บุญเพ็งหีบเหล็ก เป็นฉายาของนายบุญเพ็ง ซึ่งเป็นฆาตกรที่เหี้ยมโหดในสมัยรัชกาลที่ 6 บุญเพ็งเกิดในปีขาล ที่เมืองท่าอุเทน มณฑลอุดร บิดาเป็นชาวจีน ส่วนมารดาเป็นลาว (อดีตไทยภาคกลางยังเรียกคนจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือว่า ลาว) บุญเพ็งได้เข้ามาอยู่ในกรุงเทพมหานครตั้งแต่อายุ 5 ขวบ โดยอาศัยอยู่กับตาชื่อสุก และยายชื่อเพียร เดิมนายบุญเพ็งเป็นภิกษุจำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งหนึ่งในเมืองนนทบุรี เนื่องจากพระบุญเพ็งเป็นพระที่ลูกศิษย์ส่วนมากเป็นผู้หญิงและร่ำรวยจึงทำให้บุญเพ็งมีความสัมพันธ์ทางเพศกับผู้หญิงเหล่านี้ ต่อมาเกิดโลภมากในทรัพย์จึงได้ฆ่าสีกาที่เป็นเศรษฐินีเจ็ดคน แล้วนำศพยัดใส่หีบเหล็กแล้วถ่วงน้ำทุกครั้ง ผู้คนจึงเรียกเขาว่า บุญเพ็งหีบเหล็ก ต่อมาเขาถูกจับได้และประหารชีวิตในที่สุด โด
ยบุญเพ็งเป็นนักโทษประหารชีวิตคนสุดท้าย ที่ถูกสังหารโดยการตัดคอ (โดยเล่าลือว่าในตอนแรกขณะที่ประหารเพชฌฆาตไม่สามารถตัดคอบุญเพ็งได้เนื่องจากความแก่กล้าในคาถาอาคม) เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2462 ศพฝั่งอยู่ที่ป่าช้า และทำพิธีกรรมทางศาสนาที่วัดภาษี เขตวัฒนา ริมคลองแสนแสบ ปัจจุบัน มีศาลบูชาบุญเพ็ง ซึ่งบุคคลในวัดจะเรียกบุญเพ็งว่า "ลุงบุญเพ็ง" และยังเชื่อว่าหีบเหล็กทั้ง 7 ใบนั้นถูกฝังอยู่ใต้ศาลของบุญเพ็งที่วัด
เรื่องราวของบุญเพ็งถูกได้รับการนำมาถ่ายทอดเป็นละครวิทยุหลายครั้ง และสร้างเป็นภาพยนตร์ไทยโดยพยุง พยกุล ในปี พ.ศ. 2510 นำแสดงโดย แมน ธีระพล และ พ.ศ. 2523 นำแสดงโดยสมบัติ เมทะนี และปริศนา ชบาไพร และเป็นภาพยนตร์ซีดี นำแสดงโดย พร้อมพงษ์ นพฤทธิ์, ทัดทรวง มณีจันทร์, มรกต มณีฉาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น