วันเสาร์, กุมภาพันธ์ 09, 2556

คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร ข้อมูล ข้อมูลการเข้าศึกษา


มารู้จัก คณะโบราณคดี
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
ชื่ออังกฤษ             Faculty of Archaeology, Silpakorn University
ที่อยู่                        31 ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ10200
วันก่อตั้ง                12 มิถุนายน พ.ศ. 2498
วารสาร                  ดำรงวิชาการ
สีประจำคณะ        สีม่วง

สัญลักษณ์             พระพิฆเนศวร์
เว็บไซต์
                 archae.su.ac.th
ประวัติความเป็นมา
มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ตั้งคณะโบราณคดีขึ้นเป็นคณะวิชาที่ 3 ของมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.2498 โดยมีจุดมุ่งหมายหลักให้เป็นคณะวิชาที่ผลิตครูอาจารย์และนักโบราณคดีรวมทั้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานโบราณคดี เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในกองโบราณคดีของกรมศิลปากรหรืองานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การอนุรักษ์ โบราณวัตถุโบราณสถานของประเทศ หลักสูตรและการเรียนการสอนในคณะโบราณคดีระยะแรกสุดนั้น เป็นหลักสูตรอนุปริญญา 3 ปีที่เน้นด้านการผลิต นักวิชาการสาขาโบราณคดีเท่านั้นจึงมีการปรับปรุง อย่างต่อเนื่อง มาโดยตลอด
ปรัชญา  "ศึกษามนุษย์ ขุดค้นก้าวหน้า ภาษาเชี่ยวชาญ สืบสานศิลปวัฒนธรรม"
ปณิธาน
1.            ผลิตบัณฑิตในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกที่เป็นที่ยอมรับว่าเป็นผู้ที่มีทักษะในการทำงานในสาขาวิชาที่เรียน ควบคู่กับการเป็นผู้รอบรู้ที่มีคุณธรรมซึ่งพร้อมที่จะเสียสละประโยชน์ตนเองเพื่อส่วนรวม
2.            มีระบบฐานข้อมูลขององค์ความรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมไทยทั้งสมัยอดีตและปัจจุบัน ที่เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ และสามารถให้บริการแก่ประชาคม ทั้งภายในและภายนอกคณะโบราณคดีได้อย่างสะดวกและรวดเร็วทำให้สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้สูงสุดต่อวิชาการหลากหลายสาขาทั้งด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ศิลปะ และวิทยาศาสตร์
3.            ผลิตงานวิชาการสาขาต่างๆ ในหลายลักษณะออกเผยแพร่อย่างสม่ำเสมอเพื่อส่งเสริมการพัฒนาการศึกษาของประเทศไทย
4.            ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทยและให้บริการวิชาการแก่สังคม
5.            เผยแพร่ความรู้แก่สังคมอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เป็นที่ยอมรับจากประชาคมทั้งภายในและภายนอกว่าเป็นสถาบันการศึกษาที่ทรงคุณค่าของประเทศ และสร้างประโยชน์สูงมากให้ประเทศไทย

หลักสูตรการศึกษา
ระดับปริญญาบัณฑิต
หลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตที่ใช้ในปัจจุบันมี 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรศิลปะศาสตร์บัณฑิต พ.ศ.2536ผู้ที่สำเร็จการศึกษาทุกสาขาวิชาเอกของคณะโบราณคดีตามหลักสูตรนี้ ต้องสอบได้ไม่น้อยกว่า 140 หน่วยกิต
และหลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต พ.ศ.2546 ได้เริ่มใช้กับนักศึกษาที่เข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2546ผู้สำเร็จการศึกษาทุกสาขาวิชาเอกต้องสอบได้ไม่น้อยกว่า 144 หน่วยกิต การศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตของคณะโบราณคดี จำนวน 7 สาขาวิชาเอก คือ
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอกโบราณคดี
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอกประวัติศาสตร์ศิลปะ
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอกมานุษยวิทยา
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอกภาษาไทย
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอกภาษาตะวันออก
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอกภาษาอังกฤษ
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอกภาษาฝรั่งเศส
และ 11 สาขาวิชาโท คือ
1.             สาขาวิชาโบราณคดี
2.             สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
3.             สาขาวิชามานุษยวิทยา
4.             สาขาวิชาภาษาไทย
5.             สาขาวิชาภาษาตะวันออก
6.             สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
7.             สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส
8.             สาขาวิชาประวัติศาสตร์
9.             สาขาวิชาพิพิธภัณฑสถานศึกษา
10.      สาขาวิชาภาษาฮินดี
11.      สาขาวิชาโทมัคคุเทศก์
ระดับบัณฑิตศึกษา
ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต คือ หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะไทย
ระดับปริญญามหาบัณฑิต จำนวน 12 หลักสูตร คือ
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาตะวันออก
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาไทย
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาสันสกฤต
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเขมรศึกษา
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการจดหมายเหตุและเอกสาร
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศสเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

ระดับปริญญามหาบัณฑิต (โครงการพิเศษ) จำนวน 5 หลักสูตร คือ
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศสเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
 ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต จำนวน 4 หลักสูตร คือ
หลักสูตรศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาสันสกฤต
หลักสูตรศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาเขมร
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะไทย


วิธีการเข้าศึกษาในระดับปริญญาบัณฑิต
รูปแบบที่ 1 พื้นฐานวิทยาศาสตร์
                GPAX 20%, O-NET 20%, GAY 40%, PAT 1=20%
รูปแบบที่ 2 พื้นฐานศิลปกรรมศาสตร์
                2.1 GPAX 20%, O-NET 20%, GAT 60%
                2.2 GPAX 20%, O-NET 20%, GAT 40%, PAT 7=20%
 * อาจมีการปรับค่า O-NET, GPAX, GAT-PAT ตามปีการศึกษา

การประกอบอาชีพ
 คณะโบราณคดีมีจุดมุ่งหมายหลักให้เป็นคณะวิชาที่ผลิตครูอาจารย์และนักโบราณคดี รวมทั้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานโบราณคดีเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในกองโบราณคดี ของกรมศิลปากร หรืองานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโบราณคดี
         นอกจากนี้ผู้ที่เรียนเอกอื่นด้านภาษาก็ยังสามารถประกอบอาชีพอื่นๆ ได้ เช่น มัคคุเทศก์ นักเขียน นักเขียนสารคดี พนักโรงแรม พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ประชาสัมพันธ์ นักข่าว อาจารย์สอนภาษาอังกฤษหรือภาษาฝรั่งเศส ฯลฯ อีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น