วันพฤหัสบดี, กุมภาพันธ์ 27, 2557

NASA discovers 715 new planets

(CNN) -- Our galactic neighborhood just got a lot bigger. NASA on Wednesday announced the discovery of 715 new planets, by far the biggest batch of planets ever unveiled at once.
By way of comparison, about 1,000 planets total had been identified in our galaxy before Wednesday.
Four of those planets are in what NASA calls the "habitable zone," meaning they have the makeup to potentially support life.
The planets, which orbit 305 different stars, were discovered by the Kepler space telescope and were verified using a new technique that scientists expect to make new planetary discoveries more frequent and more detailed.
"We've been able to open the bottleneck to access the mother lode and deliver to you more than 20 times as many planets as has ever been found and announced at once," said Jack Lissauer, a planetary scientist at NASA's Ames Research Center in California.
Launched in March 2009, the Kepler space observatory was the first NASA mission to find planets similar to Earth that are in, or near, habitable zones -- defined as planets that are the right distance from a star for a moderate temperature that might sustain liquid water.
Tuesday's planets all were verified using data from the first two years of Kepler's voyage, meaning there may be many more to come.
"Kepler has really been a game-changer for our understanding of the incredible diversity of planets and planetary systems in our galaxy," said Douglas Hudgins, a scientist with NASA's astrophysics division.
The new technique is called "verification by multiplicity," and relies in part on the logic of probability. Instead of searching blindly, the team focused on stars that the technique suggests are likely to have more than one planet in their orbit.
NASA says 95% of the planets discovered by Kepler are smaller than Neptune, which is four times as big as Earth.
One of them is about twice the size of Earth and orbits a star half the size of Earth's sun in a 30-day cycle.
The other three planets in habitable zones also are all roughly twice the size of Earth. Scientists said the multiplicity technique is biased toward first discovering planets close to their star and that, when further data comes in, they expect to find a higher percentage of new planets that could potentially have a life-supporting climate like Earth's.
"The more we explore the more we find familiar traces of ourselves amongst the stars that remind us of home," said Jason Rowe, a research scientist at the SETI Institute in Mountain View, California, and co-leader of the research team.

วันจันทร์, กุมภาพันธ์ 17, 2557

สะพานพระพุทธยอดฟ้า

สะพานพระพุทธยอดฟ้า


      
                                      สะพานพระพุทธยอดฟ้าในอดีต
                                ที่มา : ภาพจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ที่ตั้ง  ปลายถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กับปลายถนนประชาธิปก แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
ประวัติความเป็นมา
          สะพานพระพุทธยอดฟ้า หรือชื่ออย่างเป็นทางการ สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่เชื่อมการคมนาคมติดต่อระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรีของกรุงเทพมหานคร ที่ปัจจุบันสะพานแห่งนี้อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท
          เป็นสะพานที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) เมื่อปี พ.ศ. 2472 เนื่องในโอกาสสถาปนากรุงเทพมหานครครบ 150 ปี และโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีฉลองพระนครครบ 150 ปี ด้วยพระราชดำริที่จะสร้างสิ่งที่เป็นอนุสรณ์ถึงความรำลึกในพระกรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ผู้ทรงสถาปนากรุงเทพมหานคร โดยมีพระราชดำริว่าควรสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อมจังหวัดพระนครกับธนบุรีเข้าด้วยกัน เพื่อให้การคมนาคมติดต่อสะดวก ทั้งยังเป็นการขยายพระนครอีกด้วย จึงโปรดเกล้าฯ ให้คิดแบบพระบรมราชานุสาวรีย์ และสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นประกอบกันเป็นปฐมบรมราชานุสรณ์ที่ปลายถนนตรีเพชร ถือเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งที่ 2 ถัดจากสะพานพระราม 6 ที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 6
  โครงการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์และสะพานได้เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2471 โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ (ต่อมาเป็นกรมพระยา) อุปนายกราชบัณฑิตยสภา ซึ่งทรงอำนวยการแผนกศิลปกรรมคิดแบบอย่างเป็นพระบรมรูปทรงเครื่องขัตติยาภรณ์เสด็จประทับเหนือพระราชบัลลังก์และหล่อด้วยทองสำริด ขนาดสูงตั้งแต่ฐานถึงยอด 4.60 เมตร ฐานกว้าง 2.30 เมตร ส่วนสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยานั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน (ต่อมาคือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน) เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ทรงเป็นผู้อำนวยการสร้าง โดยได้เลือกแบบของบริษัทดอรแมนลอง ประเทศอังกฤษ และสร้างเป็นสะพานเหล็กยาว 229.76 เมตร กว้าง 16.68 เมตร ท้องสะพานสูงเหนือน้ำ 7.50 เมตร และอาจยกตอนกลางขึ้นด้วยแรงไฟฟ้า เปิดช่องกว้าง 60 เมตรเพื่อให้เรือใหญ่ผ่านได้สะดวก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์สร้างปฐมบรมราชานุสรณ์ เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2472และโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสะพานว่า สะพานพระพุทธยอดฟ้า
          รัฐบาลได้ประมาณการงบประมาณที่ใช้ในการก่อสร้างปฐมบรมราชานุสรณ์ไว้เป็นจำนวน 4,000,000 บาท พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวนหนึ่ง รัฐบาลส่วนหนึ่ง ส่วนอีกจำนวนหนึ่งนั้นทรงพระราชดำริว่าควรบอกบุญเรี่ยไรประชาชน เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดสะพานเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2475
        
                                      สะพานพระพุทธยอดฟ้าในปัจจุบัน
                                  ที่มา : ภาพจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
 ในปัจจุบัน นอกจากสะพานพระพุทธยอดฟ้าจะเป็นที่ประดิษฐานปฐมบรมราชานุสรณ์แล้ว ยังมีลานสาธารณะให้คนมาใช้พักผ่อนหย่อนใจ และเป็นลานกีฬาของเด็กนักเรียนในย่านนั้นด้วย ทั้งฟุตบอลและสเกตบอร์ด ก็จะมีให้เห็นทุกวันในช่วงเย็นหลังโรงเรียนเลิก
          นอกจากนี้ ในยามค่ำคืนพื้นที่ใต้สะพานพระพุทธยอดฟ้าและสะพานพระปกเกล้าในปัจจุบัน ในยามค่ำประมาณ 18 นาฬิกาเป็นต้นไปจนถึง 23 นาฬิกาโดยประมาณ จะเป็นตลาดนัดยามค่ำคืน ที่มีสินค้าแฟชั่นหลากหลาย โดยเฉพาะสินค้ามือสอง อาทิ เสื้อ กางเกง กระเป๋า รองเท้า เครื่องประดับ อีกทั้งยังมีศิลปินอิสระ ส่วนมากเป็นนักศึกษาเพาะช่าง มารับวาดภาพและขายภาพวาดด้วย ด้วยราคาที่แสนถูก ประกอบกับรูปแบบที่กำลังเป็นที่นิยมของวัยรุ่น ทำให้ตลาดสะพานพุทธในปัจจุบันคลาคล่ำด้วยวัยรุ่นจำนวนมากทุกค่ำคืน มีตลาดนัดสะพานพุทธเปิดทุกวัน ยกเว้นวันจันทร์
ข้อมูลทั่วไป
  • วันที่ทำการก่อสร้าง : วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929)
  • วันเปิด : วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932)
  • บริษัทที่ทำการก่อสร้าง : DORMAN LONG & CO.LTD
  • ราคาค่าก่อสร้าง : 4 ล้านบาทเศษ (ราคาในปี พ.ศ. 2471)
  • แบบของสะพาน : ชนิดเปิด - ปิดได้ ( ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นปิดตาย )
  • โครงสร้างส่วนบน : เป็นลักษณะโครงเหล็กตลอด
  • ความสูงจากระดับน้ำ : 7.30 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
  • ความกว้างของสะพาน : 10.00 เมตร

วันอาทิตย์, กุมภาพันธ์ 09, 2557

กีฬาตีคลี

อุปกรณ์และวิธีการเล่น

๑. ไม้สำหรับตีคลี ทำจากตอไม้ไผ่ขนาดความยาว ๑ เมตร ส่วนปลายของไม้งอนขึ้นเล็กน้อย (คล้ายไม้ฮอกกี้)
๒. ลูกคลี ทำจากไม้ทองหลางหรือขนุนเพราะมีน้ำหนักเบาสามารถตีให้ไปไกล ๆ ได้โดยกลึงให้กลม ๆ ขนาดลูกมะนาวหรือส้มโอ
๓. สนามตีคลี ขนาดกว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร ด้านหลังปักเสาประตูไว้ตรงกลางขนาด ๑ เมตร
๔. ผู้เล่นแบ่งเป็น ๒ ฝ่าย ๆ ละ ๔-๕ คน

วิธีการเล่น

ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายจะนำเอาลูกคลีมากลางสนาม โดยมีหัวหน้าทีมหรือ "ผู้แทนคลี" เป็นผู้ริเริ่มเล่นเหมือนฟุตบอลฝ่ายใดสามารถตีลูกลงหลุมคลีหรือเข้าประตูฝ่ายตรงข้ามได้ก่อนจะเป็นผู้ชนะ


โอกาสในการเล่นตีคลี
การเล่นตีคลี ส่วนใหญ่มักจะเล่นในฤดูหนาว เนื่องจากเป็นฤดูแล้งและจะเล่นกันในทุ่งนา เป็นการออกกำลังกายก่อนจะลงอาบน้ำ โดยทั่วไปมักจะเล่นในเวลากลางคืน โดยเอาลูกเผาไฟให้ลุกแดง เ มื่อตีลูกคลีก็จะกลายเป็นลูกไฟปลิวไปในสนามมองเห็นได้ชัดเจนและสวยงาม

คุณค่า/

สาระ

การตีคลี เป็นการละเล่นพื้นเมืองอย่างหนึ่งของชาวอีสานนิยมเล่นกันมากตามชนบทสมัยโบราณ มีหลักฐานปรากฏในสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ในกฎมณเฑียรบาล มาตราที่ ๑๔ ได้กล่าวถึงสนามคลีว่า "แต่หัวสนามถึงฉานคลีไอยการขุนดาบซ้าย แต่ฉานคลีถึงโรงช้างหล้อไอยการขุดดาบขวา " (กรมศิลปากร ๒๕๒๑ :๓๗) และในมาตราที่ ๓๓ ได้กล่าวถึงข้อบังคับในการเล่นคลีไว้ว่า
"ถ้าทรงม้าคลี แลเรียกขุนหมื่นหัวพัน แลนายม้าจูงเข้าด้วยธินั่งไซ้แลชงโคนนั้นให้ล้วงท้องตัดชายหาง อย่าเอาหน้าม้า ขุนม้านั้นให้แก่หัวเทียมท้ายม้าพระธินั่ง ผู้ใดมิได้ทำตามไอยการแลละเมิดไซ้ โทษศักถ้าดาบ โทษลงหญ้า โทษฆ่าเสีย" (กรมศิลปากร ๒๕๒๑ : ๔๑)
การตีคลีในสมัยโบราณมี ๓ ประเภท คือ
๑. คลีช้าง ผู้เล่นจะต้องขี่ช้างตี นิยมเล่นกันมากในสมัยอยุธยา
๒. คลีม้า ผู้เล่นจะต้องขี่ม้าตี นิยมเล่นกันมากในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
๓. คลีคน ผู้เล่นเดินหรือวิ่งตี การเล่นคลีชนิดนี้จะเล่นได้ ๒ ลักษณะคือ เล่นคลีธรรมดา 
กับเล่นตีคลีไฟ หรือเอาลูกเผาไฟแล้วนำเอามาตี นิยมเล่นกันมากในชนบทท้องถิ่นภาคอีสาน เช่น หนองคาย นครพนม อุบลราชธานี ขอนแก่น ร้อยเอ็ด มหาสารคาม เป็นต้น