วันอังคาร, ตุลาคม 25, 2554

ชาวดัตช์รับมือน้ำท่วมหลัง Watersnoodramp


ชาวดัตช์รับมือน้ำท่วมหลัง Watersnoodramp

ชาวดัตช์รับมือน้ำท่วมหลัง Watersnoodramp

การรับมือกับเหตุน้ำท่วมโดยไม่ได้ตั้งตัวของเนเธอร์แลนด์เมื่อ 58 ปีที่แล้ว กลายเป็นความสูญเสียที่สร้างรอยแผลให้กับชาติจนวันนี้ ซึ่งชาวดัชต์ได้นำบทเรียนครั้งนั้นมาสู่แผนการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ ให้มนุษย์และน้ำสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ
ภาพชีวิตของแม่ลูกอ่อนที่ออกตามหาลูกชายวัยแบเบาะซึ่งติดอยู่ในบ้านระหว่างเหตุการณ์น้ำท่วมทะเลเหนือใน De Storm ผลงานภาพยนตร์ปี 2009 ถือเป็นสิ่งย้ำเตือนความทรงจำของชาวดัชต์ทุกคนถึงเหตุการณ์ Watersnoodramp อุทกภัยครั้งเลวร้ายที่สุดในศตววรรษที่ 20 ของเนเธอร์แลนด์เมื่อปี 1953 ที่ทำให้ชาติซึ่งพื้นที่ร้อยละ 25 ของอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการรับมือกับภัยธรรมชาติอย่างไม่เคยมีมาก่อน
ความรุนแรงของเหตุน้ำท่วมครั้งนั้นเป็นผลมาจากน้ำทะเลที่ขึ้นสูงผิดปกติและคลื่นชายฝั่งยกตัวสูงจากพายุเมื่อช่วงรุ่งสางอันหนาวเหน็บของวันที่ 1 กุมภาพันธ์ปี 1953 ในยุคนั้นสถานีพยากรณ์อากาศและสถานีวิทยุท้องถิ่นไม่เปิดทำการในตอนกลางคืน ทำให้ชาวเมืองชายฝั่งซึ่งมั่นใจในมาตรการรับมือของทางการต้องเผชิญชะตากรรมอย่างไม่ตั้งตัว ปริมาณน้ำที่สูงกว่า 16 ฟุตเข้าทำลายพื้นที่ในหลายประเทศของยุโรปทั้ง เนเธอร์แลนด์, เบลเยี่ยม, อังกฤษ และสก็อตแลนด์ ยอดผู้เสียชีวิตสูงถึง 1,835 ราย ประชาชนกว่า 70,000 คนต้องถูกอพยพ สัตว์กว่า 30,000 ตัวต้องจมน้ำตาย พื้นที่ร้อยละ 9 ของเนเธอแลนด์ต้องจมอยู่ใต้น้ำ อาคารบ้านเรือนเกือบ 50,000 หลังต้องเสียหายกว่า 10,000 หลังไม่อาจซ่อมแซมได้
บทเรียนของเนเธอร์แลนด์ครั้งนั้น กลายเป็นที่มาของโครงการ เดลตาเวิกส์ ที่ได้รับการยกย่องเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคปัจจุบัน กับแผนการปกป้องดินแดนทางตอนใต้ของประเทศจากน้ำทะเล ด้วยการสร้าง เขื่อน, คันดิน, คันกั้นน้ำ, ประตูปิดเปิดน้ำ และประตูระบายน้ำ รอบบริเวณปากแม่น้ำไรน์-เมิส-เชลดาซึ่งติดกับทะเลเหนือ หลังใช้เวลาก่อสร้างกว่าครึ่งศตวรรษ กำแพงกั้นคลื่นแห่งสุดท้ายก็ถูกเปิดใช้เมื่อปีที่ผ่านมา โดยความท้าทายของชาวดัชต์ในอนาคตคือระดับน้ำทะเลที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นกว่าหนึ่งเมตรในอีกร้อยปี และเกือบ 4 เมตรใน 2 ศตวรรษข้างหน้า
ทุกวันนี้ ที่เมืองเอาเวอร์เคิร์กหนึ่งในสถานที่ที่เผชิญกับภัยน้ำท่วมครั้งนั้น กลายเป็นสถานที่ตั้งของ Watersnoodmuseum หรือพิพิธภัณฑ์น้ำท่วม ที่ไม่เพียงย้ำเตือนความสูญเสียแก่คนรุ่นหลัง แต่ยังเสนอภาพการพลิกฟื้นของเมืองหลังน้ำท่วม และยังเป็นแหล่งเรียนรู้การบริหารจัดการน้ำด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อให้มนุษย์สามารถอยู่ร่วมกับสายน้ำได้อย่างเท่าทัน

เดลตาเวิกส์ (อังกฤษ: Delta Works) เป็นโครงการก่อสร้างชุดใหญ่ที่บริเวณปากแม่น้ำไรน์-เมิส-เชลดา ประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อกั้นการท่วมของน้ำทะเล โครงการประกอบไปด้วยการสร้างเขื่อน ประตูปิดเปิดน้ำ ที่กั้นเขื่อน การก่อสร้างเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 ถึงปี ค.ศ. 1997




มองวิกฤตน้ำท่วมกรุงปารีสผ่านภาพถ่าย-ภาพยนตร์


มองวิกฤตน้ำท่วมกรุงปารีสผ่านภาพถ่าย-ภาพยนตร์

ขณะที่สถานการณ์น้ำท่วมของบบ้านเรายังไม่คลี่คลาย เมื่อ 100 กว่าปีก่อน กรุงปารีสเคยประสบเหตุการณ์เดียวกัน และกลายเป็นสิ่งที่อยู่ในความทรงจำของผู้คน ผ่านบันทึกในภาพถ่าย และภาพยนตร์
เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ในปารีสเมื่อเดือนมกราคมปี 1910 กลายเป็นหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ที่ลืมไม่ได้ของกรุงปารีส เมื่อเมืองแห่งความรักต้องเผชิญกับน้ำเอ่อล้นสูงจากระดับปกติถึง 8 เมตรจากแม่น้ำแซนน์อย่างรวดเร็ว จนทำให้ทั่วเมืองจมอยู่ใต้น้ำยาวนานถึง 3 เดือน
เหตุผลสำคัญที่ทำให้วิกฤตน้ำท่วมในปี 1910 ยังคงอยู่ในความทรงจำของผู้คน คือเทคโนโลยีการถ่ายภาพที่เริ่มแพร่หลายในยุโรป ทำให้มีการบันทึกวิถีชีวิตของผู้คน และเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ กลายเป็นภาพโปสการ์ดขายดีในเวลาต่อมา โดยหนึ่งในอัลบั้มที่ถ่ายทอดอารมณ์ของเหตุการณ์ได้เป็นอย่างดี คือผลงานของ Piere Petit ซึ่งถ่ายภาพถนนต่างๆ รวมถึงสัญลักษณ์สำคัญอย่างหอไอเฟล วิหารนอเตรอดาม หรือพระราชวังแวร์ซายส์ โดยมีผืนน้ำอยู่เบื้องล่างแทนผู้คนพลุกพล่านที่เราคุ้นเคย
ความตื่นตัวจากเหตุการณ์น้ำท่วมกุรงปารีสที่ถือว่าร้ายแรงที่สุดในรอบ 250 ปี ยังรวมถึงการจัดทำสารคดีการรับมือกับน้ำท่วมที่ฉายเมื่อห้าปีก่อนในชื่อ Paris 2011: La grande inondation เล่าเรื่องเหตุการณ์สมมติว่ากรุงปารีสจะทำอย่างไร หากน้ำในแม่น้ำแซนน์เพิ่มระดับสูงรวดเร็วซ้ำรอยกับประวัติศาตร์ ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่างทีมภาพยนตร์ กับเจ้าหน้าที่รัฐในการให้ข้อมูลเรื่องมาตรการรับมือน้ำท่วม ที่แม้จะไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงเท่าปี 1910 เกิดขึ้นอีกเลย แต่จากความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลกในปัจจุบันมีความเป็นไปได้ว่าเหตุการณ์นี้อาจจะซ้ำรอยได้สักวัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น