วันเสาร์, กรกฎาคม 23, 2554

ขวาจัด ซ้ายจัด ?

การแบ่งแยกเรียกขานตราหน้าว่าใครเป็น “ฝ่ายซ้าย” หรือ “ฝ่ายขวา” มีกันมานานแล้ว ที่โดดเด่นที่สุดคือในยุคสงครามเย็นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มาจนสิ้นสุดลงเมื่อสัก 10 ปีมานี้เอง ในยุคนั้น “ฝ่ายซ้าย” คือบุคคลหรือประเทศที่เดินแนวทางสังคมนิยม หรือคอมมิวนิสต์ ส่วน “ฝ่ายขวา” คือบุคคลหรือประเทศที่เดินแนวทางทุนนิยมเป็นหลัก
แต่จริง ๆ แล้วจุดเริ่มต้นของการแบ่งแยกเป็น “ซ้าย” กับ “ขวา” ไม่ใช่เรื่อง “สังคมนิยม” กับ “ทุนนิยม” เสียทีเดียว
หากแต่เป็นเรื่องของ “ความคิดใหม่” กับ “ความคิดเก่า” เป็นสำคัญ
จุดเริ่มต้นมาจากการจัดที่นั่งในการประชุมสมัชชาแห่งชาติฝรั่งเศสเมื่อปีค.ศ. 1789 (The French National Assembly of 1789) ครับ !
เวลานั้นถือว่าเป็นช่วงต้นของการปฏิวัติฝรั่งเศสที่ลือลั่นสนั่นโลก
การประชุมสมัชชาแห่งชาติฝรั่งเศสในครั้งนั้นได้จัดให้กลุ่มขุนนาง นักบวช นั่งอยู่ฝั่งขวาของประธานในการประชุม
กลุ่มเหล่านี้มีแนวคิดอนุรักษ์นิยม (Conservative) ไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ทั้งนี้เพราะต้องการดำรงสิทธิ อำนาจ และผลประโยชน์ต่าง ๆ ของตนเอาไว้
ในขณะที่นั่งฝั่งซ้ายถูกจัดให้กับพวกสามัญชน
สามัญชนเป็นผู้มีแนวคิดต้องการการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เนื่องจากที่ผ่านมา ถูกกดขี่ ขูดรีด และลิดรอนสิทธิมาโดยตลอด !
การจัดแบ่งที่นั่งฝั่งซ้าย-ฝั่งขวาของประธานในที่ประชุมตามแนวคิดทางการเมืองเช่นนี้ ได้เริ่มแพร่กระจายไปตามประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรป ทำให้เกิดประเพณีการจัดที่นั่งการประชุมรัฐสภา ยกฝั่งขวาให้กับผู้มีแนวคิดในเชิงอนุรักษ์นิยม (Conservative) ส่วนที่นั่งฝั่งซ้ายสำหรับผู้มีแนวคิดเสรีนิยม (Liberal) ที่ถือเป็นแนวคิดใหม่ แนวคิดก้าวหน้า และแนวคิดเชิงปฏิวัติ ในขณะนั้น
ต่อมา ในยุคสงครามเย็น คำว่า “ฝ่ายซ้าย” กับ “ฝ่ายขวา”ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างที่กล่าวข้างต้น
คำว่า “ฝ่ายซ้าย” ถูกแทนค่าว่าหมายถึงผู้มีแนวคิดสังคมนิยม คอมมิวนิสต์ ถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกขายชาติ ส่วน “ฝ่ายขวา” ถูกแทนค่าว่าเป็นพวกอนุรักษ์นิยม ปฏิเสธการเปลี่ยนแปลง ถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกปฏิกิริยา เผด็จการฟาสซิสต์
ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นคนเรียกขาน
ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า การแบ่ง “ฝ่ายซ้าย” หรือ “ฝ่ายขวา” ที่จริงแล้วเป็นเพียง วาทกรรมทางการเมือง (Political Discourse) ประเภทหนึ่งนั้น ไม่อาจอรรถาธิบายลักษณะแนวคิดได้ชัดเจนตายตัว
เพราะจะขึ้นอยู่กับว่า — อยู่ในบริบททางการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรมแบบไหน
“ฝ่ายซ้าย” ของสหรัฐอเมริกาในทุกวันนี้จึงแตกต่างทางความคิดจาก “ฝ่ายซ้าย” ในรัสเซีย หรือจีน
กล่าวคือ “ฝ่ายซ้าย” ในสหรัฐอเมริกาอาจจะคือผู้มีแนวคิดสังคมนิยม ต่อต้านการค้าเสรี เรียกร้องสิทธิสตรี เรียกร้องสิทธิชนกลุ่มน้อย ฯลฯ
ในขณะที่ “ฝ่ายซ้าย” ในรัสเซียอาจจะมีแนวคิดตรงกันข้ามกันเลยก็ได้
อย่างไรก็ตาม ยังมีนักรัฐศาสตร์จำนวนไม่น้อยให้คำจำกัดความระหว่าง “ฝ่ายซ้าย” กับ “ฝ่ายขวา”ในปัจจุบัน โดยยึดอิงแนวคิดแบบเดิม
คือแบ่งให้ทางขวาสุด เรียกว่า “ขวาจัด” (The extreme right) แทนค่าด้วยแนวคิดทางการเมืองแบบเสรีนิยมสุดขั้ว ส่วนด้านซ้ายสุดเรียกว่า “ซ้ายจัด” (The extreme left) แทนค่าด้วยแนวคิดแบบต่อต้านอย่างรุนแรง (Radical)

จัดอันดับประเทศที่มีความสงบสุขที่สุด

The Economist Intelligence Unit จัดอันดับประเทศที่มีความสงบสุข (Global Peace Index)ไทยอยู่ที่อันดับที่ 105 จากทั้งหมด 121 ประเทศที่มีความสงบสุขต่ำกว่าเอธิโอเปียอยู่ที่อันดับ 103

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ผลการจัดอันดับประเทศที่มีความสงบสุข (Global Peace Index) ปรากฏว่าประเทศไทยนั้นอยู่อันดับที่ 105 จากทั้งหมด 121 ประเทศ โดยมีเอธิโอเปียอยู่เหนือกว่า 2 อันดับ และพม่าตามก้นมาติดๆ

โดยการจัดอันดับประเทศที่มีความสงบสุข (Global Peace Index) นี้ มีขึ้นเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2550อันเป็นผลงานของสถาบัน The Economist Intelligence Unit ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ The Economist Group ผู้จัดทำนิตยสารเกี่ยวกับเศรษฐกิจ - สังคมเล่มสำคัญ ที่มีอิทธิพลต่อโลกเสรีนิยมสูงสุดฉบับหนึ่ง คือนิตยสาร The Economist --- ซึ่งประเทศไทยได้ถูกจัดอันดับให้อยู่ในอันดับที่ 105 จาก 121 ของประเทศที่มีชื่อเข้าร่วมจัดอันดับ

ทั้งนี้การจัดอันดับประเทศที่มีความสงบสุข (Global Peace Index) ของสถาบัน The Economist Intelligence Unit นี้ถือว่าเป็นการจัดอันดับครั้งแรกของสถาบันแห่งนี้ และได้เปิดก่อนการประชุมสุดยอดผู้นำเศรษฐกิจโลก 8 ประเทศ (G-8) หนึ่งสัปดาห์

โดยจะมีการวิเคราะห์แล้วให้คะแนนเป็นเลขดัชนี หากตัวเลขดัชนีของประเทศใดสูง ก็จะเป็นประเทศที่ไม่ค่อยมีความสงบสุขเท่าไร

สิ่งที่นำมาประกอบการวิเคราะห์ว่าประเทศใดจะสงบสุขไม่สงบสุขมากน้อยเพียงใดนั้น ก็ประกอบไปด้วยปัจจัยต่างๆเช่น การครอบครองอาวุธของคนในประเทศ และระดับอาชญากรรม (weapons of minor destruction), ค่าใช้จ่ายของกองทัพประเทศนั้นๆว่าสูงเพียงใด (military expenditure), การคอรัปชั่น (corruption), การให้ความใส่ใจต่อสิทธิมนุษยชนแก่ประชาชนในประเทศ (the level of respect for human rights) เป็นต้น

หลังจากการวิเคราะห์ พบว่าส่วนใหญ่ประเทศที่มีระดับความสงบสุขอยู่ในเกณฑ์ดีนั้น จะเป็นประเทศที่มีประชาธิปไตย และรัฐบาลมีความโปร่งใสสูง (high levels of democracy and transparency of government)

สำหรับข้อสังเกตสำหรับประเทศสหรัฐอเมริกานั้น พบว่าอยู่ในอันดับที่ 96 ทั้งๆ ที่เป็นประเทศแม่แบบแห่งประชาธิปไตย แต่เนื่องด้วยสหรัฐอเมริกานั้น กลับส่งออกความขัดแย้งไปสู่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกในรูปของสงคราม ทำให้ค่าใช้จ่ายของกองทัพที่แบ่งมาจากค่า GDP มีสัดส่วนที่สูง เป็นผลให้ประเทศสหรัฐอเมริกากลายเป็นประเทศที่ไม่ค่อยมีความสงบสุขเท่าใดนัก ... รวมถึงการส่งออกความไม่สงบสุขออกไปทั่วโลก ซึ่งข้อนี้ประเทศอิรักซึ่งรั้งอันดับบ๊วยในการจัดอันดับครั้งนี้รู้ซึ้งดี

โดยอันดับของประเทศทีต่างๆได้แก่

1 Norway 1.357

2 New Zealand 1.363

3 Denmark 1.377

4 Ireland 1.396

5 Japan 1.413

6 Finland 1.447

7 Sweden 1.478

8 Canada 1.481

9 Portugal 1.481

10 Austria 1.483

11 Belgium 1.498

12 Germany 1.523

13 Czech Republic 1.524

14 Switzerland 1.526

15 Slovenia 1.539

16 Chile 1.568

17 Slovakia 1.571

18 Hungary 1.575

19 Bhutan 1.611

20 Netherlands 1.620

21 Spain 1.633

22 Oman 1.641

23 Hong Kong 1.657

24 Uruguay 1.661

25 Australia 1.664

26 Romania 1.682

27 Poland 1.683

28 Estonia 1.684

29 Singapore 1.692

30 Qatar 1.702

31 Costa Rica 1.702

32 South Korea 1.719

33 Italy 1.724

34 France 1.729

35 Vietnam 1.729

36 Taiwan 1.731

37 Malaysia 1.744

38 United Arab Emirates 1.747

39 Tunisia 1.762

40 Ghana 1.765

41 Madagascar 1.766

42 Botswana 1.786

43 Lithuania 1.788

44 Greece 1.791

45 Panama 1.798

46 Kuwait 1.818

47 Latvia 1.848

48 Morocco 1.893

49 United Kingdom 1.898

50 Mozambique 1.909

51 Cyprus 1.915

52 Argentina 1.923

53 Zambia 1.930

54 Bulgaria 1.936

55 Paraguay 1.946

56 Gabon 1.952

57 Tanzania 1.966

58 Libya 1.967

59 Cuba 1.968

60 China 1.980

61 Kazakhstan 1.995

62 Bahrain 1.995

63 Jordan 1.997

64 Namibia 2.003

65 Senegal 2.017

66 Nicaragua 2.020

67 Croatia 2.030

68 Malawi 2.038

69 Bolivia 2.052

70 Peru 2.056

71 Equatorial Guinea 2.059

72 Moldova 2.059

73 Egypt 2.068

74 Dominican Republic 2.071

75 Bosnia and Herzegovina 2.089

76 Cameroon 2.093

77 Syria 2.106

78 Indonesia 2.111

79 Mexico 2.125

80 Ukraine 2.150

81 Jamaica 2.164

82 Macedonia 2.170

83 Brazil 2.173

84 Serbia 2.181

85 Cambodia 2.197

86 Bangladesh 2.219

87 Ecuador 2.219

88 Papua New Guinea 2.223

89 El Salvador 2.244

90 Saudi Arabia 2.246

91 Kenya 2.258

92 Turkey 2.272

93 Guatemala 2.285

94 Trinidad and Tobago 2.286

95 Yemen 2.309

96 United States of America 2.317

97 Iran 2.320

98 Honduras 2.390

99 South Africa 2.399

100 Philippines 2.428

101 Azerbaijan 2.448

102 Venezuela 2.453

103 Ethiopia 2.479

104 Uganda 2.489

105 Thailand 2.491

106 Zimbabwe 2.495

107 Algeria 2.503

108 Myanmar 2.524

109 India 2.530

110 Uzbekistan 2.542

111 Sri Lanka 2.575

112 Angola 2.587

113 Cote d'Ivoire 2.638

114 Lebanon 2.662

115 Pakistan 2.697

116 Colombia 2.770

117 Nigeria 2.898

118 Russia 2.903

119 Israel 3.033

120 Sudan 3.182

121 Iraq 3.437
ก่อการร้ายนอร์เวย์ช็อกโลก! บึ้มตึกนายกฯ ยิงกราด 30 ศพค่ายเยาวชน
 
เมื่อ 22 ก.ค. เอเอฟพีรายงานเหตุการณ์ก่อการร้ายช็อกโลกที่ประเทศนอร์เวย์ ซ้อนกันสองเหตุการณ์

ทั้งเหตุวางระเบิดอาคารที่ทำการนายกรัฐมนตรีกลางกรุงออสโล ที่ทำให้ผู้คนตื่นตระหนกกันไปทั่วเมือง จากนั้นอีกสองชั่วโมง เกิดเหตุเขย่าขวัญซ้ำ เมื่อคนร้ายปลอมตัวเป็นตำรวจกราดยิงในค่ายเยาวชนฤดูร้อนของพรรคแรงงาน ฝ่ายรัฐบาล บนเกาะอูโทยา ชานกรุงออสโล มีพยานเห็นว่า มีผู้เสียชีวิตราว 25-30 ราย 

 เหตุวางระเบิดขนาดรุนแรง 2 ครั้งในกรุงออสโล เกิดขึ้นเมื่อเวลา 13.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น ที่อาคารสำนักงานนายกรัฐมนตรี
แรงระเบิดทำให้ตึงพังเสียหายร้ายแรงแต่ไม่ถล่ม ส่วนอาคารรัฐบาลที่อยู่ใกล้เคียงพังเสียหายเช่นกัน กระจกอาคารแตกละเอียด มีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก เลือดนองไปทั่วบริเวณ พบผู้เสียชีวิตเบื้องต้น 7 ราย ส่วนนายเจนส์ สโตลเตนเบิร์ก นายกรัฐมนตรีปลอดภัย เนื่องจากไม่อยู่ในอาคารช่วงเกิดเหตุ


 ต่อมาเวลา 15.30 น. เกิดเหตุชายคนร้ายผมบลอนด์ พูดภาษานอร์เวย์ อายุราว 30-40 ปี 
แต่งตัวเลียนแบบเจ้าหน้าที่ตำรวจก่อเหตุกราดยิงเข้าใส่กลุ่มนักเรียน ส่วนใหญ่อายุ 14-18 ปีที่เข้าร่วมกิจกรรมของพรรคแรงงานของนอร์เวย์ ที่เกาะอูโทยา ชานกรุงออสโล ก่อนถูกตำรวจยิงบาดเจ็บและควบคุมตัวไว้ได้ ผู้เห็นเหตุการณ์เล่าว่า เห็นศพเกลื่อนในทะเลรอบเกาะ


  สำหรับออสโล เป็นสถานที่ที่มีการแจกรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพทุกปีที่ผ่านมา
และเมื่อ 20 ก.ค. รัฐบาลซาอุดีอาระเบียออกแถลงการณ์เตือนถึงความเป็นไปได้ที่กลุ่มก่อการร้ายอัล ไคด้าจะลงมือก่อเหตุโจมตีในยุโรป
ต่อมามีกลุ่มที่อ้างตัวว่า ผู้ช่วยแห่งสงครามจิฮัดทั่วโลก (Helpers of Global Jihad) โพสต์ข้อความในเว็บไซต์อ้างตัวเป็นผู้ลงมือในเหตุการณ์นี้ เพื่อตอบโต้ที่ชาติตะวันตกเขียนการ์ตูนล้อเลียนพระมูฮัมหมัด ซึ่งเคยตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ของเดนมาร์กตั้งแต่เมื่อปี 2548

 ด้านรัฐบาลนานาชาติ นำโดยบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐ พร้อมด้วยผู้นำในยุโรป ต่างออกแถลงการณ์แสดงความเสียใจต่อนอร์เวย์ และประณามผู้ก่อเหตุที่ทำร้ายผู้บริสุทธิ์
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์ข่าวสด

จัดอันดับมหาวิยาลัยไทย 2554 จากนิตยสาร TIME

นิตยสารไทม์ในส่วนของ Higher Education Supplement
ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีชื่อเสียงระดับโล ก จากการพิจารณาปัจจัยต่างๆ
ประกอบด้วย

การสุ่มตัวอย่างคณาจารย์ในสาขาที่เกี่ยวข้องจากมหาวิ ทยาลัยต่างๆทั่วโลก คิดเป็นน้ำหนัก ๕๐%
ส่วนของอาจารย์ชาวต่างประเทศ ๕% จำนวนนิสิตนักศึกษาต่างชาติ ๕%
ส่วนของอาจารย์ต่อนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัย ๒๐%
และผลงานวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่อ้างอิงในวารสารทางวิชาการนานาชาติ ๒๐%

อันนี้คือ List ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ข้อมูล ณ ปีการศึกษา 2552
ซึ่งข้อมูลนี้ NUS : National University of Singapore ใช้พิจารณายอมรับคุณวุฒิและรับพิจารณาให้เข้าศึกษาต่อในระดับ Postgraduate มีดังนี้ 

ประเภทมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ บริหารธุรกิจ การจัดการ และเศรษฐศาสตร์ (Humanity and Social Science Rangking)
มีมหาวิทยาลัยไทยผ่านเกณฑ์ 24 มหาวิทยาลัย มีคะแนนเรียงตามลำดับดังนี้

1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 69.81
2. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 69.78
3. มหาวิทยาลัยศิลปากร 67.59
4. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 66.83
5. มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ 66.77
6. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 65.58
7. สถาบันบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 64.42
8. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 62.39
9. มหาวิทยาลัยมหิดล 61.88
10. มหาวิทยาลัยขอนแก่น 61.11
11. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 60.20
12. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) 60.16
13. วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล 59.05
14. มหาวิทยาลัยนเรศวร 59.82
15. วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 57.62
16. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 57.00
17. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 56.90
18. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 56.39
19. มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต 55.74
20. มหาวิทยาลัยบูรพา 55.03
21. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 54.51
22. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 53.47
23. มหาวิทยาลัยทักษิณ 53.38
24. มหาวิทยาลัยรังสิต 52.16

จากเด็กดี นายก-ประชาชนนอร์เวร์ สวมกอดกันหลังเกิดเหตุระเบิด-กราดยิง

















นายแอนเดอร์ส เบห์ริง เบรวิก ผู้ต้องหาคดีก่อเหตุสะเทือนขวัญต่อเนื่องที่เกิดขึ้นในประเทศนอร์เวย์เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา


อ่านต่อ : http://www.dek-d.com/board/view.php?id=2230495#ixzz1SzpFdDmj

วันศุกร์, กรกฎาคม 15, 2554

โอลิมปิกฤดูร้อน หรือโอลิมปิกเกมส์

กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน หรือ โอลิมปิกเกมส์ (อังกฤษ: Summer Olympic Games)เป็นมหกรรมกีฬาระหว่างประเทศ โดยปกติจัดทุกสี่ปี โดยคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee หรือ IOC) ในแต่ละครั้งจะมีการมอบเหรียญรางวัล ผู้ชนะเลิศได้เหรียญทอง อันดับสองได้เหรียญเงิน และอันดับสามได้เหรียญทองแดง การมอบเหรียญนี้เป็นประเพณีตั้งแต่ปี 1904 กีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวถูกตั้งขึ้นเช่นกัน จากความสำเร็จของกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน

การแข่งขันนั้นเริ่มต้นครั้งแรกด้วยกีฬาเพียง 42 ประเภท และนักกีฬาชายเพียง 250 คน จนมีจำนวนเพิ่มขึ้นถึงมากกว่า 10,000 คน ของนักกีฬาชายและหญิงจาก 202 ประเทศทั่วโลก คณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ที่ปักกิ่ง คาดการณ์ว่าจะมีนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันประมาณ 10,500 คน เข้าชิงชัยใน 302 รายการ ในขณะที่กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 ที่คณะกรรมการจัดการแข่งขันได้ประมาณการไว้ว่าจะมีนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันประมาณ 10,500 คน แต่ก็เกิดการคลาดเคลื่อนขึ้นเพราะมีผู้เข้าแข่งขันกว่า 11,099 คน ใน 301 รายการแข่งขัน
นักกีฬาถูกส่งเข้าแข่งขันโดยคณะกรรมการโอลิมปิกของประเทศต่าง ๆ (NOC-National Olympic Committee) เพื่อแสดงจำนวนพลเมืองในบังคับของประเทศตน เพลงชาติและธงชาติประกอบพิธีมอบเหรียญ และตารางแสดงจำนวนเหรียญที่ชนะ โดยถูกใช้อย่างกว้างขวางในบางประเทศ โดยปกติแล้วเฉพาะประเทศที่ได้รับการรับรองเท่านั้นที่จะมีผู้แทนได้ แต่มีแค่เพียงประเทศมหาอำนาจบางประเทศเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้มีส่วนร่วม
โดยมีเพียง 4 ประเทศที่ส่งนักกีฬาเข้าแข่งขันในโอลิมปิกฤดูร้อนทุกครั้ง ได้แก่ ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร กรีซ และสวิตเซอร์แลนด์ และมีเพียงประเทศเดียวเท่านั้นที่ชนะและได้รับเหรียญทองอย่างน้อย 1 เหรียญจากการแข่งขันทุกครั้ง คือ สหราชอาณาจักร โดยได้รับตั้งแต่ 1 เหรียญทอง ในปี 1904 1952 และ 1996 จนถึงได้รับ 56 เหรียญทอง ในปี 1908
] สรุปการแข่งขัน

ปี
(ค.ศ.)
ครั้งที่
เจ้าภาพ
จำนวนประเทศ
กีฬา
จำนวนนักกีฬา
เมือง
ประเทศ
รายการ
ชนิด
ชาย
หญิง
รวม
1896
13
43
9
311
0
311
1900
21
85
17
1,319
11
1,330
1904
13
96
14
681
6
687
1908
22
110
21
1,999
36
2,035
1912
29
102
13
2,490
57
2,547
1916
-
-
-
-
-
-
1920
29
152
21
2,543
64
2,607
1924
45
126
17
2,956
136
3,092
1928
46
109
14
2,724
290
3,014
1932
37
117
14
1,281
127
1,408
1936
49
129
19
3,738
328
4,066
1940
-
-
-
-
-
-
1948
59
136
17
3,714
385
4,099
1952
69
149
17
4,407
518
4,925
1956
67
145
16
2,958
384
3,342
1960
84
150
17
4,738
610
5,348
1964
94
163
19
4,457
683
5,140
1968
113
172
18
4,750
781
5,531
1972
122
195
21
6,659
1,171
7,830
1976
93
198
21
4,915
1,274
6,189
1980
81
203
21
4,320
1,192
5,512
1984
140
221
21
5,458
1,620
7,078
1988
160
237
23
6,983
2,438
9,421
1992
171
257
25
7,555
3,008
10,563
1996
197
271
26
7,060
3,684
10,744
2000
199
300
28
6,582
4,069
10,651
2004
201
301
28
6,452
4,412
10,864
2008
204
31
11,028
2012
2016