วันจันทร์, กันยายน 02, 2556

ประวัตินายป๋วย อึ๊งภากรณ์


นายป๋วย   อึ๊งภากรณ์  เกิดเมื่อวันที่ มีนาคม 2459  ที่ตลาดน้อย   กรุงเทพฯ  บิดาชื่อ นายซา เป็นชาวจีนอพยพเข้าเมืองไทย  มีอาชีพขายส่งปลา  มารดาชื่อ นางเซาะเช็ง  มีเชื้อไทย-จีน   ครอบครัวนายซาและนางเซาะเช็ง   มีบุตร คน ชาย คน และหญิง คน   นายป๋วยเป็นบุตรคนที่ 4
เมื่อนายป๋วยอายุ 10 ขวบ  บิดาได้ถึงแก่กรรม   จึงตกเป็นหน้าที่มารดาต้องเลี้ยงบุตรธิดาทั้งหมด   นายป๋วย เข้าศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกภาษาฝรั่งเศส ทำคะแนนได้ดีเยี่ยมในวิชาภาษาฝรั่งเศสและคณิตศาสตร์   เมื่อจบการศึกษาในปี 2475    นายป๋วยได้รับเลือกเป็นครูสอนหนังสือที่โรงเรียนอัสสัมชัญ   นายป๋วยเริ่มอาชีพครูเมื่ออายุ 17 ปี  ได้รับเงินเดือน 40 บาท (เสมียนพนักงานที่รับราชการสมัยนั้นได้รับเงินเดือนขั้นต้น 15 บาท) นายป๋วยแบ่งให้มารดาเดือนละ 30 บาท  และเก็บไว้ใช้ส่วนตัว 10 บาท
นายป๋วยเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง โดยยังเป็นครูอยู่และได้ปริญญาธรรมศาสตร์บัณฑิตปี 2480  จึงเริ่มอาชีพใหม่   โดยเป็นล่ามให้กับอาจารย์ฝรั่งเศสในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   ในปี 2481 เมื่อนายป๋วยอายุ 23 ปี ได้สอบแข่งขันและได้ทุนรัฐบาลไปศึกษาต่อทางเศรษฐศาสตร์และการคลังที่ London School of Economicsของมหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ   ได้ปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับหนึ่งในปี 2484  ทำให้ได้รับทุน Leverhulme Studentship เพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาเอกทันที
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง   นายป๋วย เข้าร่วมขบวนการเสรีไทยในประเทศอังกฤษ โดยอาสาสมัครเข้าทำงานใน British Army Pioneers Corps ทำงานติดต่อระหว่างไทยกับสัมพันธมิตรใช้ชื่อรหัสว่า "เข้ม" นายป๋วยเข้าประเทศไทยโดยกระโดดร่มลงที่ชัยนาทและถูกเจ้าหน้าที่จับกุมนำตัวส่งเข้ากรุงเทพฯ   งานสำคัญครั้งนี้คือ การติดต่อส่งข่าวทางวิทยุให้ฝ่ายสัมพันธมิตร   นายป๋วยได้ทำหน้าที่นี้จนถึงเดือนพฤษภาคม 2488   จึงได้รับอนุญาตให้กลับอังกฤษและได้รับการเลื่อนยศเป็นนายพันตรีแห่งกองทัพอังกฤษ
ณ ประเทศอังกฤษ   นายป๋วยได้เขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเกี่ยวกับการควบคุมดีบุก เริ่มเขียนปี 2489   และสอบปากเปล่าเสร็จปลายปี 2491   แต่มรสุมทางการเมืองทำให้เลื่อนเวลารับปริญญาเอกเป็นปี 2492   นายป๋วยได้แต่งงานกับนางสาวมาร์กาเร็ต สมิธ  มีบุตรชายรวม คน
นายป๋วยเข้ารับราชการในกรมบัญชีกลาง   กระทรวงการคลัง ในปี 2492   และดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารของสภาเศรษฐกิจแห่งชาติในปี 2496   เมื่อดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยอยู่ได้ เดือนเศษ   เนื่องจากไม่ยอมดำเนินนโยบายลู่ตามลมจึงต้องออกจากตำแหน่งนี้ไป   ในปี 2499 นายป๋วยต้องเผชิญกับอำนาจมืดและอิทธิพลทางการเมือง   ทำให้ต้องจากประเทศไทยไปรับตำแหน่งที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจการคลังประจำสถานเอกอัครราชทูตไทยในอังกฤษ   ระหว่างนี้ได้มีส่วนช่วยให้ไทยขายดีบุกและยางพาราแก่อังกฤษและประเทศยุโรปได้มากขึ้น   เมื่อไทยได้เข้าเป็นสมาชิกสภาดีบุกระหว่างประเทศ   นายป๋วยได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนประเทศไทยและได้รับเลือกเป็นประธานสภาดีบุกระหว่างประเทศในปี 2501-2502
ปี 2501   นายป๋วยได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ   ปลายปี 2502   ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย   อยู่ในตำแหน่ง 12 ปี โดยได้ขอลาออกหลายครั้งหลายคราแต่ไม่ได้รับอนุมัติ   นายป๋วยได้เสริมสร้างความมั่นคงให้เกิดแก่ระบบการธนาคารพาณิชย์ และสิ่งสำคัญกว่าอื่นใด คือ ได้ป้องกันนักการเมืองมิให้เข้าไปใช้อิทธิพลในการกำหนดนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย   ในปี 2504 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
นอกจากนี้ นายป๋วยยังดำรงตำแหน่งในหน่วยงานและคณะกรรมการที่สำคัญอีกหลายชุด ทำงานอุทิศตนให้แก่บ้านเมืองจนได้รับรางวัล รามอน แมกไซไซ ในปี 2508
นายป๋วยรับตำแหน่งคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี 2507 ได้ปฏิรูปงานสำคัญ ด้านคือ   การปรับปรุงหลักสูตรปริญญาตรี และการผลิตอาจารย์ ซึ่งเป็นผลให้จำนวนอาจารย์ประจำในคณะฯ   ซึ่งมีเพียง คน ในปี 2507 เพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 90 คน ในปีการศึกษา 2518  นอกจากนั้น ได้เริ่มหลักสูตรปริญญาโท ซึ่งสอนเป็นภาษาอังกฤษ และริเริ่มโครงการบัณฑิตอาสาสมัคร
สิ่งที่นายป๋วยย้ำอยู่เสมอคือ   ความเป็นธรรมในสังคม และเสรีภาพของประชาชน   นายป๋วยต้องการเห็นเมืองไทยเปลี่ยนแปลงโดยสันติวิธี   และยึดหลัก "ธรรมคืออำนาจ" มิใช่ "อำนาจคือธรรม"   ดังจะเห็นจากพฤติกรรมส่วนตัวและข้อเขียนในจดหมาย "นายเข้ม เย็นยิ่ง"   และบันทึกประชาธรรมโดยสันติวิธีจากข้อเขียนนั้น   ทำให้นายป๋วยต้องไปสอนหนังสือ ณ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ แต่ถึงกระนั้นเสียงข่มขู่เอาชีวิตก็ยังไปถึงประเทศอังกฤษ   จึงได้ลาออกจากคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และที่ปรึกษากระทรวงการคลังเมื่อเดือนสิงหาคม 2515  หลังตุลาคม 2516 นายป๋วยได้กลับมาเป็นอาจารย์พิเศษประจำคณะเศรษฐศาสตร์ และรับตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2518 ต่อมาเมื่อ 6 ตุลาคม 2519 นายป๋วยได้เผชิญกับมรสุมทางการเมืองอีกครั้ง   จึงไปพำนักอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ จนถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคเส้นโลหิตในช่องท้องแตก เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2542 สิริรวมอายุได้ 84 ปี เดือน 19 วัน
ตำแหน่งอื่น ๆ ในอดีต
1.  กรรมการ   คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2.  กรรมการบริหาร   คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
3.  กรรมการบริหาร   ธนาคารแห่งประเทศไทย
4.  ประธานกรรมการ   ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
5.  ประธานกรรมการ  มูลนิธิโกมล คีมทอง
6.  ประธานกรรมการ   มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
7.   นายกสมาคมเศรษฐศาสตร์แห่งประเทศไทย
8.   นายกสมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย
9.   ประธานโครงการบัณฑิตอาสาสมัคร   มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
10.  ผู้อำนวยการโครงการพัฒนาชนบทสมบูรณ์แบบระหว่างมหาวิทยาลัยลุ่มแม่น้ำแม่กลอง
11.  ผู้แทนถาวรไทย   และรองประธานคณะมนตรีดีบุกระหว่างประเทศ (International Tin Council)
12.  ผู้ว่าการกิตติมศักดิ์ International Development Research Centre (IDRC) นครออตตาวา ประเทศแคนาดา
13.  กรรมการ Board of Trustee, International Council for Educational Development นครนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา
14.  กรรมการ Board of Trustee, East-West Center มหาวิทยาลัยฮาวาย สหรัฐอเมริกา
15.  กรรมการ Board of Trustee, International Food Policy Research, กรุงวอชิงตัน  สหรัฐอเมริกา
16.  กรรมการ Board of Trustee, Asian Institute of Technology กรุงเทพฯ
17.  ผู้ว่าการ Asian Institute of Management กรุงมะนิลา  ประเทศฟิลิปปินส์
เกียรติประวัติทั่วไป
1.  ศาสตราจารย์   มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2.  สมาชิกกิตติมศักดิ์   สยามสมาคม
3.  สมาชิกกิตติมศักดิ์  London School of Economic and Politics  มหาวิทยาลัยลอนดอน
4.  ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์  Doctor of Letter  มหาวิทยาลัยสิงคโปร์ 2517
5.  รางวัลแมกไซไซ   สาขาบริการสาธารณะ  ประจำปี 2508
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
1.  Member of the British Empire (M.B.E.) 2489
2.  จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก  2493
3.  ตริตราภรณ์ช้างเผือก  2495
4.  ทวิติยาภรณ์มงกุฏไทย  2496
5.  ทวิติยาภรณ์ช้างเผือก  2497
6.  ประถมาภรณ์มงกุฏไทย  2500
7.  ประถมาภรณ์ช้างเผือก  2502
8.  ทุติยจุลจอมเกล้า  2504
9.  มหาวชิรมงกุฏไทย  2505
10.  มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก  2507
11.  ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ  2508
บทบาทอาจารย์ป๋วย ที่มีต่อธนาคารแห่งประเทศไทย
ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์   ได้เข้ามารับตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยที่ได้ชื่อว่าอยู่ในตำแหน่งนานที่สุด คือเป็นเวลาถึง 12 ปี   ระยะแรกท่านยังดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสำนักงบประมาณที่ตั้งขึ้นในปี 2502   ขึ้นตรงต่อสำนักนายกรัฐมนตรี และเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลังด้วย   ต่อมาก็รั้งตำแหน่งคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   ที่ปรึกษาคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน   และที่ปรึกษากระทรวงการคลัง   เนื่องจากต้องรับภาระในตำแหน่งหน้าที่ที่สำคัญหลายด้านในเวลาเดียวกัน   และเพื่อเปิดทางให้ผู้อื่นที่มีความสามารถได้มีโอกาสบริหารธนาคารกลางบ้าง   ท่านจึงลาออกจากตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ในปี 2514
ในช่วงเวลา 12 ปี ของท่านที่ธนาคารแห่งประเทศไทยนี้   นับว่าท่านได้มีส่วนร่วมอย่างมากในความสำเร็จของประเทศไทยที่ได้พัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการรักษาเสถียรภาพทางการเงิน กล่าวคือ ท่านมีบทบาทสำคัญในการร่างกฎหมายการเงิน การคลังในช่วงดังกล่าว   ตลอดจนการดำเนินงานด้านการเงินการคลัง และการพัฒนาเศรษฐกิจในช่วงแผนพัฒนาทั้งสองฉบับแรกมาโดยตลอด   ในการจัดตั้งองค์กรทางด้านเศรษฐกิจที่สำคัญ   ท่านได้มีส่วนร่วมในการจัดตั้งสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง   สำนักงบประมาณ   สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ   และคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน   สำหรับในด้านการพัฒนาประเทศในด้านอื่น ๆ ท่านก็เข้าไปมีบทบาทด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะในนโยบายกระจายรายได้ที่เป็นธรรม   ท่านได้กระตุ้นให้เกิดโครงการเร่งรัดพัฒนาชนบท และโครงการพัฒนาการศึกษาหลายโครงการ   ทางด้านการพัฒนาระบบการเงิน ดร.ป๋วยก็มีบทบาทสำคัญในการยกร่างพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505   ในการกำหนดค่าเสมอภาคของเงินบาทตามข้อกำหนดของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และในการพัฒนาตลาดทุน   ท่านเป็นผู้ริเริ่มให้มีการศึกษาการจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่เปิดดำเนินการในช่วงต่อมา
สำหรับงานบริหารภายในธนาคารแห่งประเทศไทยในช่วงดังกล่าว ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางสร้างสรรค์หลายประการ   ท่านเป็นผู้หลักดันให้มีการเปิดสาขาธนาคารในต่างจังหวัดทั้ง แห่ง ทั้งที่หาดใหญ่  ขอนแก่น   และลำปาง   เริ่มงานพิมพ์ธนบัตรในประเทศไทยเป็นครั้งแรก และมีการริเริ่มส่งนักเรียนทุนไปศึกษาต่างประเทศเป็นจำนวนมาก   ทางด้านความร่วมมือกับต่างประเทศก็นับว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยได้สร้างชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศเป็นอันมาก   การจัดตั้งศูนย์วิจัยและฝึกอบรมของกลุ่มธนาคารกลางในภูมิภาคเอเซียอาคเนย์ที่เรียกว่า SEACEN Centre เป็นผลงานอันน่าภาคภูมิใจที่เกิดจากแรงผลักดันของธนาคารแห่งประเทศไทยภายใต้การนำของท่านโดยแท้
ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย คือ 11 มิ.ย. 2502 ถึง 15 ส.ค. 2514

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น