"ฉันได้มาถึง ฉันได้มาเห็นแล้ว และฉันก็ได้ชัยชนะ"
"I came, I saw, I conquered"
"I came, I saw, I conquered"
จูเลียส ซีซาร์ มีชื่อเต็มว่า เคอุส จูเลียส ซีซาร์ เกิดในโรม เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม เมื่อ 100 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในตระกูลขุนนางเก่าแก่ตระกูลหนึ่ง ตั้งแต่เด็กมา เขาไม่เคยมีความคิดที่จะเป็นทหารเลย แม้ว่าเขาจะขอเข้าฝึกหัดอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง เขาตั้งใจที่จะเป็นทนายความและนักกฎหมาย ซึ่งเป็นอาชีพที่ขึ้นหน้าขึ้นตาอาชีพหนึ่งในสมัยนั้น
การดำเนินชีวิตของเขาในตอนแรกไม่ค่อยราบรื่นนัก บิดาของเขาเสียชีวิตตั้งแต่เขาอายุยังน้อย เขาเริ่มหาเลี้ยงตนเองโดยการทำงานในวัดแห่งหนึ่งตั้งแต่อายุได้ 15 ปี เขาเป็นคนที่มีศัตรูรอบข้างและต้องย้ายที่อยู่บ่อยๆ เพื่อหลบหนีผู้ที่ปองร้ายเขา
จูเลียส ซีซาร์ ได้ชื่อว่ามีความเก่งกาจทางด้านการทหารเป็นอย่างยิ่ง เมื่ออายุได้ 12 ปี เขาได้รับเหรียญกล้าหาญในการรบที่เมือง มีชลีน ในระยะสิบปีแห่งการทำสงคราม ซีซาร์สามารถตีชนะประเทศต่างๆ ถึง 300 ประเทศ ได้เมืองต่างๆ ไว้ในอำนาจถึง 800 เมือง และกวาดต้อนผู้คนมาเป็นทาสได้ถึง 1,000,000 คน เขาได้ครองตำแหน่งสำคัญๆ หลายตำแหน่งในกรุงโรม ได้แก่ ผู้พิทักษ์ (Tribune) เป็นนายคลังใหญ่ เป็นหัวหน้าโยธาธิการ และเป็นประมุขของศาสนาจารย์ ซึ่งในตำแหน่งนี้ ซีซาร์ได้ปฏิรูปปฏิทินเสียใหม่ ให้ 1 ปีมี 365 วัน ทุก 4 ปีเพิ่มวันขึ้นอีก 1 วัน ทั้งนี้เพื่อคำนวณวันกำหนดพิธีการได้อย่างถูกต้อง ปฏิทินนี้เรียกว่า "ปฏิทินจูเลียน" (เดือนกรกฎาคม หรือ July เป็นเดือนเกิดของซีซาร์ ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่เขา เช่นเดียวกันกับตำแหน่งซาร์ของ รัสเซีย ก็ได้มาจากชื่อของเขา นั่นคือ ซีซาร์)
ปฏิทินจูเลียน สร้างขึ้นโดยจักรพรรดิจูเลียส ซีซาร์ แห่งโรมัน ปฏิทินจูเลียน เป็นปฏิทินที่สร้างขึ้นโดยจักรพรรดิจูเลียส ซีซาร์ แห่งโรมัน ปฏิทินนี้เริ่มสร้างขึ้น 48 ปีก่อน ค.ศ. และเสร็จเมื่อ ค.ศ. 8 คำว่า จูเลียน แปลว่า แห่งจูเลียส
ในปฏิทินจูเลียนหนึ่งปีมี 365.25 วัน ดังนั้นทุกๆ 4 ปีจะมีปีอธิกสุรธิน 1 ครั้ง ใน 1 ศตวรรษ ปฏิทินจูเลียนจะมี 36525 วัน
ในปฏิทินเก่าของโรมัน ในหนึ่งปีมี 12 เดือนและมีจำนวนวันดังนี้
1.Martius (March) 31 วัน
2.Aprilis (April) 30 วัน
3.Maius (May) 31 วัน
4.Iunius (June) 30 วัน
5.Quintilis (July) 31 วัน
6.Sextilis (August) 31 วัน
7.September 30 วัน
8.October 31 วัน
9.November 30 วัน
10.December 31 วัน
11.Ianuarius 30 วัน
12.Februarius 29 วัน ทุกปีที่ 4 มี 30 วัน
แรกเริ่มนั้นวันวสันตวิษุวัตตรงกับวันที่ 1 Martius (มีนาคม)
จึงถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่
ต่อมาในปี 153 ก่อน ค.ศ.
ได้มีการเปลี่ยนแปลงให้เดือน Ianuarius (มกราคม) เป็นเดือนแรก
ชื่อเดือนเปลี่ยนแปลงเนื่องจากการเมือง
จูเลียส ซีซาร์ ได้ใส่ชื่อของตนเป็นชื่อเดือน
นั่นคือเดือน Iiulius (July) ในปี 44 ก่อน ค.ศ.
ต่อมาในปี 8 ก่อน ค.ศ. จักรพรรดิออกุสตุส ซีซาร์
ได้เปลี่ยนเดือน Sextilis เป็นชื่อของตนบ้าง
คือ August และให้เปลี่ยนจำนวนวันเป็น 31 วันด้วย
เพราะกลัวว่าจะน้อยหน้าซีซาร์
จึงจำเป็นต้องตัดวันหนึ่งวันจากเดือน Februarius (February)
และเปลี่ยนแปลงเดือนถัดจาก Augustus ให้มี 30 วัน สลับกับ 31 วัน ตามทฤษฎีของ โจฮันเนส เดอ ซาโครบอสโค (Johannes de Sacrobosco)
นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ แต่ไม่ได้รับความสำเร็จเช่น
จักรพรรดิคาลิกูลา (Caligula) เปลี่ยน September เป็น Germanicus
จักรพรรดิเนียโร (Nero) เปลี่ยน Aprilis เป็น Neronius และ Maius เปลี่ยน Iiunius เป็น Germanicus
จักรพรรดิโดมิเทียน (Domitian) เปลี่ยน September เป็น Germanicus และ October เป็น Domitianus
จักรพรรดิคอมโมดุส (Commodus) เปลี่ยนชื่อเดือนทั้งหมดเป็นตั้งแต่มกราคมถึงธันวาคมดังนี้:
Amazonius, Invictus, Felix, Pius, Lucius, Aelius, Aurelius, Commodus, Augustus, Herculeus, Romanus, Exsuperatorius
จากปฏิทินจูเลียนสู่ปฏิทินเกรกอเรียน
ปฏิทินจูเลียนใช้ในยุโรปเป็นเวลายาวนาน ตั้งแต่สมัยอาณาจักรโรมันจนถึงปี 1582 เมื่อสันตปาปาเกรกอร์ ได้ปฏิรูปปฏิทินใหม่ และประกาศออกมาใช้ เรียกกันว่า ปฏิทินเกรกอเรียน
ซึ่งเริ่มแรกประเทศแคทอลิกเท่านั้น ที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงนี้ ประเทศอังกฤษเริ่มต้นใช้ในปี 1752 โดยประกาศให้หลังวันที่ 2 กันยายน เป็น 14 กันยายน ในขณะที่ประเทศกรีกเพิ่งจะมาเริ่มใช้ในปี 1923
ปฏิทินเกรโกเรียน .. ปฏิทินที่ดัดแปลงมาจากปฏิทินจูเลียน ปฏิทินเกรโกเรียน (Gregorian Calendar) เป็นปฏิทินที่ดัดแปลงมาจากปฏิทินจูเลียน ใช้กันแพร่หลายในประเทศตะวันตก ประกาศใช้ครั้งแรกโดยสมเด็จพระสันตะปาปาเกรโกรีที่ 13 เมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2125 (ค.ศ. 1582)
เหตุที่มีการคิดค้นปฏิทินเกรกอเรียนขึ้นใช้แทน เนื่องจากปีในปฏิทินจูเลียน ซึ่งยาวนาน 365.25 วันนั้น มีนานกว่าปีฤดูกาลจริง (365.2425 วัน) อยู่เล็กน้อย
ทำให้วันวสันตวิษุวัตของแต่ละปี ขยับเร็วขึ้นทีละน้อย เพื่อที่จะให้วันอีสเตอร์ตรงกับวันที่ 21 มีนาคม (วันวสันตวิษุวัต) จึงจำเป็นต้องปฏิรูปปฏิทิน
เนื่องจากสมเด็จพระสันตะปาปา ทรงปรับปรุงปฏิทินโดยมีผลย้อนหลัง กำหนดให้ถัดจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 วันรุ่งขึ้นเป็นวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2125 ในครั้งแรกของการปรับวัน จำนวนวันจึงถูกร่นขาดหายไป 10 วัน กล่าวคือ
จูเลียน 5 ต.ค. พ.ศ. 2125 = เกรโกเรียน 15 ต.ค. พ.ศ. 2125 (ค.ศ. 1582)
จูเลียน 29 ก.พ. พ.ศ. 2143 = เกรโกเรียน 10 มี.ค. พ.ศ. 2143 (ค.ศ. 1600)
ต่อมา ร่นวันอีก ศตวรรษละ 1 วัน ทั้งสิ้น 3 ครั้ง กล่าวคือ
จูเลียน 29 ก.พ. พ.ศ. 2243 = เกรโกเรียน 11 มี.ค. พ.ศ. 2243 (ค.ศ. 1700)
จูเลียน 29 ก.พ. พ.ศ. 2343 = เกรโกเรียน 12 มี.ค. พ.ศ. 2343 (ค.ศ. 1800)
จูเลียน 29 ก.พ. พ.ศ. 2443 = เกรโกเรียน 13 มี.ค. พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900)
หลังจากนั้นไม่มีการร่นวันอีก กล่าวคือ
จูเลียน 29 ก.พ. พ.ศ. 2543 = เกรโกเรียน 13 มี.ค. พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000)
ดังนั้นจำนวนวันที่แตกต่างกันระหว่างปฏิทินจูเลียน และเกรโกเรียนในเวลาปัจจุบันจึงเท่ากัน 13 วัน ดังนี้
ช่วงเวลา
ตาม ปฏิทินเกรโกเรียน ช่วงเวลา
ตาม ปฏิทินจูเลียน จำนวนวันที่ต่างกัน
ในแต่ละช่วงการปฏิรูป
ปฏิทินเกรโกเรียน 15 ตุลาคม 1582 - 28 กุมภาพันธ์ 1700
ปฏิทินจูเลียน 5 ตุลาคม 1582 - 18 กุมภาพันธ์ 1700
จำนวนวันที่ต่างกัน - 10 วัน
ปฏิทินเกรโกเรียน 1 มีนาคม 1700 - 28 กุมภาพันธ์ 1800
ปฏิทินจูเลียน 19 กุมภาพันธ์ 1700 - 17 กุมภาพันธ์ 1800
จำนวนวันที่ต่างกัน - 11 วัน
ปฏิทินเกรโกเรียน 1 มีนาคม 1800 - 28 กุมภาพันธ์ 1900
ปฏิทินจูเลียน 18 กุมภาพันธ์ 1800 - 16 กุมภาพันธ์ 1900
จำนวนวันที่ต่างกัน - 12 วัน
ปฏิทินเกรโกเรียน 1 มีนาคม 1900 - 28 กุมภาพันธ์ 2100
ปฏิทินจูเลียน 17 กุมภาพันธ์ 1900 - 15 กุมภาพันธ์ 2100
จำนวนวันที่ต่างกัน - 13 วัน
อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงเมื่อคำนวณอย่างละเอียด ตามหลักวิทยาศาสตร์ 1ปี เฉลี่ยเท่ากับ 365 วัน 5 ชั่วโมง 48 นาที 46 วินาที (ประมาณ 365.242199074 วัน)
แต่ปฏิทินเกรโกเรียนกำหนดให้หนึ่งปีมี 365.2425 วัน ปฏิทินนี้จึงคลาดเคลื่อนไปโดยช้าลงปีละประมาณ 26 วินาที
เริ่มแรกประเทศคาทอลิกเท่านั้น ที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง
เช่น อังกฤษ เริ่มใช้ในปี 1752
โดยประกาศให้หลังวันที่ 2 กันยายน เป็น 14 กันยายน
กรีก เริ่มใช้เมื่อปี 1923
ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี และ เด็กดี : ความรู้รอบตัว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น