวิชาภาษาฮินดี
11.      สาขาวิชาโทมัคคุเทศก์
ระดับบัณฑิตศึกษา
ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต คือ หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะไทย
ระดับปริญญามหาบัณฑิต จำนวน 12 หลักสูตร คือ
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาตะวันออก
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาไทย
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาสันสกฤต
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเขมรศึกษา
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการจดหมายเหตุและเอกสาร
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศสเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

ระดับปริญญามหาบัณฑิต (โครงการพิเศษ) จำนวน 5 หลักสูตร คือ
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศสเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
 ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต จำนวน 4 หลักสูตร คือ
หลักสูตรศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาสันสกฤต
หลักสูตรศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาเขมร
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะไทย


วิธีการเข้าศึกษาในระดับปริญญาบัณฑิต
รูปแบบที่ 1 พื้นฐานวิทยาศาสตร์
                GPAX 20%, O-NET 20%, GAY 40%, PAT 1=20%
รูปแบบที่ 2 พื้นฐานศิลปกรรมศาสตร์
                2.1 GPAX 20%, O-NET 20%, GAT 60%
                2.2 GPAX 20%, O-NET 20%, GAT 40%, PAT 7=20%
 * อาจมีการปรับค่า O-NET, GPAX, GAT-PAT ตามปีการศึกษา

การประกอบอาชีพ
 คณะโบราณคดีมีจุดมุ่งหมายหลักให้เป็นคณะวิชาที่ผลิตครูอาจารย์และนักโบราณคดี รวมทั้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานโบราณคดีเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในกองโบราณคดี ของกรมศิลปากร หรืองานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโบราณคดี
         นอกจากนี้ผู้ที่เรียนเอกอื่นด้านภาษาก็ยังสามารถประกอบอาชีพอื่นๆ ได้ เช่น มัคคุเทศก์ นักเขียน นักเขียนสารคดี พนักโรงแรม พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ประชาสัมพันธ์ นักข่าว อาจารย์สอนภาษาอังกฤษหรือภาษาฝรั่งเศส ฯลฯ อีกด้วย