วอลแตร์
วอลแตร์ (ฝรั่งเศส: Voltaire; 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2237 - 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2321) เป็นนักปรัชญาชาวฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 18 มีชื่อเดิมว่า ฟร็องซัว-มารี อารูเอ (François-Marie Arouet) เกิดที่กรุงปารีสเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2237 (ค.ศ. 1694) ในตระกูลคนชั้นกลาง
ในปี พ.ศ. 2269 (ค.ศ. 1726) วอลแตร์ถูกขังคุกอีกครั้ง เนื่องจากมีเรื่องพิพาทกับขุนนางชั้นผู้ใหญ่คนหนึ่งคือ ดุ๊ก เดอ โรอ็อง-ชาโบ (Duc de Rohan-Chabot) เมื่อออกมาจากคุกเขาถูกเนรเทศไปอังกฤษ (พ.ศ. 2269 - 2271) ทำให้เขาได้มีโอกาสศึกษาปรัชญาของ จอห์น ล็อก (John Locke) นักปราชญ์ชาวอังกฤษและผลงานของ วิลเลียม เชกสเปียร์ (William Shakespeare) ที่มีอิทธิพลต่องานละครและผลงานอื่นของเขาในเวลาต่อมาเป็นอย่างมาก บทละครของวอลแตร์ที่ได้รับอิทธิพลจากเช็คสเปียร์ คือ Zaïre และ Brutus เพียงปีเดียวในประเทศอังกฤษ เขาก็มีผลงานเขียนเป็นภาษาอังกฤษชื่อ Essay Upon Epic Poetry นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2271 (ค.ศ. 1728) เขาก็ได้พิมพ์มหากาพย์ชื่อ La Henriade เพื่อสดุดีพระเจ้าอองรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส ในฐานะกษัตริย์ที่ทรงขันติธรรมในด้านศาสนา เนื่องจากทรงเป็นผู้บัญญัติ “L’Edit de Nantes” ซึ่งเป็นกฎหมายที่ช่วยให้สงครามระหว่างพวกคาทอลิกและโปรแตสแตนท์ยุติลงได้ ซึ่งมหากาพย์นี้ไม่สามารถตีพิมพ์ในประเทศ ฝรั่งเศสเนื่องจากไม่เป็นที่พอใจของราชสำนัก รัฐสภา และพระสันตะปาปา
นอกจากนี้ วอลแตร์ยังนิยมความคิดของนิวตัน (Newton) นักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์ และนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษเป็นอย่างมาก เขาแปลงานของนิวตัน และยังเขียนหนังสือว่าด้วยทฤษฎีของนักวิทยา-ศาสตร์ผู้นี้อีกหลายเล่ม วอลแตร์เห็นว่าแนวความคิดของนิวตันก่อให้เกิดการปฏิวัติในภูมิปัญญาของมนุษย์ เพราะนิวตันเชื่อว่าความจริงย่อมได้จากประสบการณ์และการทดลอง เขาไม่ยอมรับสมมติฐานใด ๆ โดยอาศัยสูตรสำเร็จโดยวิธีของคณิตศาสตร์เพียงอย่างเดียว
เมื่อกลับประเทศฝรั่งเศสวอลแตร์ก็เขียนบทความโจมตีศาสนา เมื่อบาทหลวงปฏิเสธไม่ยอมทำพิธีให้กับนักแสดงละครหญิงซึ่งรับบทแสดงเป็นราชินีโจคาสต์ ในละครเรื่อง Œdipe นับตั้งแต่นั้นมาวอลแตร์จึงโจมตีเรื่องอคติ และการขาดขันติธรรมของศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกอยู่เสมอ แม้จะถูกตักเตือนและถูกข่มขู่จากผู้มีอำนาจเซ็นเซ่อร์งานเขียนของเขา แต่วอลแตร์ก็ไม่เคยเกรงกลัว นอกจากนี้เขายังเปิดโปงทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาเห็นว่าไม่ถูกต้อง
เขาเกือบถูกจับอีกครั้งเมื่อพิมพ์หนังสือชื่อ จดหมายปรัชญา (Les Lettres philosophiques หรือ Lettres anglaises) ออกมาในปี พ.ศ. 2277 (ค.ศ. 1734) จดหมายปรัชญา มีทั้งความคิด เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ที่เขียนด้วยโวหารที่คมคาย พร้อมด้วยการเสียดสีที่ถากถาง วอลแตร์วิพากษ์วิจารณ์ทั้งศาสนา การเมือง วิทยาศาสตร์ ปรัชญา และจบลงด้วยการวิจารณ์แบลส ปาสกาล (Blaise Pascal) นักคิดคนสำคัญทางด้านศาสนาในศตวรรษที่ 17 ผลงานชิ้นนี้ทำให้วอลแตร์กลายเป็นนักปราชญ์ที่ไม่เคยทำให้ผู้อื่นเบื่อ เป็นงานที่ลีลาการเขียนเฉพาะตัวของเขาเริ่มปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน และด้วยหนังสือเล่มนี้ทำให้เขาต้องหนีไปอยู่ที่วังซีเร (Cirey) ของมาดาม ดูว์ ชาเตอเล (Madame du Châtelet) ในแคว้นลอแรนน์ หล่อนเป็นสตรีผู้สูงศักดิ์และทรงความรู้ ทั้งคู่มีความสัมพันธ์กันยาวนานถึง 17 ปี วอลแตร์รักหล่อนมาก นับว่าหล่อนเป็นแรงบันดาลใจที่สำคัญอีกคนหนึ่ง
ตลอดเวลาที่พักอยู่วังซีเร วอลแตร์จะเขียนหนังสืออยู่ไม่หยุด และจะสนใจศึกษาเรื่องวิทยาศาสตร์ด้วย เขามีโอกาสเดินทางไปต่างประเทศ เช่น ประเทศเนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ปรัสเซีย ซึ่งเขาได้กลายเป็นคนโปรดของพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย (Frederic II roi de Prusse) ในปี พ.ศ. 2288 (ค.ศ. 1745) วอลแตร์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นนักประวัติศาสตร์แห่งชาติ และปีต่อมาก็ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกบัณฑิตยสถานของฝรั่งเศส (l’Académie française) และยังได้รับบรรดาศักดิ์เป็นขุนนางอีกด้วย จากการที่วอลแตร์เป็นคนที่มีความสามารถ เขาจึงได้กลายเป็นที่โปรดปรานของมาดาม เดอ ปงปาดูร์ (Madame de Pompadour) พระสนมเอกของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แต่อย่างไรก็ตามชีวิตของเขาก็เริ่มตกอับ กล่าวคือเขาเริ่มเบื่อหน่ายกับชีวิตในราชสำนักที่มีแต่การเอารัดเอาเปรียบ การแก่งแย่งชิงดี ประจบสอพลอ อีกทั้งมาดาม เดอ ปงปาดูร์ ก็หันไปโปรดกวีคนใหม่คือ เครบียง (Crébillon) และยิ่งร้ายไปกว่านั้นในปี พ.ศ. 2292 (ค.ศ. 1749) มาดาม ดูว์ ชาเตอเล ก็ได้เสียชีวิตลง วอลแตร์จึงรู้สึกโดดเดี่ยวอ้างว้างมาก ชะตาชีวิตระหว่างปี พ.ศ. 2286-2290 นี้ นับเป็นแรงบันดาลใจให้เขาแต่งนวนิยายเชิงปรัชญาที่สำคัญ คือ ซาดิก (Zadig ou La Destineé) ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2291 (ค.ศ. 1748)
นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2293 (ค.ศ. 1750) เขาได้รับเชิญจากพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 ให้ไปอยู่ในราชสำนัก ระหว่างที่พักอยู่ที่ราชสำนักเบอร์ลินเขาได้ตีพิมพ์ผลงานที่สำคัญสองเรื่อง คือ ศตวรรษพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (Le Siècle de Louis XIV) และนิทานปรัชญาเรื่อง มีโครเมกา (Micromégas) ต่อมาไม่นานวอลแตร์กลับได้พบความผิดหวังในตัวพระองค์อย่างรุนแรง เพราะพระองค์ทรงเห็นวรรณคดีและปรัชญาเป็นเพียงเครื่องเล่นประเทืองอารมณ์เท่านั้น อีกทั้งพระองค์ทรงเล่นการเมืองด้วยความสับปลับ และเมื่อมีปัญหากับพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 2 วอลแตร์ก็ได้ไปตั้งรกรากอยู่ในเมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่คฤหาสน์เลเดลิส (Les Délices) และอยู่ที่นั่นกับหลานสาวชื่อมาดามเดอนี (Madame Denis) ซึ่งมีความสัมพันธ์กันมาได้สิบปีแล้ว ในปี พ.ศ. 2300 วอลแตร์ซื้อคฤหาสน์ใหม่ที่แฟร์เน (Ferney) ในประเทศฝรั่งเศสติดชายแดนสวิตเซอร์แลนด์ และเขาได้เริ่มเขียนนิทานปรัชญาเรื่อง ก็องดิดด์ หรือ สุทรรศนนิยม (Candide ou L’optimisme) ในปีต่อมา ซึ่งถือกันว่าเป็นผลงานชิ้นเอกของเขาอีกเรื่องหนึ่งเลยที่เดียว ผลงานชิ้นนี้ได้ยืนยันความเป็นปราชญ์ของวอลแตร์ ผู้ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความคิดวิพากษ์ วิจารณ์ในศตวรรษที่18 ได้เป็นอย่างดี
ระหว่างในปี พ.ศ. 2305 – 2308 วอลแตร์ได้ช่วยเหลือครอบครัวกาลาส (Calas) โดยการเรียกร้องความยุติธรรมให้แก่ ฌ็อง กาลาส ผู้เป็นบิดาซึ่งถูกตัดสินลงโทษจนเสียชีวิต จากข้อกล่าวหาว่าฆ่าลูกชายที่ประสงค์จะเปลี่ยนไปนับถือนิกายคาทอลิก เขาจึงได้เขียน บทความว่าด้วยขันติธรรม (Traité sur la tolérance)
ในปี พ.ศ. 2306 ซึ่งพูดถึงการยอมรับศาสนาที่แตกต่างกันออกไปเพื่อช่วยเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับครอบครัวกาลาส เหตุที่เขาเข้าไปช่วยเพราะเขาเห็นว่าไม่มีอะไรเลวร้ายไปกว่าการลงโทษประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์ และคำตัดสินใหม่ก็ทำให้ตระกูลกาลาสพ้นผิด ภรรยาและบุตรธิดาของฌอง กาลาสก็ได้รับทรัพย์สมบัติของตระกูลคืน จากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้วอลแตร์เปรียบเสมือนวีรบุรุษแห่งตำนาน เป็นประทีปแห่งปัญญาที่ไม่เคยมีปัญญาชนคนใดเคยทำมาก่อน
ช่วงนี้วอลแตร์ก็ยังมีผลงานคือ ปทานุกรมปรัชญา (Le Dictionnaire Philosophique) ในปี พ.ศ. 2307 (ค.ศ. 1764) อีกด้วย อย่างไรก็ตามแม้ว่าเขาจะมีความขัดแย้งกับผู้คนจำนวนมาก เพราะความกล้าที่จะเสียดสีสังคมของเขา แต่ในตอนบั้นปลายชีวิตของวอลแตร์ เขาก็ได้รับการต้อนรับอย่างทรงเกียรติ เมื่อเดินทางกลับมายังกรุงปารีส ซึ่งโรงละครกอเมดีฟร็องแซซ (La Comédie Française) จัดแสดงละครโศกนาฏกรรมเรื่องสุดท้ายที่วอลแตร์แต่งคือ อิแรน (Irène) เพื่อฉลองการกลับมาถึงกรุงปารีสของเขา โดยที่ช่วงก่อนการแสดง ช่วงสิ้นสุดแต่ละองค์ และช่วงจบการแสดง นักแสดงได้นำรูปปั้นครึ่งตัวของวอลแตร์ขึ้นบนเวที ฝูงชนก็ตบมือและส่งเสียงเรียกชื่อของเขาดังกึกก้อง
ศตวรรษต่อมาวิกตอร์ อูโก (Victor Hugo) กล่าวว่า "วอลแตร์ คือ 1789" เพราะความคิดของวอลแตร์มีอิทธิพลต่อประชาชนผู้ลุกฮือขึ้นมาทำการปฏิวัติใหญ่ในประเทศฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2332 จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า เมื่อวอลแตร์เสียชีวิตไปในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2321 (ค.ศ. 1778) ขณะที่มีอายุได้ 84 ปีนั้น ทางศาสนาไม่อยากทำพิธีศพให้ แต่เมื่อประชาชนทำการปฏิวัติได้สำเร็จ ก็ได้นำอัฐิของเขาไปยังวิหารป็องเตอง (Le Panthéon) ในปี 1791 ในฐานะผู้ที่ประกอบคุณอนันต์ให้แก่ประเทศฝรั่งเศส
วอลแตร์ได้นำหลักการใช้เหตุผล (L’esprit scientifique) มาแพร่หลายให้แก่ประชาชน เพื่อมาใช้ในการดำเนินชีวิต โดยการใช้เหตุผลแก้ปัญหา และรู้จักคิดพิจารณาก่อนจะเชื่ออะไรง่าย ๆ เขาใช้ผลงานของเขามาเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่แนวความคิดทางปรัชญาและนำไปสู่สาธารณชน เพื่อทำให้ประชาชนได้เห็นได้เข้าใจและตระหนักถึงสิ่งเหล่านั้น ซึ่งแนวคิดและความรู้เหล่านี้จึงเปรียบเสมือนกับแสงสว่างทางปัญญาให้แก่ประชาชน วอลแตร์จึงเป็นผู้ที่มีส่วนทำให้ประชาชนมีเสรีภาพทางความคิดและทำให้ผู้คนสนใจการเมืองการปกครองแบบอังกฤษ
ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าวอลแตร์มีอิทธิพลต่อคริสตวรรษที่ 18 เป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นผลนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและศาสนา ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม “การปฏิวัติฝรั่งเศส พ.ศ. 2332”
ฌ็อง-ฌัก รูโซ
ฌ็อง-ฌัก รูโซ (ฝรั่งเศส: Jean-Jacques Rousseau; 28 มิถุนายน พ.ศ. 2255 - 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2321) เป็นนักปรัชญา นักเขียน นักทฤษฎีการเมือง และนักประพันธ์เพลงที่ฝึกหัดด้วยตนเองแห่งยุคแสงสว่าง
ความเรียงชื่อ "การบรรยายเกี่ยวกับศิลปะและวิทยาศาสตร์" (พ.ศ. 2293) ที่ได้รับรางวัลของเมือง ได้อธิบายว่าความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์นั้น ไม่เป็นประโยชน์กับมนุษย์ เขาได้เสนอว่าพัฒนาการของความรู้ทำให้รัฐบาลมีอำนาจมากขึ้น และทำลายเสรีภาพของปัจเจกชน เขาสรุปว่าพัฒนาการเชิงวัตถุนั้น จะทำลายโอกาสของความเป็นเพื่อนที่จริงใจ โดยจะทำให้เกิดความอิจฉา ความกลัว และ ความระแวงสงสัยงานชิ้นถัดมาของเขา การบรรยายว่าด้วยความไม่เสมอภาค ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาและการทำลายของมนุษย์ ตั้งแต่ในสมัยโบราณ จนถึงสมัยใหม่ เขาเสนอว่ามนุษย์ในยุคแรกสุดนั้น เป็นมนุษย์ครึ่งลิงและอยู่แยกกัน มนุษย์แตกต่างจากสัตว์เนื่องจากมีความต้องการอย่างอิสระ (free will) และเป็นสิ่งที่สามารถแสวงหาความสมบูรณ์แบบได้ เขายังได้กล่าวว่ามนุษย์ยุคบุคเบิกนี้มีความต้องการพื้นฐาน ที่จะดูแลรักษาตนเอง และมีความรู้สึกห่วงหาอาทรหรือความสงสาร เมื่อมนุษย์ถูกบังคับให้ต้องมีความสัมพันธ์กันมากขึ้นเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประฌักร จึงได้เกิดการปรับเปลี่ยนทางด้านจิตวิทยา และได้เริ่มให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของคนอื่น ๆ ว่าเป็นสิ่งสำคัญต่อการมีชีวิตที่ดีของตนเอง รูโซได้เรียกความรู้สึกใหม่นี้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการผลิบานของมนุษย์
วอลแตร์เป็นคนมีการศึกษาดี ฉลาด มีไหวพริบ และมีความสามารถพิเศษทางวรรณศิลป์ เมื่อเขาเข้าศึกษาในโรงเรียนหลุยส์-เลอ-กร็อง (Louis-le-Grand) ที่มีชื่อของพระนิกายเยซูอิต ทำให้วอลแตร์มีความสนใจเรื่องประวัติศาสตร์ร่วมสมัย การเมือง ตลอดจนวรรณกรรมของนักเขียนกรีกโรมัน ซึ่งมีอิทธิพลทำให้เขามีรสนิยมแบบคลาสสิก เมื่อเขาจบการศึกษาวอลแตร์ก็ทำงานเป็นทนายความ แต่ความที่เขาเป็นคนหัวแข็งและชอบขบถ จึงไม่ชอบอาชีพนี้เลย เพราะเขาคิดว่าเป็นตำแหน่งที่ "ซื้อเอาได้" เขาอยากทำงานที่ "ไม่ต้องซื้อหา"
วอลแตร์หันมาเขียนหนังสืออย่างจริงจังเมื่ออายุได้ 20 ปี เขาชอบเขียนหนังสือประเภทเสียดสีสังคมอยู่เสมอ ถึงแม้ว่าเขาจะคบหาสมาคมกับชนชั้นสูงก็ตามแต่เขาก็ไม่ละเว้นที่จะโจมตีชนชั้นนี้ และในปี พ.ศ. 2260 (ค.ศ. 1717) เขาเขียนกลอนล้อเลียนผู้สำเร็จราชการแผ่นดินของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 จึงถูกส่งเข้าคุกบัสตีย์ ขณะที่อยู่ในคุกเขาเขียนบทละครโศกนาฏกรรมเรื่องแรกขึ้นชื่อ เออดิป (Œdipe) ในปี พ.ศ. 2261 (ค.ศ. 1718) เพื่อต่อต้านความเชื่อทางศาสนา ต่อต้านความเชื่อเรื่องโชคเคราะห์ และชะตาลิขิต และเพื่อเน้นความสำคัญทางเสรีภาพของมนุษย์ ละครเรื่องนี้ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม เมื่อนำออกแสดงภายหลังที่เขาพ้นโทษ ก็ส่งผลให้วอลแตร์มีฐานะทัดเทียมกับกอร์เนย (Corneille) และ ราซีน (Racine) นักเขียนบทละครโศกนาฎกรรมที่ยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษที่ 17 และทำให้เขาได้มีโอกาสใช้ชีวิตอย่างหรูหราในราชสำนัก ต่อมาเขาได้ใช้ชื่อ วอลแตร์ (Voltaire) ซึ่งเป็นชื่อที่เขาคิดขึ้นแทนชื่อเดิมในปี พ.ศ. 2269 (ค.ศ. 1726) วอลแตร์ถูกขังคุกอีกครั้ง เนื่องจากมีเรื่องพิพาทกับขุนนางชั้นผู้ใหญ่คนหนึ่งคือ ดุ๊ก เดอ โรอ็อง-ชาโบ (Duc de Rohan-Chabot) เมื่อออกมาจากคุกเขาถูกเนรเทศไปอังกฤษ (พ.ศ. 2269 - 2271) ทำให้เขาได้มีโอกาสศึกษาปรัชญาของ จอห์น ล็อก (John Locke) นักปราชญ์ชาวอังกฤษและผลงานของ วิลเลียม เชกสเปียร์ (William Shakespeare) ที่มีอิทธิพลต่องานละครและผลงานอื่นของเขาในเวลาต่อมาเป็นอย่างมาก บทละครของวอลแตร์ที่ได้รับอิทธิพลจากเช็คสเปียร์ คือ Zaïre และ Brutus เพียงปีเดียวในประเทศอังกฤษ เขาก็มีผลงานเขียนเป็นภาษาอังกฤษชื่อ Essay Upon Epic Poetry นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2271 (ค.ศ. 1728) เขาก็ได้พิมพ์มหากาพย์ชื่อ La Henriade เพื่อสดุดีพระเจ้าอองรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส ในฐานะกษัตริย์ที่ทรงขันติธรรมในด้านศาสนา เนื่องจากทรงเป็นผู้บัญญัติ “L’Edit de Nantes” ซึ่งเป็นกฎหมายที่ช่วยให้สงครามระหว่างพวกคาทอลิกและโปรแตสแตนท์ยุติลงได้ ซึ่งมหากาพย์นี้ไม่สามารถตีพิมพ์ในประเทศ ฝรั่งเศสเนื่องจากไม่เป็นที่พอใจของราชสำนัก รัฐสภา และพระสันตะปาปา
นอกจากนี้ วอลแตร์ยังนิยมความคิดของนิวตัน (Newton) นักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์ และนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษเป็นอย่างมาก เขาแปลงานของนิวตัน และยังเขียนหนังสือว่าด้วยทฤษฎีของนักวิทยา-ศาสตร์ผู้นี้อีกหลายเล่ม วอลแตร์เห็นว่าแนวความคิดของนิวตันก่อให้เกิดการปฏิวัติในภูมิปัญญาของมนุษย์ เพราะนิวตันเชื่อว่าความจริงย่อมได้จากประสบการณ์และการทดลอง เขาไม่ยอมรับสมมติฐานใด ๆ โดยอาศัยสูตรสำเร็จโดยวิธีของคณิตศาสตร์เพียงอย่างเดียว
เมื่อกลับประเทศฝรั่งเศสวอลแตร์ก็เขียนบทความโจมตีศาสนา เมื่อบาทหลวงปฏิเสธไม่ยอมทำพิธีให้กับนักแสดงละครหญิงซึ่งรับบทแสดงเป็นราชินีโจคาสต์ ในละครเรื่อง Œdipe นับตั้งแต่นั้นมาวอลแตร์จึงโจมตีเรื่องอคติ และการขาดขันติธรรมของศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกอยู่เสมอ แม้จะถูกตักเตือนและถูกข่มขู่จากผู้มีอำนาจเซ็นเซ่อร์งานเขียนของเขา แต่วอลแตร์ก็ไม่เคยเกรงกลัว นอกจากนี้เขายังเปิดโปงทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาเห็นว่าไม่ถูกต้อง
เขาเกือบถูกจับอีกครั้งเมื่อพิมพ์หนังสือชื่อ จดหมายปรัชญา (Les Lettres philosophiques หรือ Lettres anglaises) ออกมาในปี พ.ศ. 2277 (ค.ศ. 1734) จดหมายปรัชญา มีทั้งความคิด เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ที่เขียนด้วยโวหารที่คมคาย พร้อมด้วยการเสียดสีที่ถากถาง วอลแตร์วิพากษ์วิจารณ์ทั้งศาสนา การเมือง วิทยาศาสตร์ ปรัชญา และจบลงด้วยการวิจารณ์แบลส ปาสกาล (Blaise Pascal) นักคิดคนสำคัญทางด้านศาสนาในศตวรรษที่ 17 ผลงานชิ้นนี้ทำให้วอลแตร์กลายเป็นนักปราชญ์ที่ไม่เคยทำให้ผู้อื่นเบื่อ เป็นงานที่ลีลาการเขียนเฉพาะตัวของเขาเริ่มปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน และด้วยหนังสือเล่มนี้ทำให้เขาต้องหนีไปอยู่ที่วังซีเร (Cirey) ของมาดาม ดูว์ ชาเตอเล (Madame du Châtelet) ในแคว้นลอแรนน์ หล่อนเป็นสตรีผู้สูงศักดิ์และทรงความรู้ ทั้งคู่มีความสัมพันธ์กันยาวนานถึง 17 ปี วอลแตร์รักหล่อนมาก นับว่าหล่อนเป็นแรงบันดาลใจที่สำคัญอีกคนหนึ่ง
ตลอดเวลาที่พักอยู่วังซีเร วอลแตร์จะเขียนหนังสืออยู่ไม่หยุด และจะสนใจศึกษาเรื่องวิทยาศาสตร์ด้วย เขามีโอกาสเดินทางไปต่างประเทศ เช่น ประเทศเนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ปรัสเซีย ซึ่งเขาได้กลายเป็นคนโปรดของพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย (Frederic II roi de Prusse) ในปี พ.ศ. 2288 (ค.ศ. 1745) วอลแตร์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นนักประวัติศาสตร์แห่งชาติ และปีต่อมาก็ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกบัณฑิตยสถานของฝรั่งเศส (l’Académie française) และยังได้รับบรรดาศักดิ์เป็นขุนนางอีกด้วย จากการที่วอลแตร์เป็นคนที่มีความสามารถ เขาจึงได้กลายเป็นที่โปรดปรานของมาดาม เดอ ปงปาดูร์ (Madame de Pompadour) พระสนมเอกของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แต่อย่างไรก็ตามชีวิตของเขาก็เริ่มตกอับ กล่าวคือเขาเริ่มเบื่อหน่ายกับชีวิตในราชสำนักที่มีแต่การเอารัดเอาเปรียบ การแก่งแย่งชิงดี ประจบสอพลอ อีกทั้งมาดาม เดอ ปงปาดูร์ ก็หันไปโปรดกวีคนใหม่คือ เครบียง (Crébillon) และยิ่งร้ายไปกว่านั้นในปี พ.ศ. 2292 (ค.ศ. 1749) มาดาม ดูว์ ชาเตอเล ก็ได้เสียชีวิตลง วอลแตร์จึงรู้สึกโดดเดี่ยวอ้างว้างมาก ชะตาชีวิตระหว่างปี พ.ศ. 2286-2290 นี้ นับเป็นแรงบันดาลใจให้เขาแต่งนวนิยายเชิงปรัชญาที่สำคัญ คือ ซาดิก (Zadig ou La Destineé) ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2291 (ค.ศ. 1748)
นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2293 (ค.ศ. 1750) เขาได้รับเชิญจากพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 ให้ไปอยู่ในราชสำนัก ระหว่างที่พักอยู่ที่ราชสำนักเบอร์ลินเขาได้ตีพิมพ์ผลงานที่สำคัญสองเรื่อง คือ ศตวรรษพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (Le Siècle de Louis XIV) และนิทานปรัชญาเรื่อง มีโครเมกา (Micromégas) ต่อมาไม่นานวอลแตร์กลับได้พบความผิดหวังในตัวพระองค์อย่างรุนแรง เพราะพระองค์ทรงเห็นวรรณคดีและปรัชญาเป็นเพียงเครื่องเล่นประเทืองอารมณ์เท่านั้น อีกทั้งพระองค์ทรงเล่นการเมืองด้วยความสับปลับ และเมื่อมีปัญหากับพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 2 วอลแตร์ก็ได้ไปตั้งรกรากอยู่ในเมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่คฤหาสน์เลเดลิส (Les Délices) และอยู่ที่นั่นกับหลานสาวชื่อมาดามเดอนี (Madame Denis) ซึ่งมีความสัมพันธ์กันมาได้สิบปีแล้ว ในปี พ.ศ. 2300 วอลแตร์ซื้อคฤหาสน์ใหม่ที่แฟร์เน (Ferney) ในประเทศฝรั่งเศสติดชายแดนสวิตเซอร์แลนด์ และเขาได้เริ่มเขียนนิทานปรัชญาเรื่อง ก็องดิดด์ หรือ สุทรรศนนิยม (Candide ou L’optimisme) ในปีต่อมา ซึ่งถือกันว่าเป็นผลงานชิ้นเอกของเขาอีกเรื่องหนึ่งเลยที่เดียว ผลงานชิ้นนี้ได้ยืนยันความเป็นปราชญ์ของวอลแตร์ ผู้ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความคิดวิพากษ์ วิจารณ์ในศตวรรษที่18 ได้เป็นอย่างดี
ระหว่างในปี พ.ศ. 2305 – 2308 วอลแตร์ได้ช่วยเหลือครอบครัวกาลาส (Calas) โดยการเรียกร้องความยุติธรรมให้แก่ ฌ็อง กาลาส ผู้เป็นบิดาซึ่งถูกตัดสินลงโทษจนเสียชีวิต จากข้อกล่าวหาว่าฆ่าลูกชายที่ประสงค์จะเปลี่ยนไปนับถือนิกายคาทอลิก เขาจึงได้เขียน บทความว่าด้วยขันติธรรม (Traité sur la tolérance)
ในปี พ.ศ. 2306 ซึ่งพูดถึงการยอมรับศาสนาที่แตกต่างกันออกไปเพื่อช่วยเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับครอบครัวกาลาส เหตุที่เขาเข้าไปช่วยเพราะเขาเห็นว่าไม่มีอะไรเลวร้ายไปกว่าการลงโทษประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์ และคำตัดสินใหม่ก็ทำให้ตระกูลกาลาสพ้นผิด ภรรยาและบุตรธิดาของฌอง กาลาสก็ได้รับทรัพย์สมบัติของตระกูลคืน จากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้วอลแตร์เปรียบเสมือนวีรบุรุษแห่งตำนาน เป็นประทีปแห่งปัญญาที่ไม่เคยมีปัญญาชนคนใดเคยทำมาก่อน
ช่วงนี้วอลแตร์ก็ยังมีผลงานคือ ปทานุกรมปรัชญา (Le Dictionnaire Philosophique) ในปี พ.ศ. 2307 (ค.ศ. 1764) อีกด้วย อย่างไรก็ตามแม้ว่าเขาจะมีความขัดแย้งกับผู้คนจำนวนมาก เพราะความกล้าที่จะเสียดสีสังคมของเขา แต่ในตอนบั้นปลายชีวิตของวอลแตร์ เขาก็ได้รับการต้อนรับอย่างทรงเกียรติ เมื่อเดินทางกลับมายังกรุงปารีส ซึ่งโรงละครกอเมดีฟร็องแซซ (La Comédie Française) จัดแสดงละครโศกนาฏกรรมเรื่องสุดท้ายที่วอลแตร์แต่งคือ อิแรน (Irène) เพื่อฉลองการกลับมาถึงกรุงปารีสของเขา โดยที่ช่วงก่อนการแสดง ช่วงสิ้นสุดแต่ละองค์ และช่วงจบการแสดง นักแสดงได้นำรูปปั้นครึ่งตัวของวอลแตร์ขึ้นบนเวที ฝูงชนก็ตบมือและส่งเสียงเรียกชื่อของเขาดังกึกก้อง
ศตวรรษต่อมาวิกตอร์ อูโก (Victor Hugo) กล่าวว่า "วอลแตร์ คือ 1789" เพราะความคิดของวอลแตร์มีอิทธิพลต่อประชาชนผู้ลุกฮือขึ้นมาทำการปฏิวัติใหญ่ในประเทศฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2332 จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า เมื่อวอลแตร์เสียชีวิตไปในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2321 (ค.ศ. 1778) ขณะที่มีอายุได้ 84 ปีนั้น ทางศาสนาไม่อยากทำพิธีศพให้ แต่เมื่อประชาชนทำการปฏิวัติได้สำเร็จ ก็ได้นำอัฐิของเขาไปยังวิหารป็องเตอง (Le Panthéon) ในปี 1791 ในฐานะผู้ที่ประกอบคุณอนันต์ให้แก่ประเทศฝรั่งเศส
ผลงานของวอลแตร์
ผลงานของวอลแตร์มีจำนวนมากมาย หลากหลายประเภททั้งบทละคร นิยาย นิทานเชิงปรัชญา ประวัติศาสตร์ และบทกวี เขาได้รับยกย่องจากคนร่วมสมัยว่าเป็นนักเขียนบทละครชั้นนำและกวีชั้นนำ แต่ในปัจจุบันเขากลับเป็นที่ยกย่องในฐานะนักเขียนเชิงเสียดสี วิพากษ์วิจารณ์ (Le symbole de l’esprit critique) ผลงานของเขาส่วนใหญ่เป็นการเผยแพร่ความคิดทางปรัชญาไปสู่สาธารณชน เพื่อปลุกความคิดวิพากษ์วิจารณ์ให้แก่ชาวฝรั่งเศส เพื่อต่อต้านความคิดระบบสถาบันแบบเก่า การต่อสู้เพื่อขจัดความอยุติธรรมในสังคม รวมทั้งความเชื่อที่งมงายและความบ้าคลั่งทางศาสนา นอกจากนี้เขายังส่งเสริมเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพและการแสดงความคิดเห็นอีกด้วย
อิทธิพลของวอลแตร์
ผลงานตลอดชีวิตของวอลแตร์ได้ก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “ความคิดวิพากษ์วิจารณ์” (L‘esprit critique) แก่ชาวฝรั่งเศสโดยรวม ความคิดวิพากวิจารณ์นี้ทำให้ชาวฝรั่งเศสตั้งคำถามต่อทุกเรื่องทุกเหตุการณ์ที่ปรากฏในสังคมของตน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสถาบันการเมืองการปกครอง โดยเขาได้โจมตีระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สถาบันกษัตริย์ การใช้อำนาจตามอำเภอใจของกษัตริย์ สถาบันศาสนา โจมตีคำสอนความเชื่อที่งมงาย เป็นต้นวอลแตร์ได้นำหลักการใช้เหตุผล (L’esprit scientifique) มาแพร่หลายให้แก่ประชาชน เพื่อมาใช้ในการดำเนินชีวิต โดยการใช้เหตุผลแก้ปัญหา และรู้จักคิดพิจารณาก่อนจะเชื่ออะไรง่าย ๆ เขาใช้ผลงานของเขามาเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่แนวความคิดทางปรัชญาและนำไปสู่สาธารณชน เพื่อทำให้ประชาชนได้เห็นได้เข้าใจและตระหนักถึงสิ่งเหล่านั้น ซึ่งแนวคิดและความรู้เหล่านี้จึงเปรียบเสมือนกับแสงสว่างทางปัญญาให้แก่ประชาชน วอลแตร์จึงเป็นผู้ที่มีส่วนทำให้ประชาชนมีเสรีภาพทางความคิดและทำให้ผู้คนสนใจการเมืองการปกครองแบบอังกฤษ
ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าวอลแตร์มีอิทธิพลต่อคริสตวรรษที่ 18 เป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นผลนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและศาสนา ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม “การปฏิวัติฝรั่งเศส พ.ศ. 2332”
ฌ็อง-ฌัก รูโซ
ฌ็อง-ฌัก รูโซ (ฝรั่งเศส: Jean-Jacques Rousseau; 28 มิถุนายน พ.ศ. 2255 - 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2321) เป็นนักปรัชญา นักเขียน นักทฤษฎีการเมือง และนักประพันธ์เพลงที่ฝึกหัดด้วยตนเองแห่งยุคแสงสว่าง
คำสอนของเขาสอนให้คนหันกลับไปหาธรรมชาติ (back to nature) เป็นการยกย่องคุณค่าของคนว่า "ธรรมชาติของคนดีอยู่แล้วแต่สังคมทำให้คนไม่เสมอภาคกัน" เขาบอกว่า "เหตุผลมีประโยชน์ แต่มิใช่คำตอบของชีวิต ดังนั้นเราจึงต้องพึ่งความรู้สึก สัญชาตญาณและอารมณ์ของเราเอง ให้มากกว่าเหตุผล"
ปรัชญาของรูโซ
ทฤษฎีคนเถื่อนใจธรรม
รูโซเชื่อว่ามนุษย์นั้นเป็นคนดีโดยธรรมชาติ หรือเป็น "คนเถื่อนใจธรรม" (noble savage) เมื่ออยู่ในสภาวะธรรมชาติ (สภาวะเดียวกันกับสัตว์อื่นๆ และเป็นสภาพที่มนุษย์อยู่มาก่อนที่จะมีการสร้างอารยธรรม และสังคม) แต่ถูกทำให้แปดเปื้อนโดยสังคม เขามองสังคมว่าเป็นสิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้น และเชื่อว่าการพัฒนาของสังคม โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของการพึ่งพากันในสังคมนั้น เป็นสิ่งที่อันตรายต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ความเรียงชื่อ "การบรรยายเกี่ยวกับศิลปะและวิทยาศาสตร์" (พ.ศ. 2293) ที่ได้รับรางวัลของเมือง ได้อธิบายว่าความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์นั้น ไม่เป็นประโยชน์กับมนุษย์ เขาได้เสนอว่าพัฒนาการของความรู้ทำให้รัฐบาลมีอำนาจมากขึ้น และทำลายเสรีภาพของปัจเจกชน เขาสรุปว่าพัฒนาการเชิงวัตถุนั้น จะทำลายโอกาสของความเป็นเพื่อนที่จริงใจ โดยจะทำให้เกิดความอิจฉา ความกลัว และ ความระแวงสงสัยงานชิ้นถัดมาของเขา การบรรยายว่าด้วยความไม่เสมอภาค ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาและการทำลายของมนุษย์ ตั้งแต่ในสมัยโบราณ จนถึงสมัยใหม่ เขาเสนอว่ามนุษย์ในยุคแรกสุดนั้น เป็นมนุษย์ครึ่งลิงและอยู่แยกกัน มนุษย์แตกต่างจากสัตว์เนื่องจากมีความต้องการอย่างอิสระ (free will) และเป็นสิ่งที่สามารถแสวงหาความสมบูรณ์แบบได้ เขายังได้กล่าวว่ามนุษย์ยุคบุคเบิกนี้มีความต้องการพื้นฐาน ที่จะดูแลรักษาตนเอง และมีความรู้สึกห่วงหาอาทรหรือความสงสาร เมื่อมนุษย์ถูกบังคับให้ต้องมีความสัมพันธ์กันมากขึ้นเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประฌักร จึงได้เกิดการปรับเปลี่ยนทางด้านจิตวิทยา และได้เริ่มให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของคนอื่น ๆ ว่าเป็นสิ่งสำคัญต่อการมีชีวิตที่ดีของตนเอง รูโซได้เรียกความรู้สึกใหม่นี้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการผลิบานของมนุษย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น