วันอังคาร, มิถุนายน 21, 2554

โกล ภาคสอง

สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2: แนวร่วมการปลดปล่อยฝรั่งเศส

ในวันที่ 18 มิถุนายน เดอ โกล เตรียมตัวที่ปราศรัยแก่คนฝรั่งเศสผ่านทางวิทยุ BBC ในกรุงลอนดอน คณะรัฐมนตรีของอังกฤษได้พยายามบล็อกคำปราศรัยครั้งนั้นแต่วินสตัน เชอร์ชิลล์ก็ได้ยับยั้งมติคณะรัฐมนตรีไว้ได้ ในประเทศฝรั่งเศส เดอ โกล คำอุทธรณ์ 18 มิถุนายน (Appel du 18 Juin) น่าจะเป็นที่ได้ยินของคนทั้งชาติในเย็นวันนั้น แต่ในความจริงแล้วมีเพียงเล็กน้อยที่ได้ยินเท่านั้น เดอ โกลยังไม่เป็นที่รู้จักกันในประเทศฝรั่งเศสเวลานั้น และคำปราศรัยของเขานั้นเป็นเหมือนความเพ้อฝันเสียมากกว่า วลีที่ว่า ฝรั่งเศสแพ้จากการรบ แต่ยังมิได้แพ้สงคราม นั้นได้พบอยู่บนโปสเตอร์ทั่วสหราชอาณาจักร และถูกโยงไปอย่างผิด ๆ ว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำปราศรัยทาง BBC แต่อย่างไรก็ตามวลีดังกล่าวก็ได้เห็นความตั้งใจแน่วแน่ของชาร์ล เดอ โกล เขาเองมีส่วนร่วมในการต่อต้านการบุกรุกของเยอรมันและได้ประกาศว่า ไฟการต่อต้านของฝรั่งเศสจะไม่ดับลง แต่ เดอ โกลก็ได้อ้างถึงการต่อต้านของทหารแต่เมื่อทหารชาวฝรั่งเศสส่วนมากนึกได้ว่าตนเองไม่มีปัจจัยใด ๆ ที่สามารถชนะสงครามได้แล้ว จึงต่อต้านศีลธรรมแทน ทำให้เดอ โกล มีความผิดหวังอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน
มีชาวฝรั่งเศสไม่มากนักที่ได้ยินคำปราศรัยของเดอ โกลในวันนั้นเพราะวิทยุ BBC ไม่ใคร่จะเป็นที่ได้ยินในประเทศฝรั่งเศสและชาวฝรั่งเศสกว่าล้านคนเป็นผู้ลี้ภัยด้วยซ้ำไป อย่างไรก็ตามใจความสำคัญของคำปราศรัยครั้งนั้นได้ถูกตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสในวันต่อมาบริเวณทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส (ซึ่งยังมิได้โดนยึด) และคำปราศรัยนั้นยังได้เปิดซ้ำไปซ้ำมาเป็นเวลาหลายวันทาง BBC และ เดอ โกล เองก็ได้ปราศรัยเรื่อย ๆ ในเวลาต่อมา
คำปราศรัยของเดอ โกลในวันที่ 22 มิถุนายนทาง BBC สามารถฟังได้ที่นี่ หรือใจความสำคัญของคำปราศรัยอื่น ๆ และสำเนาโปสเตอร์ตั้งแต่ มิถุนายน พ.ศ. 2483 หาได้จากที่นี่
ในไม่ช้า ท่ามกลางความวุ่นวาย งุนงง และยุ่งเหยิงของประเทศฝรั่งเศส ข่าวที่ว่ามีนายพลชาวฝรั่งเศสที่อยู่ในกรุงลอนดอนได้ปฏิเสธที่จะยอมแพ้หรือสงบศึกกับเยอรมนีและได้ประกาศว่าสงครามยังดำเนินต่อไป ได้กระจายจากปากสู่ปาก และจนวันนี้คำปราศรัยของเขานั้นเป็นที่จดจำและโด่งดังที่สุดอย่างหนึ่งในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส
ในลอนดอน ชาร์ล เดอ โกล ได้ก่อตั้งและดำเนินการแนวร่วมการปลดปล่อยฝรั่งเศส ในขณะที่สหรัฐอเมริกาให้การยอมรับรัฐบาลวิชีฝรั่งเศสแต่สหราชอาณาจักร รัฐบาลของวินสตัน เชอร์ชิลล์ให้การสนับสนุนชาร์ล เดอ โกล ทั้ง ๆ ที่รักษาระดับความสัมพันธ์กับรัฐบาลวิชีฝรั่งเศสอยู่
ในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2483 ศาลทหารในเมืองตูลูซ ได้ตัดสินให้ชาร์ล เดอ โกล (โดยที่เจ้าตัวไม่อยู่) จำคุกเป็นเวลา 4 ปี และการตัดสินครั้งที่ 2 ในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2483 ได้ตัดสินลงโทษประหารชีวิต เนื่องจากทรยศและทำการกบฏต่อรัฐบาลวิชีฝรั่งเศส
ในการปฏิบัติต่อสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกานั้น เขายืนหยัดตลอดเวลาในการยืนหยัดสิทธิเสรีภาพในฐานะตัวแทนคนฝรั่งเศส แต่บ่อยครั้งที่เขาถูกฝ่ายสัมพันธมิตรลืม เขาอาศัยอยู่ด้วยความระแวงโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต่อสหราชอาณาจักรเพราะเขาเชื่อว่าสหราชอาณาจักรพยายามหาทางที่จะยึดเอาเลอวองต์จากฝรั่งเศสอย่างลับ ๆ เคลมองทีน เชอร์ชิลล์ ภรรยาเซอร์วินสตัน เชอร์ชิลล์ ผู้ซึ่งชื่นชมในตัวเดอ โกล ได้เคยเตือนเขาไว้ว่า อย่าเกลียดพันธมิตรมากกว่าศัตรู แต่เดอ โกลก็ได้ตอบกลับไปว่า ฝรั่งเศสไม่มีเพื่อน มีแต่หุ้นส่วน
อย่างไรก็ตามสถานการณ์ดังกล่าวมีความซับซ้อน เดอ โกลเองก็ไม่ไว้วางใจจุดประสงค์ของสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา เนื่องจากนักการเมืองระดับสูงของสหรัฐอเมริกานั้นไม่ไว้วางใจแนวร่วมปลดปล่อยฝรั่งเศสของชาร์ล เดอ โกล และเป็นประเทศหนึ่งที่ปฏิเสธในการยอมรับแนวร่วมปลดปล่อยฝรั่งเศสและชาร์ล เดอ โกลในฐานะตัวแทนประเทศฝรั่งเศส ในทางกลับกัน สหรัฐอเมริกาก็ยังได้ให้การยอมรับรัฐบาลวิชีฝรั่งเศสแทน
หลายครั้งที่คนได้วิจารณ์การทำงานร่วมกันของเดอ โกลและเชอร์ชิลล์อย่างผิด ๆ เช่น "จากไม้กางเขนทั้งหมดที่ข้าพเจ้าดูแล ไม้กางเขนแห่งลอแรนป็นสิ่งที่ทำให้ข้าพเจ้าหนักใจเป็นที่สุด" (ไม้กางเขนแห่งลอแรนป็นสัญลักษณ์ของแนวร่วมการปลดปล่อยฝรั่งเศส) ซึ่งคำเหน็บแหนมดังกล่าว แท้จริงแล้ว ทูตอังกฤษที่ส่งไปยังฝรั่งเศส พลตรี เซอร์ หลุยส์ สเปียส์ เป็นคนพูดต่างหาก
บางครั้งในภาวะตึงเครียด กล่าวกันว่า เชอร์ชิลล์ได้เคยพูดเป็นภาษาฟร็องแกล (ภาษาฝรั่งเศส + ภาษาอังกฤษ / français + anglais) ว่า Si vous ne co-operatez, je vous obliterai ซึ่งแปลว่า ถ้าคุณไม่ให้ความร่วมมือ ผมจะทำลายคุณซะ
เขาได้ทำงานร่วมกับกลุ่มการต่อต้านของฝรั่งเศสและผู้สนับสนุนการครอบครองเมืองขึ้นฝรั่งเศสบริเวณแอฟริกา ต่อมาหลังภารกิจ Operation Torch ที่ทหารอังกฤษและอเมริกันยกพลบุกเมืองขึ้นฝรั่งเศสในแอฟริกาเหนือในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2485 (เมืองขึ้นฝรั่งเศสขณะนั้นภายใต้รัฐบาลวิชีฝรั่งเศส) ชาร์ล เดอ โกลได้ย้ายกองบัญชาการไปยังเมืองแอลเจียร์ ประเทศแอลจีเรียในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2486 หลังจากนั้นเดอ โกลก็ได้เป็นประธานร่วม (ร่วมกับพลเอกอ็องรี ชีโรด์ ซึ่งสหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุน) และภายหลังเป็นประธานคณะกรรมมาธิการปลดปล่อยแห่งชาติ (คนเดียว)
ระหว่างภารกิจการปลดปล่อยฝรั่งเศสนั้น ทหารอังกฤษและอเมริกันก็ได้ยกพลขึ้นผืนแผ่นดินใหญ่ที่ประเทศฝรั่งเศสในภารกิจ Operation Overlord หรือเป็นที่คุ้นหูในนาม "การรบแห่งนอร์ม็องดี" เดอ โกลก็สถาปนาแนวร่วมการปลดปล่อยฝรั่งเศสในผืนแผ่นดินใหญ่ฝรั่งเศส หลีกเลี่ยง รัฐบาลทหารสัมพันธมิตรเพื่อครอบครองดินแดน (AMGOT) เขาได้นั่งเครื่องบินจากประเทศแอลจีเรียมายังฝรั่งเศสก่อนการเป็นเสรีภาพของกรุงปารีส และได้เคลื่อนที่เข้าไปบริเวณแนวหน้าใกล้ ๆ เมืองหลวงพร้อมกับทหารสัมพันธมิตร เขาได้กลับไปยังกรุงปารีสในไม่ช้า และก็ได้กลับเข้าทำงานในกระทรวงระหว่างสงคราม และก็ได้ประกาศว่าสาธารณรัฐที่ 3 ยังคงอยู่ต่อไปและปฏิเสธการปกครองของวิชีฝรั่งเศส
เดอ โกลได้เป็นประธานคณะรัฐบาลเฉพาะกาลแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส (GPRF) เริ่มในเดือนกันยายน พ.ศ. 2487 เขาได้ส่งหน่วยปฏิบัติการฝรั่งเศสนอกประเทศแห่งตะวันออกไกล (Corps Expéditionnaire Français en Extrême-Orient, CEFEO) เพื่อที่จะสถาปนาอำนาจในภูมิภาคอินโดจีนฝรั่งเศสขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2488 และได้แต่งตั้งพลเรือเอกดาร์ชองลีอู เป็นผู้บัญชาการอินโดจีนฝรั่งเศส และจอมพลเลอเคลิร์กเป็นผู้บัญชาการสูงสุดในอินโดจีนฝรั่งเศสและบังคับบัญชาหน่วยปฏิบัติการฝรั่งเศสนอกประเทศแห่งตะวันออกไกล
ภายใต้การนำของชาร์ล เดอ โกล ผู้ที่ได้ทำการต่อต้านและต่อสู้เพื่อฝรั่งเศสมาก่อนหน้านี้แล้วนั้น (ส่วนมากเป็นทหารจากเมืองขึ้นฝรั่งเศส) สามารถเคลื่อนกองทัพ ๆ หนึ่งของฝรั่งเศสในบริเวณแนวตะวันตกได้ โดยการกระทำภารกิจยกพลขึ้นทางตอนใต้ของฝรั่งเศส (Operation Dragoon) ซึ่งสามารถทำให้ 1 ใน 3 ของประเทศฝรั่งเศสเป็นเสรีจากกองทัพเยอรมันได้ ทหารกลุ่มนี้เรียกว่า กองทัพฝรั่งเศสกลุ่มแรก ทำให้กองทัพฝรั่งเศสนั้นได้เข้าร่วมในการต่อสู้กับเยอรมนีทางทหารพร้อมเพรียงกับทหารอังกฤษโดยปริยาย และยังได้ยึดดินแดนที่กองทัพเยอรมันครอบครองไว้คืนมาอีกด้วย และนี่ส่งผลไปถึงการที่ฝรั่งเศสมีส่วนร่วมในสนธิสัญญาการยอมแพ้ของเยอรมนีด้วย มากกว่านั้นฝรั่งเศสยังมีโอกาสที่จะควบคุม 1 ใน 4 ส่วนของประเทศเยอรมนีหลังสงครามอีกด้วย (พร้อมกับ สหราชอาณาจักร รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา)
เดอ โกลได้ลาออกเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2489 ด้วยการตำหนิว่าพรรคการเมืองต่าง ๆ ว่ามีความขัดแย้งกันเองและไม่รับรองรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 4 ซึ่งเขาเชื่อว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้อำนาจรัฐสภามากเกินไป พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงพันธมิตรของพรรคการเมือง คนที่ได้รับตำแหน่งต่อจากเขาคือ เฟลิกซ์ กูแอง (SFIO), ต่อมาคือ ฌอร์ฌ บีโด (MRP) และสุดท้ายคือ เลอง บลูม (SFIO)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น