วันเสาร์, ธันวาคม 31, 2554

หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง

หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง

พยัญชนะไทย                                    อักษรโรมัน (ตัวต้น)                              อักษรโรมัน (ตัวสะกด)
                                                                                        k                                                                             k
ข ฃ ค ฅ ฆ                                                                        kh                                                                           k
                                                                                       ng                                                                          ng
จ ฉ ช ฌ                                                                           ch                                                                            t
                                                                                       y                                                                             n
ด ฎ ฑ (บางคำ)                                                               d                                                                             t
ต ฏ                                                                                     t                                                                              t
ถ ฐ ท ฑ ธ ฒ                                                                   th                                                                             t
น ณ                                                                                   n                                                                            n
                                                                                       b                                                                            p
                                                                                       p                                                                            p
ผ พ ภ                                                                               ph                                                                           p
ฝ ฟ                                                                                    f                                                                             p
                                                                                       m                                                                           m
                                                                                        y                                                                             -
                                                                                         r                                                                             n
ล ฬ                                                                                    l                                                                             n
                                                                                        w                                                                             -
ซ ทร ศ ษ ส                                                                       s                                                                             t
ห ฮ                                                                                    h                                                                             -

สระไทย                                                  อักษรโรมัน
อะ, -ั (อะ ลดรูป), รร (มีตัวสะกด), อา                        a
รร (ไม่มีตัวสะกด)                                                           an
อำ                                                                                    am
อิ, อี                                                                                    i
อึ, อื                                                                                  ue
อุ, อู                                                                                   u
เอะ, เ -็ (เอะ ลดรูป), เอ                                                e
แอะ, แอ                                                                           ae
โอะ, - (โอะ ลดรูป), โอ, เอาะ, ออ                                  o
เออะ, เ -ิ (เออะ ลดรูป), เออ                                      oe
เอียะ, เอีย                                                                        ia
เอือะ, เอือ                                                                      uea
อัวะ, อัว, -ว- (อัว ลดรูป)                                                ua
ใอ, ไอ, อัย, ไอย, อาย                                                     ai
เอา, อาว                                                                         ao
อุย                                                                                    ui
โอย, ออย                                                                         oi
เอย                                                                                  oei
เอือย                                                                              ueai
อวย                                                                                 uai
อิว                                                                                     io
เอ็ว, เอว                                                                          eo
แอ็ว, แอว                                                                       aeo
เอียว                                                                                iao
(เสียง รึ), ฤๅ                                                               rue
(เสียง ริ)                                                                        ri
(เสียง เรอ)                                                                  roe
, ฦๅ                                                                               lue

วันจันทร์, ธันวาคม 26, 2554

หูด โอ้วววว

หูดคืออะไร
หูดคือเนื้องอกที่ผิวหนังที่ติดเชื้อไวรัส human papillomavirus เชื้อไวรัสนี้สามารถติดต่อจากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่งโดยการสัมผัส

อาการของโรค
อาการจะเป็นก้อนที่ผิวหนัง ลักษณะผิวอาจจะเรียบ หรือขรุขระ สีอาจจะสีขาว ชมพู หรือสีน้ำตาล อาจจะเกิดขึ้นที่ไหนก็ได้ แต่ที่ๆพบบ่อยคือ นิ้วมือ แขน ขา
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อ Papova virus เกิดจากการสัมผัสโดยตรงต่อเชื้อนี้ ระยะพักตัวประมาณ 1-6 เดือน แบ่งตามลักษณะของผื่นและตำแหน่งที่พบ
หูด
  1. Verrucus vulgaris หูดธรรมดาลักษณะจำเพาะเริ่มเป็นเม็ดเดี่ยว หรือหลายเม็ดกระจายทั่วๆไป มีผิวขรุขระ พบบ่อยที่ฝ่ามือ และฝ่าเท้า
  2. Verrucus plana หูดราบลักษณะจำเพาะคือเริ่มเป็นเม็ด ผิวหน้าแบนราบ สีเดียวกับผิวหนัง พบบ่อยบริเวณหน้า แขนด้านนอก คอ มือ
  3. Condyloma acuminata เป็นหูดที่เกิดที่อวัยวะเพศ เป็นติ่งเนื้อนุ่มสีชมพู เปื่อยง่ายมักจะพบบริเวณอวัยวะเพศ ทวาร
  4. Plantar wart มักจะเป็นเม็ดแข็งฝังใต้ฝ่าเท้า มีผิวราบ
  5. Filiform and Digitate warts เป็นติ่งยื่นออกมาจากผิวหนังพบบริเวณใบหน้า และคอ
  6. Periungual wart เป็นหูดที่พบบริเวณเล็บ
การตรวจวินิจฉัย
การวินิจฉัยโรคหูดส่วนใหญ่จะวินิจฉัยจากประวัตการเป็นโรค ตำแหน่ง และลักษณะของหูด แต่ในรายที่สงสัยอาจจะต้องตรวจเพิ่มเติมได้แก่
  • การขูดเอาเนื้อที่อยู่บริเวณผิวๆไปตรวจทางพยาธิ
  • การตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจ
การรักษา
การรักษาด้วยตัวเอง
พึงระลึกเสมอว่าหูดเกิดจากเชื้อไวรัสหายเองได้ 65 % ในเด็กร้อละ 50 หายภายใน 6 เดือน ร้อยละ 90 หายใน 2 ปีดังนั้นการใช้ยาทาไม่ควรใช้แรงเกินไป การรักษามีหลายวิธีควรเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง
การใช้ plaster
  • ใช้ plaster กันน้ำปิดบริเวณที่เป็นหูดหลายชั้น ใช้ได้ผลดีกับหูดที่เล็บ ปิดไว้ประมาณ 6 วัน
  • แกะ plaster ออก 12 ชั่วโมงและติด plaster ซ้ำ
  • plaster จะลดอากาศและความชื้นทำให้เชื้อไม่เจริญเติบโต
การใช้กรด salicylic
  • กรด salicylic ที่ขายตามร้านขายยามีด้วยกันสองรูปแบบ คือแบบน้ำยา หรือแบบ plaster อาบน้ำยา
  • บริเวณที่เป็นหูดให้แช่น้ำอุ่นประมาณ 5-10 นาที
  • หลังจากนั้นใช้ตะไบเนื้อที่แข็งออก
  • ทายาหรือปิด plaster
การรักษาที่โรงพยาบาล
  1. การขูดออกโดยสันมีดหรือใช้ไฟจี้ Eletrodessication and curettage ใช้ไฟแรงไปอาจเกิดแผลเป็น และปวด
  2. การใช้ laser
  3. Cryosurgery เป็นการจี้ด้วย nitrogen เหลว และน้ำแข็งแห้งวิธีนี้สะดวก และไม่ไคร่เกิดแผลเป็น
  4. การใช้ยาทาเฉพาะที่ เช่น 40% salicylic acid,10% Lactic acid,30-50% Trichloroacetic acid ยามีขายที่ร้านขายยามีสองชนิดคือ ชนิดที่เป็นแผ่นเคลือบยา และชนิดที่เป็นน้ำยาเข้มข้น วิธีการใช้ ทำความสะอาดบริเวณที่เป็นหูด แล้วติดplaster หรือทายา หลังจากนั้นจะใช้หินขัดเท้า หรือตะไบขูดเอาเนื้อตายออกทีละน้อยซึ่งอาจจะใช้เวลาเป็นปีในการเอาเนื้องอกออกจนหมด
  5. หูดที่เป็นติ่งใช้กรรไกรเฉือนหลังใช้ยาชาเฉพาะที่พ่น
  6. หูดหงอนไก่ใช้  25% podophyllin 
  7. หูดที่ผ่าเท้า ห้ามใช้ไฟจี้ หรือตัดออก เพราะจะทำให้เจ็บเวลาเดิน วิธีการรักษา
  • เฉือนให้บางลง หรือ
  • ปิดด้วย 40%salicylic acid plaster หรือ
  • ทาด้วย nitrogen เหลว หรือ
  • ใช้มีดทู่ๆค่อยๆแซะหูด
เมื่อไรที่จะต้องให้แพทย์ตรวจ
  • อาการไม่ดีขึ้นภายใน 12 สัปดาห์หลังจากใช้ยา salicylic acid
  • หูดมีการเปลี่ยนแปลงสี หรือขนาด
  • หูดนั้นเลือดออกง่าย
  • เป็นหูดที่อวัยวะเพศควรจะต้องปรึกษาแพทย์

วันอังคาร, ธันวาคม 20, 2554

ว่าด้วยปฏิทิน และที่มา

"ฉันได้มาถึง ฉันได้มาเห็นแล้ว และฉันก็ได้ชัยชนะ"

"I came, I saw, I conquered"


วาทะนี้เป็นของจูเลียส ซีซาร์ ผู้นำผู้ยิ่งใหญ่ รัฐบุรุษ นักการทหารที่ชาญฉลาด และนักคิดที่ทรงภูมิของโรมและของประวัติศาสตร์โลก กล่าวไว้ในคราวที่เขายกทัพบุกตะลุยตีซีเรีย ปอนตุส และได้รับชัยชนะในเวลาเพียงวันเดียว ผลงานชิ้นสำคัญของเขาชิ้นหนึ่งในหลายชิ้นของเขา ก็คือการยกทัพไปบุกถึงเกาะอังกฤษ ซึ่งก่อนหน้านั้นไม่เคยเป็นที่รู้จักหรือปรากฏอยู่บนแผนที่มาก่อน เขามิได้แต่เป็นเพียงแม่ทัพผู้ยิ่งใหญ่ ผู้นำโรมไปสู่ความเป็นมหาอำนาจทั้งในทางการเมืองและการทหารเท่านั้น งานหลายอย่างที่เขาทำไว้ยังเป็นรากฐานหรือต้นกำเนิดของหลายสิ่งหลายอย่างในปัจจุบัน

จูเลียส ซีซาร์ มีชื่อเต็มว่า เคอุส จูเลียส ซีซาร์ เกิดในโรม เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม เมื่อ 100 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในตระกูลขุนนางเก่าแก่ตระกูลหนึ่ง ตั้งแต่เด็กมา เขาไม่เคยมีความคิดที่จะเป็นทหารเลย แม้ว่าเขาจะขอเข้าฝึกหัดอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง เขาตั้งใจที่จะเป็นทนายความและนักกฎหมาย ซึ่งเป็นอาชีพที่ขึ้นหน้าขึ้นตาอาชีพหนึ่งในสมัยนั้น

การดำเนินชีวิตของเขาในตอนแรกไม่ค่อยราบรื่นนัก บิดาของเขาเสียชีวิตตั้งแต่เขาอายุยังน้อย เขาเริ่มหาเลี้ยงตนเองโดยการทำงานในวัดแห่งหนึ่งตั้งแต่อายุได้ 15 ปี เขาเป็นคนที่มีศัตรูรอบข้างและต้องย้ายที่อยู่บ่อยๆ เพื่อหลบหนีผู้ที่ปองร้ายเขา

จูเลียส ซีซาร์ ได้ชื่อว่ามีความเก่งกาจทางด้านการทหารเป็นอย่างยิ่ง เมื่ออายุได้ 12 ปี เขาได้รับเหรียญกล้าหาญในการรบที่เมือง มีชลีน ในระยะสิบปีแห่งการทำสงคราม ซีซาร์สามารถตีชนะประเทศต่างๆ ถึง 300 ประเทศ ได้เมืองต่างๆ ไว้ในอำนาจถึง 800 เมือง และกวาดต้อนผู้คนมาเป็นทาสได้ถึง 1,000,000 คน เขาได้ครองตำแหน่งสำคัญๆ หลายตำแหน่งในกรุงโรม ได้แก่ ผู้พิทักษ์ (Tribune) เป็นนายคลังใหญ่ เป็นหัวหน้าโยธาธิการ และเป็นประมุขของศาสนาจารย์ ซึ่งในตำแหน่งนี้ ซีซาร์ได้ปฏิรูปปฏิทินเสียใหม่ ให้ 1 ปีมี 365 วัน ทุก 4 ปีเพิ่มวันขึ้นอีก 1 วัน ทั้งนี้เพื่อคำนวณวันกำหนดพิธีการได้อย่างถูกต้อง ปฏิทินนี้เรียกว่า "ปฏิทินจูเลียน" (เดือนกรกฎาคม หรือ July เป็นเดือนเกิดของซีซาร์ ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่เขา เช่นเดียวกันกับตำแหน่งซาร์ของ รัสเซีย ก็ได้มาจากชื่อของเขา นั่นคือ ซีซาร์)


ปฏิทินจูเลียน สร้างขึ้นโดยจักรพรรดิจูเลียส ซีซาร์ แห่งโรมัน ปฏิทินจูเลียน เป็นปฏิทินที่สร้างขึ้นโดยจักรพรรดิจูเลียส ซีซาร์ แห่งโรมัน ปฏิทินนี้เริ่มสร้างขึ้น 48 ปีก่อน ค.ศ. และเสร็จเมื่อ ค.ศ. 8 คำว่า จูเลียน แปลว่า แห่งจูเลียส

ในปฏิทินจูเลียนหนึ่งปีมี 365.25 วัน ดังนั้นทุกๆ 4 ปีจะมีปีอธิกสุรธิน 1 ครั้ง ใน 1 ศตวรรษ ปฏิทินจูเลียนจะมี 36525 วัน

ในปฏิทินเก่าของโรมัน ในหนึ่งปีมี 12 เดือนและมีจำนวนวันดังนี้

1.Martius (March) 31 วัน
2.Aprilis (April) 30 วัน
3.Maius (May) 31 วัน

4.Iunius (June) 30 วัน
5.Quintilis (July) 31 วัน
6.Sextilis (August) 31 วัน

7.September 30 วัน
8.October 31 วัน
9.November 30 วัน

10.December 31 วัน
11.Ianuarius 30 วัน
12.Februarius 29 วัน ทุกปีที่ 4 มี 30 วัน

แรกเริ่มนั้นวันวสันตวิษุวัตตรงกับวันที่ 1 Martius (มีนาคม)
จึงถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่

ต่อมาในปี 153 ก่อน ค.ศ.
ได้มีการเปลี่ยนแปลงให้เดือน Ianuarius (มกราคม) เป็นเดือนแรก


ชื่อเดือนเปลี่ยนแปลงเนื่องจากการเมือง

จูเลียส ซีซาร์ ได้ใส่ชื่อของตนเป็นชื่อเดือน
นั่นคือเดือน Iiulius (July) ในปี 44 ก่อน ค.ศ.

ต่อมาในปี 8 ก่อน ค.ศ. จักรพรรดิออกุสตุส ซีซาร์
ได้เปลี่ยนเดือน Sextilis เป็นชื่อของตนบ้าง
คือ August และให้เปลี่ยนจำนวนวันเป็น 31 วันด้วย

เพราะกลัวว่าจะน้อยหน้าซีซาร์

จึงจำเป็นต้องตัดวันหนึ่งวันจากเดือน Februarius (February)
และเปลี่ยนแปลงเดือนถัดจาก Augustus ให้มี 30 วัน สลับกับ 31 วัน ตามทฤษฎีของ โจฮันเนส เดอ ซาโครบอสโค (Johannes de Sacrobosco)


นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ แต่ไม่ได้รับความสำเร็จเช่น

จักรพรรดิคาลิกูลา (Caligula) เปลี่ยน September เป็น Germanicus
จักรพรรดิเนียโร (Nero) เปลี่ยน Aprilis เป็น Neronius และ Maius เปลี่ยน Iiunius เป็น Germanicus

จักรพรรดิโดมิเทียน (Domitian) เปลี่ยน September เป็น Germanicus และ October เป็น Domitianus

จักรพรรดิคอมโมดุส (Commodus) เปลี่ยนชื่อเดือนทั้งหมดเป็นตั้งแต่มกราคมถึงธันวาคมดังนี้:
Amazonius, Invictus, Felix, Pius, Lucius, Aelius, Aurelius, Commodus, Augustus, Herculeus, Romanus, Exsuperatorius


จากปฏิทินจูเลียนสู่ปฏิทินเกรกอเรียน

ปฏิทินจูเลียนใช้ในยุโรปเป็นเวลายาวนาน ตั้งแต่สมัยอาณาจักรโรมันจนถึงปี 1582 เมื่อสันตปาปาเกรกอร์ ได้ปฏิรูปปฏิทินใหม่ และประกาศออกมาใช้ เรียกกันว่า ปฏิทินเกรกอเรียน

ซึ่งเริ่มแรกประเทศแคทอลิกเท่านั้น ที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงนี้ ประเทศอังกฤษเริ่มต้นใช้ในปี 1752 โดยประกาศให้หลังวันที่ 2 กันยายน เป็น 14 กันยายน ในขณะที่ประเทศกรีกเพิ่งจะมาเริ่มใช้ในปี 1923



ปฏิทินเกรโกเรียน .. ปฏิทินที่ดัดแปลงมาจากปฏิทินจูเลียน ปฏิทินเกรโกเรียน (Gregorian Calendar) เป็นปฏิทินที่ดัดแปลงมาจากปฏิทินจูเลียน ใช้กันแพร่หลายในประเทศตะวันตก ประกาศใช้ครั้งแรกโดยสมเด็จพระสันตะปาปาเกรโกรีที่ 13 เมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2125 (ค.ศ. 1582)

เหตุที่มีการคิดค้นปฏิทินเกรกอเรียนขึ้นใช้แทน เนื่องจากปีในปฏิทินจูเลียน ซึ่งยาวนาน 365.25 วันนั้น มีนานกว่าปีฤดูกาลจริง (365.2425 วัน) อยู่เล็กน้อย

ทำให้วันวสันตวิษุวัตของแต่ละปี ขยับเร็วขึ้นทีละน้อย เพื่อที่จะให้วันอีสเตอร์ตรงกับวันที่ 21 มีนาคม (วันวสันตวิษุวัต) จึงจำเป็นต้องปฏิรูปปฏิทิน

เนื่องจากสมเด็จพระสันตะปาปา ทรงปรับปรุงปฏิทินโดยมีผลย้อนหลัง กำหนดให้ถัดจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 วันรุ่งขึ้นเป็นวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2125 ในครั้งแรกของการปรับวัน จำนวนวันจึงถูกร่นขาดหายไป 10 วัน กล่าวคือ

จูเลียน 5 ต.ค. พ.ศ. 2125 = เกรโกเรียน 15 ต.ค. พ.ศ. 2125 (ค.ศ. 1582)

จูเลียน 29 ก.พ. พ.ศ. 2143 = เกรโกเรียน 10 มี.ค. พ.ศ. 2143 (ค.ศ. 1600)


ต่อมา ร่นวันอีก ศตวรรษละ 1 วัน ทั้งสิ้น 3 ครั้ง กล่าวคือ

จูเลียน 29 ก.พ. พ.ศ. 2243 = เกรโกเรียน 11 มี.ค. พ.ศ. 2243 (ค.ศ. 1700)

จูเลียน 29 ก.พ. พ.ศ. 2343 = เกรโกเรียน 12 มี.ค. พ.ศ. 2343 (ค.ศ. 1800)

จูเลียน 29 ก.พ. พ.ศ. 2443 = เกรโกเรียน 13 มี.ค. พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900)


หลังจากนั้นไม่มีการร่นวันอีก กล่าวคือ

จูเลียน 29 ก.พ. พ.ศ. 2543 = เกรโกเรียน 13 มี.ค. พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000)

ดังนั้นจำนวนวันที่แตกต่างกันระหว่างปฏิทินจูเลียน และเกรโกเรียนในเวลาปัจจุบันจึงเท่ากัน 13 วัน ดังนี้


ช่วงเวลา
ตาม ปฏิทินเกรโกเรียน ช่วงเวลา
ตาม ปฏิทินจูเลียน จำนวนวันที่ต่างกัน
ในแต่ละช่วงการปฏิรูป

ปฏิทินเกรโกเรียน 15 ตุลาคม 1582 - 28 กุมภาพันธ์ 1700
ปฏิทินจูเลียน 5 ตุลาคม 1582 - 18 กุมภาพันธ์ 1700
จำนวนวันที่ต่างกัน - 10 วัน

ปฏิทินเกรโกเรียน 1 มีนาคม 1700 - 28 กุมภาพันธ์ 1800
ปฏิทินจูเลียน 19 กุมภาพันธ์ 1700 - 17 กุมภาพันธ์ 1800
จำนวนวันที่ต่างกัน - 11 วัน

ปฏิทินเกรโกเรียน 1 มีนาคม 1800 - 28 กุมภาพันธ์ 1900
ปฏิทินจูเลียน 18 กุมภาพันธ์ 1800 - 16 กุมภาพันธ์ 1900
จำนวนวันที่ต่างกัน - 12 วัน

ปฏิทินเกรโกเรียน 1 มีนาคม 1900 - 28 กุมภาพันธ์ 2100
ปฏิทินจูเลียน 17 กุมภาพันธ์ 1900 - 15 กุมภาพันธ์ 2100
จำนวนวันที่ต่างกัน - 13 วัน


อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงเมื่อคำนวณอย่างละเอียด ตามหลักวิทยาศาสตร์ 1ปี เฉลี่ยเท่ากับ 365 วัน 5 ชั่วโมง 48 นาที 46 วินาที (ประมาณ 365.242199074 วัน)

แต่ปฏิทินเกรโกเรียนกำหนดให้หนึ่งปีมี 365.2425 วัน ปฏิทินนี้จึงคลาดเคลื่อนไปโดยช้าลงปีละประมาณ 26 วินาที

เริ่มแรกประเทศคาทอลิกเท่านั้น ที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง
เช่น อังกฤษ เริ่มใช้ในปี 1752
โดยประกาศให้หลังวันที่ 2 กันยายน เป็น 14 กันยายน

กรีก เริ่มใช้เมื่อปี 1923


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี และ เด็กดี : ความรู้รอบตัว

วันอังคาร, ธันวาคม 13, 2554

ประเทศไทยมีนายกมากี่คนแล้ว?

มีมาแล้ว27คน คนที่28กำลังดำรค์ตำแหน่งอยู่ครับ
รายชื่อนายกรัฐมนตรีไทย นายกรัฐมนตรี คนที่ 1 ถึง 27

นายกรัฐมนตรี คนที่ 1 พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) ดำรงตำแหน่งวันที่ 28 มิถุนายน 2475 พ้นตำแหน่งวันที่ 21 มิถุนายน 2476 ด้วยการทำรัฐประหารโดยพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา
นายกรัฐมนตรี คนที่ 2 พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) ดำรงตำแหน่งวันที่ 21 มิถุนายน 2476 พ้นตำแหน่งวันที่ 16 ธันวาคม 2481 โดยรัฐบาลยุบสภา
นายกรัฐมนตรี คนที่ 3 จอมพลแปลก พิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ) ดำรงตำแหน่งครั้งแรกวันที่ 16 ธันวาคม 2481 พ้นตำแหน่งครั้งสุดท้ายวันที่ 16 กันยายน 2500 โดยการทำรัฐประหารนำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
นายกรัฐมนตรี คนที่ 4 พันตรีควง อภัยวงศ์ ดำรงตำแหน่งวันที่ 1 สิงหาคม 2487 พ้นตำแหน่งวันที่ 8 เมษายน 2491 โดยถูกคณะรัฐประหารบังคับให้ลาออก
นายกรัฐมนตรี คนที่ 5 นายทวี บุณยเกตุ ดำรงตำแหน่งวันที่ 31 สิงหาคม 2488 พ้นตำแหน่งวันที่ 17 กันยายน 2488 เนื่องจากลาออก เพื่อให้ผู้เหมาะสมมาแทน
นายกรัฐมนตรี คนที่ 6 หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ดำรงตำแหน่งครั้งแรกวันที่ 17 กันยายน 2488 และอีกครั้งในต้นปี 2519 ก่อนพ้นตำแหน่งเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ด้วยการทำรัฐประหาร นำโดยพล.ร.อ.สงัด ชลออยู่
นายกรัฐมนตรี คนที่ 7 นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) ดำรงตำแหน่งวันที่ 24 มีนาคม 2489 พ้นตำแหน่งวันที่ 23 สิงหาคม 2489 โดยการลาออก
นายกรัฐมนตรี คนที่ 8 พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ (หลวง ธำรงนาวาสวัสดิ์) ดำรงตำแหน่งวันที่ 23 สิงหาคม 2489 พ้นตำแหน่งวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 โดยการทำรัฐประหารนำโดยพล.ท.ผิน ชุณหะวัณ
นายกรัฐมนตรี คนที่ 9 นายพจน์ สารสิน ดำรงตำแหน่งวันที่ 21 กันยายน 2500 ตามมติสภาผู้แทนราษฎร และพ้นตำแหน่งวันที่ 1 มกราคม 2501 เพื่อให้มีการเลือกตั้งทั่วไป เป็น ครม.ชุดที่ 27
นายกรัฐมนตรี คนที่ 10 จอมพลถนอม กิตติขจร ดำรงตำแหน่งครั้งแรกวันที่ 1 มกราคม 2501 และอีกครั้งในปลายปี 2506 ก่อนจะพ้นตำแหน่งวันที่ 14 ตุลาคม 2516 หลังการเดินขบวนใหญ่ของนักศึกษาประชาชน ในเหตุการณ์ 14 ตุลา
นายกรัฐมนตรี คนที่ 11 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดำรงตำแหน่งวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2502 พ้นตำแหน่งวันที่ 8 ธันวาคม 2506 เพราะถึงแก่อสัญกรรม
นายกรัฐมนตรี คนที่ 12 นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ดำรงตำแหน่งวันที่ 14 ตุลาคม 2516 พ้นตำแหน่งวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2518 เพื่อให้มีการเลือกตั้งทั่วไปตามรัฐธรรมนูญปี 2517
นายกรัฐมนตรี คนที่ 13 พลตรีหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ดำรงตำแหน่งวันที่ 14 มีนาคม 2518 พ้นตำแหน่งวันที่ 20 เมษายน 2519 เพราะยุบสภา
นายกรัฐมนตรี คนที่ 14 นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ดำรงตำแหน่งวันที่ 8 ตุลาคม 2519 พ้นตำแหน่งวันที่ 20 ตุลาคม 2520 โดยการรัฐประหารนำโดยพล.ร.อ. สงัด ชลออยู่
นายกรัฐมนตรี คนที่ 15 พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ดำรงตำแหน่งวันที่ 11 พฤศจิกายน 2520 พ้นตำแหน่งวันที่ 3 มีนาคม 2523 โดยการลาออกกลางสภา
นายกรัฐมนตรี คนที่ 16 พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งวันที่ 3 มีนาคม 2523 พ้นตำแหน่งวันที่ 4 สิงหาคม 2531 เมื่อยุบสภาให้มีการเลือกตั้งทั่วไป
นายกรัฐมนตรี คนที่ 17 พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ดำรงตำแหน่งวันที่ 4 สิงหาคม 2531 พ้นตำแหน่งวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 โดยคณะ รสช.ทำรัฐประหาร
นายกรัฐมนตรี คนที่ 18 นายอานันท์ ปันยารชุน ดำรงตำแหน่งวันที่ 2 มีนาคม 2534 พ้นตำแหน่งวันที่ 23 กันยายน 2535 เมื่อยุบสภาให้มีการเลือกตั้งทั่วไป (ดำรงตำแหน่งช่วงสั้นๆ อีกครั้ง ภายหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 10 มิถุนายน 2535 - 23 กันยายน 2535)
นายกรัฐมนตรี คนที่ 19 พลเอกสุจินดา คราประยูร ดำรงตำแหน่งวันที่ 7 เมษายน 2535 พ้นตำแหน่งวันที่ 10 มิถุนายน 2535 หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
นายกรัฐมนตรี คนที่ 20 นายชวน หลีกภัย ดำรงตำแหน่งวันที่ 23 กันยายน 2535 และอีกครั้งในปี 2540 พ้นตำแหน่งวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2544 เมื่อยุบสภาให้มีการเลือกตั้งทั่วไป
นายกรัฐมนตรี คนที่ 21 นายบรรหาร ศิลปอาชา ดำรงตำแหน่ง 13 กรกฎาคม 2538 พ้นตำแหน่งวันที่ 25 พฤศจิกายน 2539 เมื่อยุบสภา
นายกรัฐมนตรี คนที่ 22 พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ดำรงตำแหน่งวันที่ 25 พฤศจิกายน 2539 พ้นตำแหน่งวันที่ 9 พฤศจิกายน 2540 โดยการลาออก
นายกรัฐมนตรี คนที่ 23 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 พ้นตำแหน่งวันที่ 19 กันยายน 2549 หลังถูกรัฐประหาร
นายกรัฐมนตรี คนที่ 24 พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ดำรงตำแหน่งวันที่ 1 ตุลาคม 2549 พ้นตำแหน่งวันที่ 29 มกราคม 2551 เมื่อปรากฎผลการเลือกตั้งทั่วไป
นายกรัฐมนตรี คนที่ 25 นายสมัคร สุนทรเวช ดำรงตำแหน่ง 29 มกราคม 2551 พ้นตำแหน่งวันที่ 9 กันยายน 2551 จากคำวินิจฉัยว่าไม่มีคุณสมบัติดำรงตำแหน่งของศาลรัฐธรรมนูญ
นายกรัฐมนตรี คนที่ 26 นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ดำรงตำแหน่ง 9 กันยายน 2551 พ้นตำแหน่งวันที่ 2 ธันวาคม 2551 จากคำวินิจฉัยยุบพรรคของศาลรัฐธรรมนูญ (ถูกตัดสิทธิ์และไม่มีคุณสมบัติในฐานะกรรมการบริหารพรรค)
นายกรัฐมนตรี คนที่ 27 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ดำรงตำแหน่ง 17 ธันวาคม 2551 -2554

วันพุธ, ธันวาคม 07, 2554

ความหมายของสัญญลักษณ์ที่อยู่บนป้ายผ้า


ซักด้วยมือเท่านั้น ไม่ต้องขยี้มาก ทำให้แห้งอย่างพิถีพิถัน (ตากในที่ร่ม)
ซักเครื่องตามข้อบ่งชี้อุณหภูมิสูงสุดเป็นองศาเซนเซียส
     30องศาเซนเซียส สำหรับผ้าสี ใช้ความเร็วในการซักน้อย ปั่นแห้งความเร็วปกติ

   40องศาเซนเซียส สำหรับเสื้อทีเชิ๊ตสี และชุดชั้นในที่ยืดได้ ใช้ความเร็วในการซักน้อย ปั่นแห้งความเร็วปกติ

    60องศาเซนเซียส สำหรับผ้าขนหนูสี   ใช้ความเร็วในการซักปกติ  ปั่นแห้งความเร็วปกติ

    95องศาเซนเซียส สำหรับผ้าห่ม    ใช้ความเร็วในการซักปกติ  ปั่นแห้งความเร็วปกติ
 
            *  สัญลักษณ์ขีดเส้นใต้เป็นข้อบ่งชี้ในประเภทของโปรแกรมที่ใช้
          ไม่มีขีด สำหรับโปรแกรมซักผ้าฝ้าย(ความเร็วสูงสุด)      ใช้ความเร็วในการซักปกติ  ปั่นแห้งความเร็วปกติ
           ขีดเส้นหนึ่งขีด สำหรับโปรแกรมซักผ้าใยสังเคราะห์ (ความเร็วขนาดกลาง)  ใช้ความเร็วในการซักต่ำ 

      ลดอุณหภูมิในการซักและลดความเร็วในการปั่นลง     และสองขีดสำหรับผ้าขนสัตว์ (ความเร็วต่ำสุด)
              ห้ามซักด้วยเครื่อง
  * สามารถปั่นแห้งได้
        จุดตรงกลางเป้นตัวบอกอุณหภูมิสูงสุด
        ไม่มีจุด ไม่จำกัดเรื่องอุณหภูมิ
        หนึ่งจุด สำหรับอุณหภูมิต่ำ (สูงสุด60องศาเซนเซียส)

         สองจุด อุณหภูมิปั่นแห้งปกติ
       ห้ามปั่นแห้ง
     ปล่อยให้แห้งเองและรีดด้วยเตารีดทันทีหลังแห้ง
      แขวนด้วยไม้แขวนเสื้อในที่ร่ม
      วางให้แห้งบนพื้นราบ
รีดผ้าภายใต้อุณหภูมิต่อไปนี้
  สัญลักษณ์หนึ่งจุดบนเตารีด  รีดด้วยความร้อนต่ำ(cold iron) อุณหภูมิ 110องศาเซนเซียส
                                           เหมาะสำหรับผ้าอะคลิลิก ไนลอนและอะซีเตท
 สัญลักษณ์สองจุด                รีดด้วยความร้อนปานกลาง(Hot iron) อุณหภูมิ 150องศาเซนเซียส
                                          สำหรับผ้าโพลีเอสเตอร์และผ้าขนสัตว์
 สัญลักษณ์สามจุด                รีดด้วยความร้อนสูง(very hot iron) อุณหภูมิ 200องศาเซนเซียส
                                          สำหรับผ้าฝ้ายและผ้าลินิน 
   ห้ามรีด     ( หรืออาจรีดโดยใช้การดูแลเป็นพิเศษ เช่น การรีดผ่านผ้ารองอีกชั้นหนึ่งเป็นต้น)
                   ผ้าต้องถูกทำความสะอาดและทำให้แห้งให้ถูกหลักเพื่อให้คงความหอม นานที่สุดเท่าที่จะนานได้  ทั้งหมดที่คุณจำเป็นต้องรู้คือการถอดรหัสจากสัญลักษณ์ของการดูแลผ้า  และบทความนี้จะช่วยให้ท่านเข้าใจ เมื่อพบสัญลักษณ์เหล่านี้ ที่จำเป็นที่จะทำให้คุณคุ้นเคย เพื่อที่จะได้หลีกเลี่ยงเกี่ยวกับปัญหาของการเปลี่ยนสีของเสื้อผ้าเช่น ชุดชั้นในสีฟ้ากลายเป็นชุดชั้นในสีขาว ป้ายจะบอกเราเลยว่าต้องดูแลอย่างไรสำหรับเนื้อผ้า เพื่อที่จะดูแลรักษาสภาพเนื้อผ้าให้ได้ยาวนานที่สุด
คำแนะนำของเราสำหรับ การซัก การใช้น้ำยาฟอกขาว การรีดผ้า การซักแห้งและการปั่นแห้ง
การซัก

วันจันทร์, ธันวาคม 05, 2554

ข้อควรรู้เกี่ยวกับมะเร็ง 11 ประการ

 
 
1. ทุกคนมีเซลล์มะเร็งอยู่ในร่างกาย เซลล์จำพวกนี้จะไม่สามารถตรวจหาพบโดยเครื่องมืออทางการแพทย์จนกว่าจะมีปริมาณเซลล์เป็น 2-3 ร้อยล้านเซลล์ หากไปพบหมอ แล้วหมอบอกว่าคุณไม่มีเซลล์มะเร็งในร่างกายหลังจากการตรวจ นั่นแค่หมายความว่า เครื่องมือทางการพทย์ไม่สามารถตรวจพบเซลล์มะเร็งได้เนื่องจากขนาดของเซลล์มะเร็งยังไม่มากพอ หรือขาดยังไม่ใหญ่พอให้เครื่องมือตรวจเจอ

2. เซลล์มะเร็ง เกิดขึ้นมาก ถึง 6 -10 ครั้ง ใน 1 ช่วงชิวิตของมนุษย์

3. เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรง เซลล์มะเร็งก็จะถูกทำลายเพื่อป้องกันไม่ให้เซลล์มะเร็งขยายตัว และสร้างก้อนเนื้อร้าย

4. เมื่อคนไข้ ถูกบ่งชี้ว่าเป็นมะเร็ง แสดงให้เห็นว่ามีการขาดสารอาหารบางชนิด หรือ โภชนาการไม่ดี ซึ่งอาจเกิดจากกรรมพันธุ์ สิ่งแวดล้อม อาหาร หรือปัจจัยอื่นในการดำรงชีวิต

5. การเอาชนะเซลล์มะเร็ง สามาถทำได้โดยการสร้างความแข็งแกร่งให้เซลล์เม็ดเลือดขาว หรือระบบภูมิคุ้มกัน ของร่างกาย

6. การให้คีโม หรือสารเคมีบางชนิด เป็นทำให้เซลล์มะเร็งถูกทำลายอย่างรวดเร็ว แต่ในขณะเดียวกันก็ทำลายเซลล์ที่ดีของร่างกายไปด้วยอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นอาจทำลายระบบของอวัยวะสำคัญไปด้วย เช่น ตับ ไต หัวใจ หรือปอด

7. การฉายรังสี ก็จะทำลายเซลล์มะเร็ง และทำให้เนื่อบางส่วนไหม้ เป็นแผลเป็น และทำลายเซลล์ เนื่อเยื่อที่ดีไปด้วยเช่นกัน

8. โดยทั่วไปแล้ว การให้คีโม หรือการฉายรังสี อาจจะทำให้ขนาดของก้อนเซลล์มะเร็งลดลง แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่ได้มีผลทำลายก้อนเนื่อไปมากกว่านั้น

9. เมื่อร่างกายต้องรับสารพิษจำนวนมาก จากการให้คีโมหรือการฉายแสง ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายก็จะถูกทำลายไปด้วย ดังนั้นร่างกาวยก็ง่ายต่อการติดเชื้อ หรือพ่ายแพ้เซลล์มะเร็ง

10. การให้คีโม หรือการฉายแสง อาจเป็สาเหตุให้เซลล์มะเร็ง มีการกลายพันธุ์ หรือดื้อยา ทำให้ยากแก่การทำลาย การผ่าตัด ก็อาจสามารถทำให้ เซลล์มะเร็งกระจายไปยังส่วนอื่น
11. วิธีที่มีประสิทธิภาพที่จะต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง คือ หยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง โดยการหยุดให้อาหารที่เซลล์มะเร็งจำเป็นต้องนำไปใช้