วันจันทร์, กันยายน 02, 2556

ประวัตินายสัญญา ธรรมศักดิ์ิ์

ประวัตินายสัญญา ธรรมศักดิ์ิ์
          นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นบุตรคนเล็กของมหาอำมาตย์ตรีพระยาธรรมสารเวทย์วิเศษ -ภักดีฯ (ทองดี ธรรมศักดิ์) กับคุณหญิงชื้น ธรรมศักดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2450 ที่บ้านหลังวัดอรุณราชวราราม ตำบลบางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 2 คน คือ
1. นายบรรจง ธรรมศักดิ์ (ถึงแก่กรรม)
2. นางชุมวิทยากิจ (ฉวี โปตระนันทน์ – ถึงแก่กรรม)
สมรสกับ หลวงชุมวิทยากิจ (ชุ่ม โปตระนันทน์ – ถึงแก่กรรม)
ท่านได้สมรสกับท่านผู้หญิงพงา ธรรมศักดิ์ (เพ็ญชาติ) เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2477 มีบุตร 2 คน คือ
1. นายชาติศักดิ์ ธรรมศักดิ์
2. นพ.จักรธรรม ธรรมศักดิ์

ประวัติการศึกษา
พ.ศ. 2457 เข้าศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญ สำเร็จชั้น 6 อังกฤษ (มัธยมบริบูรณ์)
พ.ศ. 2470 อุปสมบทที่วัดเบญจมบพิตรและได้ศึกษาพระธรรมวินัยที่สำนักนักเรียนวัดเบญจมบพิตร สอบไล่นักธรรมชั้นตรี ได้ที่ 1 พ.ศ. 2471 สำเร็จการศึกษาเป็นเนติบัณฑิตไทย ที่โรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม ใช้เวลาเรียน 3 ปี
พ.ศ. 2475 สำเร็จการศึกษาเป็นเนติบัณฑิตอังกฤษจากการสอบแข่งขัน ได้คะแนนสูงสุด ได้รับทุนเล่าเรียนรพีบุญนิธิ ไปศึกษาวิชากฎหมายที่ The Middle Temple London ประเทศอังกฤษ ศึกษาอยู่เป็นเวลา 3 ปี ก็สอบไล่ได้เป็นเนติบัณฑิตยอังกฤษ (Barrister - at - Law)
พ.ศ. 2498 ได้ศึกษาในวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรรุ่นแรก ขณะนั้น รับราชการเป็นปลัดกระทรวงยุติธรรม

 ประวัติการรับราชการ

          นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ได้รับรับราชการครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2468 ในขณะที่มีอายุ 18 ปี 3 เดือน 27 วัน ในตำแหน่งนักเรียนล่าม กรมบัญชาการ (กองล่าม) กระทรวงยุติธรรม ได้รับเงินเดือน 30 บาท ต่อมาเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ได้รับราชการในตำแหน่งล่าม เงินเดือน 50 บาท ท่านมีความตั้งใจที่จะเป็นตุลาการตั้งแต่ยังเยาว์ เพราะ ได้เห็นแบบอย่างการเป็นตุลาการที่ดีของบิดาท่าน ดังนั้น เมื่อเจริญวัยขึ้น หลังจากที่ได้ เข้ารับราชการแล้วได้มีโอกาสที่จะเจริญรอยตามบิดา โดยได้เป็นผู้พิพากษาฝึกหัด เงินเดือน 200 บาท เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2476 ซึ่งตามความเห็นของท่านเห็นว่าเป็นตำแหน่งที่ ภาคภูมิใจ เป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นตำแหน่งที่ให้ความยุติธรรมแก่ประชาชน ท่านเป็นผู้พิพากษาฝึกหัด จนกระทั่งใน วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2477 จึงรับราชการในตำแหน่งผู้พิพากษาในกระทรวง ยุติธรรม ได้รับเงินเดือน 200 บาท ต่อจากนั้นได้รับราชการในตำแหน่งต่าง ๆ ตามลำดับ ดังนี้
7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478 ไปช่วยราชการที่ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
5 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 เป็นผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา เงินเดือน 260 บาท
1 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 เป็นผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ เงินเดือน 500 บาท
31 สิงหาคม พ.ศ. 2493 เป็นผู้พิพากษาหัวหน้ากองในศาลอุทธรณ์
2 เมษายน พ.ศ. 2494 เป็นข้าหลวงยุติธรรมภาค 4 เงินเดือน 700 บาท พร้อมกันนั้นได้ทำหน้าที่ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดเชียงใหม่ด้วย
(อธิบดีผู้พิพากษาภาค 5 ปัจจุบัน)
23 มีนาคม พ.ศ. 2496 เป็นปลัดกระทรวงยุติธรรม เงินเดือน 800 บาท
1 ตุลาคม พ.ศ. 2501 เป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา
1 เมษายน พ.ศ. 2502 เป็นผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา เงินเดือน 1,400 บาท
15 ตุลาคม พ.ศ. 2505 เป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ เงินเดือน 8,600 บาท
1 ตุลาคม พ.ศ. 2506 – 2510 เป็นประธานศาลฎีกา
พ.ศ. 2510 – 2516 เป็นองคมนตรี
พ.ศ. 2511 – 2514 เป็นคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2514 – 2516 เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2516 – 2518 เป็นนายกรัฐมนตรี

(ซึ่งในขณะนั้นเกิดเหตุการณ์มหาวิปโยควันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนายกรัฐมนตรี ติดต่อกันถึง 2 สมัย คือ วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 และ วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 – 26 มกราคม พ.ศ. 2518 ระหว่างที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้จัดร่างรัฐธรรมนูญ โดยยึดหลักประชาธิปไตยมากที่สุด และพ้นตำแหน่งเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 หลังจากที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2517 และจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปตาม รัฐธรรมนูญนั้นแล้ว)
5 ธันวาคม พ.ศ. 2518 – 2541 เป็นประธานองคมนตรี
พ.ศ. 2527 – 2541 เป็นประธานองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก
13 มิถุนายน พ.ศ. 2537 ดำรงตำแหน่ง ธรรมศาสตราจารย์ เพื่อเป็นที่ประจักษ์ในเกียรติคุณและความเป็นปูชนียบุคคลสืบไป

ในระหว่างที่รับราชการและหลังครบเกษียณอายุแล้ว นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ได้มีส่วนเกี่ยวข้องและเป็นกรรมการตุลาการหลายครั้ง เริ่มแรกเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2489 ได้ทำหน้าที่เป็นเลขานุการ ก.ต. และเมื่อมีประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการ ฝ่ายตุลาการ พ.ศ. 2497 ในระหว่างนั้นท่านดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เป็นกรรมการตุลาการโดยตำแหน่ง และนอกจากนี้ท่านเป็นผู้ริเริ่มวางรูปงาน และควบคุมดูแล การเลือกตั้งกรรมการตุลาการผู้ทรงคุณวุฒิครั้งแรก เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2501 สำเร็จเป็นผลเรียบร้อยดียิ่ง จนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในสมัยนั้นได้ให้บันทึกความดีความชอบ ไว้ในสมุดประวัติ เมื่อท่านได้ย้ายมารับราชการในตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ท่านได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการตุลาการผู้ทรงคุณวุฒิ รวม 3 ครั้ง ในครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2502 เป็นการเลือกตั้งซ่อมแทนนายประวัติ ปัตตพงศ์ ซึ่งไปดำรงตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษา ศาลอุทธรณ์ และพระดุลยการณ์โกวิทซึ่งถึงแก่กรรม ส่วนอีกสองครั้งเป็นการได้รับเลือกตั้งจากการเลือกตั้งทั่วไป ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2503 และการเลือกตั้ง ทั่วไปครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 ในการเป็นกรรมการตุลาการ ผู้ทรงคุณวุฒิประเภท ข้าราชการประจำในช่วงนี้ ท่านได้พ้นจากตำแหน่งเมื่อท่านได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษา ศาลอุทธรณ์ แต่ท่านก็ยังหาได้พ้นจากตำแหน่งกรรมการตุลาการไปไม่ เพราะเมื่อท่านดำรงตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ และประธานศาลฎีกา ตามกฎหมายถือว่าเป็นกรรมการตุลาการโดยตำแหน่ง และหลังจากที่ครบเกษียณอายุแล้ว ท่านก็ได้รับเลือกให้เป็น กรรมการตุลาการผู้ทรงคุณวุฒิ ประเภทข้าราชการบำนาญอีก 3 ครั้ง เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511, วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2513 และวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2515 ตามลำดับ และพ้นจากตำแหน่งกรรมการตุลาการครั้งหลังสุดเมื่อได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ ให้เป็นนายกรัฐมนตรี


เครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญตราพระราชทาน          

20 กันยายน พ.ศ. 2483 ตริตราภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
20 กันยายน พ.ศ. 2484 ตริตราภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
4 ธันวาคม พ.ศ. 2491 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
4 ธันวาคม พ.ศ. 2493 เหรียญจักรพรรดิมาลา
5 กันยายน พ.ศ. 2497 เหรียญรัตนาภรณ์ (ภปร. 3)
5 ธันวาคม พ.ศ. 2497 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
5 ธันวาคม พ.ศ. 2499 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
5 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.)
5 ธันวาคม พ.ศ. 2502 มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
5 ธันวาคม พ.ศ. 2504 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
5 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.)
5 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.)
13 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม. (ศ).)
พ.ศ. 2514 เหรียญรัตนาภรณ์ (ภปร. 1)
พ.ศ. 2539 นพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์จากต่างประเทศ
พ.ศ. 2517 สายสะพาย THE RISING SUN ชั้นที่ 1 จากพระเจ้าจักรพรรดิญี่ปุ่น
พ.ศ. 2527 สายสะพาย DAS GROBKREUZ ชั้นที่ 1 พิเศษ จาก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน
พ.ศ. 2530 สายสะพาย ชั้นที่ 1 LA GRAN CRUI จากพระราชาธิบดีแห่งสเปน

งานเกี่ยวการสอนและการศึกษา
พ.ศ. 2477 – 2478 เป็นกรรมการสอบไล่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง
พ.ศ. 2479 – 2493 เป็นผู้บรรยายวิชากฎหมาย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ การเมือง (15 ปี) บรรยายและแต่งคำสอนลักษณะวิชา
หุ้นส่วน-บริษัท-ทรัพย์ วิธีพิจารณาความอาญาและ ธรรมนูญศาลยุติธรรม
พ.ศ. 2484 – 2493 เป็นอาจารย์วิชากฎหมายการค้า ณ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (10 ปี)
พ.ศ. 2491 – 2493 เป็นเลขาธิการสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตย-สภา
พ.ศ. 2497 – 2498 เป็นอาจารย์สอนพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ณ สำนักอบรมศึกษากฎหมาย แห่งเนติบัณฑิตยสภา และเป็นกรรมการ
สอบไล่

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้มอบปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ เมื่อปี พ.ศ. 2506, 2517 และ 2524 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาต่าง ๆ จากมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่ง
พ.ศ. 2537 สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้พิจารณาลงมติให้ดำรงตำแหน่ง ธรรมศาสตราจารย์

ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ยังได้ปฏิบัติราชการงานพิเศษอีกหลายประการตามลำดับดังนี้
27 เมษายน พ.ศ. 2477 กระทรวงยุติธรรมตั้งเป็นกรรมการสำรวจพิจารณาวางระเบียบราชการในกองหมาย
16 กรกฎาคม พ.ศ. 2477 คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ช่วยทำข้อบังคับและระเบียบการคลังเป็นเวลา 6 เดือน
19 ตุลาคม พ.ศ. 2477 คณะรัฐมนตรีตั้งเป็นกรรมการพิจารณาลดอัตราค่าธรรมเนียมศาล
17 สิงหาคม พ.ศ. 2478 คณะรัฐมนตรีตั้งเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการตรวจร่าง (คำแปล) ประมวลกฎหมายที่จะประกาศ ใช้ใหม่ทั้งหมด
22 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 ก.พ. ตั้งเป็นอนุกรรมการพิจารณาค่าใช้จ่ายนักเรียนรัฐบาลฝ่ายพลเรือนที่ส่งออกไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ
19 สิงหาคม พ.ศ. 2480 คณะรัฐมนตรีตั้งเป็นเลขานุการคณะกรรมการพิจารณาการ ซื้อขายที่ดินบางรายของพระคลังข้างที่
25 พฤษภาคม พ.ศ. 2482 สำนักงานโฆษณาการ ตั้งเป็นกรรมการพิจารณาตัดสินเรียงความที่ส่งเข้าประกวดเนื่องในงานฉลองวันชาิติ ิและสนธิสัญญา พ.ศ. 2482
6 กรกฎาคม พ.ศ. 2482 กระทรวงยุติธรรมตั้งเป็นกรรมการจัดพิมพ์ คำพิพากษาฎีกาลงในหนังสือข่าวศาล
2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482 กระทรวงยุติธรรมตั้งเป็นกรรมการสำรวจและจัดให้ศาลทุกศาลได้มีหนังสือกฎหมายไว้ใช้ตามสมควร
16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482 กรมโฆษณาการตั้งเป็นกรรมการพิจารณาตัดสินเรียงความที่ส่งเข้าประกวดเนื่องในงานฉลองรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2482
22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 กรมโฆษณาการตั้งเป็นกรรมการพิจารณาตัดสินเรียงความที่ส่งเข้าประกวดเนื่องในงานฉลองรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2483
19 เมษายน พ.ศ. 2486 เป็นกรรมการและเลขานุการพิจาณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
8 มกราคม พ.ศ. 2491 เป็นกรรมการสอดส่องความประพฤติทนายความ
11 มีนาคม พ.ศ. 2491 เป็นกรรมการและเลขานุการเพื่อพิจารณาปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทุกฝ่ายให้เป็นการเหมาะสม
28 ตุลาคม พ.ศ. 2492 คณะรัฐมนตรีได้ลงมติให้ตั้งเป็นเลขานุการคณะกรรมการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
และร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง
7 ตุลาคม พ.ศ. 2493 เป็นกรรมการพิจารณาปรับปรุงระเบียบการพิจารณาของศาล
19 ตุลาคม พ.ศ. 2493 เป็นเลขานุการตรวจพิจารณาและร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
20 ธันวาคม พ.ศ. 2493 เป็นกรรมการเพื่อจัดสอบแข่งขันเพื่อรับทุนรัฐบาลไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ
16 เมษายน พ.ศ. 2496 เป็นกรรมการอบรมข้าราชการและประชาชน
8 มิถุนายน พ.ศ. 2496 คณะรัฐมนตรีลงมติตั้งให้เป็นกรรมการพิจารณาปรับปรุงวางระเบียบการบริหารราชการส่วนภูมิภาค
24 สิงหาคม พ.ศ. 2496 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เป็นกรรมการร่างกฎหมาย
22 กันยายน พ.ศ. 2496 เป็นกรรมการพิจารณาวางนโยบายของกระทรวงยุติธรรม
16 มกราคม พ.ศ. 2497 เป็นกรรมการอาชญากรรมวิจัย
17 มีนาคม พ.ศ. 2497 เป็นประธานกรรมการหน่วยวิทยาการ กระทรวงยุติธรรม
17 – 23 เมษายน พ.ศ. 2497 เป็นประธานกรรมการประชุมสาขาที่ 3 ของการประชุมสัปดาห์แห่งการป้องกันอาชญากรรม
24 – 26 – 27 เมษายน พ.ศ. 2497 เป็นรองประธานคนที่ 2 ของการประชุมอธิบดีศาลฯ และข้าหลวงยุติธรรม พร้อมด้วยผู้พิพากษา หัวหน้าศาล ทั่วพระราชอาณาจักร
10 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาสอบสวน เพื่อการอาชีวศึกษาสงเคราะห์
30 มิถุนายน พ.ศ. 2497 เป็นกรรมการดำเนินการร่างพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง หลักเกณฑ์ และวิธีการต่าง ๆ เพื่ออนุวัตตามร่าง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการฉบับใหม่
6 กรกฎาคม พ.ศ. 2497 เป็นอุปนายกเนติบัณฑิตยสภา
24 กรกฎาคม พ.ศ. 2497 คณะรัฐมนตรีลงมติตั้งให้เป็นกรรมการเพื่อพิจารณาแก้ไขกฎหมายเพื่อป้องกันการล่าช้าในการพิจารณาพิพากษาคดี
3 – 12 มกราคม พ.ศ. 2498 เป็นประธานกรรมการประชุมสาขา 1 ในการประชุมสัปดาห์แห่งการป้องกันราชอาชญากรรม พ.ศ. 2498
13 – 15 มกราคม พ.ศ. 2498 เป็นรองประธานในการประชุม อธิบดีผู้พิพากษาและ
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ประจำปี พ.ศ. 2498
5 กันยายน พ.ศ. 2498 เป็นกรรมการร่างประมวลกฎหมายการเลือกตั้ง
4 มีนาคม พ.ศ. 2501 เป็นรองประธานอนุกรรมการพิจารณาตรวจสอบคุณสมบัติ
ของผู้สมัครสอบ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
28 มีนาคม พ.ศ. 2501 เป็น อ.ก.พ. วิสามัญพิจารณาเรื่องเกี่ยวกับการศึกษาของ
นักเรียนฝ่ายพลเรือนในต่างประเทศ
30 เมษายน พ.ศ. 2501 เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
24 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 เป็นกรรมการพิจารณาการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
27 สิงหาคม พ.ศ. 2501 เป็นกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาค้นคว้าหาวิธีที่จะทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา
30 มกราคม พ.ศ. 2502 เป็นกรรมการพิจารณาชำระสะสางประมวลกฎหมาย (แทนหลวงจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ ซึ่งถึงแก่กรรม)
26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 เป็นกรรมการพิเศษเพื่อพิจารณาอนุสัญญาต่าง ๆ (แทนหลวงจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ ซึ่งถึงแก่กรรม)
20 มีนาคม พ.ศ. 2503 เป็น อ.ก.พ. วิสามัญเกี่ยวกับนักเรียนในต่างประเทศ
3 – 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 เป็นผู้แทนประเทศไทยไปร่วมประชุมอบรมเกี่ยวกับบทบาทของกฎหมายอาญา ในการคุ้มครอง สิทธิมนุษยชน ณ กรุง โตเกียว
11 ตุลาคม พ.ศ. 2503 เป็นประธานกรรมการเนติบัณฑิตยสภาแผนกต่างประเทศ
15 ธันวาคม พ.ศ. 2503 คณะรัฐมนตรีได้มีมติแต่งตั้งให้เป็นกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ ปัจจุบันเป็นประธานกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ
12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 เป็นอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติเพื่อสอบบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
11 ธันวาคม พ.ศ. 2505 คณะรัฐมนตรีได้มีมติแต่งตั้งให้เป็นกรรมการปรับปรุงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
7 มกราคม พ.ศ. 2506 เป็นกรรมการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเนติบัณฑิตยสภา
20 มีนาคม พ.ศ. 2519 เป็นกรรมการข้าราชการพลเรือนผู้ทรงคุณวุฒิ
พ.ศ. 2502, 2503, 2504, 2505 เป็นกรรมการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
พ.ศ. 2480 – 2484 กระทรวงยุติธรรมตั้งเป็นกรรมการคัดเลือกเพื่อบรรจุในตำแหน่งจ่าศาล รองจ่าศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้ช่วยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และเจ้าพนักงานยึดทรัพย์ หลายครั้ง



ผลงานทางด้านวิชาการ

1. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยหุ้นส่วน – บริษัท (ไม่ปรากฏรายการบรรณานุกรมหนังสือ)
2. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยลักษณะทรัพย์ (ไม่ปรากฏรายการบรรณานุกรมหนังสือ)
3. สัญญา ธรรมศักดิ์. คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : กรุงสยามการพิมพ์, 2526. (ซึ่งศาสตราจารย์ประภาศน์ อวยชัย ได้เป็น ผู้เรียบเรียงและปรับปรุง เพิ่มเติมจากฉบับ คำบรรยายของนายสัญญา ธรรมศักดิ์)
4. สัญญา ธรรมศักดิ์. คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประภาศน์ อวยชัย). กรุงเทพฯ : สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, ม.ป.ป.
5. สัญญา ธรรมศักดิ์. คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ตอน 1 (แก้ไขเพิ่มเติม โดยประภาศน์ อวยชัย). กรุงเทพฯ : สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2515.
6. สัญญา ธรรมศักดิ์. คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ตอน 2 (แก้ไขเพิ่มเติม โดยประภาศน์ อวยชัย). กรุงเทพฯ : สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2515.
7. สัญญา ธรรมศักดิ์. คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 1 ถึงภาค 3 มาตรา 1 - 171 (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประภาศน์ อวยชัย). พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2530.
8. สัญญา ธรรมศักดิ์. คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 3 ถึงภาค 7 มาตรา 172 - 267 (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประภาศน์ อวยชัย). พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2530.
9. สัญญา ธรรมศักดิ์. พระธรรมนูญศาลยุติธรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรม-ศาสตร์, 2516.
(บันทึกคำอธิบายโดยย่อของศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ซึ่งบรรยายแก่นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ปี 2 สมัยการศึกษา 2514)
10. สัญญา ธรรมศักดิ์. รายงานการร่วมประชุมสัมมนาของสหประชาชาติ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น. กรุงเทพฯ : กระทรวงยุติธรรม, 2503.
11. สัญญา ธรรมศักดิ์. ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ กับ 14 ตุลาคม’ 16. กรุงเทพฯ : ส่องศยาม, 2534.
12. สัญญา ธรรมศักดิ์. หนทางสู่ความสำเร็จของนักกฎหมาย. กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2534.
13. สัญญา ธรรมศักดิ์. (พฤษภาคม, 2512). “การอภิปรายเรื่องคุณค่าของวิชากฎหมาย,” บทบัณฑิตย์. 26(1 – 2 ) : 49-84.
14. สัญญา ธรรมศักดิ์. (มกราคม - กุมภาพันธ์, 2534). “ความสำเร็จในชีวิต,” ดุลพาห. 38(1) : 49-66.
15. สัญญา ธรรมศักดิ์. (มกราคม – กุมภาพันธ์, 2534). “คำชี้แจงความเข้าใจในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณา ความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499,” ดุลพาห. 38(1) : 13-39.
16. สัญญา ธรรมศักดิ์. (มกราคม – กุมภาพันธ์, 2534). “คำแถลงการณ์วิธีการออกหนังสือนิตยสารกระทรวงยุติธรรม,” ดุลพาห. 38(1) : 11-12.
17. สัญญา ธรรมศักดิ์. (มกราคม – กุมภาพันธ์, 2534). “คำบรรยายเรื่องลักษณะของเจ้าของศาลตามหลักวิชาการ,” ดุลพาห. 38(1) : 40-48.
18. สัญญา ธรรมศักดิ์. (มกราคม, 2511). “คำอำลาของอดีตประมุขตุลาการ,” บทบัณฑิตย์. 25(1) : 7-10.
19. สัญญา ธรรมศักดิ์. (มิถุนายน, 2539). “พระมหากรุณาธิคุณของในหลวงต่อวงการกฎหมาย,” บทบัณฑิตย์. (ช52(2) : 78.
20. สัญญา ธรรมศักดิ์. (มีนาคม – เมษายน, 2534). “รวมโอวาทสำหรับตุลาการ,” ดุลพาห. 38(2) : 88-100.
21. สัญญา ธรรมศักดิ์. (กรกฎาคม, 2497). “ลักษณะของห้องพิจารณาของศาล,” ดุลพาห 1(4) : 2-13.
22. สัญญา ธรรมศักดิ์. (พฤษภาคม – สิงหาคม, 2520). “สนทนากับนักกฎหมาย,” วารสารกฎหมาย. 3(2) : 84-90.
23. สัญญา ธรรมศักดิ์. (2518). “เสด็จในกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์,” บทบัณฑิตย์. 32(2) : 169-171.

นอกจากนี้ท่านยังมีความรอบรู้ในเรื่องของพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ได้เขียน บทความและบรรยายปาฐกถาเกี่ยวกับธรรมะไว้หลาย เรื่องและด้วยความสนใจในพระพุทธศาสนา หลังจากที่กลับจากศึกษาที่ประเทศอังกฤษ ท่านจึงเป็นบุคคลหนึ่งในสามคนที่ริเริ่ม ก่อตั้งพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย (เดิมชื่อว่าพุทธธรรมสมาคม) ขึ้นในปี พ.ศ. 2477 ท่านได้เป็นเลขานุการของสมาคมฯ นานหลายปี จนได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมฯ และท่านยังได้รับเลือกจากนานาชาติให้เป็นรองประธาน ทำหน้าที่แทนประธานองค์การ พุทธศาสนิก สัมพันธ์แห่งโลก ท่านได้อุทิศเวลาส่วนหนึ่งในการดำรงชีวิตประจำวันให้กับงานเผยแพร่พระพุทธศาสนาตลอดมา ในบางครั้งที่ท่านมี ความวิตกกังวลใจท่านจะเข้าไปนั่งสงบสติอารมณ์ในวัดเสมอ โดยเฉพาะวัดเบญจมบพิตร ซึ่งเป็นวัดที่ท่านอุปสมบท และในทุก ๆ วันเกิด ท่านก็เข้าวัดเช่นเดียวกัน เพื่อจะนั่งนึกย้อนหลังว่าในรอบวันเกิดที่แล้วมาว่าหลักการของศีลธรรม สุขภาพ การงาน การเงิน และการสมาคม ของท่านมีอะไรบกพร่องหรือไม่ ทำไมจึงบกพร่อง จะปรับปรุงอย่างไร มีอะไรดีหรือไม่ จะแก้ไขอย่างไร ท่านถือว่าศีลธรรมเป็น สิ่งที่ สำคัญมาก จนในบางครั้งถึงกับมีคนเรียกท่านว่า “หลวงตา” ในระหว่างที่ท่านดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรม ท่านได้ริเริ่มงาน หลายประการ ยังผลให้กระทรวงยุติธรรมได้พัฒนาก้าวหน้าไปมาก งานแรกคือ ท่านได้ริเริ่มจัดให้มีนิตยสารของกระทรวงยุติธรรมขึ้น ใช้ชื่อว่า “ดุลพาห” ซึ่งได้มีการจัดพิมพ์ติดต่อกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2499 จนถึงทุกวันนี้ วัตถุประสงค์ในการจัดทำหนังสือฉบับนี้เพื่อเผยแพร่ วิทยาการด้านต่าง ๆ เฉพาะอย่างยิ่งในวิชากฎหมาย รวมถึงวิทยาการแขนงอื่น ๆ ที่ผู้พิพากษาและข้าราชการควรได้ทราบไว้เป็นความรู้และ แถลงข่าวการศาลยุติธรรมและการกฎหมายทั่วไป สำนักอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาได้จัดตั้งด้วยความริเริ่มของ ท่านเช่นเดียวกัน โดยท่านมีความเห็นว่าควรส่งเสริมฐานะของผู้พิพากษา อัยการ ทนายความ ให้สูงเหมือนกับต่างประเทศ ซึ่งการจะเป็นผู้พิพากษา อัยการ ทนายความได้ จะต้องผ่านสำนักอบรมกฎหมาย (Bar) เสียก่อน ประกอบกับขณะนั้นมีมติที่ประชุม International Bar Association ขอให้ทุกประเทศจัดให้มีการฝึกฝนอบรมภาคปฏิบัติก่อน ผลงานริเริ่มอีกประการหนึ่งที่ได้ถือปฏิบัติกันมาจนปัจจุบันนี้คือ ท่านได้เสนอ ให้มีการ อบรมผู้ช่วยผู้พิพากษา ก่อนที่จะแต่งตั้งให้เป็นผู้พิพากษา เพื่อให้สันทัดทางการดำเนินพิจารณาพิพากษาอรรถคดี และจัดอบรม ในเรื่องการดำรงตนตลอดจนอบรมจิตใจ ศีลธรรม ซึ่งในสมัยที่ท่านเป็นปลัดกระทรวงยุติธรรมได้มีการอบรมผู้ช่วยผู้พิพากษา 3 รุ่น คือ ผู้ช่วยผู้พิพากษารุ่นที่1, 2 และ 3 นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ทำงานไม่ว่าจะในด้านใดมักจะประสบความสำเร็จชั้นสูงสุดในสาขางาน ที่ทำ ไม่มีผู้ใดเสมอเหมือน ท่านเคยเป็นทั้งประมุขทางฝ่ายตุลาการ “ประธานศาลฎีกา” ประมุขทางฝ่ายบริหาร “นายกรัฐมนตรี” และ รองประธาน สภาร่างรัฐธรรมนูญ (ในสมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์) และยังได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยให้เป็น “ประธานองคมนตรี” ซึ่งไม่มีผู้ใด สามารถประสบความสำเร็จเช่นนี้มาก่อน ท่านได้ยึดหลักในการทำงานว่างานใดที่รับ ภาระมาจะต้องทำด้วยสำนึกในหน้าที่ตลอดเวลา ไม่ละเลย ผันแปรและทอดทิ้ง ให้ทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่เป็นฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด โดยสรุปก็คือ ยึดหลัก “บริสุทธิ์ – ยุติธรรม” เป็นธรรมะ ประจำใจในการทำงานทุกหน้าที่ ท่านเป็นบรรพตุลาการที่ทำงานด้วยความวิริยะอุตสาหะ างตัวเป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไปได้อย่างดียิ่ง จนประสบความสำเร็จสูงสุดในชีวิตสมควรที่ตุลาการทั่วไปจะได้ยึดถือท่านเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตามต่อไป
นายสัญญา ธรรมศาสตร์ เป็นผู้ดูแลสุขภาพเป็นอย่างดียิ่ง ระมัดระวัง ในเรื่องอาหารและออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่แล้วในปี พ.ศ. 2538 ท่านได้ลมป่วยลง และเข้ารับ การรักษาที่โรงพยาบาล ตลอดระยะเวลาที่อยู่โรงพยาบาลได้รับการดูแลเป็นอย่างดียิ่งจากนายแพทย์ ปรีดา พัวประดิษฐ นายแพทย์ยุทธพงษ์ หาญวงศ์ แพทย์หญิงวโรชา มหาชัย และนายแพทย์ชาญ เกียรติบุญศรี เมื่ออาการดีขึ้นแล้วได้กลับมา พักรักษาตัวที่บ้านอยู่อีกเป็นเวลา 6 ปี วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2545 ได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทย์ ได้รักษาจน อาการดีขึ้น แต่แล้วกลางดึกของคืนวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2545 การเต้นของหัวใจเริ่มผิดปกติและหลังจากคณะแพทย์ได้พยายามรักษา ตามเหตุและผลถึงที่สุดแล้วอาการไม่ดีขึ้น นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ถึงแก่อสัญกรรมอย่างสงบ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2545 เวลา 06.46 น. ท่ามกลางลูกหลานและกัลยาณมิตร สิริอายุได้ 94 ปี 8 เดือน 5 วัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น