สวัสดีค่ะน้องๆ ... ช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา ประเทศไทยเจอเรื่องที่หดหู่แบบสุดๆ ขนาดพี่มิ้นท์ เองดูข่าวแล้วยังแทบน้ำตาไหล นั่นก็คือ ข่าวการปฏิบัติภารกิจที่แลกกับชีวิตของเหล่าทหารกล้า เมื่อ ฮ. 3 ลำ (ฮิวอี้ แบล็คฮอว์กและ เบลล์ 212) ตกซ้ำติดต่อกันภายในเวลาไม่ถึง 10 วัน ใน อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 17 คน!! เหตุการณ์นี้คงเป็นอุบัติเหตุครั้งสำคัญที่คนไทยไม่มีวันลืม...
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เลยเป็นแรงบันดาลใจให้ พี่มิ้นท์ สนใจเรื่อง ฮ. มากขึ้น และได้หาข้อมูลมาฝากชาว Dek-D.com ด้วย เพื่อเป็นวิทยาทาน และผลบุญของการให้ความรู้ครั้งนี้ ขออุทิศให้กับผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์นี้ทุกท่านค่ะ
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เลยเป็นแรงบันดาลใจให้ พี่มิ้นท์ สนใจเรื่อง ฮ. มากขึ้น และได้หาข้อมูลมาฝากชาว Dek-D.com ด้วย เพื่อเป็นวิทยาทาน และผลบุญของการให้ความรู้ครั้งนี้ ขออุทิศให้กับผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์นี้ทุกท่านค่ะ
เฮลิคอปเตอร์คืออะไร ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกันก่อนว่า เฮลิคอปเตอร์ หรือ ที่เรียกๆ กันว่า ฮ. นี้ คืออะไร ฮ. ก็คือ อากาศยาน ที่ไม่มีปีก แต่มีใบพัดขนาดใหญ่(มาก)อยู่ด้านบน ดูไปดูมาก็คุ้นๆ คล้ายแมลงปอ ถือว่าเป็นพาหนะที่มีประโยชน์มากๆ ในหน่วยของทหาร สามารถขับเคลื่อน และบินลงในแนวดิ่งได้ แม้จะอยู่ในที่แคบก็ตาม ที่สำคัญยังจอดนิ่งๆ ในอากาศได้อีกด้วย ถ้าน้องๆ เคยดูหนังหรือละคร ก็จะเห็นฉากหน่วยกู้ภัยโรยตัวลงมาจาก ฮ. เพื่อช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ นี่แหละค่ะประโยชน์ของมันในแง่ของการกู้ภัยต่างๆ ซึ่งเครื่องบินอาจจะเทียบไม่ได้เลยในเรื่องนี้
เฮลิคอปเตอร์บินอย่างไร เฮลิคอปเตอร์ไม่มีปีกที่ยึดติดกับลำตัวเหมือนเครื่องบินค่ะ แต่จะมีใบพัดทำหน้าที่ช่วยในการเคลื่อนที่ เรียกว่า โรเตอร์ ใบพัดด้านบนเรียกว่า Main Rotor เมื่อมันหมุนก็จะเกิดแรงฉุดในทิศตั้งฉากกับพื้น ทำให้เครื่องยกขึ้นในลักษณะแนวดิ่ง ซึ่งจะต่างจากเครื่องบินที่จะเคลื่อนไปข้างหน้านั่นเอง ส่วนใบพัดด้านหลังเรียกว่า Tail Rotor เป็นใบพัดชุดเล็กที่หาง ทำหน้าที่แก้แรงจากเครื่องยนต์ โดยจะหมุนไปทิศทางตรงกันข้ามกับ Main Rotor เพื่อบังคับการเลี้ยวและรักษาทิศทางของเฮลิคอปเตอร์ให้ตรง รวมทั้งทำให้ลอยตัวนิ่งๆ ได้ค่ะ
สำหรับการควบคุมทิศทางการบิน เฮลิคอปเตอร์สามารถเคลื่อนที่ไปได้ทุกทิศทางทั้งขึ้นลง ซ้าย ขวา หน้า หลัง ด้วยการปรับมุมเอียงของใบพัด (main rotor) ไปตามทิศทางที่ต้องการ เช่น หากต้องการไปข้างหน้าก็ปรับใบพัดเอียงไปด้านหน้าในขณะที่ยังหมุนอยู่ เพื่อสร้างแรงยกทางด้านหลัง ลองดูรูปประกอบนะคะ
สำหรับในเรื่องความปลอดภัย แม้ว่าเฮลิคอปเตอร์จะมีขนาดเล็ก และองค์ประกอบภายนอกดูบอบบางกว่าเครื่องบิน แต่จริงๆ แล้ว เฮลิคอปเตอร์ก็มีความปลอดภัยสูงทีเดียว ในกรณีที่เครื่องยนต์ขัดข้องไม่สามารถเคลื่อนได้ นักบินก็สามารถทำออโต้โรเตชั่น คือ การบังคับเครื่องโดยไม่อาศัยเครื่องยนต์ แต่จะบังคับเครื่องให้ร่อนลง ด้วยมุมชันมากกว่าปกติ เพื่อรักษาความเร็วของโรเตอร์ไว้ตามเกณฑ์ไม่ให้ร่วงหล่นลงมา และประคับประคองให้ลงจอดในที่ที่ปลอดภัยต่อไป ซึ่งในส่วนนี้เป็นคุณสมบัติที่เครื่องบินไม่สามารถทำได้ หากแต่ว่าสิ่งที่นอกเหนือการควบคุมต่างหากที่เป็นอุปสรรคและปัจจัยหลักทำให้เฮลิคอปเตอร์เกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะสภาพอากาศ เพราะกระแสลมจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการขับเคลื่อน
หากอยู่ในสภาพอากาศปกติ เฮลิคอปเตอร์ก็สามารถขับเคลื่อนได้ไม่มีปัญหาค่ะ แต่ในบางพื้นที่ก็ยากที่จะควบคุมในเรื่องของกระแสลม โดยเฉพาะบริเวณหุบเขาสูง และเมื่อนักบินได้บินไปยังบริเวณสันเขาในพื้นที่ภูเขาสูง อาจจะมีอากาศไหลลงช่องเขาอย่างฉับพลัน ซึ่งเป็นลมความเร็วสูง โดยไม่มีการแจ้งเตือนจากระบบเรดาร์ ลมความเร็วสูงนี้ก็จะพุ่งเข้าด้านข้างของตัวเครื่องอย่างแรง หรือ อาจจะไหลกดส่วนบนของโรเตอร์ โดยมีตัวแปรทั้งในเรื่องความเร็ว ความสูง ทิศทางของกระแสลมกับตำแหน่งของอากาศยาน จนเป็นเหตุให้เครื่องเสียการทรงตัวได้ วิธีแก้ไขมีทางเดียว คือ นักบินต้องบินออกจากแนวลมความเร็วสูงนี้ทันที แต่จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพื้นที่ข้างเคียงก็เป็นหุบเขา จึงบินหลบแนวลมลำบาก จึงอาจเป็นอีกสาเหตุนึงที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ นอกจากนี้อีกปัจจัยนึงก็คือ ความเป็นใจของสภาพท้องฟ้าอากาศด้วย ในสภาพท้องฟ้าปิดทำให้ทัศนวิสัยไม่ดี ก็ควรหลีกเลี่ยงที่จะทำการบิน
โดยสรุปแล้วเฮลิคอปเตอร์ก็เป็นอากาศยานที่มีความปลอดภัยสูง หากแต่มีข้อแม้ที่สำคัญมากๆ ก็คือเรื่องของสภาพอากาศ ที่จะต้องตรวจสอบกันอยู่เสมอ อีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน ก็คือ ความพร้อมของนักบินที่จะต้องมีกำลังกายและใจที่สมบูรณ์ รวมทั้งมีทักษะที่ชำนาญ กล้าตัดสินใจ และความพร้อมของเครื่องยนต์ ก่อนจะทำการบินก็ควรตรวจสอบให้เรียบร้อยด้วยเช่นกัน
ปัจจุบัน กองทัพบกมีเฮลิคอปเตอร์ที่ใช้อยู่หลายประเภทมากๆ ค่ะ แต่ในครั้งนี้ พี่มิ้นท์ ขออนุญาต พูดถึงเพียงสามประเภท นั่นก็คือ "ฮิวอี้" "แบล็คฮอว์ก" และ "เบลล์ 212" เพื่อให้น้องๆ ได้รู้จัก และรำลึกถึงเฮลิคอปเตอร์ที่ประสบอุบัติเหตุค่ะ
"แบล็คฮอว์ก" (Black Hawk) ฮ.ลำที่สอง ที่ส่งไปเพื่อลำเลียงศพนายทหารจากเหตุการณ์ครั้งแรก แต่แล้วก็เกิดสภาพดินฟ้าอากาศแปรปรวนกะทันหัน ทำให้ฟ้าปิดอีกครั้ง จนศูนย์วิทยุสื่อสารภาคพื้นดินไม่สามารถติดต่อได้ เค้าว่ากันว่า แบล็คฮอว์กนี้สร้างขึ้นมาเพื่อทดแทนฮิวอี้โดยเฉพาะ เพราะมีความคล่องตัวเป็นเลิศ ความสามารถในการบินก็เยี่ยม สามารถทำภารกิจได้เอนกประสงค์เช่นกัน โดยเป็น ฮ.ประเภทใช้งานทั่วไปเหมือนฮิวอี้ สร้างโดย บริษัท Sikorsky Aircraft สหรัฐอเมริกา แต่เดิมซื้อมาจำนวน 7 ลำ ปัจจุบันเหลือ 6 ลำ
คุณสมบัติอื่นๆ เครื่องยนต์ T-700-GE-701C เทอร์โบชาฟ จำนวน 2 เครื่องยนต์
น้ำหนักเปล่า 11,500 ปอนด์
น้ำหนักบรรทุกภายนอก 9,000 ปอนด์
ความเร็วในการเดินทาง 120-150 นอต หรือ 222-277 กม./ชม.
"เบลล์ 212" (Bell 212) ฮ.ลำที่สาม ที่ส่งไปเพื่อลำเลียงศพนายทหารจากเหตุการณ์ ฮ.ตกครั้งที่ 2 แต่เกิดปัญหาขัดข้องเครื่องหมุนไปทางขวาไม่สามารถควบคุมได้ สำหรับรุ่นนี้สามารถทำได้ทุกอย่างเหมือนฮิวอี้ แต่มีขนาดใหญ่กว่า และใหม่กว่า ส่วนใหญ่จะใช้ในภารกิจขนส่งต่างๆ ซึ่งยังคงเป็น ฮ.ประเภทใช้งานทั่วไป 14 ที่นั่ง ผลิตในบ.เบลล์เฮลิคอปเตอร์ สหรัฐอเมริกา เช่นเดียวกับ ฮิวอี้ โดยฮ.ชนิดนี้มีถึง 60 ลำ
คุณสมบัติอื่นๆ เครื่องยนต์แพรตแอนด์วิสนีย์ PT6-3B เทอร์โบชาฟ จำนวน 2 เครื่องยนต์
น้ำหนักเปล่า 2,753 กก.
น้ำหนักรวม 5,600 กก.
ความเร็วในการเดินทาง 100 นอต หรือ 180 กม./ชม.
เฮลิคอปเตอร์ทั้ง 3 ลำ เป็นประเภทใช้งานทั่วไปทั้งหมด แต่ในกองทัพบกยังมีเฮลิคอปเตอร์อีกหลายรูปแบบเพื่อใช้ในโอกาส หรือรูปแบบที่แตกต่างกัน ทั้งเฮลิคอปเตอร์ฝึก, เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง และเฮลิคอปเตอร์แบบลำเลียง ไว้ถ้ามีโอกาสพี่มิ้นท์จะนำมาฝากอีกนะคะ
เป็นยังไงมั่งคะ สำหรับเรื่องราวที่นำมาฝากในวันนี้ สำหรับ พี่มิ้นท์ ก็รู้สึกอึ้งและทึ่ง ในความสามารถของมนุษย์ ที่สามารถประดิษฐ์อากาศยานขึ้นมาเอาชนะความฝันที่ครั้งนึงเคยคิดกันว่าจะต้องบินให้ได้ ซึ่งในปัจจุบันก็มีการพัฒนากันมาเรื่อยๆ และใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางทีเดียว อย่างไรก็ตามแม้ว่าเทคโนโลยีทุกๆ อย่างจะมีประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตของคนรุ่นหลังมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ต้องพึงระลึกด้วยว่ามันก็มีโทษเหมือนกัน ดังนั้นก็ควรใช้อย่างมีสติและระมัดระวัง เพราะในท้ายที่สุดเทคโนโลยีก็ไม่มีทางเอาชนะความไม่แน่นอนของชีวิตได้
สุดท้ายนี้...ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งกับการจากไปอย่างไม่มีวันกลับของทหารผู้กล้าทุกคน และขอให้ทหารที่ยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่ มีกำลังใจดีๆ ในการปฏิบัติหน้าที่และปฏิบัติภารกิจทุกอย่างด้วยความปลอดภัยค่ะ สาธุ..
เป็นยังไงมั่งคะ สำหรับเรื่องราวที่นำมาฝากในวันนี้ สำหรับ พี่มิ้นท์ ก็รู้สึกอึ้งและทึ่ง ในความสามารถของมนุษย์ ที่สามารถประดิษฐ์อากาศยานขึ้นมาเอาชนะความฝันที่ครั้งนึงเคยคิดกันว่าจะต้องบินให้ได้ ซึ่งในปัจจุบันก็มีการพัฒนากันมาเรื่อยๆ และใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางทีเดียว อย่างไรก็ตามแม้ว่าเทคโนโลยีทุกๆ อย่างจะมีประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตของคนรุ่นหลังมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ต้องพึงระลึกด้วยว่ามันก็มีโทษเหมือนกัน ดังนั้นก็ควรใช้อย่างมีสติและระมัดระวัง เพราะในท้ายที่สุดเทคโนโลยีก็ไม่มีทางเอาชนะความไม่แน่นอนของชีวิตได้
สุดท้ายนี้...ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งกับการจากไปอย่างไม่มีวันกลับของทหารผู้กล้าทุกคน และขอให้ทหารที่ยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่ มีกำลังใจดีๆ ในการปฏิบัติหน้าที่และปฏิบัติภารกิจทุกอย่างด้วยความปลอดภัยค่ะ สาธุ..
อ่านต่อ : http://www.dek-d.com/content/education/25605/เฮลิคอปเตอร์-ตกกันง่ายๆ-จริงหรือ-.php#ixzz1UnBtMhOb
"ฮิวอี้" (Huey) ฮ.ลำแรกที่ประสบอุบัติเหตุขณะออกลาดตระเวนปฏิบัติภารกิจจับกุมขบวนการบุกรุกพื้นที่ป่าร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯ เป็น ฮ.ขนาดกลาง ประเภทใช้งานทั่วไป 13 ที่นั่ง แต่เป็นสุดยอดเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพบกก็ว่าได้ ทั้งใช้ส่งอาหาร อาวุธ เสบียง กำลังพล ฯลฯ เรียกได้ว่าสร้างประโยชน์มหาศาลเพราะสามารถทำได้หลายอย่าง สร้างโดย บ.เบลล์เฮลิคอปเตอร์ สหรัฐอเมริกา
คุณสมบัติอื่นๆ น้ำหนักบรรทุกภายใน 3,400 ปอนด์
น้ำหนักบรรทุกภายนอก 4,000 ปอนด์
ระบบจรวดไฮดร้า 70 มม. หรือ 2.75 นิ้ว, จรวดขนาด 2.75 นิ้ว
ปืนกล XM93 มินิกัน 2 กระบอก
ความเร็วในการเดินทาง 100 นอต หรือ 180 กม./ชม.
คุณสมบัติอื่นๆ น้ำหนักบรรทุกภายใน 3,400 ปอนด์
น้ำหนักบรรทุกภายนอก 4,000 ปอนด์
ระบบจรวดไฮดร้า 70 มม. หรือ 2.75 นิ้ว, จรวดขนาด 2.75 นิ้ว
ปืนกล XM93 มินิกัน 2 กระบอก
ความเร็วในการเดินทาง 100 นอต หรือ 180 กม./ชม.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น