วันพุธ, ตุลาคม 12, 2554
ทำไมคำในภาษาไทยต้องมีตัวการันต์
ตัวการันต์ คือ พยัญชนะที่มีเครื่องหมายฑัณฑฆาต กำกับอยู่ข้างบน ซึ่งทำให้ไม่ต้องอ่านออกเสียงพยัญชนะตัวนั้นตัวการันต์อาจอยู่กลางคำหรือท้ายคำก็ได้ และอาจไม่ต้องออกเสียงพยัญชนะหลายตัวก็ได้ คำที่มีตัวการันต์มักจะเป็นคำที่นำมาจากภาษาอื่น เช่น ภาษาบาลี – สันสกฤต ภาษาอังกฤษ เป็นต้น
อ่านต่อที่ http://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3956 ค่ะ หลักสังเกตในการอ่าน/เขียนตัวการรันต์
1. คำหลายพยางค์ที่ต้องการให้ออกเสียงน้อยลง ส่วนใหญ่จะเป็นคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต เช่นคำว่า ศิลป์ ประพันธ์ ฯลฯ
2. คำบางคำที่มาจากภาษาอื่น เมื่อต้องการจะรักษารูปเดิมให้การันต์ พยัญชนะตัวท้าย เช่นคำว่า เมล์ ไมค์ ฯลฯ
3. คำที่มีตัวสะกดและมีสระกำกับอยู่ คำใด และตัวสะกดที่มีสระกำกับอยู่ ไม่ต้องใช้ฑัณฑฆาต เช่น พยาธิ โลกนิติ สมมุติ ฯลฯ
4. คำที่ใช้ตัวการันต์สะกด แต่เวลาอ่านไม่ออกเสียง ใช้การันต์ในกรณีที่ไม่ออกเสียงพยัญชนะท้ายก็ไม่ต้องใส่เครื่องหมายฑัณฑฆาต เช่น จันทร์ พักต์ ศาสตร์ ฯลฯ
5. คำบางคำที่ใช้เป็นตัวสะกดซ้อน แม้จะไม่ออกเสียงพยัญชนะท้ายก็ไม่ต้องใส่เครื่องหมายทัณฑฆาต เช่น
มิตร จักร สมัคร ฯลฯ
6. คำสมาสจะไม่มีฑัณฑฆาตระหว่างคำ เช่น แพทยสมาคม มนุษยชาติ ฯลฯ
อย่างไรก็ตามผู้เรียนจะต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับคำที่มีตัวการรันต์ทั้งรูปคำ ที่มา ความหมายของคำให้ถูกต้อง แม่นยำสามารถนำไปใช้อ่าน เขียนในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น