วันอาทิตย์, มิถุนายน 26, 2554

ประวัติปฏิทิน

ปฏิทิน คือระบบที่ใช้ในการเรียกชื่อช่วงระยะเวลา เช่น วัน เป็นต้น วันเป็นที่รู้จักในฐานะ วันปฏิทิน วันจะขึ้นอยู่กับการเคลื่อนที่วัตถุทางดาราศาสตร์ เราสามารถแสดงปฏิทินได้ในหลายรูปแบบ ส่วนมากมักเป็นกระดาษ เช่น แบบฉีก แบบแขวน แบบตั้งโต๊ะเป็นต้น
ปฏิทินโบราณของฮินดู
ประวัติ
คำว่า ปฏิทิน ในภาษาอังกฤษ คือ "calendar" เป็นคำที่มาจากภาษาละติน ซึ่งนำมาจากคำพูดของชาวกรีกโบราณอีกที ว่า "Kalend" ซึ่งมีความหมายในภาษาอังกฤษว่า "I cry" สาเหตุที่ใช้คำนี้เพราะมีที่มาว่า ในสมัยโบราณจะมีคนคอยร้องบอกชาวเมือง เพื่อบอกกล่าวเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า รวมถึงประกาศวันขึ้นเดือนใหม่ เพื่อให้ลูกหนี้จ่ายเงินที่คั่งค้าง ครั้นต่อมาสังคมเริ่มสลับซับซ้อนมากขึ้น ปฏิทินจึงได้ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อแทนคนร้องบอกข่าว ปฏิทินจึงนับว่าเป็นสิ่งบอกเวลา และกลายเป็นสิ่งสำคัญในวิถีชีวิตประจำวันไปในที่สุด ต่อมามนุษย์จึงได้ริเริ่มบันทึก วัน เวลา ขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร หรือที่เรียกกันว่า "ปฏิทิน"
ปฏิทินยุคโบราณ
จากหลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบในปัจจุบัน เชื่อกันว่าชนชาติแรกที่คิดค้น ระบบการนับวันแบบปฏิทินนั้นคือ ชาวบาบิโลเนียน พวกเขากำหนดวัน เดือน ปี โดยสังเกตจากระยะต่างๆ ของดวงจันทร์ ซึ่งก็คือการสังเกตข้างขึ้นข้างแรมนั่นเอง โดยเมื่อเกิดข้างขึ้นและข้างแรมครบ 1 รอบก็จะถือเป็น 1 เดือน ปฏิทินแบบนี้เรียกว่าปฏิทินจันทรคติ และพวกเขายังกำหนดให้ 1 ปีนั้นมี 12 เดือนอีกด้วย สาเหตุที่ชาวบาบิโลเนียนกำหนดให้ 1 ปี มี 12 เดือน ก็เพราะว่า เมื่อใดที่เกิดข้างขึ้นและข้างแรมครบ 12 รอบ ฤดูกาลก็จะเวียนกลับมาอีกครั้ง
อาณาจักรข้างเคียงก็ได้ยอมรับเอาปฏิทินของชาวบาบิโลเนียมาใช้ในอาณาจักรตนเอง เช่น ชาวอียิปต์โบราณ ชาวกรีก และชาวเซเมติก เป็นต้น เมื่อพัฒนาการทางเทคโนโลยีมีมากขึ้น ชนชาติที่นำเอาปฏิทินแบบบาบิโลเนียนไปใช้นั้น ก็ได้ทำการปรับปรุงและพัฒนาให้มีความเที่ยงตรงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวอียิปต์โบราณ ที่พัฒนาแนวคิดเรื่องปฏิทินได้อย่างรุดหน้ามากที่สุด แต่เดิมชาวโรมันกำหนดให้ 1 ปี มี 355 วัน (ตามระบบจันทรคติ) และทุก ๆ 4 ปี (ปีอธิกวาร) ต้องเพิ่มวันเข้าไปอีก 22 วัน เพื่อให้ตรงกับฤดูกาล หรือการคำนวณแบบสุริยคติ) จนกระทั่ง 46 ปีก่อนคริสต์ศักราช จูเลียส ซีซาร์ แห่งจักรวรรดิโรมัน ซึ่งได้เข้าครอบครองอียิปต์ ในรัชสมัยของพระนางคลีโอพัตรา ได้นำแนวคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อ โซซิเจเนส (Sosigenes) มาปรับปรุงให้หนึ่งปีมี 365 วัน ปฏิทินแบบนี้เรียกว่าปฏิทินจูเลียน ซึ่งใช้กันมายาวนานจนถึง ค.ศ. 1582 จึงมีการแก้ไขอีกครั้งหนึ่ง
ปฏิทินยุคปัจจุบัน
เนี่องจากการที่ต้องเพิ่มวันเข้าไปในปฏิทิน 1 วัน ในทุกๆ 4 ปี ทำให้ในสมัยต่อๆ มาเกิดความสับสนในฤดูกาล กล่าวคือปีปฏิทินสั้นกว่าปีฤดูกาล ดังนั้นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่างๆ จะมาถึงเร็วกว่าปีปฏิทินมากขึ้นทุกปี เช่นใน ค.ศ. 1582 วสันตวิษุวัต (วันที่กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน) ตามปีปฏิทินเดิมคือวันที่ 21 มีนาคม แต่ปรากฏการณ์นี้กลับเกิดขึ้นจริงในวันที่ 11 มีนาคมแทน เมื่อเป็นเช่นนี้ ศาสนจักรจึงเข้ามามีบทบาทในการแก้ไข พระสันตปาปา เกรกอรี่ที่ 13 ได้ออกประกาศให้หักวันออกจากปีปฏิทินเสีย 10 วัน มีผลทำให้ในปี ค.ศ. 1582 นั้นหลังวันที่ 4 ตุลาคม กลายเป็นวันที่ 15 ตุลาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ในปีอธิกวารให้เพิ่มวันเป็นการชั่วคราว 1 วันในปีถัดไปให้หักออก นอกจากนี้ยังกำหนดให้วันที่ 1 มกราคมของทุกปีเป็นวันขึ้นปีใหม่ และให้เรียกปฏิทินแบบใหม่นี้ว่า ปฏิทินเกรกอเรียน ประกาศนี้มีผลทำให้ยุโรปซึ่งอยู่ใต้การปกครองของศาสนจักร ต้องใช้ปฏิทินแบบเดียวกันตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ปัจจุบัน "ปฏิทิน" ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย นักธุรกิจติดต่อนัดหมายกันผ่าน วัน เวลา ในปฏิทิน นอกจากนี้ปฏิทินยังคอยย้ำเตือนถึง วัน เวลาที่สำคัญต่าง ๆ เช่น วันเกิด วันหยุด เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีปฏิทินที่กำหนดวันสำคัญทางศาสนา ซึ่งจะต้องอาศัยการประกาศอย่างเป็นทางการ เช่น วันเริ่มถือศีลอดเดือนรอมะฎอน วันจาริกแสวงบุญของอิสลามิกชน (ฮัจญ์) และวันอาชูรออ์ เป็นต้น
ชนิดของปฏิทิน
4.    ปฏิทินญะลาลีย์(สุริยคติอิหร่าน)
5.    ปฏิทินของสาธารณรัฐฝรั่งเศส
6.    ปฏิทินมายา (อเมริกาใต้)
3.    ปฏิทินยิว
4.    ปฏิทินจันทรคติจีน
ปฏิทินไทย
ในอดีตประเทศไทยใช้ปฏิทินจันทรคติตั้งแต่สมัยสุโขทัยโดยนับปีตามปีมหาศักราชและจุลศักราชตามลำดับ จนกระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ เปลี่ยนจากปฏิทินจันทรคติมาใช้ปฏิทินสุริยคติ ในปีจุลศักราช 1240 ซึ่งตรงกับปี พ.ศ. 2431 โดยใช้แบบสากลตามปฏิทินเกรกอเรียน โดยเดือนแรกของปีคือเดือนเมษายน และเดือนสุดท้ายของปีคือมีนาคม และปรับมาใช้รัตนโกสินทรศก และพุทธศักราชตามลำดับจนกระทั่งในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มีการปรับเปลี่ยนปฏิทินอีกครั้งโดยปรับให้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่และเป็นวันเริ่มต้นของปีแทนที่รูปแบบเดิม โดยวันขึ้นปีใหม่ในรูปแบบนี้เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2484
การพิมพ์ปฏิทินมีขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย เมื่อ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2385 (ปลายสมัย รัชกาลที่ 3) ต่อมาในรัชกาลที่ 4 ทรงฯโปรดให้พิมพ์ปฏิทินภาษาไทย ในสมัยรัชกาลที่ 5 ปฏิทินที่พิมพ์ในเมืองไทยได้แก่ "ประนินทิน" แจ้งราคาขายไว้เล่มละ 4 บาท การพิมพ์ปฏิทินเล่มยังมีการจัดทำต่อมา ในหลายรูปแบบ ซึ่งมีบอกสถาพของน้ำขึ้น-น้ำลง ดิถีดวงจันทร์ และปฏิทินภาษาจีนร่วมด้วย และมีช่องว่างให้บันทึกเล็กน้อย ในรูปแบบของ ไดอารี่ หรือ "สมุดบันทึกประจำวัน" ก็สามารถอนุโลมให้เป็นปฏิทินได้ โดยไดอารี่ที่มีชื่อเสียงได้แก่ ไดอารี่ของรัชกาลที่ 5 ซึ่งเมื่อตีพิมพ์เผยแพร่มีชื่อเรียกว่า "จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน"

วันอังคาร, มิถุนายน 21, 2554

โกล ภาคสอง

สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2: แนวร่วมการปลดปล่อยฝรั่งเศส

ในวันที่ 18 มิถุนายน เดอ โกล เตรียมตัวที่ปราศรัยแก่คนฝรั่งเศสผ่านทางวิทยุ BBC ในกรุงลอนดอน คณะรัฐมนตรีของอังกฤษได้พยายามบล็อกคำปราศรัยครั้งนั้นแต่วินสตัน เชอร์ชิลล์ก็ได้ยับยั้งมติคณะรัฐมนตรีไว้ได้ ในประเทศฝรั่งเศส เดอ โกล คำอุทธรณ์ 18 มิถุนายน (Appel du 18 Juin) น่าจะเป็นที่ได้ยินของคนทั้งชาติในเย็นวันนั้น แต่ในความจริงแล้วมีเพียงเล็กน้อยที่ได้ยินเท่านั้น เดอ โกลยังไม่เป็นที่รู้จักกันในประเทศฝรั่งเศสเวลานั้น และคำปราศรัยของเขานั้นเป็นเหมือนความเพ้อฝันเสียมากกว่า วลีที่ว่า ฝรั่งเศสแพ้จากการรบ แต่ยังมิได้แพ้สงคราม นั้นได้พบอยู่บนโปสเตอร์ทั่วสหราชอาณาจักร และถูกโยงไปอย่างผิด ๆ ว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำปราศรัยทาง BBC แต่อย่างไรก็ตามวลีดังกล่าวก็ได้เห็นความตั้งใจแน่วแน่ของชาร์ล เดอ โกล เขาเองมีส่วนร่วมในการต่อต้านการบุกรุกของเยอรมันและได้ประกาศว่า ไฟการต่อต้านของฝรั่งเศสจะไม่ดับลง แต่ เดอ โกลก็ได้อ้างถึงการต่อต้านของทหารแต่เมื่อทหารชาวฝรั่งเศสส่วนมากนึกได้ว่าตนเองไม่มีปัจจัยใด ๆ ที่สามารถชนะสงครามได้แล้ว จึงต่อต้านศีลธรรมแทน ทำให้เดอ โกล มีความผิดหวังอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน
มีชาวฝรั่งเศสไม่มากนักที่ได้ยินคำปราศรัยของเดอ โกลในวันนั้นเพราะวิทยุ BBC ไม่ใคร่จะเป็นที่ได้ยินในประเทศฝรั่งเศสและชาวฝรั่งเศสกว่าล้านคนเป็นผู้ลี้ภัยด้วยซ้ำไป อย่างไรก็ตามใจความสำคัญของคำปราศรัยครั้งนั้นได้ถูกตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสในวันต่อมาบริเวณทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส (ซึ่งยังมิได้โดนยึด) และคำปราศรัยนั้นยังได้เปิดซ้ำไปซ้ำมาเป็นเวลาหลายวันทาง BBC และ เดอ โกล เองก็ได้ปราศรัยเรื่อย ๆ ในเวลาต่อมา
คำปราศรัยของเดอ โกลในวันที่ 22 มิถุนายนทาง BBC สามารถฟังได้ที่นี่ หรือใจความสำคัญของคำปราศรัยอื่น ๆ และสำเนาโปสเตอร์ตั้งแต่ มิถุนายน พ.ศ. 2483 หาได้จากที่นี่
ในไม่ช้า ท่ามกลางความวุ่นวาย งุนงง และยุ่งเหยิงของประเทศฝรั่งเศส ข่าวที่ว่ามีนายพลชาวฝรั่งเศสที่อยู่ในกรุงลอนดอนได้ปฏิเสธที่จะยอมแพ้หรือสงบศึกกับเยอรมนีและได้ประกาศว่าสงครามยังดำเนินต่อไป ได้กระจายจากปากสู่ปาก และจนวันนี้คำปราศรัยของเขานั้นเป็นที่จดจำและโด่งดังที่สุดอย่างหนึ่งในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส
ในลอนดอน ชาร์ล เดอ โกล ได้ก่อตั้งและดำเนินการแนวร่วมการปลดปล่อยฝรั่งเศส ในขณะที่สหรัฐอเมริกาให้การยอมรับรัฐบาลวิชีฝรั่งเศสแต่สหราชอาณาจักร รัฐบาลของวินสตัน เชอร์ชิลล์ให้การสนับสนุนชาร์ล เดอ โกล ทั้ง ๆ ที่รักษาระดับความสัมพันธ์กับรัฐบาลวิชีฝรั่งเศสอยู่
ในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2483 ศาลทหารในเมืองตูลูซ ได้ตัดสินให้ชาร์ล เดอ โกล (โดยที่เจ้าตัวไม่อยู่) จำคุกเป็นเวลา 4 ปี และการตัดสินครั้งที่ 2 ในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2483 ได้ตัดสินลงโทษประหารชีวิต เนื่องจากทรยศและทำการกบฏต่อรัฐบาลวิชีฝรั่งเศส
ในการปฏิบัติต่อสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกานั้น เขายืนหยัดตลอดเวลาในการยืนหยัดสิทธิเสรีภาพในฐานะตัวแทนคนฝรั่งเศส แต่บ่อยครั้งที่เขาถูกฝ่ายสัมพันธมิตรลืม เขาอาศัยอยู่ด้วยความระแวงโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต่อสหราชอาณาจักรเพราะเขาเชื่อว่าสหราชอาณาจักรพยายามหาทางที่จะยึดเอาเลอวองต์จากฝรั่งเศสอย่างลับ ๆ เคลมองทีน เชอร์ชิลล์ ภรรยาเซอร์วินสตัน เชอร์ชิลล์ ผู้ซึ่งชื่นชมในตัวเดอ โกล ได้เคยเตือนเขาไว้ว่า อย่าเกลียดพันธมิตรมากกว่าศัตรู แต่เดอ โกลก็ได้ตอบกลับไปว่า ฝรั่งเศสไม่มีเพื่อน มีแต่หุ้นส่วน
อย่างไรก็ตามสถานการณ์ดังกล่าวมีความซับซ้อน เดอ โกลเองก็ไม่ไว้วางใจจุดประสงค์ของสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา เนื่องจากนักการเมืองระดับสูงของสหรัฐอเมริกานั้นไม่ไว้วางใจแนวร่วมปลดปล่อยฝรั่งเศสของชาร์ล เดอ โกล และเป็นประเทศหนึ่งที่ปฏิเสธในการยอมรับแนวร่วมปลดปล่อยฝรั่งเศสและชาร์ล เดอ โกลในฐานะตัวแทนประเทศฝรั่งเศส ในทางกลับกัน สหรัฐอเมริกาก็ยังได้ให้การยอมรับรัฐบาลวิชีฝรั่งเศสแทน
หลายครั้งที่คนได้วิจารณ์การทำงานร่วมกันของเดอ โกลและเชอร์ชิลล์อย่างผิด ๆ เช่น "จากไม้กางเขนทั้งหมดที่ข้าพเจ้าดูแล ไม้กางเขนแห่งลอแรนป็นสิ่งที่ทำให้ข้าพเจ้าหนักใจเป็นที่สุด" (ไม้กางเขนแห่งลอแรนป็นสัญลักษณ์ของแนวร่วมการปลดปล่อยฝรั่งเศส) ซึ่งคำเหน็บแหนมดังกล่าว แท้จริงแล้ว ทูตอังกฤษที่ส่งไปยังฝรั่งเศส พลตรี เซอร์ หลุยส์ สเปียส์ เป็นคนพูดต่างหาก
บางครั้งในภาวะตึงเครียด กล่าวกันว่า เชอร์ชิลล์ได้เคยพูดเป็นภาษาฟร็องแกล (ภาษาฝรั่งเศส + ภาษาอังกฤษ / français + anglais) ว่า Si vous ne co-operatez, je vous obliterai ซึ่งแปลว่า ถ้าคุณไม่ให้ความร่วมมือ ผมจะทำลายคุณซะ
เขาได้ทำงานร่วมกับกลุ่มการต่อต้านของฝรั่งเศสและผู้สนับสนุนการครอบครองเมืองขึ้นฝรั่งเศสบริเวณแอฟริกา ต่อมาหลังภารกิจ Operation Torch ที่ทหารอังกฤษและอเมริกันยกพลบุกเมืองขึ้นฝรั่งเศสในแอฟริกาเหนือในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2485 (เมืองขึ้นฝรั่งเศสขณะนั้นภายใต้รัฐบาลวิชีฝรั่งเศส) ชาร์ล เดอ โกลได้ย้ายกองบัญชาการไปยังเมืองแอลเจียร์ ประเทศแอลจีเรียในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2486 หลังจากนั้นเดอ โกลก็ได้เป็นประธานร่วม (ร่วมกับพลเอกอ็องรี ชีโรด์ ซึ่งสหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุน) และภายหลังเป็นประธานคณะกรรมมาธิการปลดปล่อยแห่งชาติ (คนเดียว)
ระหว่างภารกิจการปลดปล่อยฝรั่งเศสนั้น ทหารอังกฤษและอเมริกันก็ได้ยกพลขึ้นผืนแผ่นดินใหญ่ที่ประเทศฝรั่งเศสในภารกิจ Operation Overlord หรือเป็นที่คุ้นหูในนาม "การรบแห่งนอร์ม็องดี" เดอ โกลก็สถาปนาแนวร่วมการปลดปล่อยฝรั่งเศสในผืนแผ่นดินใหญ่ฝรั่งเศส หลีกเลี่ยง รัฐบาลทหารสัมพันธมิตรเพื่อครอบครองดินแดน (AMGOT) เขาได้นั่งเครื่องบินจากประเทศแอลจีเรียมายังฝรั่งเศสก่อนการเป็นเสรีภาพของกรุงปารีส และได้เคลื่อนที่เข้าไปบริเวณแนวหน้าใกล้ ๆ เมืองหลวงพร้อมกับทหารสัมพันธมิตร เขาได้กลับไปยังกรุงปารีสในไม่ช้า และก็ได้กลับเข้าทำงานในกระทรวงระหว่างสงคราม และก็ได้ประกาศว่าสาธารณรัฐที่ 3 ยังคงอยู่ต่อไปและปฏิเสธการปกครองของวิชีฝรั่งเศส
เดอ โกลได้เป็นประธานคณะรัฐบาลเฉพาะกาลแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส (GPRF) เริ่มในเดือนกันยายน พ.ศ. 2487 เขาได้ส่งหน่วยปฏิบัติการฝรั่งเศสนอกประเทศแห่งตะวันออกไกล (Corps Expéditionnaire Français en Extrême-Orient, CEFEO) เพื่อที่จะสถาปนาอำนาจในภูมิภาคอินโดจีนฝรั่งเศสขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2488 และได้แต่งตั้งพลเรือเอกดาร์ชองลีอู เป็นผู้บัญชาการอินโดจีนฝรั่งเศส และจอมพลเลอเคลิร์กเป็นผู้บัญชาการสูงสุดในอินโดจีนฝรั่งเศสและบังคับบัญชาหน่วยปฏิบัติการฝรั่งเศสนอกประเทศแห่งตะวันออกไกล
ภายใต้การนำของชาร์ล เดอ โกล ผู้ที่ได้ทำการต่อต้านและต่อสู้เพื่อฝรั่งเศสมาก่อนหน้านี้แล้วนั้น (ส่วนมากเป็นทหารจากเมืองขึ้นฝรั่งเศส) สามารถเคลื่อนกองทัพ ๆ หนึ่งของฝรั่งเศสในบริเวณแนวตะวันตกได้ โดยการกระทำภารกิจยกพลขึ้นทางตอนใต้ของฝรั่งเศส (Operation Dragoon) ซึ่งสามารถทำให้ 1 ใน 3 ของประเทศฝรั่งเศสเป็นเสรีจากกองทัพเยอรมันได้ ทหารกลุ่มนี้เรียกว่า กองทัพฝรั่งเศสกลุ่มแรก ทำให้กองทัพฝรั่งเศสนั้นได้เข้าร่วมในการต่อสู้กับเยอรมนีทางทหารพร้อมเพรียงกับทหารอังกฤษโดยปริยาย และยังได้ยึดดินแดนที่กองทัพเยอรมันครอบครองไว้คืนมาอีกด้วย และนี่ส่งผลไปถึงการที่ฝรั่งเศสมีส่วนร่วมในสนธิสัญญาการยอมแพ้ของเยอรมนีด้วย มากกว่านั้นฝรั่งเศสยังมีโอกาสที่จะควบคุม 1 ใน 4 ส่วนของประเทศเยอรมนีหลังสงครามอีกด้วย (พร้อมกับ สหราชอาณาจักร รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา)
เดอ โกลได้ลาออกเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2489 ด้วยการตำหนิว่าพรรคการเมืองต่าง ๆ ว่ามีความขัดแย้งกันเองและไม่รับรองรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 4 ซึ่งเขาเชื่อว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้อำนาจรัฐสภามากเกินไป พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงพันธมิตรของพรรคการเมือง คนที่ได้รับตำแหน่งต่อจากเขาคือ เฟลิกซ์ กูแอง (SFIO), ต่อมาคือ ฌอร์ฌ บีโด (MRP) และสุดท้ายคือ เลอง บลูม (SFIO)

ชาร์ล เดอ โกล เค้ายอดมาก กก

ชาร์ล อ็องเดร โฌแซ็ฟ มารี เดอ โกล (ฝรั่งเศส: Charles André Joseph Marie de Gaulle) หรือ ชาร์ล เดอ โกล (22 พฤศจิกายน พ.ศ. 24339 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513) เป็นนายทหารและรัฐบุรุษชาวฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยเป็นที่รู้จักในนาม นายพลเดอ โกล
ไฟล์:Charles de Gaulle1.jpg
ก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เขาเป็นที่รู้จักในฐานะนักยุทธวิธีการรบด้วยรถถัง และผู้นิยมการรบด้วยการใช้ยานเกราะและกองกำลังทางอากาศ เขาเป็นผู้นำการปลดปล่อยฝรั่งเศสในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง และผู้นำรัฐบาลชั่วคราวในช่วงปี พ.ศ. 2487 (ค.ศ. 1944) ถึง พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) ถูกเรียกตัวไปจัดตั้งรัฐบาลในปี พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) เขาได้เป็นแรงบันดาลใจในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และเป็นประธานาธิบดีฝรั่งเศสคนแรกในยุคสาธารณรัฐที่ 5 ระหว่างปี พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ถึงปี พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) แนวคิดทางการเมืองของเขาเป็นที่รู้จักในนามของลัทธินิยมโกล และมีอิทธิพลอย่างมากต่อการเมืองฝรั่งเศสในยุคต่อมา
ชาร์ล เดอ โกล เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2433 เป็นลูกคนที่ 3 ใน 5 ของครอบครัวโรมันคาทอลิกที่มีลักษณะอนุรักษ์-เสรีนิยมที่เมืองลีล ซึ่งตั้งอยู่ทางเหนือของประเทศฝรั่งเศสติดกับประเทศเบลเยี่ยม
เขาเติบโตและได้รับการศึกษาในกรุงปารีสที่ Collège Stanislas de Paris และยังได้ศึกษาในประเทศเบลเยียมระยะหนึ่ง
เชื้อสายฝ่ายพ่อของชาร์ล เดอ โกลนั้นเป็นชนชั้นผู้ดีตระกูลสูง (อภิชนาธิปไตย) ในแถบนอร์ม็องดีและเบอร์กันดีมาเป็นเวลานาน ซึ่งได้ย้ายรกรากมาอาศัยอยู่ในกรุงปารีสเป็นเวลากว่าศตวรรษแล้ว ส่วนเชื้อสายทางฝ่ายแม่ของเขานั้น เป็นผู้บริหารกิจการอุตสาหกรรมที่ร่ำรวยแห่งเมืองลีลในบริเวณฟลานเดอส์ฝรั่งเศส
คำว่า เดอ (de) (ซึ่งแปลว่า แห่ง หรือ ณ) ในคำว่า เดอ โกล (de Gaulle) นั้นไม่ได้เป็นนามสกุลขุนนางแต่อย่างใด ทั้ง ๆ ที่บรรพบุรุษของครอบครัว เดอ โกล นั้น เป็นขุนนางหรืออัศวินซึ่งสูงด้วยยศและตำแหน่ง ซึ่งบรรพบุรุษคนแรก ๆ ของตระกูล เดอ โกล นั้นมียศเป็นผู้ติดตามอัศวิน (Écuyer) ในสมัยพระเจ้าฟิลิปที่ 2 ช่วงศตวรรษที่ 12 เป็นที่เชื่อกันว่า คำว่า เดอ โกล นั้นได้มีวิวัฒนาการมาจากคำว่า De Walle ซึ่งแปลว่า กำแพงเมืองหรือป้อมปราการ ในภาษาเยอรมัน เนื่องจากขุนนางฝรั่งเศสในสมัยก่อนนั้น สืบเชื้อสายมาจากพวกแฟรงก์และนอร์มังเยอรมัน ซึ่งก็ทำให้ได้รับอิทธิพลในการใช้ชื่อเยอรมัน และเป็นที่สังเกตว่า คำว่า เดอ โกล (de Gaulle) นั้นจะขึ้นต้นด้วย d ตัวเล็กเสมอ
ปู่ของชาร์ล เดอ โกลนั้นเป็นนักประวัติศาสตร์ ส่วนย่าเป็นนักเขียน พ่อของเขา อ็องรี เดอ โกล เป็นครูในโรงเรียนคาทอลิกเอกชน ซึ่งเขาได้ตั้งโรงเรียนขึ้นมาเอง การโต้วาทีเรื่องการเมืองนั้นเป็นสิ่งที่ครอบครัวเขาทำเป็นประจำ เมื่อตอนเขาเด็ก ๆ พ่อของเขาก็ได้แนะนำนักเขียนผู้ซึ่งเป็นพวกอนุรักษ์นิยมอยู่เป็นประจำ ครอบครัวเขาเป็นครอบครัวที่มีความเป็นชาตินิยม เขาเติบโตมาด้วยความศรัทธาที่มีต่อชาติของตนเอง
ครอบครัวเขาเป็นพวกจารีตนิยม อนุรักษ์นิยมและยังสนับสนุนการปกครองในระบอบราชาธิบไตย แต่ถึงกระนั้นครอบครัวเขาก็ได้ยึดถือกฎหมายและเคารพสาธารณรัฐเป็นอย่างดี มุมมองทางการเมืองของพวกเขายังออกไปแนวเสรีนิยมอีกด้วย
ไฟล์:Charles de Gaulle 1943 Tunisia.jpg
สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1
ชาร์ล เดอ โกล ได้เลือกที่จะใช้ชีวิตเป็นทหารอาชีพ และเขาก็ได้เรียนที่โรงเรียนเตรียมทหารพิเศษแซ็ง-ซีร์ (École spéciale militaire de Saint-Cyr) เป็นเวลากว่า 4 ปี และได้เข้าร่วมกองทหารราบแทนที่จะเลือกหน่วยทหารหัวกะทิ
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้สิ้นสุดลง ชาร์ล เดอ โกล ยังคงอยู่ในกองทัพ เป็นนายทหารของพลเอก Maxime Weygand และพลเอกฟีลิป เปแต็ง อย่างต่อเนื่อง ในระหว่างสงครามโปลิช-โซเวียต (พ.ศ. 2462 - พ.ศ. 2464) เขาได้อาสาเข้าไปเป็นสมาชิกของหน่วยภารกิจทหารฝรั่งเศสเพื่อโปแลนด์ และได้เป็นครูฝึกทหารราบให้แก่กองทัพโปแลนด์ ต่อมาเขาได้แยกตัวออกเพื่อที่จะเข้าร่วมภารกิจใกล้ ๆ แม่น้ำ Zbrucz (บริเวณประเทศยูเครน)และได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์ทางทหารอันสูงสุดของโปแลนด์นั่นก็คือ เครื่องอิสริยาภรณ์ Virtuti Militari
เขายังได้เลื่อนขั้นเป็นผู้บังคับบัญชาหน่วยและยังได้ข้อเสนอให้ทำงานต่อที่ประเทศโปแลนด์ แต่เขากลับเลือกที่จะกลับมาทำงานในประเทศฝรั่งเศส และได้เป็นนายทหารเสนาธิการและได้สอนที่โรงเรียนเตรียมทหาร (École Militaire) เป็นผู้อยู่ในอุปถัมภ์ของผู้บังคับบัญชาคนเก่าของเขา คือ พลเอกฟีลิป เปแต็ง ชาร์ล เดอ โกลนั้นได้รับอิทธิพลจากสงครามโปลิช-โซเวียตเป็นอย่างมากด้วยการใช้รถถัง เคลื่อนพลอย่างรวดเร็ว และการทำสงครามในสนามเพลาะ เขายังได้เรียนรู้บางสิ่งบางอย่างเพื่ออนาคตทางทหารและการเมืองของเขาจากจอมพล Józef Piłsudski แห่งโปแลนด์ ในเรื่องการก่อตั้งสหภาพยุโรป

วันอาทิตย์, มิถุนายน 19, 2554

ฝรั่งเศสพบชาเขียวนำเข้าจากญี่ปุ่น ปนรังสีเกิน

ชา

ฝรั่งเศสพบชาเขียวญี่ปุ่น ปนรังสีเกิน (ไอเอ็นเอ็น)
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล

          ทางการฝรั่งเศส ตรวจพบสารกัมมันตภาพรังสีในชาเขียว ที่นำเข้าจากญี่ปุ่น มีปริมาณกัมมันตภาพรังสีปนสูงกว่าเกณฑ์ความปลอดภัยที่สหภาพยุโรปตั้งไว้ เกินเท่าตัว
          เจ้าหน้าที่หน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารของฝรั่งเศส ตรวจพบสารกัมมันตภาพรังสีประเภทซีเซียมในชาเขียว ที่นำเข้าจาก จ.ชิสึโอกะ ทางตอนกลางของญี่ปุ่น โดยชาดังกล่าว มีปริมาณกัมมันตภาพรังสีปนเปื้อนสูงกว่าเกณฑ์ความปลอดภัยที่สหภาพยุโรปตั้ง ไว้
          รายงานข่าวระบุว่า หน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารของรัฐบาลฝรั่งเศส ตรวจพบการปนเปื้อนของสารซีเซียมสูงถึง 1,038 บีคิวต่อกิโลกรัม ในใบชาเขียวอบแห้งที่ถูกส่งมาจากญี่ปุ่น ผ่านทางสนามบินชาร์ลส์ เดอ โกลล์ นอกกรุงปารีส โดยปริมาณของสารซีเซียมที่ปนเปื้อนในใบชาเหล่านี้ สูงกว่าเกณฑ์ความปลอดภัยที่ระดับ 500 บีคิวต่อกิโลกรัม ซึ่งสหภาพยุโรป หรือ "อียู" กำหนดไว้

          เบื้องต้น คาดว่า ทางการฝรั่งเศส จะเร่งทำลายใบชาเขียวลอตนี้ ซึ่งมีน้ำหนักรวมกว่า 162 กิโลกรัม ในทันที ขณะที่สหภาพยุโรป ออกประกาศเตือนให้ชาติสมาชิกอียู เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบสินค้าประเภทอาหารที่นำเข้า จากพื้นที่เสี่ยง 13 จังหวัดของญี่ปุ่น รวมถึง จ.ฟุกุชิมะ ที่เป็นที่ตั้งของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ ที่เกิดการรั่วไหลของสารกัมมันตภาพรังสีอย่างรุนแรง