วันเสาร์, ธันวาคม 14, 2556

“จาตุรนต์” พ่นพิษ นร.ทิ้งทวนยุบสภา ดันโอเน็ตถ่วงจบ “ป.6 ม.3 ม.6” เพิ่ม 50%

ศธ.ประกาศเพิ่มสัดส่วนใช้ O-Net 30% ถ่วงจบการศึกษา ป.6, ม.3 และ ม.6 ในปีการศึกษา 57 และเพิ่มเป็น 50% ในปี 58 “จาตุรนต์” ย้ำแม้อยู่ช่วงรักษาการงานทุกอย่างยังดำเนินการตามปกติ

“จาตุรนต์” พ่นพิษ นร.ทิ้งทวนยุบสภา ดันโอเน็ตถ่วงจบ “ป.6 ม.3 ม.6” เพิ่ม 50%

 วันนี้ (12 ธ.ค.) นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ตนได้ลงนามประกาศ ศธ.เรื่องการปรับสัดส่วนการใช้ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการตัดสินผลการเรียนของผู้ที่เรียนจบการศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 เมื่อวันที่ 4 ธ.ค.ที่ผ่านมา โดยประกาศดังกล่าวกำหนดให้ปีการศึกษา 2557 สถานศึกษาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ต้องใช้ผลการเรียนของผู้เรียนที่ประเมินโดยสถานศึกษาและผลการทดสอบ O-Net ในสัดส่วน 70:30 และในปีการศึกษา 2558 เป็นต้นไปให้ใช้ผลการเรียนของผู้เรียนที่ประเมินโดยสถานศึกษาและผลการทดสอบ O-Net ในสัดส่วน 50:50 ทั้งนี้ การใช้คะแนน O-Net เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการตัดสินผลการเรียนจะใช้กับนักเรียนที่มีการทดสอบ O-Net ได้แก่ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มัธยมศึกษาปีที่ 3 และมัธยมศึกษาปีที่ 6
       
       ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2555 ศธ.ได้ออกประกาศเรื่องการใช้ผลการทดสอบ O-Net เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการตัดสินผลการเรียนมาแล้ว โดยกำหนดให้ใช้สัดส่วน O-Net 20% โดยอาจปรับเพิ่มสัดส่วนได้ตามความเหมาะสม ดังนั้นเพื่อให้มีความเหมาะสมและเป็นไปตามลำดับขั้นตอนในการปรับสัดส่วนของแนวทางการใช้ผลการทดสอบ O-Net จึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 8 และมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการ ศธ.พ.ศ.2546 ที่จะยกเลิกประกาศฉบับเดิมและให้ใช้ประกาศ ศธ.ฉบับใหม่แทน โดยการปรับเพิ่มสัดส่วน O-Net นี้เสนอโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.)
       
       “ในระหว่างรักษาการ รมว.ศึกษาธิการ งานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการไปตามปกติ หลายเรื่องได้ดำเนินการคืบหน้าไปมาก เช่น เรื่องภาษาจีนและภาษาอังกฤษ อยู่ระหว่างสรุปและจะเตรียมการเพื่อประกาศนโยบายซึ่งต้องไปดูว่าจะสามารถประกาศได้หรือไม่แต่ตนเข้าใจว่าดำเนินการได้เพราะไม่ใช่การประเทศทางการเมือง ส่วนเรื่องการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ดำเนินการตามกระบวนการที่ได้วางไว้ การเปิดฟังความเห็นรายกลุ่มสาระและภาพรวม จะต้องใช้เวลาทำอีกพอสมควรแต่คาดว่าจะได้ข้อสรุบที่สำคัญทั้งหมดได้ก่อนมีคณะรัฐมนตรีใหม่เข้ารับหน้าที่ เพราะแม้จะเลือกตั้งเสร็จสิ้นแต่รัฐบาลยังต้องรักษาการต่อไป เพราะกว่าการประกาศผลการเลือกตั้งจะแล้วเสร็จ” นายจาตุรนต์ กล่าว

ประโยชน์ ... น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส

ทุกๆเดือน สาวๆก็มักจะมีปัญหากับการปวดประจำเดือนกันใช่มั้ยคะ ฉันเลยอยากแนะนำอาหารเสริมที่ช่วยลดอาการปวดประจำเดือน และยังมีประโยชน์อื่นๆอีกมากมาย ที่จะทำให้เราอยากได้มาครอบครองกันแน่ๆค่ะ



น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรสคืออะไร
พริมโรส (Primrose) มีถิ่นกำเนิดอยู่ในลาตินอเมริกา เป็นพืชในเขตหนาว ลำต้นสูง มีดอกสีเหลืองกลีบบาง ลักษณะของดอกจะเป็นก้านและดอกจะมีลักษณะแผ่กว้าง ในฝักของดอกพริมโรส (Primrose) จะมีเมล็ดสีน้ำตาล และมีน้ำมันชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส ออยส์ (Evening Primrose Oil) อยู่ในเมล็ด ซึ่งน้ำมันดังกล่าวนี้มีสารประกอบสำคัญ คือ กรดไขมันจำเป็นไม่อิ่มตัว (Essential Fatty Acid) ที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ ชนิดโอเมก้า 6 ได้แก่ กรดไลโนเลอิก (Linoleic - LA) และกรดแกมมาไลโนเลนิก (Gamma Linolenic acid – GLA) ซึ่งทำหน้าที่เป็นองค์ประกอบหลักของเยื่อหุ้มเซลล์ (Cell membrane) มีคุณสมบัติในการป้องกันการสูญเสียน้ำของเซลล์ผิวหนัง ผิวจึงคงความชุ่มชื่น สดใส เปล่งปลั่ง และมีน้ำมีนวล 

LA ใน น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส จะถูกร่างกายเปลี่ยนเป็น GLA โดยเอนไซม์ 6-Desaturase ซึ่ง GLA นี้เป็นสารตั้งต้นในกระบวนการสร้างพรอสตาแกลนดิน 1 (Prostaglandin E1 – PGE1) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีบทบาทช่วยให้ร่างกายเกิดความสบาย ตลอดจนป้องกันโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ อาทิ ช่วยลดการอักเสบ ป้องกันการอุดตันของหลอดเลือด ความดันดลหิตสูง บรรเทาอาการแทรกซ้อนจากโรค เบาหวาน และที่สำคัญที่สุด คือ รักษาอาการผิดปกติก่อนมีประจำเดือน




ประโยชน์ของน้ำมันอีฟนิ่งพริมโรสจากการที่ น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส อุดมไปด้วย GLA ทำให้มันมีคุณสมบัติที่ดีในการรักษา โดยจะเปลี่ยนรูปเป็น พรอสตาแกลนดิน ที่มีคุณสมบัติคล้ายฮอร์โมนในการช่วยให้หน้าที่ต่างๆ ในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น นอกจากนี้มันยังมีคุณสมบัติในการต้านอาการอักเสบที่ดีด้วย

น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรสต่ออาการปวดประจำเดือนและอาการก่อนและหลังประจำเดือน
อาการที่เกิดขึ้นร่วมกันกับการมีประจำเดือน อันได้แก่ อาการปวดศรีษะ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย วิงเวียนศรีษะ ปวดหลัง รวมถึงอาการคัดหน้าอก เป็นอาการที่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้หญิงเป็นอย่างมาก เป็นผลจากการบริโภคอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวมากเกินไป ทำให้ไขมันถูกเปลี่ยนเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจนเพิ่มมากขึ้นในเนื้อเยื่อมดลูก ส่งผลให้มดลูกบีบตัวมากกว่าปกติ ทำให้อาการปวดท้องในขณะที่มีประจำเดือนเกิดขึ้น นอกจากนี้กรดไขมันอิ่มตัวที่มากเกินไปจะทำให้ฮอร์โมนโปรแลคตินเพิ่มมากขึ้น ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้จะทำให้เกิดอาการคัดหน้าอก และทำให้เลือดออกมาก เป็นผลให้เพิ่มการบีบตัวของเลือดในมดลูก ทำให้มีอาการปวดประจำเดือนมากด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ฮอร์โมนโปรแลคตินยังทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น ปวดศรีษะ ปวดหลัง ปวดเมื่อยรวมถึงอาการอ่อนเพลียขณะมีประจำเดือน

การบริโภค น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส ซึ่งมีกรดแกมมา ไลโนเลนิก (GLA) สามารถช่วยลดอาการปวดประจำเดือน อาการก่อนและหลังประจำเดือน อาการคัดหน้าอก ลงได้ โดยต้องบริโภคทุกวัน ไม่ใช่บริโภคเฉพาะในขณะที่เป็นประจำเดือน เพราะร่างกายต้องการเวลาในการสร้างพรอสตาแกลนดิน 1(Prostaglandin E1 – PGE1) เพื่อให้ช่วยลดอาการปวดให้ลดลง

-น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส กับ โรคเยื่อบุมดลูกอยู่ผิดที่
ตามปกติ เยื่อบุมดลูกอยู่ในโพรงของมดลูกเป็นเนื้อเยื่อที่ตอบสนองต่อระดับของฮอร์โมนเพศเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน เมื่อถึงรอบเดือนเยื่อบุมดลูกจะหนาตัวขึ้น เพราะถูกฮอร์โมนเพศกระตุ้นแต่พอฮอร์โมนเพศลดระดับลง เยื่อบุมดลูกจะสลายตัวออกจากโพรงมดลูก หลุดออกมาเป็นประจำเดือนเมี่อออกมาหมดแล้ว และมีฮอร์โมนเพศมากระตุ้นอีก เยื่อบุมดลูกจะหนาขึ้นเหมือนเดิม และเมื่อระดับฮอร์โมนเพศลดลงก็จะออกมาเป็นประจำเดือนของเดือนถัดไป

แต่ในบางครั้งเยื่อบุมดลูกเกิดอยู่ผิดที่ กล่าวคือ ไม่อยู่ในโพรงมดลูก แต่กลับไปอยู่ที่ รังไข่บ้าง ช่องเชิงกรานบ้าง ดังนั้น เมื่อฮอร์โมนเพศมีระดับสูง เยื่อบุมดลูกที่อยู่ผิดที่จะหนาขึ้น และเมื่อระดับฮอร์โมนเพศลดลงก็จะออกมาเป็นเลือด แต่เลือดที่ออกมานี้จะระบายออกมาทางช่องคลอดเช่นเยื่อบุมดลูกที่อยู่ในโพรงมดลูกไม่ได้ เลือดที่ออกมาจะถูกขังอยู่เป็นถุงน้ำหรือซีสต์ ในรังไข่บ้าง ช่องเชิงกรานบ้าง ซึ่งถ้าก้อนมีขนาดใหญ่ก็อาจจะต้องทำการผ่าตัด ดังนั้นกรดไขมันจำเป็น ซึ่งก็คือ กรดแกมมา ไลโนเลนิก (GLA) ที่มีอยู่ในน้ำมันอีฟนิ่งพริมโรสจึงมีบทบาทต่อโรคเยื่อบุมดลูกอยู่ผิดที่เป็นอย่างมาก กล่าวคือ กรดแกมมา ไลโนเลนิก ถูกเอาไปสร้างพรอสตาแกลนดิน 1(Prostaglandin E1 – PGE1) สามารถบรรเทาอาการอักเสบของก้อนเนื้อได้ ทำให้อาการปวดลดลง

น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรสกับโรคไขข้ออักเสบ
ไขข้ออาจมีโอกาสอักเสบได้ เนื่องจากการใช้งาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อมือ ข้อนิ้ว ที่ทำงานหนัก แต่การซ่อมสร้างต้องกระทำอย่างรวดเร็ว เมื่อมีอายุมากขึ้น ความสามารถในการซ่อมสร้างอาการอักเสบของข้อต่างๆของร่างกายนั้นลดน้อยลง จึงเกิดอาการอักเสบและมีอาการปวดข้อในผู้สูงอายุได้ นอกจากนี้ยังมีโรคไขข้ออักเสบรูมาตอยด์ ซึ่งเป็นโรคไขข้ออักเสบหลายๆข้อทั่วร่างกาย เกิดจากภูมิต้านทานไวเกินและมาทำร้ายเนื้อเยื่อของไขข้อและเนื้อเยื่อรอบข้อ ในผู้ป่วยที่เป็นโรคไขข้ออักเสบรูมาตอยด์นี้ จะมีระดับพรอสตาแกลนดิน 1(Prostaglandin E1– PGE1) ที่รักษาอาการอักเสบต่ำมาก แต่มีระดับพรอสตาแกลนดิน 2 ที่ก่อให้เกิดอาการอักเสบและจ็บปวดมากกว่าปกติ

โดยปกติ การรักษาอาการอักเสบของข้อเป็นหน้าที่ของพรอสตาแกลนดิน 1 (Prostaglandin E1 – PGE1) ซึ่งมีอยู่ใน น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส จะทำหน้าที่คอยบรรเทาอาการอักเสบและอาการบวมรอบข้อลงได้ 

จากการศึกษาทดลองใช้ในผู้ป่วยเป็นเวลานาน 6 เดือน พบว่าผู้ป่วยที่รับประทาน น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส จะให้ผลลดอาการปวดและอักเสบตามไขข้อได้ดีกว่ายาหลอกอย่างชัดเจน

น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรสกับโรคเบาหวาน
น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส สามารถช่วยป้องกันอาการเซลประสาทถูกทำลายจากโรค เบาหวาน จากการวิจัยได้ชี้ให้เห็นว่า GLA ใน อีฟนิ่งพริมโรส สามารถช่วยป้องกันอาการดังกล่าวได้ และในบางรายยังสามารถทำให้เซลประสาทคืนกลับมาเหมือนเดิมได้ด้วย อาการปลายประสาทอักเสบ (neuropathy) นั้นจะพบได้บ่อยในผู้ป่วยโรค เบาหวาน จากการศึกษาที่นานนับปี มีผลวิจัยออกมาว่าอาการชาตามปลายประสาท อาการเจ็บปวดแปลบๆ และอาการสูญเสียความรู้สึกในผู้ป่วย เบาหวาน จะลดน้อยลงจากชัดเจนในรายที่รับประทาน น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส กว่าผู้ที่ไม่ได้รับประทาน

น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรสกับปัญหาโรคอื่นๆ
-น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส กับผื่นแพ้และกลากน้ำนม
ผู้ที่มีอาการของผื่นแพ้ โดยเฉพาะในเด็กที่เป็นกลากน้ำนม ร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนกรดไขมันโอเมก้า 6 ชนิดกรดไลโนเลอิก (Linoleic - LA) ให้เป็นกรดแกมมา ไลโนเลนิก (GLA) ได้ หรือถ้าเปลี่ยนได้ก็เปลี่ยนได้น้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เนื่องจากขาดเอนไซม์ในปฏิกิริยาชีวเคมีบางชนิด

หากเด็กจำเป็นต้องกินนมวัวและทำให้เกิดกลากน้ำนม เนื่องจากในนมวัวมีกรดไขมันชนิด กรดไลโนเลอิก (Linoleic - LA) ซึ่งเด็กส่วนหนึ่งไม่มีเอนไซม์บางตัว จึงไม่สามารถเปลี่ยนกรดไขมันดังกล่าวให้เป็นพรอสตาแกลนดิน 1(Prostaglandin E1 – PGE1) แบบนมแม่ได้ จึงเกิดอาการแพ้ขึ้น ดังนั้น น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส จึงช่วยลดอาการแพ้นี้ได้ โดยการทาที่ผิวหนังเพื่อให้น้ำมันซึมผ่านเข้าไป

-น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส กับผิวพรรณ
ช่วยบำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื่น ปรับสภาพผิวที่แห้งกร้านให้กลับดูนุ่มนวลสดใส ลดริ้วรอยและความหมองคล้ำของผิวพรรณ ช่วยลดการเกิดสิวอุดตัน ตลอดจนช่วยรักษาอาการผิดปกติทางผิวหนัง เช่น ผิวหนังแห้ง รวมถึงอาการผมร่วง มีรังแค และเล็บเปราะได้

นอกจากนี้ยังช่วยรักษาอาการโรคเรื้อนกวาง (eczema) ซึ่งทำให้ผู้ป่วยโรคนี้มีอาการลดลงสามารถปริมาณการใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ลงไป

-น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส กับ โรคความดันโลหิตสูง
โรคของหลอดเลือดอันเกิดจากไขมันในเลือดสูง ทำให้หลอดเลือดแข็งตัวและเสียความยืดหยุ่น แรงดันเลือดในหลอดเลือดเพิ่มสูงขึ้นจากความแข็งของเลือด อันเป็นสาเหตุสำคัญของโรคความดันโลหิตสูง การที่หลอดเลือดเพิ่มแรงต้านทานในการไหลของหลอดเลือดจะส่งผลกระทบต่อหัวใจ กล่าวคือ จะต้องออกแรงบีบไล่เลือดไปตามหลอดเลือดที่แข็งตัวแรงกว่าเดิม เป็นเหตุให้ความดันโลหิตเพิ่มตาม

กรดไขมันจำเป็น คือ กรดแกมมา ไลโนเลนิก (GLA) ใน น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรสสามารถลดความดันโลหิตลงได้

-น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส กับ โรคหัวใจ
โรคหัวใจ เกิดจากไขมันในเลือดสูง ทำให้เกิดการอุดตันในหลอดเลือด หลอดเลือดมีขนาดรูแคบลง ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอและเกิดอาการแน่นหน้าอก ปวดในหน้าอก จนกระทั่งหัวใจวายได้ใน น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส มีกรดโอเมก้า 6 ช่วยป้องกันไม่ให้เลือดจับตัวกันเป็นก้อน ป้องกันไม่ให้เกิดตะกอนของไขมันในหลอดเลือด และป้องกันโรคหัวใจได้

-น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส กับ โรคไต
ผู้ป่วยที่ป่วยเป็น โรคไต บางรายที่กินยาบางตัว หรือได้รับสารพิษบางตัว ซึ่งสารเคมีดังกล่าว มักจะไปยับยั้งการสร้างฮอร์โมนพรอสตาแกลนดิน 1 (Prostaglandin E1 – PGE1) แล้วทำให้ไตเสียตามมา การบริโภคกรดไขมันจำเป็นโอเมก้า 6 ชนิด GLA จะสามารถถนอมรักษาไตให้คงสภาพปกติได้นานเนื่องจากการบริโภคน้ำมันอีฟนิ่งพริมโรสเข้าไป จะทำให้ร่างกายสร้างฮอร์โมนพรอสตาแกลนดิน 1 (Prostaglandin E1 – PGE1) ได้มากขึ้น ส่งผลให้สามารถแก้ไขความเสียหายของไตที่เกิดขึ้นให้กลับคืนสู่ปกติได้

-น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส กับ โรคจิตใจ
โรคจิตเภท (Schizophrenia) เกิดขึ้น เนื่องจากมีความผิดปกติทางชีวเคมีในสมองของผู้ป่วย ทำให้เกิดอาการทางสมอง คือ ควบคุมตนเองไม่ได้ ซึมเศร้า ทำอะไรไม่รู้ตัว ประสาทหลอน ซึ่งอาการดังกล่าวนักวิทยาศาสตร์คาดว่า อาจเป็นเพราะร่างการขาดกรดไขมันจำเป็น ชนิด กรดแกมมา ไลโนเลนิก (GLA) และมีฮอร์โมนพรอสตาแกลนดิน 1 (Prostaglandin E1 – PGE1) ไม่เพียงพอรวมทั้งยังมีกรดไขมันจำเป็นชนิด กรดไลโนเลอิก (Linoleic - LA) น้อยกว่าปกติ ดังนั้น การบริโภค น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส จะทำให้เพิ่มกรดไขมันจำเป็น ส่งผลให้ลดอาการทางจิตใจได้

-น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส กับ โรคอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์ เป็นโรคความจำเสื่อม มักจะเกิดกับผู้สูงอายุ มีอาการหลงลืม โดยสูญเสียความทรงจำเกี่ยวกับปัจจุบันไป แต่สามารถจำอดีตได้ การที่ผู้สูงอายุสูญเสียความทรงจำไปนี้เพราะขาดกรดไขมันจำเป็น ผลก็คือ เม็ดเลือดแดงจะมีเยื่อหุ้มเซลล์แข็งขึ้นกว่าเดิม ทำให้จับออกซิเจนได้ลดลง เป็นผลให้สมองได้รับเลือดไปเลี้ยงน้อยกว่าปกติ จึงเกิดอาการหลงลืม การบริโภค น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส เข้าไป สามารถเพิ่มกรดแกมมา ไลโนเลนิก (GLA) จะทำให้เม็ดเลือดแดงกลับคืนสู่สภาพปกติ กล่าวคือ สมองได้รับออกซิเจนไปเลี้ยงเพิ่มมากขึ้น อาการดังกล่าวข้างต้นก็จะทุเลาลง

-น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส กับ โรค ไข้หวัด
หลังจากการติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัด ร่างกายจะอ่อนเพลียเสมอ ทั้งนี้เพราะการติดเชื้อหวัดจะกระทบต่อการดูดซึมกรดไขมันจำเป็นชนิดกรดไลโนเลอิก (Linoleic - LA) เข้าสู่ร่างกาย อีกทั้งยังยับยั้งการเปลี่ยนกรดไลโนเลอิก (Linoleic - LA) ไม่ให้เป็นกรดแกมมา ไลโนเลนิก (GLA) อีกด้วย
ในขณะที่เป็นหวัด ร่างกายจึงขาดกรดไขมันในกลุ่มโอเมก้า 6 อย่างรุนแรงทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามเนื้อตัว และเกิดอาการอ่อนเพลียอย่างรุนแรง ซึ่งการบริโภค น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส จะสามารถบรรเทาอาการหวัดลงได้

-น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส กับ โรคตับเรื้อรัง
ผู้ป่วยโรคตับเรื้อรัง จะมีกรดไขมันจำเป็นในเลือดผิดปกติ โดยมีกรดชนิด กรดไลโนเลอิก (Linoleic - LA) สูงผิดปกติ แต่เมตาโบไลต์ชนิดอื่นในปฏิกิริยาเคมีอยู่ในระดับต่ำ แสดงว่าร่างกายของผู้ป่วยโรคตับเรื้อรังไม่สามารถเปลี่ยน กรดไลโนเลอิก (Linoleic - LA) ให้กลายเป็นกรดแกมมา ไลโนเลนิก (GLA) ดังนั้นฮอร์โมนพรอสตาแกลนดิน 1 (Prostaglandin E1 – PGE1) จึงมีระดับต่ำ ทำให้โรคตับมีอาการกำเริบขึ้น เพราะภูมิต้านทานจะต่ำลง อาการอักเสบมีมากขึ้น เม็ดเลือดขาวทำงานไม่ดี การบริโภค น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส จะสามารถบรรเทาอาการโรคตับลงได้

ปริมาณที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน
ปริมาณที่แนะนำของจำนวนของกรดไขมัน GLA ที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันนั้น คือ 240 มิลลิกรัมต่อวัน ดังนั้นปริมาณที่แนะนำของ น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส สำหรับรักษาอาการต่างคือ รับประทานครั้งละ 1,000 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง ซึ่งจะเทียบเท่ากับปริมาณ GLA 240 มิลลิกรัมตามที่ต้องต่อวัน

สำหรับผู้ป่วย เบาหวาน: ปริมาณที่แนะนำให้รับประทานคือ ครั้งละ 1,000 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง ร่วมกับรับประทาน น้ำมันปลา (Fish Oil) อีกครั้งละ 1,000 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง

ข้อแนะนำในการรับประทาน

-รับประทาน น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส พร้อมอาหารเพื่อลดอาการข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้น

-เพื่อให้ได้ผลดีในการใช้ในการรักษาอาการปวดประจำเดือน ดังนั้นเพื่อให้ น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส เปลี่ยนเป็น GLA ได้ดีควรรับประทานร่วมกับ Multivitamin (ควรจะประกอบไปด้วย zinc, vitamin C, vitamin B-complex vitamins และ magnesium)

-ในรายที่ต้องการผลด้าน ผิวหนัง ผม และเล็บ อาจจะต้องใช้เวลา 2-6 เดือนกว่าจะเห็นผล

อาการข้างเคียง
ถึงแม้ว่า น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส จะให้คุณประโยชน์ มากมาย แต่สำหรับผู้บริโภคบางรายที่รับประทานเข้าไปแล้ว อาจจะเกิดอาการข้างเคียงได้ อาทิ

-อาการคลื่นไส้ ท้องอืดเฟ้อ

-อาการปวดศรีษะ

-อาการผื่นแพ้

-อาการลมชักกำเริบ

ในยุคปัจจุบันนี้ ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะบริโภคกรดไขมันอิ่มตัวจากการกินเนื้อสัตว์ นม ช็อกโกแลตมากเกินไป จนกระทั่งกรดไขมันอิ่มตัวเข้าไปแทนที่กรดไขมันจำเป็น ทำให้ร่างกายได้รับกรดไขมันจำเป็นชนิดโอเมก้า 6 ไม่เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายอยู่ในสภาวะที่สมดุล และช่วยป้องกันและบรรเทาอาการของโรคต่างๆ ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ดังนั้นจึงควรบริโภค น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส เพื่อให้ร่างกายเปลี่ยน กรดไลโนเลอิก (Linoleic - LA) เป็น กรดแกมมา ไลโนเลนิก (GLA) ทำให้ร่างกายมีสุขภาพดีในที่สุด 

ยูเนสโก ยกย่อง “ร.7-พระศรีพัชรินทราฯ-หม่อมงามจิตต์” เป็นบุคคลสำคัญของโลกปี 56

ยูเนสโก ยกย่อง “ร.7-พระศรีพัชรินทราฯ-หม่อมงามจิตต์” เป็นบุคคลสำคัญของโลกปี 56

ปลัดศธ.เผยยูเนสโก ยกย่อง ร.7-พระศรีพัชรินทราฯ-หม่อมงามจิตต์ เป็นบุคคลสำคัญระดับโลกที่ทำคุณงามความดีและทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติอย่างรวมถึงมีคุณูปการต่อการศึกษา 

วันนี้ (21 พ.ย.) นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมสมัยสามัญขององค์การ การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ครั้งที่ 37 ณ สำนักงานใหญ่ UNESCO กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้ประกาศยกย่องบุคคลสำคัญของโลกและร่วมเฉลิมฉลองประจำปี 2556 ซึ่งในส่วนของประเทศไทยได้รับการยกย่องบุคคลสำคัญของโลกและร่วมเฉลิมฉลองตามที่มีหน่วยงานเสนอพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย และเสนอชื่อผู้ที่มีผลงานดีเด่นให้ยูเนสโก ดังนี้ 1.พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เสนอโดยสถาบันพระปกเกล้า เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี ในการประกอบพระราชกรณียกิจในประเทศไทย หลังจากเสด็จฯกลับจากการศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2457 และเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสวันพระราชสมภพครบรอบ 10 ปีนักษัตร ในวันที่ 8 พฤศจิกายนนี้ ในฐานะที่ทรงมีผลงานดีเด่นด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ และสื่อสารมวลชน 2.สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ เสนอโดยราชินีมูลนิธิ เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสวันพระราชสมภพครบ 150 ปี วันที่ 1 มกราคม 2556 ในฐานะที่ทรงมีผลงานดีเด่นด้านการศึกษาสำหรับเด็กหญิงและสตรี การศึกษาด้านสาธารณสุขศาสตร์ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ประยุกต์ และสังคมและมนุษย์ศาสตร์ และ 3.หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร เสนอโดยมูลนิธิอนุสรณ์หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร เพื่อฉลองครบรอบ 100 ปีชาตกาล ในปี พ.ศ.2558 เนื่องจากเป็นผู้มีผลงานดีเด่นด้านสังคมสงเคราะห์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาชุมชน และการศึกษาด้านวัฒนธรรม
       
        นางสุทธศรี กล่าวต่อว่า บุคคลดีเด่นทั้งของไทยที่ยูเนสโกยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญระดับโลกมีคุณงามความดีที่ทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติอย่างมาก และมีคุณูปการต่อการศึกษาไทยด้วย ส่วนการร่วมเฉลิมฉลองบุคคลดีเด่นในธรรมเนียมปฏิบัติที่ผ่านมา ศธ.จะร่วมกับผู้เสนอจัดงานเฉลิมฉลอง โดยตนได้มอบเป็นนโยบายให้หารือกับหน่วยงานที่เสนอว่าหากจะจัดเฉลิมฉลองพร้อมกันทั้งสามท่านจะได้หรือไม่ แต่ที่ผ่านมาแต่ละหน่วยงานจะไปจัดเฉลิมฉลอง และ ศธ.จะเข้าไปร่วมด้วย ซึ่ง ศธ.จะประสานไปยัง 3 หน่วยงานเพื่อร่วมเฉลิมฉลองด้วย

วันพุธ, พฤศจิกายน 27, 2556

วรรคทองจากวรรณกรรม

“วรรคทองจากวรรณกรรม”

“ณ ที่ใดดวงใจไม่ไหวหวั่น
ขอฝ่าฟันอุปสรรค และขวากหนาม
ถึงสิ้นชาติวาสนาชะตาทราม
จะฝากนามให้โลกรู้กูก็ชาย !
เพชรพระอุมา. พนมเทียน
“เวลา...
บินลี้หนีหน้าไป
ความสุขโผผิน จากถิ่นไกล
คนเคยซึ้งคนร่วมใจ ไม่กลับคืน”
คำมั่นสัญญา. ทมยันตี. หน้า ๒๒๘
โลกนี้...เป็นของเราเพียงครึ่งเดียว
หาก...ในโลกหน้า...
ชลันดายังยิ้มแย้ม จะแปลกอะไรถ้าเธอจะเป็นฝ่ายไปรอพี่รินเสียบ้าง เธอจะรออย่างอดทน เพราะในโลกนี้พี่รินอดทนเพื่อเธอมามากมาย     
คำมั่นสัญญา. ทมยันตี. หน้า ๓๗๘
“ในทุกครั้งที่เราจะเลือกซื้อของเรายังต้องเลือก เลือกเอาสิ่งที่ดีที่สุดที่เราต้องการ และอยู่ในฐานะซื้อได้ ความรักก็เหมือนกัน...ต้องการเลือกเฟ้น...”
รัศมีแข. พนมเทียน. หน้า ๙๓๒
“ผู้ชายจะมีนิสัยกะล่อนตลบตะแลง โป้ปดมดเท็จเหมือนกันทุกคนไหมหนอ และก็ผู้หญิง จะต้องเป็นฝ่ายที่โง่กว่าเสมอไปไหมหนอ”
รัศมีแข. พนมเทียน. หน้า ๙๘๑
ความจริงของคนคนหนึ่งไม่ใช่ความจริงของคนทั้งหมด
อยู่กับก๋ง. หยกบูรพา. หน้า ๓๐
ฉันไม่เคยริษยาใครก็เพราะได้เรียนรู้จากก๋งว่า คนเราเมื่อเกิดมาต่างสิ่งแวดล้อม ต่างโอกาสและฐานะ องค์ประกอบของชีวิตก็ต้องแผกกันออกไป
อยู่กับก๋ง. หยกบูรพา. หน้า ๗๒
“สิ่งที่เห็นเมื่อวานนี้หรือวันนี้ พอถึงวันรุ่งขึ้นมันก็จะเปลี่ยนไป เพียงแต่ช้าหรือเร็ว เพียงบางส่วนหรือโดยสิ้นเชิงเท่านั้นเอง ไม่มีใครจะเหนี่ยวรั้งความเปลี่ยนแปลงไปได้หรอก...”
อยู่กับก๋ง. หยกบูรพา. หน้า ๑๕๙
“แต่เราก็ขยันขันแข็ง ใช้เงินเป็นระเบียบ ทำไมเราถึงยังยากจนอยู่ละก๋ง”
“หยกเคยปลูกต้นไม้ไหม...ถ้าปลูกต้นไม้เล็กคนปลูกก็ไม่เหนื่อย แต่ร่มเงาที่จะได้จากต้นไม้ที่ปลูกนั้นมันก็ย่อมไม่กว้าง”
อยู่กับก๋ง. หยกบูรพา. หน้า ๑๙๐
“ขี้ข้า” คำนี้มีความหมายกว้างและไกลเพียงไรหนอ...ถ้าการทำงานให้กับคนอื่น หรือการเอาหยาดเหงื่อแรงกายเข้าแลกเงินตราเพื่อแปรเป็นอาหารและปัจจัยยังชีพอื่นๆ หมายถึงการเป็น “ขี้ข้า” แล้ว ในโลกนี้ก็ต้องเต็มไปด้วยขี้ข้า ไม่มีใครเป็น “นาย” ที่แท้จริงไปได้เลย เพราะทุกคนต่างก็ต้องทำงานด้วยกันทั้งนั้น เพียงแต่งานที่ทำนั้นเหมือนหรือต่างกันออกไป
อยู่กับก๋ง. หยกบูรพา. หน้า ๒๔๕

วรรคทองจากวรรณกรรมเหล่านี้ เป็นงานในวิชาภาษาไทยของดิฉัน ดิฉันจึงนำงานชิ้นนี้มาเผยแพร่ค่ะ หวังว่าทุกท่านจะสนใจวรรคทองเหล่านี้และไปอ่านวรรคทองต่อ ในหนังสือกันนะคะ

วันจันทร์, พฤศจิกายน 18, 2556

The Commonwealth

The Commonwealth
The Commonwealth is one of the world’s oldest political association of states. 
Its roots go back to the British Empire when some countries were ruled directly or indirectly by Britain. Some of these countries became self-governing while retaining Britain’s monarch as Head of State. They formed the British Commonwealth of Nations. 
In 1949 the association we know today – The Commonwealth – came into being. 
In that year India became a republic but still wished to remain a member of the association. In response, leaders agreed that membership did not have to be based on allegiance to the British Crown. Commonwealth members were “free and equal members of the Commonwealth of Nations, freely co-operating in the pursuit of peace, liberty and progress” - The London Declaration 1949. 
Since then, independent countries from Africa, the Americas, Asia, Europe and the Pacific have joined The Commonwealth. 
The last two countries to join The Commonwealth - Rwanda and Mozambique - have no historical ties to the British Empire.

Head of the Commonwealth

HM Queen Elizabeth II is Head of the Commonwealth. 
The Head of The Commonwealth’s role includes a number of symbolic functions. 
There is no maximum fixed term for the Head of The Commonwealth. The choice of successive Heads will be made collectively by Commonwealth leaders.

Commonwealth Secretary-General

Kamalesh Sharma is the Commonwealth Secretary-General. Mr Sharma was formerly India’s High Commissioner to the United Kingdom. In that role he served as a member of the Board of Governors of the Commonwealth Secretariat and the Commonwealth Foundation.

The Secretary-General is responsible for representing The Commonwealth publicly and for the management of the Commonwealth Secretariat.
The Secretary-General is nominated by Commonwealth leaders and can serve a maximum of two four-year terms.

Commonwealth Deputy Secretary-General

Mmasekgoa Masire-Mwamba is the Commonwealth Deputy Secretary-General. Mrs Masire-Mwamba was formerly the Chief Executive Officer of Botswana's Investment Promotion Agency.
The Deputy Secretary-General supports the Secretary-General in the management and executive direction of the Commonwealth Secretariat.

Commonwealth Ministerial Action Group

The Commonwealth Ministerial Action Group (CMAG) deals with serious or persistent violations of Commonwealth political values and can recommend measures for collective action. 
CMAG can also consider situations of concern in member countries in a proactive, engaged and positive manner.
Its authority to suspend or even recommend to Commonwealth leaders that a member country be expelled is unparalleled by other international organisations. 
The Group is convened by the Commonwealth Secretary-General and is made up of a representative of the Commonwealth’s Chair-in-Office and foreign ministers from eight countries - who serve a two-year term.

Board of Governors

The Board of Governors approves the Commonwealth Secretariat’s work plans and budgets. All member governments are represented on the Board of Governors, which meets annually.

Commonwealth Chair-in-Office

Prime Minister Tony Abbott of Australia is the current Commonwealth Chair-in-Office.
The Chair-in-Office is the leader of the Commonwealth country that hosts a Commonwealth Heads of Government Meeting (CHOGM). The two-year role comes into effect at the start of the CHOGM.
The Chair-in-Office voices Commonwealth positions at high-level international forums and reinforces the Good Offices role of the Commonwealth Secretary-General. The term ‘Good Offices’ refers to conflict prevention and resolution work carried out in Commonwealth countries.
Member
Fifty-three countries are members of The Commonwealth. Our countries span Africa, Asia, the Americas, Europe and the Pacific and are diverse – they are amongst the world’s largest, smallest, richest and poorest countries. Thirty-two of our members are classified as small states – countries with a population size of 1.5million people or less and larger member states that share similar characteristics with them. 
All members subscribe to The Commonwealth’s values and principles outlined in The Commonwealth Charter.
Leaders of member countries shape Commonwealth policies and priorities. Every two years, they meet to discuss issues affecting the Commonwealth and the wider world at the Commonwealth Heads of Government Meeting (CHOGM).  
All members have an equal say – regardless of size or economic stature. This ensures even the smallest member countries have a voice in shaping The Commonwealth.

Countries by region


วันอังคาร, พฤศจิกายน 12, 2556

France’s Top 10 Châteaux in Loire Valley


France’s Top 10 Châteaux in Loire Valley



Joyeuse fête nationale! Today France celebrates 14th July Bastille Day – the storming of the prison during the French Revolution. The Monarchy may be no more but French glory and history still lives on… in their most sublime and breathtaking châteaux. Frog took me to the Loire Valley to visit the famous châteaux and it was my most memorable trip of France. Enjoy my top 10 châteaux to visit in the Vallee de la Loire!

1. CHATEAU DE CHENONCEAU:

My absolute favorite château in the whole of France because of its beauty and history. Having read the biographies of Catherine de Medici and Diane de Poitiers, this château is nicknamed the “Château des Dames” because King Henry II gave this castle to his mistress Diane de Poitiers, but when he died, his wife, the Queen Catherine de Medici threw out Diane and installed herself there. Everywhere you’ll see the symbols HDC, originally it was H and D entwined and after the King’s death Catherine added her initial C. A must visit!

2. CHATEAU DE CHAMBORD:

Built as a hunting lodge for François I, Château de Chambord is one of the finest examples of the Renaissance architecture in France. It took over 30 years to build during the 16th century. To me, it’s one of the most extravagant châteaux with elaborate rooftop of 800 sculpted columns and over 440 rooms and 85 staircases, making it the largest château in the Loire Valley.


3. CHATEAU D’AZAY-LE-RIDEAU:

Built in the reign of King Francois I (where architecture and arts truly flourished during this Renaissance period), Chateau Azay-le-Rideau is a small and charmingly romantic castle with Italian style architecture. It is hard to believe that it was a defensive fortress in times past because of its beauty.

4. CHATEAU DE CHAUMONT:

Built on the 10th century remnants of a fortress built to protect Blois, the Chateau de Chaumont was built in the years between 1465 and 1510 by Charles I and Charles II d’Amboise. The Château de Chaumont was purchased by Catherine de Medici a year after Henry II’s death. There she entertained numerous astrologers, among them Nostradamus. In 1559 she forced Diane de Poitiers to exchange the Château de Chenonceau for the Château de Chaumont.

5. CHATEAU D’USSE

The Chateau d’Ussé is where Charles Perrault the author of Sleeping Beauty (La Belle au Bois Dormant) was inspired to use this castle as Sleeping Beauty’s castle and later on in Disney- and it’s beautiful. Located on the edge of the Chinon Forest overlooking the Indre River, the chateau sits atop the bank along the river and has terraced gardens.

6. CHATEAU DE VILLANDRY

For those who have a passion for gardens, then Chateau de Villandry is for you as it has the most spectacular gardens! Completed in 1536, the chateau was built in a Renaissance style by Jean le Breton, one of François I’s Finance Ministers. Frog and I had a lovely stroll in the gardens.

7. CHATEAU DE BLOIS:

The Château de Blois sits right at the Blois’ city center. The wings and buildings were built between the 13th and 17th century and they surround a lovely central courtyard. The François I wing houses the chateau’s most famous feature – a spiral staircase. The chateau was the location where the Archbishop of Reims blessed Joan of Arc before her march on Orleans in 1429 and has also served as the residence of many French kings.

8. CHATEAU DE CHEVERNY

Chateau de Cheverny was built the chateau between 1624 and 1630 by Philippe Hurault. Renowned for its exquisite interior which was renovated in 1768, the chateau holds a large collection of tapestries, furniture and artwork.

9. CLOS LUCE

Not exactly a castle,  but Clos Luce mansion is connected by an underground tunnel to the castle in Amboise and is where Leonardo Da Vinci lived and worked during the last years of his life. He died in 1519 in his upstairs bedroom. Leonardo was brought to Amboise by King François I who resided in the nearby castle. Here you can walk through Da Vinci’s crazy early inventions recreated by engineers according to his drawings located in the garden and his basement.

10. CHATEAU D’AMBOISE

Dating back to the 11th century, this was taken by the French King Charles VII in the mid-15th century and became a royal palace. François I based his court here and he invited Leonardo da Vinci to move to Amboise (Clos Luce above).