วันอังคาร, กันยายน 24, 2556

วันมหิดล 24 กันยายน


 วันที่ 24 กันยายน เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระผู้ได้รับการถวายพระสมัญญาภิไธยจากแพทย์และประชาชนทั่วไปว่า  "พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย" คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้ขนานนาม  วันอันเป็นที่ระลึกสำคัญนี้ว่า "วันมหิดล" เพื่อเป็นการถวายสักการะ และแสดงกตัญญูกตเวทีต่อพระองค์ท่าน เพราะพระราชกรณียกิจที่ได้ทรงบำเพ็ญแก่วงการแพทย์ และการสาธารณสุข  ของประเทศไทยตลอดระยะเวลา 12 ปีนั้นได้เสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่โรงเรียนแพทย์   และพัฒนาการเรียนการสอนตลอดจนการผลิตแพทย์ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพอันเป็นการวางรากฐานแก่การแพทย์ และการสาธารณสุขให้เจริญพัฒนาก้าวหน้าทัดเทียมอารยะประเทศ  ในกาลต่อมา
      พิธีวันมหิดลเริ่มโดยสโมสรนักศึกษาแพทย์ศิริราช ภายหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จฯทรงเปิด พระบรมรูปสมเด็จพระราชบิดา เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ.2493 แล้ว ในวันที่ 24 กันยายน ปีเดียวกัน สโมสรนักศึกษาแพทย์ศิริราช และนักศึกษาพยาบาล โดยการนำของ  นายบุญเริ่ม  สิงหเนตร  นายกสโมสรนักศึกษาแพทย์ และ นางสาวชายัญ ปรักกะมะกุล หัวหน้านักศึกษาพยาบาล นำนักศึกษาแพทย์และนักศึกษาพยาบาลตั้งแถวตามถนนจักรพงษ์  หน้าพระบรมรูปสมเด็จพระราชบิดา  จากนั้นหัวหน้านักศึกษาวางพวงมาลาแล้วผู้แทนนักศึกษาอ่านฉันท์  ทูลกระหม่อมสดุดีอศิรวาท ซึ่งประพันธ์โดย  นายภูเก็ต วาจานนท์  หลังจากนั้น  ศ.นพ.สุด แสงวิเชียร  และ ศ.นพ.เติม บุนนาค   วางพวงมาลาของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
   ในเวลาต่อมาก็มีงานอื่น ๆ ประกอบอีก เช่น ระยะแรกมีการออกรายการสดุดีสมเด็จพระบรมราชชนกทางวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย โดยนักศึกษาแพทย์และแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย  มีการทำงานโยธาในวันมหิดล  ต่อมาเมื่อมีโทรทัศน์  ก็เริ่มจัดรายการ  โทรทัศน์วันมหิดล

วันจันทร์, กันยายน 02, 2556

ประวัตินายสัญญา ธรรมศักดิ์ิ์

ประวัตินายสัญญา ธรรมศักดิ์ิ์
          นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นบุตรคนเล็กของมหาอำมาตย์ตรีพระยาธรรมสารเวทย์วิเศษ -ภักดีฯ (ทองดี ธรรมศักดิ์) กับคุณหญิงชื้น ธรรมศักดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2450 ที่บ้านหลังวัดอรุณราชวราราม ตำบลบางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 2 คน คือ
1. นายบรรจง ธรรมศักดิ์ (ถึงแก่กรรม)
2. นางชุมวิทยากิจ (ฉวี โปตระนันทน์ – ถึงแก่กรรม)
สมรสกับ หลวงชุมวิทยากิจ (ชุ่ม โปตระนันทน์ – ถึงแก่กรรม)
ท่านได้สมรสกับท่านผู้หญิงพงา ธรรมศักดิ์ (เพ็ญชาติ) เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2477 มีบุตร 2 คน คือ
1. นายชาติศักดิ์ ธรรมศักดิ์
2. นพ.จักรธรรม ธรรมศักดิ์

ประวัติการศึกษา
พ.ศ. 2457 เข้าศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญ สำเร็จชั้น 6 อังกฤษ (มัธยมบริบูรณ์)
พ.ศ. 2470 อุปสมบทที่วัดเบญจมบพิตรและได้ศึกษาพระธรรมวินัยที่สำนักนักเรียนวัดเบญจมบพิตร สอบไล่นักธรรมชั้นตรี ได้ที่ 1 พ.ศ. 2471 สำเร็จการศึกษาเป็นเนติบัณฑิตไทย ที่โรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม ใช้เวลาเรียน 3 ปี
พ.ศ. 2475 สำเร็จการศึกษาเป็นเนติบัณฑิตอังกฤษจากการสอบแข่งขัน ได้คะแนนสูงสุด ได้รับทุนเล่าเรียนรพีบุญนิธิ ไปศึกษาวิชากฎหมายที่ The Middle Temple London ประเทศอังกฤษ ศึกษาอยู่เป็นเวลา 3 ปี ก็สอบไล่ได้เป็นเนติบัณฑิตยอังกฤษ (Barrister - at - Law)
พ.ศ. 2498 ได้ศึกษาในวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรรุ่นแรก ขณะนั้น รับราชการเป็นปลัดกระทรวงยุติธรรม

 ประวัติการรับราชการ

          นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ได้รับรับราชการครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2468 ในขณะที่มีอายุ 18 ปี 3 เดือน 27 วัน ในตำแหน่งนักเรียนล่าม กรมบัญชาการ (กองล่าม) กระทรวงยุติธรรม ได้รับเงินเดือน 30 บาท ต่อมาเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ได้รับราชการในตำแหน่งล่าม เงินเดือน 50 บาท ท่านมีความตั้งใจที่จะเป็นตุลาการตั้งแต่ยังเยาว์ เพราะ ได้เห็นแบบอย่างการเป็นตุลาการที่ดีของบิดาท่าน ดังนั้น เมื่อเจริญวัยขึ้น หลังจากที่ได้ เข้ารับราชการแล้วได้มีโอกาสที่จะเจริญรอยตามบิดา โดยได้เป็นผู้พิพากษาฝึกหัด เงินเดือน 200 บาท เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2476 ซึ่งตามความเห็นของท่านเห็นว่าเป็นตำแหน่งที่ ภาคภูมิใจ เป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นตำแหน่งที่ให้ความยุติธรรมแก่ประชาชน ท่านเป็นผู้พิพากษาฝึกหัด จนกระทั่งใน วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2477 จึงรับราชการในตำแหน่งผู้พิพากษาในกระทรวง ยุติธรรม ได้รับเงินเดือน 200 บาท ต่อจากนั้นได้รับราชการในตำแหน่งต่าง ๆ ตามลำดับ ดังนี้
7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478 ไปช่วยราชการที่ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
5 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 เป็นผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา เงินเดือน 260 บาท
1 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 เป็นผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ เงินเดือน 500 บาท
31 สิงหาคม พ.ศ. 2493 เป็นผู้พิพากษาหัวหน้ากองในศาลอุทธรณ์
2 เมษายน พ.ศ. 2494 เป็นข้าหลวงยุติธรรมภาค 4 เงินเดือน 700 บาท พร้อมกันนั้นได้ทำหน้าที่ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดเชียงใหม่ด้วย
(อธิบดีผู้พิพากษาภาค 5 ปัจจุบัน)
23 มีนาคม พ.ศ. 2496 เป็นปลัดกระทรวงยุติธรรม เงินเดือน 800 บาท
1 ตุลาคม พ.ศ. 2501 เป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา
1 เมษายน พ.ศ. 2502 เป็นผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา เงินเดือน 1,400 บาท
15 ตุลาคม พ.ศ. 2505 เป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ เงินเดือน 8,600 บาท
1 ตุลาคม พ.ศ. 2506 – 2510 เป็นประธานศาลฎีกา
พ.ศ. 2510 – 2516 เป็นองคมนตรี
พ.ศ. 2511 – 2514 เป็นคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2514 – 2516 เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2516 – 2518 เป็นนายกรัฐมนตรี

(ซึ่งในขณะนั้นเกิดเหตุการณ์มหาวิปโยควันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนายกรัฐมนตรี ติดต่อกันถึง 2 สมัย คือ วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 และ วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 – 26 มกราคม พ.ศ. 2518 ระหว่างที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้จัดร่างรัฐธรรมนูญ โดยยึดหลักประชาธิปไตยมากที่สุด และพ้นตำแหน่งเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 หลังจากที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2517 และจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปตาม รัฐธรรมนูญนั้นแล้ว)
5 ธันวาคม พ.ศ. 2518 – 2541 เป็นประธานองคมนตรี
พ.ศ. 2527 – 2541 เป็นประธานองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก
13 มิถุนายน พ.ศ. 2537 ดำรงตำแหน่ง ธรรมศาสตราจารย์ เพื่อเป็นที่ประจักษ์ในเกียรติคุณและความเป็นปูชนียบุคคลสืบไป

ในระหว่างที่รับราชการและหลังครบเกษียณอายุแล้ว นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ได้มีส่วนเกี่ยวข้องและเป็นกรรมการตุลาการหลายครั้ง เริ่มแรกเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2489 ได้ทำหน้าที่เป็นเลขานุการ ก.ต. และเมื่อมีประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการ ฝ่ายตุลาการ พ.ศ. 2497 ในระหว่างนั้นท่านดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เป็นกรรมการตุลาการโดยตำแหน่ง และนอกจากนี้ท่านเป็นผู้ริเริ่มวางรูปงาน และควบคุมดูแล การเลือกตั้งกรรมการตุลาการผู้ทรงคุณวุฒิครั้งแรก เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2501 สำเร็จเป็นผลเรียบร้อยดียิ่ง จนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในสมัยนั้นได้ให้บันทึกความดีความชอบ ไว้ในสมุดประวัติ เมื่อท่านได้ย้ายมารับราชการในตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ท่านได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการตุลาการผู้ทรงคุณวุฒิ รวม 3 ครั้ง ในครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2502 เป็นการเลือกตั้งซ่อมแทนนายประวัติ ปัตตพงศ์ ซึ่งไปดำรงตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษา ศาลอุทธรณ์ และพระดุลยการณ์โกวิทซึ่งถึงแก่กรรม ส่วนอีกสองครั้งเป็นการได้รับเลือกตั้งจากการเลือกตั้งทั่วไป ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2503 และการเลือกตั้ง ทั่วไปครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 ในการเป็นกรรมการตุลาการ ผู้ทรงคุณวุฒิประเภท ข้าราชการประจำในช่วงนี้ ท่านได้พ้นจากตำแหน่งเมื่อท่านได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษา ศาลอุทธรณ์ แต่ท่านก็ยังหาได้พ้นจากตำแหน่งกรรมการตุลาการไปไม่ เพราะเมื่อท่านดำรงตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ และประธานศาลฎีกา ตามกฎหมายถือว่าเป็นกรรมการตุลาการโดยตำแหน่ง และหลังจากที่ครบเกษียณอายุแล้ว ท่านก็ได้รับเลือกให้เป็น กรรมการตุลาการผู้ทรงคุณวุฒิ ประเภทข้าราชการบำนาญอีก 3 ครั้ง เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511, วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2513 และวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2515 ตามลำดับ และพ้นจากตำแหน่งกรรมการตุลาการครั้งหลังสุดเมื่อได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ ให้เป็นนายกรัฐมนตรี


เครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญตราพระราชทาน          

20 กันยายน พ.ศ. 2483 ตริตราภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
20 กันยายน พ.ศ. 2484 ตริตราภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
4 ธันวาคม พ.ศ. 2491 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
4 ธันวาคม พ.ศ. 2493 เหรียญจักรพรรดิมาลา
5 กันยายน พ.ศ. 2497 เหรียญรัตนาภรณ์ (ภปร. 3)
5 ธันวาคม พ.ศ. 2497 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
5 ธันวาคม พ.ศ. 2499 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
5 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.)
5 ธันวาคม พ.ศ. 2502 มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
5 ธันวาคม พ.ศ. 2504 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
5 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.)
5 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.)
13 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม. (ศ).)
พ.ศ. 2514 เหรียญรัตนาภรณ์ (ภปร. 1)
พ.ศ. 2539 นพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์จากต่างประเทศ
พ.ศ. 2517 สายสะพาย THE RISING SUN ชั้นที่ 1 จากพระเจ้าจักรพรรดิญี่ปุ่น
พ.ศ. 2527 สายสะพาย DAS GROBKREUZ ชั้นที่ 1 พิเศษ จาก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน
พ.ศ. 2530 สายสะพาย ชั้นที่ 1 LA GRAN CRUI จากพระราชาธิบดีแห่งสเปน

งานเกี่ยวการสอนและการศึกษา
พ.ศ. 2477 – 2478 เป็นกรรมการสอบไล่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง
พ.ศ. 2479 – 2493 เป็นผู้บรรยายวิชากฎหมาย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ การเมือง (15 ปี) บรรยายและแต่งคำสอนลักษณะวิชา
หุ้นส่วน-บริษัท-ทรัพย์ วิธีพิจารณาความอาญาและ ธรรมนูญศาลยุติธรรม
พ.ศ. 2484 – 2493 เป็นอาจารย์วิชากฎหมายการค้า ณ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (10 ปี)
พ.ศ. 2491 – 2493 เป็นเลขาธิการสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตย-สภา
พ.ศ. 2497 – 2498 เป็นอาจารย์สอนพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ณ สำนักอบรมศึกษากฎหมาย แห่งเนติบัณฑิตยสภา และเป็นกรรมการ
สอบไล่

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้มอบปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ เมื่อปี พ.ศ. 2506, 2517 และ 2524 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาต่าง ๆ จากมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่ง
พ.ศ. 2537 สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้พิจารณาลงมติให้ดำรงตำแหน่ง ธรรมศาสตราจารย์

ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ยังได้ปฏิบัติราชการงานพิเศษอีกหลายประการตามลำดับดังนี้
27 เมษายน พ.ศ. 2477 กระทรวงยุติธรรมตั้งเป็นกรรมการสำรวจพิจารณาวางระเบียบราชการในกองหมาย
16 กรกฎาคม พ.ศ. 2477 คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ช่วยทำข้อบังคับและระเบียบการคลังเป็นเวลา 6 เดือน
19 ตุลาคม พ.ศ. 2477 คณะรัฐมนตรีตั้งเป็นกรรมการพิจารณาลดอัตราค่าธรรมเนียมศาล
17 สิงหาคม พ.ศ. 2478 คณะรัฐมนตรีตั้งเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการตรวจร่าง (คำแปล) ประมวลกฎหมายที่จะประกาศ ใช้ใหม่ทั้งหมด
22 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 ก.พ. ตั้งเป็นอนุกรรมการพิจารณาค่าใช้จ่ายนักเรียนรัฐบาลฝ่ายพลเรือนที่ส่งออกไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ
19 สิงหาคม พ.ศ. 2480 คณะรัฐมนตรีตั้งเป็นเลขานุการคณะกรรมการพิจารณาการ ซื้อขายที่ดินบางรายของพระคลังข้างที่
25 พฤษภาคม พ.ศ. 2482 สำนักงานโฆษณาการ ตั้งเป็นกรรมการพิจารณาตัดสินเรียงความที่ส่งเข้าประกวดเนื่องในงานฉลองวันชาิติ ิและสนธิสัญญา พ.ศ. 2482
6 กรกฎาคม พ.ศ. 2482 กระทรวงยุติธรรมตั้งเป็นกรรมการจัดพิมพ์ คำพิพากษาฎีกาลงในหนังสือข่าวศาล
2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482 กระทรวงยุติธรรมตั้งเป็นกรรมการสำรวจและจัดให้ศาลทุกศาลได้มีหนังสือกฎหมายไว้ใช้ตามสมควร
16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482 กรมโฆษณาการตั้งเป็นกรรมการพิจารณาตัดสินเรียงความที่ส่งเข้าประกวดเนื่องในงานฉลองรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2482
22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 กรมโฆษณาการตั้งเป็นกรรมการพิจารณาตัดสินเรียงความที่ส่งเข้าประกวดเนื่องในงานฉลองรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2483
19 เมษายน พ.ศ. 2486 เป็นกรรมการและเลขานุการพิจาณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
8 มกราคม พ.ศ. 2491 เป็นกรรมการสอดส่องความประพฤติทนายความ
11 มีนาคม พ.ศ. 2491 เป็นกรรมการและเลขานุการเพื่อพิจารณาปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทุกฝ่ายให้เป็นการเหมาะสม
28 ตุลาคม พ.ศ. 2492 คณะรัฐมนตรีได้ลงมติให้ตั้งเป็นเลขานุการคณะกรรมการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
และร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง
7 ตุลาคม พ.ศ. 2493 เป็นกรรมการพิจารณาปรับปรุงระเบียบการพิจารณาของศาล
19 ตุลาคม พ.ศ. 2493 เป็นเลขานุการตรวจพิจารณาและร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
20 ธันวาคม พ.ศ. 2493 เป็นกรรมการเพื่อจัดสอบแข่งขันเพื่อรับทุนรัฐบาลไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ
16 เมษายน พ.ศ. 2496 เป็นกรรมการอบรมข้าราชการและประชาชน
8 มิถุนายน พ.ศ. 2496 คณะรัฐมนตรีลงมติตั้งให้เป็นกรรมการพิจารณาปรับปรุงวางระเบียบการบริหารราชการส่วนภูมิภาค
24 สิงหาคม พ.ศ. 2496 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เป็นกรรมการร่างกฎหมาย
22 กันยายน พ.ศ. 2496 เป็นกรรมการพิจารณาวางนโยบายของกระทรวงยุติธรรม
16 มกราคม พ.ศ. 2497 เป็นกรรมการอาชญากรรมวิจัย
17 มีนาคม พ.ศ. 2497 เป็นประธานกรรมการหน่วยวิทยาการ กระทรวงยุติธรรม
17 – 23 เมษายน พ.ศ. 2497 เป็นประธานกรรมการประชุมสาขาที่ 3 ของการประชุมสัปดาห์แห่งการป้องกันอาชญากรรม
24 – 26 – 27 เมษายน พ.ศ. 2497 เป็นรองประธานคนที่ 2 ของการประชุมอธิบดีศาลฯ และข้าหลวงยุติธรรม พร้อมด้วยผู้พิพากษา หัวหน้าศาล ทั่วพระราชอาณาจักร
10 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาสอบสวน เพื่อการอาชีวศึกษาสงเคราะห์
30 มิถุนายน พ.ศ. 2497 เป็นกรรมการดำเนินการร่างพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง หลักเกณฑ์ และวิธีการต่าง ๆ เพื่ออนุวัตตามร่าง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการฉบับใหม่
6 กรกฎาคม พ.ศ. 2497 เป็นอุปนายกเนติบัณฑิตยสภา
24 กรกฎาคม พ.ศ. 2497 คณะรัฐมนตรีลงมติตั้งให้เป็นกรรมการเพื่อพิจารณาแก้ไขกฎหมายเพื่อป้องกันการล่าช้าในการพิจารณาพิพากษาคดี
3 – 12 มกราคม พ.ศ. 2498 เป็นประธานกรรมการประชุมสาขา 1 ในการประชุมสัปดาห์แห่งการป้องกันราชอาชญากรรม พ.ศ. 2498
13 – 15 มกราคม พ.ศ. 2498 เป็นรองประธานในการประชุม อธิบดีผู้พิพากษาและ
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ประจำปี พ.ศ. 2498
5 กันยายน พ.ศ. 2498 เป็นกรรมการร่างประมวลกฎหมายการเลือกตั้ง
4 มีนาคม พ.ศ. 2501 เป็นรองประธานอนุกรรมการพิจารณาตรวจสอบคุณสมบัติ
ของผู้สมัครสอบ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
28 มีนาคม พ.ศ. 2501 เป็น อ.ก.พ. วิสามัญพิจารณาเรื่องเกี่ยวกับการศึกษาของ
นักเรียนฝ่ายพลเรือนในต่างประเทศ
30 เมษายน พ.ศ. 2501 เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
24 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 เป็นกรรมการพิจารณาการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
27 สิงหาคม พ.ศ. 2501 เป็นกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาค้นคว้าหาวิธีที่จะทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา
30 มกราคม พ.ศ. 2502 เป็นกรรมการพิจารณาชำระสะสางประมวลกฎหมาย (แทนหลวงจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ ซึ่งถึงแก่กรรม)
26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 เป็นกรรมการพิเศษเพื่อพิจารณาอนุสัญญาต่าง ๆ (แทนหลวงจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ ซึ่งถึงแก่กรรม)
20 มีนาคม พ.ศ. 2503 เป็น อ.ก.พ. วิสามัญเกี่ยวกับนักเรียนในต่างประเทศ
3 – 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 เป็นผู้แทนประเทศไทยไปร่วมประชุมอบรมเกี่ยวกับบทบาทของกฎหมายอาญา ในการคุ้มครอง สิทธิมนุษยชน ณ กรุง โตเกียว
11 ตุลาคม พ.ศ. 2503 เป็นประธานกรรมการเนติบัณฑิตยสภาแผนกต่างประเทศ
15 ธันวาคม พ.ศ. 2503 คณะรัฐมนตรีได้มีมติแต่งตั้งให้เป็นกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ ปัจจุบันเป็นประธานกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ
12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 เป็นอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติเพื่อสอบบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
11 ธันวาคม พ.ศ. 2505 คณะรัฐมนตรีได้มีมติแต่งตั้งให้เป็นกรรมการปรับปรุงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
7 มกราคม พ.ศ. 2506 เป็นกรรมการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเนติบัณฑิตยสภา
20 มีนาคม พ.ศ. 2519 เป็นกรรมการข้าราชการพลเรือนผู้ทรงคุณวุฒิ
พ.ศ. 2502, 2503, 2504, 2505 เป็นกรรมการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
พ.ศ. 2480 – 2484 กระทรวงยุติธรรมตั้งเป็นกรรมการคัดเลือกเพื่อบรรจุในตำแหน่งจ่าศาล รองจ่าศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้ช่วยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และเจ้าพนักงานยึดทรัพย์ หลายครั้ง



ผลงานทางด้านวิชาการ

1. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยหุ้นส่วน – บริษัท (ไม่ปรากฏรายการบรรณานุกรมหนังสือ)
2. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยลักษณะทรัพย์ (ไม่ปรากฏรายการบรรณานุกรมหนังสือ)
3. สัญญา ธรรมศักดิ์. คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : กรุงสยามการพิมพ์, 2526. (ซึ่งศาสตราจารย์ประภาศน์ อวยชัย ได้เป็น ผู้เรียบเรียงและปรับปรุง เพิ่มเติมจากฉบับ คำบรรยายของนายสัญญา ธรรมศักดิ์)
4. สัญญา ธรรมศักดิ์. คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประภาศน์ อวยชัย). กรุงเทพฯ : สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, ม.ป.ป.
5. สัญญา ธรรมศักดิ์. คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ตอน 1 (แก้ไขเพิ่มเติม โดยประภาศน์ อวยชัย). กรุงเทพฯ : สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2515.
6. สัญญา ธรรมศักดิ์. คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ตอน 2 (แก้ไขเพิ่มเติม โดยประภาศน์ อวยชัย). กรุงเทพฯ : สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2515.
7. สัญญา ธรรมศักดิ์. คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 1 ถึงภาค 3 มาตรา 1 - 171 (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประภาศน์ อวยชัย). พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2530.
8. สัญญา ธรรมศักดิ์. คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 3 ถึงภาค 7 มาตรา 172 - 267 (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประภาศน์ อวยชัย). พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2530.
9. สัญญา ธรรมศักดิ์. พระธรรมนูญศาลยุติธรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรม-ศาสตร์, 2516.
(บันทึกคำอธิบายโดยย่อของศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ซึ่งบรรยายแก่นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ปี 2 สมัยการศึกษา 2514)
10. สัญญา ธรรมศักดิ์. รายงานการร่วมประชุมสัมมนาของสหประชาชาติ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น. กรุงเทพฯ : กระทรวงยุติธรรม, 2503.
11. สัญญา ธรรมศักดิ์. ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ กับ 14 ตุลาคม’ 16. กรุงเทพฯ : ส่องศยาม, 2534.
12. สัญญา ธรรมศักดิ์. หนทางสู่ความสำเร็จของนักกฎหมาย. กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2534.
13. สัญญา ธรรมศักดิ์. (พฤษภาคม, 2512). “การอภิปรายเรื่องคุณค่าของวิชากฎหมาย,” บทบัณฑิตย์. 26(1 – 2 ) : 49-84.
14. สัญญา ธรรมศักดิ์. (มกราคม - กุมภาพันธ์, 2534). “ความสำเร็จในชีวิต,” ดุลพาห. 38(1) : 49-66.
15. สัญญา ธรรมศักดิ์. (มกราคม – กุมภาพันธ์, 2534). “คำชี้แจงความเข้าใจในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณา ความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499,” ดุลพาห. 38(1) : 13-39.
16. สัญญา ธรรมศักดิ์. (มกราคม – กุมภาพันธ์, 2534). “คำแถลงการณ์วิธีการออกหนังสือนิตยสารกระทรวงยุติธรรม,” ดุลพาห. 38(1) : 11-12.
17. สัญญา ธรรมศักดิ์. (มกราคม – กุมภาพันธ์, 2534). “คำบรรยายเรื่องลักษณะของเจ้าของศาลตามหลักวิชาการ,” ดุลพาห. 38(1) : 40-48.
18. สัญญา ธรรมศักดิ์. (มกราคม, 2511). “คำอำลาของอดีตประมุขตุลาการ,” บทบัณฑิตย์. 25(1) : 7-10.
19. สัญญา ธรรมศักดิ์. (มิถุนายน, 2539). “พระมหากรุณาธิคุณของในหลวงต่อวงการกฎหมาย,” บทบัณฑิตย์. (ช52(2) : 78.
20. สัญญา ธรรมศักดิ์. (มีนาคม – เมษายน, 2534). “รวมโอวาทสำหรับตุลาการ,” ดุลพาห. 38(2) : 88-100.
21. สัญญา ธรรมศักดิ์. (กรกฎาคม, 2497). “ลักษณะของห้องพิจารณาของศาล,” ดุลพาห 1(4) : 2-13.
22. สัญญา ธรรมศักดิ์. (พฤษภาคม – สิงหาคม, 2520). “สนทนากับนักกฎหมาย,” วารสารกฎหมาย. 3(2) : 84-90.
23. สัญญา ธรรมศักดิ์. (2518). “เสด็จในกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์,” บทบัณฑิตย์. 32(2) : 169-171.

นอกจากนี้ท่านยังมีความรอบรู้ในเรื่องของพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ได้เขียน บทความและบรรยายปาฐกถาเกี่ยวกับธรรมะไว้หลาย เรื่องและด้วยความสนใจในพระพุทธศาสนา หลังจากที่กลับจากศึกษาที่ประเทศอังกฤษ ท่านจึงเป็นบุคคลหนึ่งในสามคนที่ริเริ่ม ก่อตั้งพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย (เดิมชื่อว่าพุทธธรรมสมาคม) ขึ้นในปี พ.ศ. 2477 ท่านได้เป็นเลขานุการของสมาคมฯ นานหลายปี จนได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมฯ และท่านยังได้รับเลือกจากนานาชาติให้เป็นรองประธาน ทำหน้าที่แทนประธานองค์การ พุทธศาสนิก สัมพันธ์แห่งโลก ท่านได้อุทิศเวลาส่วนหนึ่งในการดำรงชีวิตประจำวันให้กับงานเผยแพร่พระพุทธศาสนาตลอดมา ในบางครั้งที่ท่านมี ความวิตกกังวลใจท่านจะเข้าไปนั่งสงบสติอารมณ์ในวัดเสมอ โดยเฉพาะวัดเบญจมบพิตร ซึ่งเป็นวัดที่ท่านอุปสมบท และในทุก ๆ วันเกิด ท่านก็เข้าวัดเช่นเดียวกัน เพื่อจะนั่งนึกย้อนหลังว่าในรอบวันเกิดที่แล้วมาว่าหลักการของศีลธรรม สุขภาพ การงาน การเงิน และการสมาคม ของท่านมีอะไรบกพร่องหรือไม่ ทำไมจึงบกพร่อง จะปรับปรุงอย่างไร มีอะไรดีหรือไม่ จะแก้ไขอย่างไร ท่านถือว่าศีลธรรมเป็น สิ่งที่ สำคัญมาก จนในบางครั้งถึงกับมีคนเรียกท่านว่า “หลวงตา” ในระหว่างที่ท่านดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรม ท่านได้ริเริ่มงาน หลายประการ ยังผลให้กระทรวงยุติธรรมได้พัฒนาก้าวหน้าไปมาก งานแรกคือ ท่านได้ริเริ่มจัดให้มีนิตยสารของกระทรวงยุติธรรมขึ้น ใช้ชื่อว่า “ดุลพาห” ซึ่งได้มีการจัดพิมพ์ติดต่อกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2499 จนถึงทุกวันนี้ วัตถุประสงค์ในการจัดทำหนังสือฉบับนี้เพื่อเผยแพร่ วิทยาการด้านต่าง ๆ เฉพาะอย่างยิ่งในวิชากฎหมาย รวมถึงวิทยาการแขนงอื่น ๆ ที่ผู้พิพากษาและข้าราชการควรได้ทราบไว้เป็นความรู้และ แถลงข่าวการศาลยุติธรรมและการกฎหมายทั่วไป สำนักอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาได้จัดตั้งด้วยความริเริ่มของ ท่านเช่นเดียวกัน โดยท่านมีความเห็นว่าควรส่งเสริมฐานะของผู้พิพากษา อัยการ ทนายความ ให้สูงเหมือนกับต่างประเทศ ซึ่งการจะเป็นผู้พิพากษา อัยการ ทนายความได้ จะต้องผ่านสำนักอบรมกฎหมาย (Bar) เสียก่อน ประกอบกับขณะนั้นมีมติที่ประชุม International Bar Association ขอให้ทุกประเทศจัดให้มีการฝึกฝนอบรมภาคปฏิบัติก่อน ผลงานริเริ่มอีกประการหนึ่งที่ได้ถือปฏิบัติกันมาจนปัจจุบันนี้คือ ท่านได้เสนอ ให้มีการ อบรมผู้ช่วยผู้พิพากษา ก่อนที่จะแต่งตั้งให้เป็นผู้พิพากษา เพื่อให้สันทัดทางการดำเนินพิจารณาพิพากษาอรรถคดี และจัดอบรม ในเรื่องการดำรงตนตลอดจนอบรมจิตใจ ศีลธรรม ซึ่งในสมัยที่ท่านเป็นปลัดกระทรวงยุติธรรมได้มีการอบรมผู้ช่วยผู้พิพากษา 3 รุ่น คือ ผู้ช่วยผู้พิพากษารุ่นที่1, 2 และ 3 นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ทำงานไม่ว่าจะในด้านใดมักจะประสบความสำเร็จชั้นสูงสุดในสาขางาน ที่ทำ ไม่มีผู้ใดเสมอเหมือน ท่านเคยเป็นทั้งประมุขทางฝ่ายตุลาการ “ประธานศาลฎีกา” ประมุขทางฝ่ายบริหาร “นายกรัฐมนตรี” และ รองประธาน สภาร่างรัฐธรรมนูญ (ในสมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์) และยังได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยให้เป็น “ประธานองคมนตรี” ซึ่งไม่มีผู้ใด สามารถประสบความสำเร็จเช่นนี้มาก่อน ท่านได้ยึดหลักในการทำงานว่างานใดที่รับ ภาระมาจะต้องทำด้วยสำนึกในหน้าที่ตลอดเวลา ไม่ละเลย ผันแปรและทอดทิ้ง ให้ทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่เป็นฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด โดยสรุปก็คือ ยึดหลัก “บริสุทธิ์ – ยุติธรรม” เป็นธรรมะ ประจำใจในการทำงานทุกหน้าที่ ท่านเป็นบรรพตุลาการที่ทำงานด้วยความวิริยะอุตสาหะ างตัวเป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไปได้อย่างดียิ่ง จนประสบความสำเร็จสูงสุดในชีวิตสมควรที่ตุลาการทั่วไปจะได้ยึดถือท่านเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตามต่อไป
นายสัญญา ธรรมศาสตร์ เป็นผู้ดูแลสุขภาพเป็นอย่างดียิ่ง ระมัดระวัง ในเรื่องอาหารและออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่แล้วในปี พ.ศ. 2538 ท่านได้ลมป่วยลง และเข้ารับ การรักษาที่โรงพยาบาล ตลอดระยะเวลาที่อยู่โรงพยาบาลได้รับการดูแลเป็นอย่างดียิ่งจากนายแพทย์ ปรีดา พัวประดิษฐ นายแพทย์ยุทธพงษ์ หาญวงศ์ แพทย์หญิงวโรชา มหาชัย และนายแพทย์ชาญ เกียรติบุญศรี เมื่ออาการดีขึ้นแล้วได้กลับมา พักรักษาตัวที่บ้านอยู่อีกเป็นเวลา 6 ปี วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2545 ได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทย์ ได้รักษาจน อาการดีขึ้น แต่แล้วกลางดึกของคืนวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2545 การเต้นของหัวใจเริ่มผิดปกติและหลังจากคณะแพทย์ได้พยายามรักษา ตามเหตุและผลถึงที่สุดแล้วอาการไม่ดีขึ้น นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ถึงแก่อสัญกรรมอย่างสงบ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2545 เวลา 06.46 น. ท่ามกลางลูกหลานและกัลยาณมิตร สิริอายุได้ 94 ปี 8 เดือน 5 วัน

ประวัตินายป๋วย อึ๊งภากรณ์


นายป๋วย   อึ๊งภากรณ์  เกิดเมื่อวันที่ มีนาคม 2459  ที่ตลาดน้อย   กรุงเทพฯ  บิดาชื่อ นายซา เป็นชาวจีนอพยพเข้าเมืองไทย  มีอาชีพขายส่งปลา  มารดาชื่อ นางเซาะเช็ง  มีเชื้อไทย-จีน   ครอบครัวนายซาและนางเซาะเช็ง   มีบุตร คน ชาย คน และหญิง คน   นายป๋วยเป็นบุตรคนที่ 4
เมื่อนายป๋วยอายุ 10 ขวบ  บิดาได้ถึงแก่กรรม   จึงตกเป็นหน้าที่มารดาต้องเลี้ยงบุตรธิดาทั้งหมด   นายป๋วย เข้าศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกภาษาฝรั่งเศส ทำคะแนนได้ดีเยี่ยมในวิชาภาษาฝรั่งเศสและคณิตศาสตร์   เมื่อจบการศึกษาในปี 2475    นายป๋วยได้รับเลือกเป็นครูสอนหนังสือที่โรงเรียนอัสสัมชัญ   นายป๋วยเริ่มอาชีพครูเมื่ออายุ 17 ปี  ได้รับเงินเดือน 40 บาท (เสมียนพนักงานที่รับราชการสมัยนั้นได้รับเงินเดือนขั้นต้น 15 บาท) นายป๋วยแบ่งให้มารดาเดือนละ 30 บาท  และเก็บไว้ใช้ส่วนตัว 10 บาท
นายป๋วยเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง โดยยังเป็นครูอยู่และได้ปริญญาธรรมศาสตร์บัณฑิตปี 2480  จึงเริ่มอาชีพใหม่   โดยเป็นล่ามให้กับอาจารย์ฝรั่งเศสในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   ในปี 2481 เมื่อนายป๋วยอายุ 23 ปี ได้สอบแข่งขันและได้ทุนรัฐบาลไปศึกษาต่อทางเศรษฐศาสตร์และการคลังที่ London School of Economicsของมหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ   ได้ปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับหนึ่งในปี 2484  ทำให้ได้รับทุน Leverhulme Studentship เพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาเอกทันที
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง   นายป๋วย เข้าร่วมขบวนการเสรีไทยในประเทศอังกฤษ โดยอาสาสมัครเข้าทำงานใน British Army Pioneers Corps ทำงานติดต่อระหว่างไทยกับสัมพันธมิตรใช้ชื่อรหัสว่า "เข้ม" นายป๋วยเข้าประเทศไทยโดยกระโดดร่มลงที่ชัยนาทและถูกเจ้าหน้าที่จับกุมนำตัวส่งเข้ากรุงเทพฯ   งานสำคัญครั้งนี้คือ การติดต่อส่งข่าวทางวิทยุให้ฝ่ายสัมพันธมิตร   นายป๋วยได้ทำหน้าที่นี้จนถึงเดือนพฤษภาคม 2488   จึงได้รับอนุญาตให้กลับอังกฤษและได้รับการเลื่อนยศเป็นนายพันตรีแห่งกองทัพอังกฤษ
ณ ประเทศอังกฤษ   นายป๋วยได้เขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเกี่ยวกับการควบคุมดีบุก เริ่มเขียนปี 2489   และสอบปากเปล่าเสร็จปลายปี 2491   แต่มรสุมทางการเมืองทำให้เลื่อนเวลารับปริญญาเอกเป็นปี 2492   นายป๋วยได้แต่งงานกับนางสาวมาร์กาเร็ต สมิธ  มีบุตรชายรวม คน
นายป๋วยเข้ารับราชการในกรมบัญชีกลาง   กระทรวงการคลัง ในปี 2492   และดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารของสภาเศรษฐกิจแห่งชาติในปี 2496   เมื่อดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยอยู่ได้ เดือนเศษ   เนื่องจากไม่ยอมดำเนินนโยบายลู่ตามลมจึงต้องออกจากตำแหน่งนี้ไป   ในปี 2499 นายป๋วยต้องเผชิญกับอำนาจมืดและอิทธิพลทางการเมือง   ทำให้ต้องจากประเทศไทยไปรับตำแหน่งที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจการคลังประจำสถานเอกอัครราชทูตไทยในอังกฤษ   ระหว่างนี้ได้มีส่วนช่วยให้ไทยขายดีบุกและยางพาราแก่อังกฤษและประเทศยุโรปได้มากขึ้น   เมื่อไทยได้เข้าเป็นสมาชิกสภาดีบุกระหว่างประเทศ   นายป๋วยได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนประเทศไทยและได้รับเลือกเป็นประธานสภาดีบุกระหว่างประเทศในปี 2501-2502
ปี 2501   นายป๋วยได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ   ปลายปี 2502   ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย   อยู่ในตำแหน่ง 12 ปี โดยได้ขอลาออกหลายครั้งหลายคราแต่ไม่ได้รับอนุมัติ   นายป๋วยได้เสริมสร้างความมั่นคงให้เกิดแก่ระบบการธนาคารพาณิชย์ และสิ่งสำคัญกว่าอื่นใด คือ ได้ป้องกันนักการเมืองมิให้เข้าไปใช้อิทธิพลในการกำหนดนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย   ในปี 2504 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
นอกจากนี้ นายป๋วยยังดำรงตำแหน่งในหน่วยงานและคณะกรรมการที่สำคัญอีกหลายชุด ทำงานอุทิศตนให้แก่บ้านเมืองจนได้รับรางวัล รามอน แมกไซไซ ในปี 2508
นายป๋วยรับตำแหน่งคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี 2507 ได้ปฏิรูปงานสำคัญ ด้านคือ   การปรับปรุงหลักสูตรปริญญาตรี และการผลิตอาจารย์ ซึ่งเป็นผลให้จำนวนอาจารย์ประจำในคณะฯ   ซึ่งมีเพียง คน ในปี 2507 เพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 90 คน ในปีการศึกษา 2518  นอกจากนั้น ได้เริ่มหลักสูตรปริญญาโท ซึ่งสอนเป็นภาษาอังกฤษ และริเริ่มโครงการบัณฑิตอาสาสมัคร
สิ่งที่นายป๋วยย้ำอยู่เสมอคือ   ความเป็นธรรมในสังคม และเสรีภาพของประชาชน   นายป๋วยต้องการเห็นเมืองไทยเปลี่ยนแปลงโดยสันติวิธี   และยึดหลัก "ธรรมคืออำนาจ" มิใช่ "อำนาจคือธรรม"   ดังจะเห็นจากพฤติกรรมส่วนตัวและข้อเขียนในจดหมาย "นายเข้ม เย็นยิ่ง"   และบันทึกประชาธรรมโดยสันติวิธีจากข้อเขียนนั้น   ทำให้นายป๋วยต้องไปสอนหนังสือ ณ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ แต่ถึงกระนั้นเสียงข่มขู่เอาชีวิตก็ยังไปถึงประเทศอังกฤษ   จึงได้ลาออกจากคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และที่ปรึกษากระทรวงการคลังเมื่อเดือนสิงหาคม 2515  หลังตุลาคม 2516 นายป๋วยได้กลับมาเป็นอาจารย์พิเศษประจำคณะเศรษฐศาสตร์ และรับตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2518 ต่อมาเมื่อ 6 ตุลาคม 2519 นายป๋วยได้เผชิญกับมรสุมทางการเมืองอีกครั้ง   จึงไปพำนักอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ จนถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคเส้นโลหิตในช่องท้องแตก เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2542 สิริรวมอายุได้ 84 ปี เดือน 19 วัน
ตำแหน่งอื่น ๆ ในอดีต
1.  กรรมการ   คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2.  กรรมการบริหาร   คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
3.  กรรมการบริหาร   ธนาคารแห่งประเทศไทย
4.  ประธานกรรมการ   ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
5.  ประธานกรรมการ  มูลนิธิโกมล คีมทอง
6.  ประธานกรรมการ   มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
7.   นายกสมาคมเศรษฐศาสตร์แห่งประเทศไทย
8.   นายกสมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย
9.   ประธานโครงการบัณฑิตอาสาสมัคร   มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
10.  ผู้อำนวยการโครงการพัฒนาชนบทสมบูรณ์แบบระหว่างมหาวิทยาลัยลุ่มแม่น้ำแม่กลอง
11.  ผู้แทนถาวรไทย   และรองประธานคณะมนตรีดีบุกระหว่างประเทศ (International Tin Council)
12.  ผู้ว่าการกิตติมศักดิ์ International Development Research Centre (IDRC) นครออตตาวา ประเทศแคนาดา
13.  กรรมการ Board of Trustee, International Council for Educational Development นครนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา
14.  กรรมการ Board of Trustee, East-West Center มหาวิทยาลัยฮาวาย สหรัฐอเมริกา
15.  กรรมการ Board of Trustee, International Food Policy Research, กรุงวอชิงตัน  สหรัฐอเมริกา
16.  กรรมการ Board of Trustee, Asian Institute of Technology กรุงเทพฯ
17.  ผู้ว่าการ Asian Institute of Management กรุงมะนิลา  ประเทศฟิลิปปินส์
เกียรติประวัติทั่วไป
1.  ศาสตราจารย์   มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2.  สมาชิกกิตติมศักดิ์   สยามสมาคม
3.  สมาชิกกิตติมศักดิ์  London School of Economic and Politics  มหาวิทยาลัยลอนดอน
4.  ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์  Doctor of Letter  มหาวิทยาลัยสิงคโปร์ 2517
5.  รางวัลแมกไซไซ   สาขาบริการสาธารณะ  ประจำปี 2508
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
1.  Member of the British Empire (M.B.E.) 2489
2.  จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก  2493
3.  ตริตราภรณ์ช้างเผือก  2495
4.  ทวิติยาภรณ์มงกุฏไทย  2496
5.  ทวิติยาภรณ์ช้างเผือก  2497
6.  ประถมาภรณ์มงกุฏไทย  2500
7.  ประถมาภรณ์ช้างเผือก  2502
8.  ทุติยจุลจอมเกล้า  2504
9.  มหาวชิรมงกุฏไทย  2505
10.  มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก  2507
11.  ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ  2508
บทบาทอาจารย์ป๋วย ที่มีต่อธนาคารแห่งประเทศไทย
ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์   ได้เข้ามารับตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยที่ได้ชื่อว่าอยู่ในตำแหน่งนานที่สุด คือเป็นเวลาถึง 12 ปี   ระยะแรกท่านยังดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสำนักงบประมาณที่ตั้งขึ้นในปี 2502   ขึ้นตรงต่อสำนักนายกรัฐมนตรี และเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลังด้วย   ต่อมาก็รั้งตำแหน่งคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   ที่ปรึกษาคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน   และที่ปรึกษากระทรวงการคลัง   เนื่องจากต้องรับภาระในตำแหน่งหน้าที่ที่สำคัญหลายด้านในเวลาเดียวกัน   และเพื่อเปิดทางให้ผู้อื่นที่มีความสามารถได้มีโอกาสบริหารธนาคารกลางบ้าง   ท่านจึงลาออกจากตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ในปี 2514
ในช่วงเวลา 12 ปี ของท่านที่ธนาคารแห่งประเทศไทยนี้   นับว่าท่านได้มีส่วนร่วมอย่างมากในความสำเร็จของประเทศไทยที่ได้พัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการรักษาเสถียรภาพทางการเงิน กล่าวคือ ท่านมีบทบาทสำคัญในการร่างกฎหมายการเงิน การคลังในช่วงดังกล่าว   ตลอดจนการดำเนินงานด้านการเงินการคลัง และการพัฒนาเศรษฐกิจในช่วงแผนพัฒนาทั้งสองฉบับแรกมาโดยตลอด   ในการจัดตั้งองค์กรทางด้านเศรษฐกิจที่สำคัญ   ท่านได้มีส่วนร่วมในการจัดตั้งสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง   สำนักงบประมาณ   สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ   และคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน   สำหรับในด้านการพัฒนาประเทศในด้านอื่น ๆ ท่านก็เข้าไปมีบทบาทด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะในนโยบายกระจายรายได้ที่เป็นธรรม   ท่านได้กระตุ้นให้เกิดโครงการเร่งรัดพัฒนาชนบท และโครงการพัฒนาการศึกษาหลายโครงการ   ทางด้านการพัฒนาระบบการเงิน ดร.ป๋วยก็มีบทบาทสำคัญในการยกร่างพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505   ในการกำหนดค่าเสมอภาคของเงินบาทตามข้อกำหนดของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และในการพัฒนาตลาดทุน   ท่านเป็นผู้ริเริ่มให้มีการศึกษาการจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่เปิดดำเนินการในช่วงต่อมา
สำหรับงานบริหารภายในธนาคารแห่งประเทศไทยในช่วงดังกล่าว ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางสร้างสรรค์หลายประการ   ท่านเป็นผู้หลักดันให้มีการเปิดสาขาธนาคารในต่างจังหวัดทั้ง แห่ง ทั้งที่หาดใหญ่  ขอนแก่น   และลำปาง   เริ่มงานพิมพ์ธนบัตรในประเทศไทยเป็นครั้งแรก และมีการริเริ่มส่งนักเรียนทุนไปศึกษาต่างประเทศเป็นจำนวนมาก   ทางด้านความร่วมมือกับต่างประเทศก็นับว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยได้สร้างชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศเป็นอันมาก   การจัดตั้งศูนย์วิจัยและฝึกอบรมของกลุ่มธนาคารกลางในภูมิภาคเอเซียอาคเนย์ที่เรียกว่า SEACEN Centre เป็นผลงานอันน่าภาคภูมิใจที่เกิดจากแรงผลักดันของธนาคารแห่งประเทศไทยภายใต้การนำของท่านโดยแท้
ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย คือ 11 มิ.ย. 2502 ถึง 15 ส.ค. 2514