วันอังคาร, ตุลาคม 25, 2554

ชาวดัตช์รับมือน้ำท่วมหลัง Watersnoodramp


ชาวดัตช์รับมือน้ำท่วมหลัง Watersnoodramp

ชาวดัตช์รับมือน้ำท่วมหลัง Watersnoodramp

การรับมือกับเหตุน้ำท่วมโดยไม่ได้ตั้งตัวของเนเธอร์แลนด์เมื่อ 58 ปีที่แล้ว กลายเป็นความสูญเสียที่สร้างรอยแผลให้กับชาติจนวันนี้ ซึ่งชาวดัชต์ได้นำบทเรียนครั้งนั้นมาสู่แผนการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ ให้มนุษย์และน้ำสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ
ภาพชีวิตของแม่ลูกอ่อนที่ออกตามหาลูกชายวัยแบเบาะซึ่งติดอยู่ในบ้านระหว่างเหตุการณ์น้ำท่วมทะเลเหนือใน De Storm ผลงานภาพยนตร์ปี 2009 ถือเป็นสิ่งย้ำเตือนความทรงจำของชาวดัชต์ทุกคนถึงเหตุการณ์ Watersnoodramp อุทกภัยครั้งเลวร้ายที่สุดในศตววรรษที่ 20 ของเนเธอร์แลนด์เมื่อปี 1953 ที่ทำให้ชาติซึ่งพื้นที่ร้อยละ 25 ของอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการรับมือกับภัยธรรมชาติอย่างไม่เคยมีมาก่อน
ความรุนแรงของเหตุน้ำท่วมครั้งนั้นเป็นผลมาจากน้ำทะเลที่ขึ้นสูงผิดปกติและคลื่นชายฝั่งยกตัวสูงจากพายุเมื่อช่วงรุ่งสางอันหนาวเหน็บของวันที่ 1 กุมภาพันธ์ปี 1953 ในยุคนั้นสถานีพยากรณ์อากาศและสถานีวิทยุท้องถิ่นไม่เปิดทำการในตอนกลางคืน ทำให้ชาวเมืองชายฝั่งซึ่งมั่นใจในมาตรการรับมือของทางการต้องเผชิญชะตากรรมอย่างไม่ตั้งตัว ปริมาณน้ำที่สูงกว่า 16 ฟุตเข้าทำลายพื้นที่ในหลายประเทศของยุโรปทั้ง เนเธอร์แลนด์, เบลเยี่ยม, อังกฤษ และสก็อตแลนด์ ยอดผู้เสียชีวิตสูงถึง 1,835 ราย ประชาชนกว่า 70,000 คนต้องถูกอพยพ สัตว์กว่า 30,000 ตัวต้องจมน้ำตาย พื้นที่ร้อยละ 9 ของเนเธอแลนด์ต้องจมอยู่ใต้น้ำ อาคารบ้านเรือนเกือบ 50,000 หลังต้องเสียหายกว่า 10,000 หลังไม่อาจซ่อมแซมได้
บทเรียนของเนเธอร์แลนด์ครั้งนั้น กลายเป็นที่มาของโครงการ เดลตาเวิกส์ ที่ได้รับการยกย่องเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคปัจจุบัน กับแผนการปกป้องดินแดนทางตอนใต้ของประเทศจากน้ำทะเล ด้วยการสร้าง เขื่อน, คันดิน, คันกั้นน้ำ, ประตูปิดเปิดน้ำ และประตูระบายน้ำ รอบบริเวณปากแม่น้ำไรน์-เมิส-เชลดาซึ่งติดกับทะเลเหนือ หลังใช้เวลาก่อสร้างกว่าครึ่งศตวรรษ กำแพงกั้นคลื่นแห่งสุดท้ายก็ถูกเปิดใช้เมื่อปีที่ผ่านมา โดยความท้าทายของชาวดัชต์ในอนาคตคือระดับน้ำทะเลที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นกว่าหนึ่งเมตรในอีกร้อยปี และเกือบ 4 เมตรใน 2 ศตวรรษข้างหน้า
ทุกวันนี้ ที่เมืองเอาเวอร์เคิร์กหนึ่งในสถานที่ที่เผชิญกับภัยน้ำท่วมครั้งนั้น กลายเป็นสถานที่ตั้งของ Watersnoodmuseum หรือพิพิธภัณฑ์น้ำท่วม ที่ไม่เพียงย้ำเตือนความสูญเสียแก่คนรุ่นหลัง แต่ยังเสนอภาพการพลิกฟื้นของเมืองหลังน้ำท่วม และยังเป็นแหล่งเรียนรู้การบริหารจัดการน้ำด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อให้มนุษย์สามารถอยู่ร่วมกับสายน้ำได้อย่างเท่าทัน

เดลตาเวิกส์ (อังกฤษ: Delta Works) เป็นโครงการก่อสร้างชุดใหญ่ที่บริเวณปากแม่น้ำไรน์-เมิส-เชลดา ประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อกั้นการท่วมของน้ำทะเล โครงการประกอบไปด้วยการสร้างเขื่อน ประตูปิดเปิดน้ำ ที่กั้นเขื่อน การก่อสร้างเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 ถึงปี ค.ศ. 1997




มองวิกฤตน้ำท่วมกรุงปารีสผ่านภาพถ่าย-ภาพยนตร์


มองวิกฤตน้ำท่วมกรุงปารีสผ่านภาพถ่าย-ภาพยนตร์

ขณะที่สถานการณ์น้ำท่วมของบบ้านเรายังไม่คลี่คลาย เมื่อ 100 กว่าปีก่อน กรุงปารีสเคยประสบเหตุการณ์เดียวกัน และกลายเป็นสิ่งที่อยู่ในความทรงจำของผู้คน ผ่านบันทึกในภาพถ่าย และภาพยนตร์
เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ในปารีสเมื่อเดือนมกราคมปี 1910 กลายเป็นหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ที่ลืมไม่ได้ของกรุงปารีส เมื่อเมืองแห่งความรักต้องเผชิญกับน้ำเอ่อล้นสูงจากระดับปกติถึง 8 เมตรจากแม่น้ำแซนน์อย่างรวดเร็ว จนทำให้ทั่วเมืองจมอยู่ใต้น้ำยาวนานถึง 3 เดือน
เหตุผลสำคัญที่ทำให้วิกฤตน้ำท่วมในปี 1910 ยังคงอยู่ในความทรงจำของผู้คน คือเทคโนโลยีการถ่ายภาพที่เริ่มแพร่หลายในยุโรป ทำให้มีการบันทึกวิถีชีวิตของผู้คน และเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ กลายเป็นภาพโปสการ์ดขายดีในเวลาต่อมา โดยหนึ่งในอัลบั้มที่ถ่ายทอดอารมณ์ของเหตุการณ์ได้เป็นอย่างดี คือผลงานของ Piere Petit ซึ่งถ่ายภาพถนนต่างๆ รวมถึงสัญลักษณ์สำคัญอย่างหอไอเฟล วิหารนอเตรอดาม หรือพระราชวังแวร์ซายส์ โดยมีผืนน้ำอยู่เบื้องล่างแทนผู้คนพลุกพล่านที่เราคุ้นเคย
ความตื่นตัวจากเหตุการณ์น้ำท่วมกุรงปารีสที่ถือว่าร้ายแรงที่สุดในรอบ 250 ปี ยังรวมถึงการจัดทำสารคดีการรับมือกับน้ำท่วมที่ฉายเมื่อห้าปีก่อนในชื่อ Paris 2011: La grande inondation เล่าเรื่องเหตุการณ์สมมติว่ากรุงปารีสจะทำอย่างไร หากน้ำในแม่น้ำแซนน์เพิ่มระดับสูงรวดเร็วซ้ำรอยกับประวัติศาตร์ ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่างทีมภาพยนตร์ กับเจ้าหน้าที่รัฐในการให้ข้อมูลเรื่องมาตรการรับมือน้ำท่วม ที่แม้จะไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงเท่าปี 1910 เกิดขึ้นอีกเลย แต่จากความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลกในปัจจุบันมีความเป็นไปได้ว่าเหตุการณ์นี้อาจจะซ้ำรอยได้สักวัน


วันพฤหัสบดี, ตุลาคม 13, 2554

14 ตุลา 2516

ลำดับเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516
วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ.2516
 
ธีรยุทธ บุญมี อดีตเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย บัณฑิตวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะผู้ประสานงานกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ พร้อมด้วยสมาชิกประมาณ 10 คน เปิดแถลงข่าวที่บริเวณสนามหญ้าท้องสนามหลวง ด้านอนุสาวรีย์ทหารอาสา โดยมีวัตถุประสงค์ คือ
  1. เรียกร้องให้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญโดยเร็ว
  2. จัดหลักสูตรสอนอบรมรัฐธรรมนูญสำหรับประชาชน
  3. กระตุ้นประชาชนให้สำนึก และหวงแหนในสิทธิเสรีภาพ
ธีรยุทธ บุญมี นำรายชื่อผู้ลงนามเรียกร้องรัฐธรรมนูญ 100 คนแรก
ประกอบด้วยบุคคลต่าง ๆ มาเปิดเผย เช่น พล.ต.ต สง่ากิตตขจร, นายเลียง ไชยกาล, นายพิชัย รัตตกุล, นายไขแสง สุกใส, นายประพันธ์ศักดิ์ กมลเพชร, รวมทั้งอาจารย์มหาวิทยาลัย เช่น ดร.เขียน ธีรวิทย์, ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน, ดร.ปราโมทย์ นาครทรรพ, ดร.ชัยอนันต์ สมุทรทวณิช, อาจารย์ทวี หมื่นนิกร เป็นต้น รวมทั้งจดหมายเรียกร้องจากนักเรียนไทยในนิวยอร์ค
ทันทีที่ข่าวนี้ออกมา พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร รองเลขาธิการคณะกรรมการติดตามผลการปฏิบัติราชการ บุตรชายของจอมพลถนอม กิตติขจร และบุตรเขยของจอมพลประภาส จารุเสถียร ได้ให้สัมภาษณ์ว่า มีอาจารย์ในมหาวิทยาลัยบางคน กำลังดำเนินการให้นิสิตนักศึกษาเดินขบวน และหากมีการเดินขบวนแล้วไม่ผิดกฏหมายอีกก็จะนำทหารมาเดินขบวนบ้าง เพราะทหารก็ไม่อยากจะไปรบเหมือนกัน

หลังจากเหตุการณ์ครั้งนี้ มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ โดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประชาชนต่าง ๆ จากหลายภาคส่วน โดยไม่มีนักการเมืองร่วมอยู่ด้วยเลย และใช้สนามม้านางเลิ้งเป็นสถานที่ร่าง โดยเรียกกันว่า "สภาสนามม้า" จนนำไปสู่การเลือกตั้งในต้นปี พ.ศ. 2518 ซึ่งในช่วงระยะเวลานั้น มีคำเรียกว่าเป็นยุค "ฟ้าสีทองผ่องอำไพ" แต่ทว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ ในประเทศยังไม่สงบ มีการเรียกร้องและเดินขบวนของกลุ่มชนชั้นต่าง ๆ ในสังคม ประกอบกับสถานการณ์ความมั่นคงในประเทศรอบด้าน แม้รัฐบาลชุดใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งก็ไม่มีเสถียรภาพเพียงพอที่จะแก้ไขสถานการณ์ได้ จนนำไปสู่เหตุนองเลือดอีกครั้งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เมื่อปี พ.ศ. 2519 คือ เหตุการณ์ 6 ตุลา

ขอขอบคุณ ที่มาหนังสือบันทึกภาพเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ และ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙
เว็บไซต์ 14 ตุลาคม วันประชาธิปไตย http://www.14tula.in.th/



วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2516
สมาชิกของกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญประมาณ 20 คน เดินแจกใบปลิวและหนังสือ ซึ่งอัญเชิญพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวไว้บนปก
"ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิม ให้แก่ราษฎร โดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิ์ขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของราษฎร"ผู้เรียกร้องถือป้ายโปสเตอร์ 10 กว่าแผ่น มีใจความเช่น น้ำตาตกใน เมื่อเราใช้ รัฐธรรมนูญ , จงปลดปล่อย ประชาชน , ประชาชนต้องการรัฐธรรมนูญ เป็นต้น กลุ่มเรียก ร้องออกเดินจาก บริเวณตลาดนัดสนามหลวง ไปบางลำภู ผ่านสยามแสควร์ และเมื่อถึงประตูน้ำ เวลาประมาณ 14.00 น. ก็ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาล และ สันติบาล จับกุมไปทั้งหมด 11 คน ซึ่งมีทั้งอาจารย์ นิสิตนักศึกษา นักหนังสือพิมพ์ และนักการเมือง ทั้งหมดถูกแจ้งข้อหา มั่วสุมชักชวนให้มีการชุมนุมทางการเมือง ผิดประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 4 ที่ห้ามชุมนุมเกินกว่า 5 คน ผู้ต้องหาถูกนำไป ไว้ที่กองบังคับการตำรวจสันติบาลกอง 2 จนกระทั่งเวลาเที่ยงคืน จึงย้ายไป คุมขังที่โรงเรียนตำรวจนครบาล บางเขน ทางตำรวจปฏิเสธ ไม่ยอมให้เยี่ยมและห้ามประกัน

วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2516
ตลอดช่วงบ่าย และค่ำของวันที่ 6 ถึงเช้าวันที่ 7 ตุลาคม เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการ ตรวจค้นสำนักงานตลอดจนบ้านพักของผู้ต้องหาและเกี่ยวข้อง และได้จับ นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงเพิ่มขึ้นอีก 1 คน รวมเป็น 12 คน ตลอดระยะเวลาดังกล่าว ตัวแทนของนิสิตนักศึกษาจากสถาบันต่างๆ พยายามวิ่งเต้นที่จะเข้าเยี่ยม และประกันเพื่อนของตน
คำประกาศเชิญชวนร่วมเรียกร้องรัฐธรรมนูญ
ประเทศไทย เป็นของชาวไทยทุกคน อันหมายความว่า บรรดาทรัพยากรทั้งมวล การจัดสรรผลประโยชน์จากทรัพยากร อำนาจอธิปไตยในการปกครอง การบริหาร การป้องกันประเทศ การจัดระบบสังคม เพื่อให้เกิด และรักษาไว้ซึ่งความสงบ เสรีภาพ เสมอภาค และความยุติธรรม เป็นของประชาชนชาวไทยทุกคนโดยเท่าเทียมกัน
หลักการเช่นนี้ว่า ก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ของประชาชน เพื่อรวมกันกำหนดความเป็นไปของชาติ การสร้างสรรค์ความสมบูรณ์สันติสุขให้เกิดขึ้นในชุมนุมชนชาวไทย
แต่ปรากฏว่าหลักการดังกล่าวต้องล้มเลิกไปเมื่อ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 มีผลให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยุบสภา เลิกพรรคการเมือง ทำให้การปกครองประเทศขาดการมีส่วนร่วมจากประชาชน ผู้ปกครองไม่ได้รับความยินยอมพร้อมใจจากประชาชน สิทธิ เสรีภาพของประชาชนถูกจำกัด การบริหารบ้านเมืองขึ้นอยู่กับตัวบุคคลมากกว่าหลักการ สภาพเศรษฐกิจการเมืองและสังคมขมวดปมแห่งความยุ่งยากขึ้น ความยุติธรรมในสังคมลดน้อยลงทุกที สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดผลร้ายต่อความอยู่รอดของชาติในระยะยาวต่อไป
การแก้ไขปัญหาดังกล่าว จำเป็นต้องระดมสรรพกำลังความคิด ของประชาชนให้มีส่วนร่วมในการกำหนด ชะตากรรมของประเทศชาติและของตัวเอง ส่งเสริมให้ประชาชนมีสำนึกร่วมในการต่อสู้ เพื่อสร้างสรรค์ประเทศชาติ นั่นคือการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีสิทธิ เสรีภาพในการกำหนดควบคุมเป้าหมาย และนโยบาย ในการบริหารประเทศ ให้ประชาชนเป็นผู้ร่วมกำอนาคต ดังนั้นจะต้องมีกติกาทางการเมือง หรือรัฐธรรมนูญกำหนดเงื่อนไขแห่งการใช้สิทธิ และเสรีภาพของประชาชน กำหนดการเข้ารับภาระหน้าที่เกี่ยว กับอำนาจอธิปไตยของปวงชน ทั้งทางด้านนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ เพื่อให้ผู้เข้าปฏิบัติหน้าที่ต้อง กระทำการโดยยึดผลประโยชน์ของชาติ และประชาชนเป็นสำคัญ
บัดนี้ เราผู้มีรายชื่อปรากฏข้างท้ายนี้ ต่างมีความเห็นร่วมกัน และเชื่อมั่นว่า ประชาชนชาวไทย เป็นผู้มีเกียรติภูมิและศักดิ์ศรี ตลอดจนมีความตื่นตัวเพียง พอพร้อมที่จะปกครองตนเองได้ จึงเรียกร้องให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยว กับการร่างรัฐธรรมนูญ ได้ดำเนินการเร่งรัดให้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญเร็วที่สุด (จากเอกสารที่กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญแจกจ่ายในวันที่ 6 ตุลาคม 2514) 13.00 น. ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยออกแถลงการณ์ มีใจความตอนหนึ่งว่า จากการกระทำของกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ เป็นการดำเนินดการโดยเปิดเผยและสันติวิธี เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องสิทธิเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตย แต่รัฐบาลได้สั่งจับบุคคลกลุ่มนี้แล้วสร้างสถานการณ์ขึ้นเพื่อยัดเยียดข้อหา ร้ายแรงแก่ประชาชนกลุ่มนี้ เป็นการส่อเจตนารมณ์ที่แท้จริงของรัฐบาล ที่ไม่ต้องการให้ประชาชนได้เข้าใจถึงสิทธิ และเสรีภาพอันชอบธรรมตามระบอบประชาธิปไตย เพื่อตนจะได้ครองอำนาจไปตลอดกาล และไม่มีรัฐบาลที่ไหนในโลกที่จะปราบปรามประชนชน ที่เรียกร้องสิทธิเสรีภาพ นอกจากรัฐบาล ของพวกเผด็จการฟาสซิสต์ และคอมมิวนิสต์เท่านั้น ในขณะเดียวกันองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือ อมธ. ก็มีการเคลื่อนไหวเรียกประชุมด่วน มีมติให้ศึกษาสถานการณ์ ติดโปสเตอร์ชี้แจงข้อเท็จจริง

วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2516
ตอนเช้า วันแรกของการสอบประจำภาคมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีโปสเตอร์โจมตีรัฐบาลปิดทั่วบริเวณ ที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร (ปัจจุบัน คือ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) นักศึกษาชุมนุมอภิปรายโจมตีรัฐบาลเรียกร้องให้ปล่อยผู้ถูกจับกุมทั้งหมด ให้รัฐบาลชี้แจงเรื่องรัฐธรรมนูญให้ชัดเจน พร้อมๆ กันนี้นักศึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ก็เข้าชื่อถึงนายกรัฐมนตรี ให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกจับกุม
วันเดียวกันนี้ พล.ต.ต.ชัย สุวรรณศร ผู้บังคับการตำรวจสันติบาล ได้ออกหมายจับนายไขแสง สุกใส อดีตนักการเมืองในข้อหาว่า อยู่เบื้องหลังกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ส่วนจอมพลประภาส จารุเสถียร ผู้ดำรงตำแหน่งทั้งรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรักษาการอธิบดีกรมตำรวจ ให้สัมภาษณ์ด้วยข้อความที่เสมือนระเบิดลูกใหญ่ว่า กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญมีแผนจะล้มรัฐบาล และกล่าวว่ามีการค้นพบเอกสารคอมมิวนิสต์ทั้งภาษาไทย จีน และอังกฤษ เป็นจำนวนมาก
อนึ่งจากบันทึกรายงานการประชุมกระทรวงมหาดไทย ครั้งที่ 28/2516 วันจันทร์ ที่ 8 ตุลาคม 2516 ซึ่งมีจอมพลประภาส จารุเสถียร เป็นประธานนั้นที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องการเรียกร้องรัฐธรรมนูญ และมีความเห็นว่าทางราชการอาจกระทำการปราบปรามผู้เรียกร้อง ทั้งยัง เชื่อว่านิสิตนักศึกษาจะเสียไปราว 2 เปอร์เซ็นต์ จากจำนวนเป็นแสนคน โดยอ้างว่า จำต้องเสียสละ เพื่อความอยู่รอดของบ้านเมือง ซึ่งก็หมายความว่า ทางราชการเตรียมพร้อมที่จะใช้ความรุนแรงในการปราบปราม
บ่ายวันนั้น นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดอภิปรายที่หน้าหอประชุมใหญ่ และขึ้นรถไปเยี่ยมเพื่อน ๆ ที่โรงเรียนตำรวจนครบาลบางเขน ต่อมาคณาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ส่ง ตัวแทนประมาณ 60 คน ไปเยี่นมอาจารย์ทวี หมื่นนิกร 1 ใน 12 ผู้ต้องหา แต่ถูกปฏิเสธการเข้าเยี่ยม อาจารย์ทั้งหมดจึงลงชื่อ พร้อมเขียนข้อความไว้ว่า " We Shall Overcome "
ค่ำวันนั้น อมธ. ประชุมลับ และมีมติให้เลื่อนการสอบไล่โดยไม่มีกำหนด นักศึกษากิจกรรมแยกย้ายกันเอาโซ่ล่ามประตู เอาปูนปลาสเตอร์อุดรูกุญแจห้องสอบ ตัดสายไฟฟ้าเพื่อให้ลิฟท์ใช้การไม่ได้

วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2516
เช้าตรู่ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปรากฏธงดำครึ่งเสาเหนือยอดโดม ประตูทาง เข้ามีประกาศ งดสอบ ด้านท่าพระจันทร์มีผ้าผืนใหญ่ข้อความว่า เอาประชาชนคืนมา ส่วนอีกผืนว่า เราเรียกร้องรัฐธรรมนูญเป็นกบฎหรือ นักศึกษาที่เข้า ห้องสอบไม่ได้ต่าง ทยอยไปชุมนุม และฟังการอภิปราย โจมตีรัฐบาลอย่างเผ็ดร้อน ณ บริเวณลานโพธิ์ ซึ่งนำโดยสองนักศึกษาชายหญิง เสกสรร ประเสริฐกุล แลละเสาวนีย์ ลิมมานนท์ มีนักศึกษา แพทย์ศิริราชค่อย ๆ ข้ามฝากมาสมทบ ส่วนที่วิทยาลัย วิชาการศึกษา ประสานมิตรชุมนุมเป็นวันที่สอง ออกแถลงการณ์ให้ปล่อยผู้ต้องหาภายในวันที่ 15 ตุลาคม และให้ประกาศรัฐธรรมนูญในวันที่ 10 ธันวาคม ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง นักศึกษาเริ่มชุมนุมอภิปรายเรียกร้องให้รัฐบาลปล่อยตัวผู้ถูกจับกุม และให้มหาวิทยาลัยเลื่อนการสอบ
บ่ายวันนั้นฝนตกโปรยปราย สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประชุมฉุกเฉินมีมติ ให้ทำหนังสือถึง นายกรัฐมนตรี ให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาทั้ง 13 คน ให้อธิการบดีเลื่อน การสอบออกไป ให้ต่อสู้ด้วยวิธีอหิงสา ประท้วงตลอดวันตลอดคืน หากไม่ได้ผล ให้ใช้วิธีรุนแรง
บ่ายวันเดียวกันนั้น อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 205 คน ทำหนังสือถึง นายกรัฐมนตรีขอให้ พิจารณาปล่อยบุคคลเหล่านี้ เพื่อป้องกันมิให้ สถานการณ์ ลุกลามและรุนแรงยิ่งขึ้น
รัฐบาลตอบโต้ด้วยการที่จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ประกาศใช้มาตรา 17 แห่งรัฐธรรมนูญปกครองกับผู้ต้องหา ซึ่งให้อำนาจเบ็ดเสร็จ กับนายกรัฐมนตรีโดย ไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรมทางกฏหมาย แต่อย่างใด พร้อมกันนั้นทบวง มหาวิทยาลัยของรัฐ ก็ประกาศให้นิสิตนักศึกษาปฏิบัติตามกำหนดการสอบอย่างเคร่งครัด
คืนนั้นฝนตกหนาเม็ด ผู้ร่วมชุมนุมหาร่วมถอยหนีไม่ บ้างกางร่ม บ้างเอา หนังสือ พิมพ์คลุมหัว ฟังการอภิปรายโจมตีรัฐบาล สลับกับการแสดงละครเสียดสีการเมือง เกือบเที่ยงคืนฝนตกหนัก อากาศหนาวผู้ร่วมชุมนุม จึงย้ายจาก ลานโพธ์เข้าไป ในหอประชุมใหญ่

วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2516
สายวันนั้น ฝนหยุดตก นักศึกษาทยอยกลับมาชุมนุมที่ลานโพธิ์ พร้อมกับนำคำแถลง การณ์มาอ่านเผยแพร่ เช่นคณาจารย์มหาวิทยาลัยรามคำแหงคัดค้านการกระทำของรัฐบาล อาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอให้รัฐบาลรอบคอบ สภาอาจารย์ธรรมศาสตร์เห็น ว่าการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตใจ เพื่อประโยชน์แก่สังคมเป็นส่วนรวม เป็นสิทธิขั้นมูลฐาน ของประชาชนทุกคนในอารยะประเทศ สโมสรเนติบัณฑิต แถลงว่าการกล่าวหาบุคคลทั้ง 13 คน เป็นการจงใจใส่ความอันเป็นเท็จ สโมสร นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลแถลงว่าบุคคลใดที่กระทำการต่อสู้ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจแห่งปวงชนแล้ว ถือว่ากลุ่มบุคคลนั้นกระทำเพื่อชาติ เพื่อประชาชน ส่วนทางองค์นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กล่าวว่า จะดำเนินการ ประท้วงจนกว่า จะประสบความสำเร็จ ในขณะเดียวกันศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ก็ก้าวเข้ามา รับช่วงงานชุมนุมอย่างเป็นทางการจาก อมธ. พร้อมทั้งออก แถลงการณ์วิงวอน ให้ประชาชนร่วมต่อสู้ มิฉะนั้นแล้ว ประเทศไทยก็ยังคง อยู่ในอำนาจมืดของอำนาจอธรรม ไม่มีทางที่จะเห็นแสงสว่างแห่งคุณธรรมไปได้เลย วันพุธที่ 10 ตุลาคม ลานโพธิ์ได้กลายเป็นศูนย์กลางของการชุมนุม นับแต่เที่ยงวัน นักศึกษาวิทยาลัยครูพระนคร วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และวิทยาลัยครูธนบุรี (ปัจจุบันวิทยาลัยครูได้เปลี่ยนชื่อเป็น สถาบันราชภัฎ) ประมาณ 1 พันคนก็มาถึง ติดตามด้วยนักศึกษาวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร ในช่วงบ่าย พร้อมทั้งมีข่าวว่า วิทยาลัยวิชาการศึกษา 8 แห่งทั่วประเทศ จะหยุดเรียนตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ที่สำคัญก็คือ นักเรียนมัธยม และนักเรียนอาชีวะ ทั้งจากวิทยาลัยและสถาบันในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ต่างก็ส่งตัวแทนขึ้นมาประกาศงดสอบ งดเรียน ผู้แทนนักเรียน อาชีวะประกาศร่วมต่อสู้ นักเรียนช่างกลคนหนึ่งตะโกนว่า ถ้าต้องการเครื่องทุ่นแรง ก็ขอให้บอกมา วันนั้นการชุมนุมแน่นขนัดเป็นหมื่นเต็มลานโพธิ์ และระเบียงคณะ ศิลปศาสตร์ จนต้องมีมติให้ย้ายการชุมนุมไปยังสนามฟุตบอล
ในวันเดียวกันนี้รัฐบาลได้เพิ่มความตึงเครียดของสถานการณ์ขึ้น โดยที่จอมพลถนอม กิตติขจรให้สัมภาษณ์ว่า พบหลักฐานฝักใฝ่ลัทธิคอมมิวนิสต์ จึงตั้งข้อหา คอมมิวนิสต์อีกกระทงหนึ่ง

วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2516
เช้าตรู่ วันที่ 11 ตุลาคม นิสิตนักศึกษานิมนต์ พระประมาณ 200 รูป ทำบุญ ตักบาตรท ี่สนามฟุตบอล อภิปรายโจมตีรัฐบาลต่อ ตั้งแต่ช่วงเช้า นักเรียนนิสิตนักศึกษา จากสถาบันต่าง ๆ ทยอยเข้าเป็นทิวแถวอย่างมีระเบียบ นิสิตเกษตรฯ งดสอบ เช่ารถ 70 คัน ประมาณ 4 พันคนมุ่ งสู่ธรรมศาสตร์ นักศึกษา วิทยาลัย ครูจันทรเกษ มตามมาสมทบอีก 33 คัน นักเรียนช่างกล นักศึกษารามคำแหง นักศึกษาวิทยาลัยครูต่าง ๆ มาถึงในเวลาต่อมา จนทำให้มีผู้เข้าร่วมชุมนุมประมาณ 5 หมื่นคน โฆษกบนเวทีด้านตึก อมธ. ด้านแท้งค์น้ำกล่าวว่า พรุ่งนี้นัดเรียนอนุบาล จะมาร่วมชุมนุมด้วย ตอนสายวันนั้น จอมพลประภาส จารุเสถียร เริ่มเจรจาด้วยการให้นายสมบัติ ธำรงธัญญวงศ์ เลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยและคณะเข้าพบ
ทั้งสองฝ่ายตกลงกันไม่ได้ ฝ่ายนิสิตนักศึกษายืนยันให้รัฐบาลปล่อยตัวผู้ต้องหาทั้ง 13 คน แต่รัฐบาลยืนกรานจะดำเนินการตามมาตรา 17 ในคืนนั้นก็มีการประชุมรัฐมนตรีโดยด่วน ตั้งศูนย์ปราบปรามจลาจลขึ้นที่สวนรื่นฤดี มีจอมพลประภาส จารุเสถียรเป็นผู้อำนวยการ คืนวันนั้นเช่นกัน การชุมนุมดำเนินไปอย่างเผ็ดร้อน และแน่นขนัด นักเรียนนิสิตนักศึกษาได้รับการสนับสนุนจากหลายทิศหลายทาง มีทั้งเงินบริจาคหลายแสนบาท มีทั้งอาหารและผลไม้หลั่งไหลเข้ามาไม่ขาดสาย นักเรียนไทยจากสหรัฐอเมริกา เยอรมนี และออสเตรเลีย ส่งจดหมายสนับสนุนการต่อสู้ พร้อมส่งเงินมาบริจาคสมทบ

วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2516
หลังการชุมนุมติดต่อกันเป็นเวลา 3 วัน 3 คืนเต็ม ถนนทุกสายของ ผู้ฝักใฝ่หาเสีรีภาพ และประชาธิไตย ก็มุ่งสู่ธรรมศาสตร์ การจราจรบนถนนในกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะสายที่จะไปธรรมสาสตร์ติดขัดขนาดหนัก คลาคล่ำไปด้วยขบวน นักเรียนนิสิตนักศึกษาที่ถือป้าย และโปสเตอร์เดินมุ่งสู่ธรรมศาสตร์ขบวนแล้วขบวนเล่า มีทั้งจากกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ตั้งแต่ระดับประถมไปจนสูงกว่าปริญญาตรี ภาครัฐบาลและภาคเอกชน ยิ่งสายคนยิ่งแน่น ในสนามฟุตบอลม ีคนร่วมชุมนุม เป็นจำนวนแสน 12.00 น. ของวันนั้น ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ออกคำแถลงการณ์ ยื่นคำขาดว่า ให้รัฐบาลปลดปล่อยบุคคลเหล่านั้นภายใน 24 ชั่วโมง นับตั้งแต่เวลา 12.00 น. ของวันที่ 12 ตุลาคม 2516 เป็นต้นไป หากในเวลา 12.00 น. ของวันที่ 13 ตุลาคม 2516 ทางศูนย์กลางนิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย ยังมิได้รับคำตอบอันเป็นที่พอใจ ศูนย์กลาง นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย จะได้พิจารณาใช้มาตรการในขั้นเด็ดขาดต่อไปตอนบ่าย พลตรีประกอบ จารุมณี อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เรียกผู้แทนหนังสือพิมพ์เข้า ไปกำชับเกี่ยวกับรายงายข่าวปรามมิให้ใช้คำว่า หวั่นจะนองเลือด ไม่ให้ใช้คำว่าคนมาชุมนุมเป็น แสน บ้าง ทั้งนี้สืบเนื่อง จากการที่หนังสือ พิมพ์รายวันทั้งภาษาไทยและอังกฤษ เช่น ประชาธิปไตย ไทยรัฐ เดลินิวส์ สยามรัฐ ตลอดจน The Nation และ Bangkok Post ได้ติดตามรายงานข่าว อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นผลให้เรียกร้องรัฐธรรมนูญ เป็นที่รับรู้ในคนหมู่มาก อย่างไม่เคยปรากฏมา ก่อนทั่วประเทศ ทำให้นักเรียนนิสิต นักศึกษาของสถาบันการ ศึกษาในต่างจังหวัด มีการเคลื่อนไหวชุมนุมประท้วง สอดคล้องกันไปกับปรากฏการณ ์ในกรุงเทพฯ เช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จากการชุมนุมที่เข้มแข็ง และจำนวนมากมายมหาศาลหลายแสนนี้ ทำให้รัฐบาลจำต้องยอม ให้มีการประกันตัวผู้ต้องหา มีผู้เสนอประกันตัวให้ แต่ผู้ต้องหาทั้ง 13 ไม่ยอม รับการประกัน เนื่องจากไม่รู้จักผู้ค้ำประกันแต่อย่างใด ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาฯ แถลงว่า การที่รัฐบาลยอมให้ประกันตัว และดูเหมือน จะอุปโหลกตัว ผู้ค้ำประกันนั้นเป็น การบ่ายเบี่ยงเจตนารมณ์ ศูนย์ฯยืนยันที่จะให้ปล่อยตัวโดยไม่มีเงื่อนไขคืนนั้น การชุมนุมประท้วงดำเนินต่อไป คลื่นมนุษย์เบียดเสียดยัดเยียดกันอยู่กว่า 2 แสนคน คืนนั้นอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ส่วนหนึ่งนำตัวแทนนักศึกษา 2 คน เข้าไปรายงาน ณ พระตำหนักจิตรลดาเพื่อขอให้นำความขึ้นกราบบังคมทูลให้ทรงทราบ สถานการณ์ และการกระทำของนิสิตนักศึกษาต่อไป คืนวันนั้นเช่นกันวิทยุกรม ประชาสัมพันธ์ได้ ประกาศเตือนพ่อแม่ผู้ปกครอง มิให้ปล่อยลูกหลาน มาร่วมชุมนุมโดยอ้างว่ามีนักเรียน หรือบุคคลกลุ่มหนึ่ง เตรียมการที่จะใช้อาวุธ อย่างไรก็ตามฝ่ายข่าวของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาได้รับข่าวว่ามีการเสริมกำลังทหาร อย่างแน่นหนาบริเวณสวนรื่นฤดี บางแห่งมีการนำรถหุ้มเกราะ รถดับเพลิงทหาร รถถังออกมาตั้ง ทางตำรวจโรงพักชนะสงคราม มีตำรวจหนาแน่น มีการจ่ายอาวุธ และกระสุนเต็มอัตรา และได้ร่วมกับตำรวจสายตรวจนครบาล โดยจะใช้ ทหารราบ รักษาพระองค์ ทหารพลร่มจากศูนย์สงครามพิเศษ และรถถังจากกองพันทหารม้าที่ 4 มีกำลังหนุนจากกองพลทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์และทหารจากกองพล ปตอ. ส่วนทางด้าน ตำรวจนั้นจะ ใช้กำลังจากศูนย์ปราบปรามพิเศษนครบาล บางเขน

วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2516
วันนี้เป็นวันแห่งคำขาดของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย เป็นวันที่ทุกคนรอคอยด้วยใจระทึก การประท้วง ชุมนุม อภิปราย สลับการร้องเพลง การแสดงละคร การอ่านบทกวีดำเนินไปตลอดคืน จนกระทั่งฟ้าสาง เมื่อเวลาประมาณตี 5 นายสมบัติ ธำรงธัญญวงศ์ พร้อมด้วยกรรมการศูนย์ฯ ได้นำการร้องเพลง ชาติและกล่าวสาบานต่อที่ชุมชน ที่จะเทิดทูนชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และรัฐธรรมนูญ เช้าวันนั้น นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนแน่น ขนัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จนกระทั่งล้นทะลึกออกไปบริเวณรอบนอก ทุกคนต่างรอคอยเวลา 12.00 น. และแล้ว เสกสรร ประเสริฐกุลผู้นำนักศึกษาที่ได้รับการแต่งตั้งเฉพาะกิจ เป็นหัวหน้า ปฏบัติการเดินขบวน ก็ประกาศว่า พี่น้องชาวไทยที่รักทั้งหลาย เราได้ให้โอกาส รัฐบาลมานานแล้ว 5 วัน 5 คืน ที่เราได้นั่งอดตาหลับขับตานอน ตากแดดตากน้ำค้าง เพื่อเรียกร้องสิทธิของเรา ได้รับการเพิกเฉย ความไม่แยแสจากรัฐบาล 24 ชึ่วโมงที่เรายื่นคำขาดใกล้จะมาถึงแล้ว ท่านพร้อมแล้วใช่ไหม ที่จะใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดกับสองตระกูลกินเมืองเหล่านั้น ในที่สุด…เที่ยงตรงของวัน (เสาร์) ที่ 13 ตุลาคม ทุกคนยืนขึ้นพร้อม จะออกไปเผชิญ กับทุกสิ่งทุกอย่างที่อาจจะเกิดขึ้น … กรรมการศูนย์ฯ นำมวลชนสวดมนต์ ร้องเพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมี ตามด้วยเสียงไชโยโห่ร้องอย่างสนั่นหวั่นไหวรูปขบวนซึ่งได้รับการเตรียมไว้อย่างดี … ก็เริ่มทะลักออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หน่วยคอมมานโดทะลวงฝ่าฝูงชนเป็นรูปหัวหอก ตามด้วยทัพธง ซึ่งเป็นนักศึกษาหญิงล้วน
12.30 น. รถบัญชาการ เริ่มตีวงกลับ … กองอาสาสมัครหญิงถือธงไตรรงค์จัดแถว และเริ่มเดินออก ติดตามด้วยแถวอาสาสมัครหญิงถือธงธรรมจักร และอัญเชิญพระบรมฉายาลักษณ์ … หน่วยหมีและหน่วยกล้าตายรวมพล … มีกระสอบข้าวและ พริกไทยไว้สู้กับสุนัขตำรวจ มีตะขอและ เชือกพลาสติกไว้จัดการกับเครื่องกีดขวาง … ท้ายขบวนมีรถบรรทุกน้ำและถุงพลาสติก กระดาษเช็ดหน้าไว้ป้องกันแก็สน้ำตา ตอนนี้รถบัญชาการกลับตัวออกมา หน่วยกนก50 ออกมาอารักขา มวลชนทะลักตัวออกมาจากสนามฟุตบอล ผู้คนระบายออกจากสนามฟุตบอลทีละข้าง ระหว่าแถบช้ายของทางลอดใต้ตึกโโดมกับแถบขวาสลับกัน ประมาณบ่าย 2 โมงกว่า ฝูงชนออกไม่ถึงครึ่งสนาม คลื่นมนุษย์ไหลมาอย่างกับน้ำป่าไหลท่วมธรรมศาสตร์ ฝูงชนเคลื่อนตัวออกจากสนามฟุตบอลมาอออยู่เต็มปากทางลอดตึกโดม แล้วก็ไหลลอดตึกโดยเลี้ยวขวาไปตามถนนเป็นแนวยาวเหยียดระลอกแล้วระลอกเล่าจาก 12.00 น. จนถึง 15.30 น. ลอดใต้ตึกห้องสมุดทางด้านประตูท่าพระอาทิตย์ เลียบเชิงสะพานปิ่นเกล้ าแล้วเข้าถนนราชดำเนิน ข้ามสะพานผ่านพิภพลีลา มุ่งสู่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ประมาณกันว่าวันนั้นมีนักเรียน นิสิตนักศึกษา และประชาชนเข้าร่วมเดินขบวนถึงกว่า 5 แสนคน และมีการถ่ายทอด ออกอากาศทางช่อง 4 และช่อง 7 การจัดรูปขบวนของนักเรียนนิสิตนักศึกษาในวันนั้น จัดเป็นแถว รูปหน้ากระดาน 5 ขบวนอย่างเป็นระเบียบ พร้อมด้วยสัญลักษณ์ของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ที่นำมาใช้ใน การเรียกร้องรัฐธรรมนูญ และมีขบวนรถบรรทุกขนาดเล็กจำนวน 13 คัน ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่รถบัญชาการ ตามด้วยรถพยบาล รถสวัสดิการ รถเสบียง รถพัสดุแสงเสียงและไฟฟ้า และรถระวังหลัง
การเดินขบวนครั้งยิ่งใหญ่นี้ มีการเตรียมการป้องกันรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด ทั้งนี้เพราะกระแสข่าวว่า อาจจะมีการปราบปรามจากทหารและ ตำรวจเล็ดลอด ออกมาเป็นระยะ ๆ ดังนั้นนักเรียนอาชีวะที่ประกอบกันเข้าเป็นหน่วยรักษาความปลอดภัย จึงกระจายออกเป็นถึง 10 เท่าด้วยกัน คือ หน่วยคอมมานโด หน่วยหมี หน่วยเฟืองป่า หน่วยฟันเฟือง หน่วยเซฟ หน่วยกนก50 หน่วยวิษณุ หน่วยช้าง หน่วยเสือเหลือง และหน่วยจ๊อด
วันนั้น ตลอดวันของเสาร์ที่ 13 ตุลาคม ในขณะที่การเดินขบวนคลาคล่ำถนนราชดำเนิน ตัวแทนของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาฯ ได้เข้าพบ เจรจาขั้นสุดท้ายกับจอมพลประภาส จารุเสถียร เมื่อได้รับคำตอบว่าจะปล่อยผู้ต้องหาทั้ง 13 คน และจะร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายใน 1 ปี จากนั้นตัวแทนของทางศูนย์ฯ ก็ได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อเวลา 16.20 - 17.20 น. 17.30 น. เสกสรร ประเสริฐกุล หัวหน้าปฏิบัติการเดินขบวน สั่งเคลื่อนขบวนจาก อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย มุ่งสู่ลานพระบรมรูปทรงม้า พร้อม ๆ กับการที่กรรมการศูนย์ฯ กลับเข้าพบจอมพลประภาส จารุเสถียร อีกครั้งระหว่าง 17.40 - 18.30 น. เพื่อทำหนังสือสัญญาตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร 20.00 น. วิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ประกาศว่ารัฐบาลยอม รับข้อเสนอ ของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษา ยอมปล่อยผู้ต้องหา และจะประกาศ ใช้รัฐธรรมนูญใหม่ในปีถัดไป ตัวแทนของนิสิตนักศึกษา และผู้แทนพระองค์พยายาม ดำเนินการให้มีการสลายตัว ของฝูงชนที่ยังคง ชุมนุมอยู่ เป็นเรือนแสน บรรยากาศทั่วไปเต็มไปด้วย ปัญหาการติดต่อ ประสานงาน ความตึงเครียด และข่าวลือต่าง ๆ นานาในทางร้ายต่อผู้นำนิสิตนักศึกษา กรมประชาสัมพัน ธ์ออกแถลงการณ์ว่า ได้มีนักเรียนหรือกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่ง เตรียมการที่จะ ใช้อาวุธร้ายแรงต่าง ๆ ในวันที่ 13 ตุลาคม 2516 และเมื่อ
22.00 น. ก็มีแถลงการณ์อีกว่า บัดนี้ ปรากฏว่าได้มีบุคคลบางคน ที่มีใช่นักศึกษา ถือโอกาสอภิปราย โจมตีรัฐบาล และยุยงส่งเสริมให้เกิดความวุ่นวายต่อไป
23.30 น. นายพีรพล ตริยะเกษม นายก อมธ. กระซิบกับเสกสรรค์ว่า บัดนี้กรรมการศูนย์ฯ ที่ไปเข้าเฝ้าชะตาขาดหมดแล้ว ทำให้เสกสรรค์ ประเสริฐกุล เคลื่อนขบวนจากลาน พระบรมรูปทรงม้าไปยังสวนจิตรลดา เพื่อหวัง เอาพระบารมีเป็นที่พึ่งเมื่อเวลาใกล้จะเที่ยงคืน
วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
นับแต่หลังเที่ยงคืนของวันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม นักเรีบน นิสิต นักศึกษา และประชาชนที่ชุมนุมประท้วงกันมาหลายวันหลายคืนก็มารวมกันอยู่ที่บริเวณ หน้าสวนจิตรลดาอย่างแน่นขนัด เพื่อหวังพระบารมีเป็นที่พึ่ง เวลาประมาณตี 5 ขณะที่มีการเริ่มสลายตัวของฝูงชน ก็เกิดเหตุการณ์รุนแรงขึ้น เชิดสกุล เมฆศรีวรรณ นักหนังสือพิมพ์ที่ทั้งเห็นเหตุการณ์วิกฤต และสูยเสียดวงตาไปหนึ่งดวงในวันนั้น เล่าเป็นประจักษ์พยานว่าที่บริเวณหน้าสวนจิตรลดา ช่วงถนนพระราม 5 ใกล้กับถนนราชวิถี พ.ต.อ.วสิษฐ์ เดชกุญชร ผู้แทนพระองค์ ได้อ่านพระบรมราโชวาทให้ฝูงชนฟัง จบแล้วฝูงชนก็เริ่มสลายตัวตามพระราชประสงค์ กลุ่มนักเรียนอาชีวะถือว่าเป็นหน่วยกล้าตายที่มีอาวุธพวกไม้ แป๊ปน้ำกันเกือบทุกคน ต่างได้ทิ้งอาวุธ พร้อมกับทำลายระเบิดขวด ฝูงชนที่จะกลับทางถนนราชวิถี (กลับ) ถูกสกัดกั้นด้วยตำรวจคอมมานโด ตำรวจเหล่านี้มีไม้พลอง โล่ หวาย และปืนยิงแก๊สน้ำตา ภายใต้การบัญชาการของ พล.ต.ท.มนต์ชัย พันธุ์คงชื่น และพล.ต.ต.ณรงค์ มหานนท์ ฝูงชนเมื่อรู้แน่ว่าไม่ได้รับการอนุญาตให้ผ่านออกไป ก็เริ่มมีปกิกริย าด้วยการใช้ ข้าวห่อขว้างปาใส่ตำรวจ ฝูงชนที่ถูกสกัดกั้นรายหนึ่งได้ใช้ท่อนไม้ ขว้างใส่ถูกตำรวจ ได้รับบาดเจ็บนายหนึ่ง
หลังจากนั้นให้หลังไม่ถึงสิบนาที รถตำรวจที่ใช้ ปราบจลาจลติดไซเรนสองคัน ก็พุ่งเข้าใส่กลุ่มฝูงชน โดยมีตำรวจคอมมานโด สวมหมวกกันน็อค ทั้งนครบาล และกองปราบ พร้อมด้วยสอง นายตำรวจผู้อื้อฉาว จากคดีทุ่งใหญ่ ก็ตามเข้าไปใช้กระบองหวดเข้าฝูงชนทันที ไม่ว่าเด็กหรือผู้หญิง การนองเลือดได้เริ่ม จากจุดนี้ สร้างความเครียดแค้นให้ฝูงชนมากขึ้น เมื่อเห็นเด็กนักเรียนหญิงอีกคนหนึ่งถูกแก๊สน้ำตาจนล้มฟุบ ฝูงชนที่หนีได้ก็ปีน ป่ายกำแพงเข้าไปในสวนสึตว์ และใช้ก้อนหินขว้างปาใส่ตำรวจ อีกส่วนหนึ่งก็กรูกันเข้า วังสวนจิตรฯ โดยมีมหาดเล็กเป็นคนเปิดให้เข้าไป การปะทะใช้เวลาประมาณ 15 นาที คือเริ่มตั้งแต่เวลา 6.30 - 6.45 น.
จากจุดปะทะเล็ก ๆ ณ บริเวณหน้าสวนจิตรลดาฯ เหตุการณ์ก็บานปลายลุกลาม ไปอย่างไม่มีใครคาดคิดไว้ รัฐบาลใช้กำลังทหาร และตำรวจปราบปรามผู้ชุมนุม ประท้วงอย่างรุนแรง ในขณะที่นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชน ตอบโต้ด้วยการก่อความวุ่นวาย บุกเข้ายึดและทำลายสถานที่บางแห่งที่เป็นสัญลักษณ์ของ อำนาจเผด็จการคณาธิปไตย พยายามยึดกรมประชาสัมพันธ์ ที่ให้ข้อมูลข่าวสารที่ บิดเบือนตลอดจนสถานีตำรวจ
นับตั้งแต่ 10.00 น. เป็นต้นไป รัฐบาลได้ออกแถลงการณ์เป็นระยะ ๆ กล่าวหาว่ามีกลุ่มนักเรียนบุกรุกเข้าไปในพระราชฐานสวนจิตรลดา และก่อวินาศกรรม ในขณะเดียวกันก็เกิดข่าวลือแพร่สะพัดว่า นักศึกษาหญิงที่ถือธงไตรรงค์ ในวันเดินขบวนถูกตำรวจตีตาย เด็กผู้ชายถูกถีบเตะตกคูน้ำจนตาย สร้างความโกรธแค้น ให้กับผู้ร่วมชุมนุมเป็นอย่างยิ่ง สถานการณ์รุนแรงหนักขึ้น รัฐบาลส่งทหารและตำรวจออกปราบ มีทั้งรถถังและเฮลิคอปเตอร์ จุดปะทะและนองเลือดมีตลอดสายถนนราชดำเนิน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บางลำพู เป็นเวลาถึง 10 ชั่วโมง พร้อม ๆ กับมีคำสั่งห้ามประชาชนออกนอกบ้านระหว่าง 22.00 - 05.30 น. ประกาศปิดโรงเรียน และสถาบันการศึกษาในกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ และกำหนดให้บริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และศิลปากรเป็นเขตอันตราย เตรียมพร้อมที่จะทำการกวาดล้างใหญ่
14.00 น. สำนักงานกองสลากกินแบ่ง และตึก กตป. ถูกไฟเผา นักเรียนและประชาชนต่อสู้อย่างทรหด ยึดรถเมล์ใช้วิ่งชนรถถัง แต่ก็ถูกยิงเสียชีวิต ผู้บาดเจ็บถูกหามเข้าส่งโรงพยาบาลสิริราชตลอดเวลา
18.00 น. จอมพลถนอม กิตติขจร ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
19.15 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสทางวิทยุและโทรทัศน์ ความตอนหนึ่งว่า วันนี้เป็นวันมหาวิปโยค เกิดการปะทะกัน และมีคนได้รับบาดเจ็บ ความรุนแรงได้ทวีขึ้นทั้งพระนคร ถึงขั้นจลาจล มีคนไทยด้วยกันต้องเสียชีวิต ทรงขอให้ทุกฝ่ายระงับเหตุแห่งความรุนแรง และทรงแต่งตั้งศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ องคมนตรี และนายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย เป็นนายกรัฐมนตรีแทนb สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี มีพระราชดำรัส ทางโทรทัศน ์แสดงความห่วงใย
23.30 น. ศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ นายกรัฐมนตรีคนใหม ่ปราศัยทาง โทรทัศน์ขอให้ทุกฝ่ายคืนสู่ความสงบ และประกาศ จะใช้รัฐะรรมนูญภายใน 6 เดือนอย่างไรก็ตาม 24.00 น. ของคืนวันนั้น จอมพล ถนอม กิตติขจร ในตำแหน่งของผู้บัญชาการทหารสูงสุด ยังคงออกแถลงการณ์ว่ามีผู้ที่ พยายามนำลัทธิการปกครองอื่นที่เลวร้ายมาล้มล้างการปกครองแบบประชาธิปไตย จึงขอให้เจ้าหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่จนสุดความสามารถ ซึ่งก็คือการปราบปรามนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนก็ยังคงดำเนินไป ตลอดคืนนั้น มีการต่อสู้ระหว่างนักเรียน ประชาชน และตำรวจ ที่กองบัญชาการ ตำรวจนครบาลผ่านฟ้า ฝ่ายนักเรียนและ ประชาชนปักหลักสู้จาก ตึกบริษัทเดินอากาศไทย และป้อมพระกาฬ ส่วนที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย มีการชุมนุมอยู่อีกเป็นจำนวนหมื่น ผู้นำศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาฯ ขาดการติดต่อ ซ้ำมีข่าวลือว่าบางคนเสียชีวิต เช่น เสกสรร ประเสริฐกุล และเสาวณีย์ ลิมมานนท์ จึงมีการจึดตั้ง ศูนย์ปวงชนชาวไทย ขึ้นชั่วคราวเพื่อประสานงาน และคลี่คลายสถานการณ์ มีจีรนันท์ พิตรปรีชา เป็นหนึ่งในแถบถนนราชดำเนินเป็นสีแดง มีไฟควันพวยพุ่งอยู่เป็นหย่อม ๆ การต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพ และประชาธิปไตยดำเนินไปตลอดคืน

วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2516
ตลอดคืนที่ผ่านมา นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนยังคงยืนหยัด ชุมนุมกันหนาแน่นท ี่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย คำประกาศเตือนและ ขู่ของรัฐบาลหาเป็นผลไม่ กลับมีคนออกจากบ้านมาร่วมชุมนุมไม่ขาดระยะ รัฐบาลมีประกาศหยุดราชการในวันนี้เป็นกรณีพิเศษ และมีประกาศปิดธนาคารทุกแห่ง ในขณะเดียวกันนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนก็ยืนหยัดต่อ สู้อย่างเด็ดเดี่ยวมีการลุกฮือเป็นจุด ๆ ทั่วกรุงเทพมหานคร และในบางท้องที่ในต่างจังหวัด โดยเฉพาะที่กองบัญชาการตำรวจนครบาลผ่านฟ้า และสถานีตำรวจนางเลิ้ง นักเรียน และประชาชนพยายามต่อสู้บุกเข้ายึด
และต่อสู้บุกเข้ายึดและเผาตลอดคืนจนรุ่งเช้าจากข้อเท็จจริงที่ว่า แม้จอมพลถนอม กิตติขจร จะลาออกตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้วก็ตาม แต่ก็ยังดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดอยู่ และก็ยังปรากฏว่า การปราบปราม นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนยังดำเนินอยู่ต่อไป พร้อมกับมีแถลงการณ์ว่า มีผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ส่งพลพรรคมีอาวุธร้ายแรงสวมรอยเข้ามา ยิ่งทำให้เห็นว่าเป็น การสร้างความเท็จ สร้างความโกรธแค้น และเกลียดชังยิ่งขึ้น ทำให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนเกิดพลังในการต่อสู้ต่อไป แม้จะบาดเจ็บล้มตาย เป็นจำนวนมากก็ตามจากการปราบปรามอย่างรุนแรง และไร้มนุษยธรรม ใช้ทั้งรถถัง เฮลิคอปเตอร์ อาวุะสงครามหนัก ทหาร และตำรวจจำนวนร้อย ทำให้เกิดความขัดแย้ง ในวงการ รัฐบาลอย่างหนึก มีทหาร และตำรวจที่ไม่เห็นด้วย พลเอก กฤษณ์ สีวะรา ผู้บัญชาการทหารบกเอง ก็ไม่เห็นด้วยกับวิธีการรุนแรงนี้ ทางด้านทหารอากาศ และทหารเรือ ก็เห็นด้วยกับผู้บัญชาการทหารบก กลายเป็นแรงผลักดันให้จอมพล ถนอม กิตติขจร ต้องลาออกจากตำแหน่ง และในที่สุดคณาธิปไตยทั้งสาม ถนอม ประภาส ณรงค์ ก็ต้องเดินทางออกนอกประเทศไทยไป เหตุการณ์ทั้งหมด จึงสงบลงพลันทันที่มี การประกาศว่าบุคคลทั้ง 3 ได้เดินทางออกนอกประเทศไปแล้ว เวลา 18.40 น.
เมื่อเดือนตุลาคม พุทธศักราช 2516 เยาวชนคนหนุ่มสาวหลายคนออกจากบ้าน ไปร่วมกับความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ หลายคนไม่ได้กลับบ้านอีกเลย บางคนกลับ ไปด้วยร่างกายพิการ บางคนกลับไปด้วยความรู้สึกใหม่ เหตุการณ์ 14 - 15 ตุลาคม มีผู้เสียชวิต 77 คน บาดเจ็บ 857 คนวันที่ 14 - 15 ตุลาคม 2516
วีรชนคนหนุ่มสาวเดินออกจากบ้าน และเข้าสู่ดินแดน แห่งประวัติศาสตร์ และตำนานที่จะจดจำกันไว้ในแผ่นดินนี้ชั่วกาลนาน
"เพื่อลบรอยคราบน้ำตาประชาราษฎร์ สักพันชาติจักสู้ม้วยด้วยหฤหรรษ์
แม้นชีพใหม่มีเหมือนหวังอีกครั้งครัน จักน้อมพลีชีพนั้นเพื่อมวลชน"

วันพุธ, ตุลาคม 12, 2554

ทำไมคำในภาษาไทยต้องมีตัวการันต์


         ตัวการันต์ คือ พยัญชนะที่มีเครื่องหมายฑัณฑฆาต  กำกับอยู่ข้างบน ซึ่งทำให้ไม่ต้องอ่านออกเสียงพยัญชนะตัวนั้นตัวการันต์อาจอยู่กลางคำหรือท้ายคำก็ได้ และอาจไม่ต้องออกเสียงพยัญชนะหลายตัวก็ได้ คำที่มีตัวการันต์มักจะเป็นคำที่นำมาจากภาษาอื่น เช่น ภาษาบาลี – สันสกฤต ภาษาอังกฤษ เป็นต้น

อ่านต่อที่ http://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3956­ ­ค่ะ
         หลักสังเกตในการอ่าน/เขียนตัวการรันต์
         1. คำหลายพยางค์ที่ต้องการให้ออกเสียงน้อยลง ส่วนใหญ่จะเป็นคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต เช่นคำว่า  ศิลป์  ประพันธ์ ฯลฯ
         2. คำบางคำที่มาจากภาษาอื่น เมื่อต้องการจะรักษารูปเดิมให้การันต์ พยัญชนะตัวท้าย เช่นคำว่า เมล์  ไมค์  ฯลฯ   
         3. คำที่มีตัวสะกดและมีสระกำกับอยู่ คำใด และตัวสะกดที่มีสระกำกับอยู่ ไม่ต้องใช้ฑัณฑฆาต เช่น พยาธิ  โลกนิติ  สมมุติ  ฯลฯ 
         4. คำที่ใช้ตัวการันต์สะกด แต่เวลาอ่านไม่ออกเสียง ใช้การันต์ในกรณีที่ไม่ออกเสียงพยัญชนะท้ายก็ไม่ต้องใส่เครื่องหมายฑัณฑฆาต เช่น จันทร์  พักต์  ศาสตร์ ฯลฯ
         5. คำบางคำที่ใช้เป็นตัวสะกดซ้อน แม้จะไม่ออกเสียงพยัญชนะท้ายก็ไม่ต้องใส่เครื่องหมายทัณฑฆาต เช่น
มิตร  จักร  สมัคร ฯลฯ
         6. คำสมาสจะไม่มีฑัณฑฆาตระหว่างคำ เช่น  แพทยสมาคม    มนุษยชาติ  ฯลฯ

              อย่างไรก็ตามผู้เรียนจะต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับคำที่มีตัวการรันต์ทั้งรูปคำ ที่มา  ความหมายของคำให้ถูกต้อง  แม่นยำสามารถนำไปใช้อ่าน  เขียนในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง

วันพฤหัสบดี, ตุลาคม 06, 2554

เหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 !! (ทารุณที่สุด) !!


เหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 !!



ร.ต.ท.วัชรินทร์ เนียมวณิชกุล ยิงปืนเข้าไปในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อย่างใจเย็น โดยที่ปากคาบบุหรี่อยู่ด้วย


การแสดงละครเกี่ยวกับกรณีฆ่าแขวนคอพนักงานการไฟฟ้านครปฐมเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2519
ไทยรัฐ ลงข่าวการสังหารหมู่นองเลือด ซึ่ง ไทยรัฐ เป็นเพียงหนังสือพิมพ์ไม่กี่ฉบับที่ไม่โดนคำสั่งคณะปฏิวัติ ปิดเป็นเวลา 3 วัน หลังเหตุการณ์

ญาติของผู้เสียชีวิตร่ำไห้เมื่อมารับศพ

ประติมากรรมรำลึกเหตุการณ์ 6 ตุลา ภายในบริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

เหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519

เป็นเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่รัฐและกลุ่มที่รัฐให้การสนับสนุน ได้เข้าไปล้อมจับกุมและสังหารนักศึกษาและประชาชนภายใน บริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ซึ่งกำลังชุมนุมประท้วงเพื่อขับไล่ให้จอมพลถนอม กิตติขจรออกนอกประเทศ ในเหตุการณ์นี้ ตำรวจตระเวนชายแดนนำโดยค่ายนเรศวรจากหัวหิน, กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน ตำรวจ และกลุ่มคนที่ตั้งโดยงบ กอ.รมน. คือ กลุ่มนวพล และ กลุ่มกระทิงแดง ได้ใช้กำลังอย่างรุนแรง ทำให้มีผู้ที่บาดเจ็บ เสียชีวิต และสูญหายเป็นจำนวนมาก

สาเหตุของความขัดแย้ง

ในสมัยรัฐบาล ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ในปี พ.ศ. 2519 มีความพยายามกลับประเทศไทย ของ จอมพลประภาส จารุเสถียร ในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2519 และการกลับประเทศไทยของจอมพลถนอม กิตติขจร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2519 หลังจากที่ทั้งสองได้เดินทางออกนอกประเทศหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา

หลังจากการกลับมาของจอมพลประภาส ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยได้ ชุมนุมประท้วงเพื่อเรียกร้องให้จอมพลประภาส เดินทางกลับออกนอกประเทศ จนกระทั่งในที่สุด จอมพลประภาสจึงยินยอมเดินทางออกนอกประเทศในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2519

ต่อมา จอมพลถนอมได้เดินทางกลับเข้ามาในประเทศอีกในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2519 โดยก่อนหน้านั้นได้แวะที่ประเทศสิงคโปร์ เพื่อบวชเป็นสามเณรที่วัดไทยในสิงคโปร์ และได้รับอนุญาตให้เข้าอุปสมบทที่วัดบวรนิเวศวิหาร ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยจึงได้ชุมนุมเพื่อขับไล่อีก

ใน ขณะนั้นได้เกิดความแตกแยก ทั้งในพรรคการเมืองและกลุ่มประชาชน ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่สนับสนุนบทบาทของนิสิตนักศึกษา และ กลุ่มที่ต่อต้านนิสิตนักศึกษา ทำให้สถานการณ์มีความรุนแรงมากขึ้น จนกระทั่ง ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ประกาศลาออกจากตำแหน่ง แต่พรรคร่วมรัฐบาลซึ่งมีพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำ ก็ตัดสินใจเลือก ม.ร.ว. เสนีย์ เป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัยหนึ่ง



ใน วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2519 นายวิชัย เกษศรีพงษา และนายชุมพร ทุมไมย พนักงานการไฟฟ้านครปฐม และสมาชิกแนวร่วมต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ถูกซ้อมตายระหว่างออกติดโปสเตอร์ประท้วงต่อต้านพระถนอม และถูกนำศพไปแขวนคอที่ประตูทางเข้าที่จัดสรร บริเวณหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่ ต.พระประโทน อ.เมือง จ.นครปฐม แต่ ตำรวจสรุปสำนวนคดีว่าเกิดจากการผิดใจกับคนในที่ทำงาน

ความ เคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้ขับไล่พระถนอม ทวีความรุนแรงมากขึ้น มหาวิทยาลัยทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดมีการชุมนุมเพื่ออภิปรายโจมตีรัฐบาล ต่อต้านการกลับมาของจอมพลถนอม และให้จัดการจับฆาตกรสังหารโหดฆ่าแขวนคอที่นครปฐม สภาแรงงานแห่งประเทศไทยได้ยื่นคำขาดต่อรัฐบาล ให้จอมพลถนอมออกนอกประเทศภายใน 5 วัน มิฉะนั้นจะหยุดงานทั้งประเทศตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2519 เป็นต้นไป ทั้งนักศึกษา สภาแรงงาน และผู้ต่อต้าน ได้รวมตัวกันประท้วงที่สนามหลวง จากนั้นจึงย้ายเข้าไปชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ทางด้านกลุ่มที่ต่อต้านการกระทำของนิสิตนักศึกษา อันประกอบด้วย กลุ่มนวพล (พลโท สำราญ แพทยกุล เป็นแกนนำ รหัส นวพล001 เป็นหนึ่งในองคมนตรี) กลุ่มพิทักษ์ชาติไทย กลุ่มกระทิงแดง และอื่น ๆ ได้ร่วมกันแถลงการณ์กล่าวหาศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย สภาแรงงาน และนักการเมืองบางคนว่า ได้ถือเอากรณีพระถนอม เป็นเงื่อนไขสร้างความไม่สงบในประเทศ ต่อมากลุ่มเหล่านี้จึงเดินทางเข้ามาชุมนุมที่ลานพระบรมรูปทรงม้า สนามเสือป่า ราชตฤณมัยสมาคม และสนามหลวง เพื่อต่อต้านการชุมนุมของนิสิตนักศึกษา กลุ่มเหล่านี้ได้เรียกร้องให้รัฐบาลจับกุม และปลดรัฐมนตรีบางคนที่เชื่อว่าให้การสนับสนุนนิสิตนักศึกษา แต่รัฐบาลก็ยังไม่ได้สั่งการประการใด

ในวันที่ 4 ตุลาคม มีการชุมนุมที่ลานโพธิ์ มีการอภิปราย และการแสดงละครเกี่ยวกับกรณีฆ่าแขวนคอพนักงานการไฟฟ้านครปฐม จัดโดยชุมนุมนาฏศิลป์และการละคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังจากนั้นสถานีวิทยุยานเกราะนำโดย พ.ท.อุทาร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา, นายสมัคร สุนทรเวช, ทมยันตี, ฯลฯ ออกข่าวว่านักศึกษาที่แสดงละคร มีใบหน้าคล้ายเจ้าฟ้าชายถูกแขวนคอ ต่อมาหนังสือพิมพ์ดาวสยาม และบางกอกโพสต์ ฉบับเช้าวันที่ 5 ตุลาคม เผยแพร่ภาพการแสดงล้อการแขวนคอของนักศึกษาที่ลานโพธิ์ โดยพาดหัวข่าวเป็นเชิงว่า การแสดงดังกล่าวเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

คืนวันที่ 5 ตุลาคม สถานีวิทยุยานเกราะและชมรมวิทยุเสรี ออกอากาศกรณีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เรียกร้องให้ประชาชน และลูกเสือชาวบ้าน ไปชุมนุมที่ลานพระบรมรูปทรงม้า และเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งดำเนินการจับกุมผู้กระทำการหมิ่นองค์สยามมกุฎราชกุมารมาลงโทษ ตลอดทั้งคืน

กลุ่มเจ้าหน้าที่ราชการ

* ตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) จากค่ายนเรศวร หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์
* ตำรวจนครบาล ภายใต้การนำของ พล ต.อ. ชุมพล โลหะชาละ รองอธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้น

กลุ่มพลังฝ่ายขวา

กลุ่มสำคัญต่าง ๆ ที่มีส่วนในการปราบปรามและสังหารนักศึกษาและประชาชนในเหตุการณ์ 6 ตุลา ได้แก่
กลุ่มนวพล

กลุ่มนวพลก่อตั้งเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2517 โดยกลุ่มทหารในกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) เช่น พล.อ. วัลลภ โรจนวิสุทธิ์ อดีตเจ้ากรมข่าวทหาร และ พล.อ. สายหยุด เกิดผล เสนาธิการ กอ.รมน. เป็นต้น พล.อ.วัลลภ ได้อธิบายเหตุผลในการก่อตั้งกลุ่มว่า ชาติจะอยู่รอดได้ด้วยสถาบันวัดกับวัง จึงต้องระดมประชาชนเพื่อป้องกันสองสถาบันหลักนี้ ซึ่งสอดคล้องกับความหมายหนึ่งของชื่อกลุ่มนวพล คือที่หมายความว่า “พลังเก้า” ส่วนอีกความหมายหนึ่งคือ “กำลังใหม่” (ตามรูปแบบการก่อตั้ง)

ผู้นำสำคัญของกลุ่มนวพล

* พลโท สำราญ แพทยกุล ซึ่งเป็นองคมนตรี อดีตแม่ทัพภาคที่ 3 และเป็นผู้ที่ใกล้ชิดเบื้องยุคลบาทอย่างยิ่ง พลโทสำราญเป็นนวพลอันดับแรก หรือ นวพล 001
* พล.อ. วัลลภ โรจนวิสุทธิ์ อดีตเจ้ากรมข่าวทหาร
* พล.อ. สายหยุด เกิดผล เสนาธิการ กอ.รมน.
* นายวัฒนา เขียววิมล ปัญญาชนจากสหรัฐอเมริกา เป็นวิทยากรประจำกลุ่มและเป็นผู้ประสานงานกลุ่ม
* พระเทพกิตติปัญญาคุณ (กิตติวุฑโฒ ภิกขุ) พระภิกษุผู้ประกาศต่อสาธารณชนในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2519 ว่า “การฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป”

กลุ่มนวพลมีส่วนเป็นอย่างมากในการเข้าร่วมกรณีสังหารในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519

ลูกเสือชาวบ้าน

ลูก เสือชาวบ้านเป็นกองกำลังหนึ่งที่มีส่วนร่วมในการปราบปรามขบวนการนักศึกษาใน เหตุการณ์ 6 ตุลา โดยส่วนใหญ่พันผ้าพันคอพระราชทานในวันนั้นด้วย ผู้ที่มีบทบาทในการก่อตั้งกลุ่มลูกเสือชาวบ้านคือ พล.ต.ต. สมควร หริกุล ผู้กำกับตำรวจชายแดนเขต 4 ร่วมมือกับข้าราชการท้องถิ่นอีกหลายคน โดยได้จัดการอบรมลูกเสือชาวบ้านรุ่นแรก เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2514 ที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และต่อมา พล.ต.ต. เจริญฤทธิ์ จำรัสโรมรัน รองผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ก็ได้เข้าร่วมผลักดัน

กิจการลูกเสือชาวบ้านขยายตัวอย่างมากหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา พ.ศ. 2516 มีนายทหารและนักการเมืองสำคัญเข้าร่วมหลายคน เช่น พล.ต. ชาติชาย ชุณหะวัณ ซึ่งเป็นผู้ตรวจการลูกเสือชาวบ้าน นายธรรมนูญ เทียนเงิน ซึ่งเป็นผู้อำนวยการลูกเสือชาวบ้านพระนคร
ชมรมวิทยุเสรี

ชมรม วิทยุเสรี เป็นกลุ่มสถานีวิทยุของทหารที่ทำงานประสานกันตั้งแต่ พ.ศ. 2519 โดยมีสถานีวิทยุยานเกราะเป็นแกนกลาง มีบทบาทสำคัญในการชี้นำฝ่ายกระทิงแดง และกลุ่มฝ่ายขวาอื่นๆ ในการเคลื่อนไหวต่อต้านนักศึกษาในวันที่ 5-6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ซึ่งนำไปสู่เหตุการณ์ 6 ตุลา
ชมรมแม่บ้าน

ชมรม แม่บ้านเป็นการรวมกลุ่มของภรรยาข้าราชการ ภรรยานายพล และแม่บ้าน ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2519 เพื่อโจมตีขบวนนักศึกษาที่เคลื่อนไหวต่อต้านฐานทัพอเมริกาโดยตรง โดยมี ทมยันตี หรือนางวิมล ศิริไพบูลย์ (เจียมเจริญ) เป็นแกนสำคัญ โดยโจมตีขบวนการนักศึกษาว่าเป็นผู้บ่อนทำลายมิตรประเทศ

การสังหารในวันที่ 6 ตุลาคม

ไทยรัฐ ลงข่าวการสังหารหมู่นองเลือด ซึ่ง ไทยรัฐ เป็นเพียงหนังสือพิมพ์ไม่กี่ฉบับที่ไม่โดนคำสั่งคณะปฏิวัติ ปิดเป็นเวลา 3 วัน หลังเหตุการณ์

เวลา เช้ามืดราว 2 นาฬิกา กลุ่มกระทิงแดงทุกจุด รอบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เตรียมปฏิบัติการโดยประสานงานกับตำรวจนอกเครื่องแบบ และมีกลุ่มกระทิงแดงเข้าแทรกตัวปะปนกับหมู่นิสิตนักศึกษา กลุ่มนวพลได้เรียกร้องให้รัฐบาลจับกุมนิสิตนักศึกษา

เวลา ราว 5 นาฬิกา เริ่มมีการยิงตอบโต้จากภายนอกเข้าสู่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยถูกล้อมไว้ เวลา 7 นาฬิกา กลุ่มทหาร ตำรวจตระเวนชายแดน ลูกเสือชาวบ้าน กระทิงแดง และกลุ่มอันธพาล ได้ใช้รถบัสพุ่งชนประตูมหาวิทยาลัย ทั้งหมดเข้าสู่มหาวิทยาลัยและใช้อาวุธหนักระดมยิง ตำรวจหน่วยคอมมานโด หน่วยปฏิบัติการพิเศษและตำรวจนครบาลจาก ท้องที่ต่างๆเข้าถึงที่เกิดเหตุ เวลา 8 นาฬิกา ตำรวจตระเวนชายแดนพร้อมอาวุธครบมือเข้าไปในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมยิงกระสุนเข้าใส่นักศึกษา

เวลา 8.30 น. - 10.00 น. นักศึกษาและประชาชนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิ่งหนีวิถีกระสุนจากตำรวจตระเวนชายแดนและกลุ่มผู้ก่อเหตุ นักศึกษาบางคนวิ่งหนีออกทางประตูหน้ามหาวิทยาลัย นักศึกษาบางส่วนหนีอออกทางแม่น้ำเจ้าพระยา หลายคนถูกรุมตี รุมกระทืบ บางคนที่ถูกทำร้ายบาดเจ็บถูกนำไปแขวนคอ และถูกผู้คนแสดงท่าทางเยาะเย้ยศพ กลุ่มคนบางกลุ่มลากเอาศพนักศึกษามาเผากลางถนนราชดำเนิน ตรงข้ามพระแม่ธรณีบีบมวยผม โดยใช้ยางรถยนต์ทับและราดด้วยน้ำมันเบนซิน บางส่วนใช้ของแข็งทำอนาจารศพนักศึกษาหญิง

เวลา ราว 11 นาฬิกา เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าเคลียร์พื้นที่ และให้นักศึกษานอนคว่ำหน้ากับพื้นสนามฟุตบอล จากนั้นจึงนำตัวผู้ต้องหาขึ้นรถออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อควบคุมตัวไว้ที่โรงเรียนตำรวจนครบาล บางเขน กลุ่มคนที่มุงดูใช้ก้อนหิน อิฐ ไม้ ขว้างปาผู้ที่อยู่บนรถ

เวลาราว 16 นาฬิกา กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน นำโดย พล.ต.ท. เจริญฤทธิ์ จำรัสโรมรัน และกลุ่มแม่บ้าน นำโดย ทมยันตี ได้บุกเข้าทำเนียบรัฐบาล โดยใช้รถบรรทุกที่ทำเป็นเวทีปราศรัยบุกพังประตูเข้าไป บางคนได้ถือเชือกเข้าไปโดยจะเข้าไปแขวนคอ 3 รัฐมนตรีของรัฐบาล ได้แก่ นายชวน หลีกภัย, นายดำรง ลัทธิพิพัฒน์, นายสุรินทร์ มาศดิตถ์ เนื่องจากกล่าวหาว่าบุคคลทั้ง 3 เป็นคอมมิวนิสต์ แต่ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี ได้ลงไปพบและยืนยันว่าบุคคลทั้ง 3 ไม่ได้มีพฤติกรรมดังกล่าว มีผู้ตะโกนถามว่า ท่านจะจัดการอย่างไร ม.ร.ว. เสนีย์ตอบว่า ท่านจะบอกให้รัฐมนตรีทั้ง 3 ลาออกเองเพื่อความสงบของบ้านเมือง มีผู้ถามต่อไปว่า ถ้าบุคคลทั้ง 3 ไม่ลาออกจะทำอย่างไร ม.ร.ว. เสนีย์ตอบว่า ท่านจะลาออกเอง แต่ภายหลังข้อความนี้ได้ถูกวิทยุยานเกราะนำไปตัดต่อกลายเป็นข้อความว่า ท่านไม่เคยรู้มาก่อนว่าบุคคลทั้ง 3 นี้เป็นคอมมิวนิสต์ และท่านจะลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี



ครั้นถึงเวลา 18.00 น. คณะทหารที่เรียกตัวเองว่า คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ภายใต้การนำของพลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ได้ทำการยึดอำนาจการปกครอง มีผลให้ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ต้องพ้นจากตำแหน่ง และนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่

หลัง จากเหตุการณ์นี้ มีการพิจารณาคดีในศาลยืดยาวถึง 3 ปี โดยแกนนำนักศึกษา 19 คนถูกคุมขังตีตรวนโดยตลอด แต่ฝ่ายผู้เข้าล้อมปราบไม่มีผู้ใดได้รับการลงโทษ มีผู้เข้าฟังการพิจารณาคดีจำนวนมาก รวมถึงกลุ่มสิทธิมนุษยชนจากประเทศต่างๆ จนเมื่อ 3 ปีผ่านไป ได้มีการออกกฎหมายนิรโทษกรรม ทำให้ผู้มีส่วนรับผิดชอบในเหตุการณ์นี้ ไม่ต้องถูกสอบสวนลงโทษแต่อย่างใด

บุคคลที่เสียชีวิตหรือสูญหายในเหตุการณ์



ญาติของผู้เสียชีวิตร่ำไห้เมื่อมารับศพ

ฝ่าย นักศึกษาและประชาชน เสียชีวิตอย่างน้อย 41 ราย ในจำนวนนี้ เป็นศพถูกเผา ระบุรายละเอียดแยกชายหญิงไม่ได้ จำนวน 4 ราย (หนึ่งในนั้น คือ จารุพงษ์ ทองสินธุ์ กรรมการองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) และสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ซึ่งเป็นระดับแกนนำผู้ชุมนุมเพียงคนเดียวที่เสียชีวิต ผู้เสียชีวิตที่เหลือเป็นผู้เข้าร่วมชุมนุมเท่านั้น และแกนนำที่รอดชีวิตส่วนใหญ่ถูกจับรวม 18 คน และนำตัวขึ้นศาลทหารข้อหามีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ ที่โรงเรียนพลตำรวจบางเขนอยู่ 3 ปี จึงได้รับการปล่อยตัวเมื่อมีการรัฐประหารเปลี่ยนแปลงรัฐบาลจากนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็น พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ส่วนแกนนำที่รอดจากการถูกจับกุมขึ้นศาลทหารได้ส่วนใหญ่ก็หลบหนีเข้าป่าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยหรือ พคท.)

แหล่งข้อมูล http://learners.in.th/blog/aumhomework/197222

วันพุธ, ตุลาคม 05, 2554

คำคมปลุกใจเสือป่า เครดิต คำคมเท่ๆ คำขยายความน่ารัก แจ่ม ๆ จาก ซุกสนุก


“มีด”
นิรนาม
ใครจะถียงว่าคำนี้ไม่คม แต่โปรดอย่าถือเป็นสาระ เราแค่อยากเปิดฉากอย่างเร้าใจเท่านั้น มุกนี้ไม่ได้หวังความฮา ลืมไปเถอะว่าได้อ่าน แล้วรีบข้ามไปยังคำถัดไปทันที
“ผมไม่ได้ล้มเหลว 10,000 ครั้ง ผมเจอวิธีการที่ไม่ใช่คำตอบ 10,000 วิธีต่างหาก มีวิธีที่ดีกว่าเสมอ ค้นหามันให้เจอ”
โทมัส อัลวา เอดิสัน
กว่าจะค้นคว้าวัสดุที่นำมาใช้เป็นไส้หลอดไฟซึ่งสามารถให้แสงสว่างได้ยาวนานที่สุด เอดิสันต้องลองผิดลองถูกกับวัสดุกว่า10,000 ชนิด ห้องทำงานของเขาเต็มไปด้วยหลอดไฟฟ้ากับวัสดุที่ยังไม่ได้ใช้ ไม่มีใครบอกเขาได้ว่า ในโลกนี้ อะไรคือวัสดุที่ทนความร้อนและให้แสงสว่างได้ยาวนานที่สุด นอกจากความล้มเหลวจากการทดลองซ้ำแล้วซ้ำเล่าเป็นหมื่นๆ ครั้ง ถ้าเป็นเราคงเอาหัวฟาดขอบเตียงไปตั้งแต่การล้มเหลวครั้งที่ 80 แล้ว แต่เอดิสันมองว่า นี่เป็นขั้นตอนที่กำลังพาเขาไปสู่ขั้นตอนที่ดีกว่าต่างหาก ยิ่งผิดพลาดมาก ก็ยิ่งรู้ว่าอะไรไม่ใช่ ความล้มเหลวเป็นขั้นตอนหนึ่งของความสำเร็จ มีวิธีที่ดีกว่าเสมอ อย่าหยุด และค้นหามันให้เจอ
                 
“สิ่งที่มีทีท่าว่าเป็นไปไม่ได้นั้น ไม่ได้หมายความว่า จะเป็นไปไม่ได้ตลอดกาล”
มหาตมะ คานธี
อย่าตัดกำลังใจตัวเองด้วยคำวาเป็นไปไม่ได้ ทุกอย่างเป็นไปได้เสมอถ้ามนุษย์ตั้งใจพยายาม ท่านคานธียังบอกเพิ่มเติมอีกด้วยว่า ถ้าเรามัวแต่คิดว่ามันเป็นไปไม่ได้ คิดว่ามันเป็นงานที่มากมายใหญ่โตเกินกำลัง เราก็จะเกิดความสับสนจนทำอะไรไม่ได้เลย แต่ถ้าเราจับงานนั้นขึ้นมาทำทันที แม้จะใหญ่โตเท่าภูเขา งานะก็จะค่อย ๆ ลดน้อยลงทุกวัน ๆ แล้วในที่สุดทุกอย่างก็สามารถสำเร็จลุล่วงได้
                             
“อย่ากลัวที่จะล้มเหลว เพราะมันเป็นเรื่องจำเป็น ความกลัวทำให้ความสามารถลดลง”
โน้ส – อุดม แต้พานิช
ความล้มเหลวเป็นเพื่อนที่ดี เพราะมันเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ แต่ความกลัวไม่ใช่เพื่อนที่ดี เพราะมันจะทำให้เรากล้า ๆ กลัว ๆ ทำอะไรได้ไม่เต็มที่ หรือไม่ก็ชิงล้มเลิกไปก่อนที่จะลงมือทำอะไรเสียอีก ไม่มีใครรุ่งโรจน์ได้โดยไม่เคยล้มเหลว และก็ไม่มีใครรุ่งโรจน์ได้เพราะมัวแต่กล้า ๆ กลัว ๆ ด้วยเหมือนกัน

“ผมผ่านมาเยอะ เจ็บมาเยอะ แต่ผมอดมน ผมพยายาม อยากให้ทุกคน...สู้นะครับ สู้แบบผม”
สมจิตร จงจอหอ
นักชกเหรียญทองโอลิมปิกผู้มีลีลาการชกที่แม่นยำ สงบนิ่ง และเหนือชั้น กว่าจะมาถึงวันที่ทำให้คนไทยทั้งประเทศเฮกันสนั่นได้ ชีวิตเขาผ่านความเจ็บช้ำมาเยอะจริง ๆ เขาเคยเป็นตัวเต็งลุ้นเหรียญทองโอลิมปิกปี ค.ศ.2004 และเอเชี่ยนเกมส์ ค.ศ.2006 แต่กลับคว้าเหรียญอะไรมาไม่ได้เลยสักเหรียญ จนคิดจะแขวนนวมไปแล้วถึง 2 ครั้งแต่เพราะความอดทน ความพยายาม ก็ทำให้เขาฮึดกลับมาสู้อีกครั้ง และสามารถทำให้เพลงชาติไทยดังลั่นในการชกครั้งสุดท้ายของเขาได้สำเร็จ ก็อย่างที่เขาบอกนั่นแหละ อยากให้ทุกคน...สู้นะครับ สู้แบบเขา

“คนที่ฝึกลูกเตะ 10,000บาทาในครั้งเดียวนั้นไม่ได้น่ากลัวหรอก แต่คนที่ฝึกเตะทีเดียวซ้ำๆ 10,000 ครั้งต่างหากน่ากลัว”
บรูซ ลี
ใครไม่เคยอ่านการ์ตูนคงนึกภาพลูกเตะ 10,000 บาทาในครั้งเดียวไม่ออก ถ้ามีใครในโลกทำได้จริง คงจะน่ากลัวมาก ๆ แต่บรูซ ลี ก็ไม่เคยกลัว เพราะเขาเชื่อว่าปริมาณนั้นเทียบไม่ได้กับคุณภาพ การฝึกฝนอย่างหนักทำให้เกิดคุณภาพที่แม่นยำและทรงพลัง คนที่เก่งไม่น่ากลัวเท่าคนที่ไม่เก่งแต่ขยันฝึกซ้อมอย่างหนักหน่วงอยู่เป็นประจำ

“ความเพียรของมนุษย์ เทวดาก็กีดกันไม่ได้พระพุทธศาสนาไม่ยอมแก่เรื่องโชคชะตา ให้มีความเพียรพยายามใช้สติปัญญากำลังความสามารถ แล้วจะสามารถเอาชนะแม้แต่โชคชะตา”
ป.อ. ปยุตฺโต
ห้อยพระหายากไว้เป็นพวง มียันต์วิเศษแปะหน้าบ้าน เดินทางไปขอพรหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ทั่วโลก ก็ไม่ทำให้ชีวิตดีขึ้นได้ ถ้าไม่มีสติปัญญาและความเพียร

“ปล่อยให้มันล้มลงบ้างก็ได้ ปล่อยให้มันแพ้บ้างก็ได้ ก็แค่หกล้มแล้วลุกขึ้นยืนใหม่ แพ้ก็แค่ต้องเข้าใจ ชนะนั้นคงไม่ยิ่งใหญ่ ถ้าคำว่าแพ้นั้นยังไม่เข้าใจ”
บอย โกสิยพงษ์ (เพลง ล้มลงบ้างก็ได้)
เราถูกสอนมานานแล้วจากใครสักคนว่า ผู้ชนะคือคนที่เข้มแข็งกว่า ผู้แพ้คือคนที่อ่อนแอกว่า นี่คือความเชื่อล้วน ๆ ความจริงก็คือ แพ้เป็นแค่สถานะหนึ่ง ชนะก็เป็นแค่สถานะหนึ่ง เพียงแต่เราทุกคนชอบสถานะชนะมากกว่าแพ้เท่านั้นเอง อย่าลืมว่าชัยชนะไม่เคยสอนอะไรเรา นอกจากทำให้เราหลง แต่กับสถานะแพ้ เราสามารถเรียนรู้จากมันได้มากมาย

“ชีวิตมีทีเด็ดที่คนขี้แพ้ ไม่มีวันได้รู้”
ภาพยนตร์เรื่องอีหนูดุทะลุโลก (Sucker punch)
คำว่า “ทีเด็ด” ช่วยกระตุ้นต่อมอยากรู้อยากเห็นของเราได้ดี ทีเด็ดที่ว่านี้คืออะไร อยากรู้ ก็ต้องสู้กันต่อไป ฮึย ฮึย

“ถ้าปัญหานั้นสามารถคลี่คลายได้ ก็ไม่จำเป็นจะต้องกังวล แต่ถ้าปัญหานั้นเป็นปัญหาที่คลี่คลายไม่ได้ การกังวลก็ไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้นมา”
ภาพยนตร์เรื่อง 7 ปีโลกไม่มีวันลืม
ความกังวลเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่เป็นธรรมชาติที่ไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้นมา
                             
“ชีวิตที่ประสบความสำเร็จ ไม่ใช่ชีวิตที่ไม่เคยล้มเหลวเลยสักครั้ง แต่เป็นการลุกขึ้นใหม่ได้ทุกครั้งที่ล้ม
นิรนาม
ถ้าอธิษฐานขอพรพระทุกวันว่า ขอให้ชีวิตไม่มีอุปสรรค ขอให้ทำทุกอย่างได้ราบรื่น ทำสิ่งใดก็ขอให้ได้สมปรารถนาทุกประการ ก็ไม่ต่างอะไรกับขอให้ทุเรียนไม่มีเปลือก ปลาไม่มีก้าง ทุเรียนกับปลาคงม่องเท่งไปก่อนที่เราจะได้กินเนื้ออร่อย ๆ ดังนั้น คนจริงที่เข้าใจโลกต้องขอพรว่า ขอให้ทีสติปัญญาเพื่อเรียนรู้กับอุปสรรค และขอให้มีกำลังใจเข้มแข้พอที่จะลุกขึ้นยืนใหม่ได้ทุกครั้งที่ล้มต่างหาก

“สิ่งที่มนุษย์มีเหมือนๆ กันก็คือ ความผิดพลาด สิ่งที่มนุษย์มีแตกต่างกันก็คือ ปฏิกิริยาต่อการผิดพลาด”
ประภาส ชลศรานนท์
สมชายโทษตัวเอง สมศรีโทษฟ้าดิน สมศักดิ์โทษชะตากรรม สมหมายโทษ สมชาย สมศรี และสมศักดิ์ ความจริงไม่ต้องโทษใครก็ได้ ถ้าเป็นคุณล่ะจะทำอย่างไรกับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น

“ในโลกนี้ ไม่มีคนไหนเก่งไปตลอดกาล คนใดก็ตามที่ภูมิใจว่าตนเองเก่ง จงจำเอาไว้ ได้เลยว่า ความหายนะใกล้มาถึงตัวคุณแล้ว ความโง่คืบคลานใกล้ตัวคุณแล้ว”
ธนินท์ เจียรวนนท์      
     เคยได้ยินนิทานเซนเรื่องชาล้วนถ้วยไหม ใครที่คิดว่าตัวเองเก่งแล้วจะเป็นเหมือนถ้วยที่มีชาอยู่เต็ม เติมอะไรลงไปก็มีแต่ล้นออกมา รับอะไรใหม่ๆ เข้าไปไม่ได้ หัวใจคนเราเปรียบเหมือนถ้วยชา ถ้าใจยิ่งกว่างก็ยิ่งมีพื้นที่เพียงพอสำหรับรับรู้สิ่งใหม่ๆ พัฒนาตัวเองต่อไปได้เรื่อยๆ ไม่หยุดตัวเองไว้แค่ความคิดที่ว่า ตัวเองเก่งแล้ว                                                           

ความลับของความสำเร็จคือ เตรียมตัวเองให้พร้อมอยู่เสมอ เพื่อโอกาสที่จะมาถึง
เบนจามิน ดิสราเอลี
นักรบต้องพร้อมรบเสมอแม้ในยามสงบ  สาวโสดก็ต้องสวยเสมอ เพราะรักแท้จะมาถึงวันไหนก็ไม่มีใครรู้นะจ๊ะ

“ผมไม่เคยเรียนรู้อะไรได้เลย ในขณะที่ผมกำลังพูด”
แลร์รี่ คิง
ฟังคนอื่นบ้างถ้าอยากเรียนรู้

มีอยู่ 2 สิ่งในโลกที่ไม่มีที่สิ้นสุด คือจักรวาล และความโง่ของมนุษย์ เรื่องจักรวาลผมไม่มั่นใจเท่าไหร่...
อัลเบิร์ต ไอน์ไสตน์    
        มนุษย์ฉลาดได้อย่างไม่น่าเชื่อ แต่บางครั้งก็โง่ ได้อย่างไม่น่าเชื่อเหมือนกัน ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีใครมองเห็นความโง่ของตนเองเสียด้วย ความโง่มักมาคู่กับความฟุ้งซ่าน ยิ่งฟุ้งซ่านไปไกลเท่าไรก็ยิ่งโง่ได้มากเท่านั้น คนโง่ที่รู้ว่าตัวเองโง่ถือว่าฉลาด ส่วนคนโง่ที่คิดว่าตัวเองฉลาดนั้น... ก้เป็นอย่างที่คุณไอสไตน์บอกนั่นแหละ

“จงเรียนรู้จากความผิดพลาดของคนอื่น เพราะเราไม่มีเวลามากพอทีจะเรียนรู้ได้ทั้งหมดในชีวิตของเรา”
นิรนาม
ความผิดพลาดคือครูที่ดีที่สุด แต่ก็ไม่มีใครอยากเจอครูคนนี้ไปทั้งชีวิตหรอก จริงไหม

เราจะเห็นอะไรก็ด้วยหัวใจเท่านั้น สิ่งสำคัญไม่อาจเห็นด้วยตา
อังตวน เดอ แซงเตกซูเปรี 
       ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น อย่าตัดสินแต่เฉพาะสิงที่ตาเห็น เพราะดวงตามีข้อจำกัดในการรับรู้ แต่หัวใจมีสัมผัสที่กว้างใหญ่ลึกซึ้งกว่าหลายเท่า ถ้าใจเรากว้างพอ
                                      
                              
“คอมพิวเตอร์นั้นไรประโยชน์ มันทำได้แค่ให้คำตอบเท่านั้น”
พาโบล ปีกัสโซ่
คำถามสำคัญน้อยกว่าคำตอบ คำถามที่ดีนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ดี เช่นเมื่อต้องเจอกับเรื่องปวดหัวชวนเป็นบ้า คนหนึ่งถามกับตัวเองว่า “ทำไมชีวิตฉันมีแต่เรื่องซวยๆ นะ หรือวาที่ไปทำบุญมาครั้งก่อนยังแก้กรรม ลดเคราะห์ไม่หมด” กับอีกคนถามตัวเองว่า “ปัญหานี้บอกอะไรเรานะ ครั้งหน้าจะแก้ไขไม่ให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นอีกได้อย่างไร” คำถามไหนจะทำให้ชีวิตดีขึ้นได้มากกว่ากัน
                                                                                       
“พระเจ้าไม่ได้เรียกร้องความสำเร็จจากเรา พระองค์ต้องการแต่ความพยายาม”
แม่ชีเทเรซ่า
ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น แต่จะแบบไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ชีวิตมีทีเด็ดที่คนไม่แพ้ไม่มีวันรุ้เหมือนเดิม

“ถ้าคุณลงมือทำในสิ่งที่คุณสนใจอยู่เสมอ อย่างน้อยมีคนหนึ่งที่พอใจ”
แคทธารีน เฮปเบิร์น    
อย่าท้อใจว่าสิ่งที่ทำลงไปไม่มีใครสนใจ ไม่มีใครให้ความสำคัญ ถ้าเราได้ทำในสิ่งที่เราชอบ สนใจ และให้ความสำคัญกับมันจริงๆ อย่างน้อยก็มีเราคนหนึ่งแหละ ที่รับรู้และภาคภูมิใจ

“ความฝันถ้าฝันอยู่คนเดียวจะเป็นแค่ความฝัน ความฝันที่ฝันร่วมกันจะกลายเป็นความจริง”
จอห์น เลนนอน           
อย่าลืมคิดถึงคนอื่นเยอะๆ ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ สำเร็จลงไม่ได้ด้วยคนเดียว เพื่อนดีถือเป็นมงคลข้อแรกของชีวิต ยิ่งมีหลายมือ ใจหลายใจช่วยเหลือกัน ความฝันก็จะกลายเป็นจริงได้ง่ายขึ้น

“รู้ว่าตนไม่รู้ ถือเป็นความรู้อย่างหนึ่ง”
ขงจื๊อ                                                   
สิ่งที่อันตรายที่สุดของชีวิตคือ ไม่รู้ว่าตัวเองไม่รู้อะไร ในทางพระพุทธศาสนา คนที่ทำบาปด้วยความไม่รู้ บาปกว่าคนที่รู้แล้วทำ ยกตัวอย่างง่ายๆ คนที่ชอบโกงคนอื่นโดยที่เข้าใจว่าการโกงนั้นเป็นความฉลาดอย่างหนึ่งของมนุษย์ เมื่อมีโอกาสใครๆ เขาก็โกงกันทั้งนั้น กับคนที่โกงโดยรู้อยู่แก่ใจลึก ๆ วากำลังทำบาปอยู่ คนแรกมีสิทธิดำดิ่งสุความเลวร้ายมากกว่าคนที่สอง โดยที่ไม่รู้ตัวเสียด้วยว่าดำดิ่งลงไปได้อย่างไร

“เราเขียนชะตาชีวิตของเราเอง เราเป็นในสิ่งที่เรากระทำ”
มาดามเจียง ไค-เชก          
                  ถ้าเราไม่เขียนชะตาชีวิตของตัวเอง จะมีคนอื่นมาเขียนให้ เขาอาจมาทำให้ด้วยความรักหรือด้วยอะไรซักอย่าง แต่นั่นก็ไม่ใช่ข้ออ้างหรือเหตุผลที่จะไปโทษเขา ถ้าชีวิตเราไม่ได้ดั่งใจเรา เราเป็นในสิ่งที่เราทำ แต่ถ้าเราไม่ทำ เราก็จะเป็นในสิ่งที่เราไม่ทำอยู่ดี
                      
                     
“วันคืนล่วงไป ๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่ ?
พระพุทธเจ้า
เข็มนาฬิกาหมุนไปเรื่อยๆ บอกเราว่า เวลาในชีวิตของเราทุกคนกำลังน้อยลงไปทุกวินาที เราประมาทในวันเวลามากเกินไปหรือเปล่า ขณะนี้เรากำลังใช้ชีวิตน้อยลงทุกทีนั้นไปทำอะไรอยู่???