เกิด วันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ. 1781 ที่เมืองนิวาคลาสเซิล (New Castle) ประเทศอังกฤษ (England)
เสียชีวิต วันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1848 ที่ประเทศอังกฤษ (England)
ผลงาน - สร้างหัวจักรรถไฟคันแรกของโลก ปัจจุบันการเดินทางด้วยรถไฟถือว่าเป็นวิธีที่สะดวกรวดเร็ว และปลอดภัยมากที่สุดวิธีหนึ่งไม่เพียงแต่การเดินทางเท่านั้น รถไฟ
ยังมีประโยชน์ในกิจการขนส่งอีกด้วย ในปัจจุบันรถไฟสามารถวิ่งเร็วได้กว่า 200 ไมล์ ต่อชั่วโมง แต่รถไฟคันแรกที่สร้างขึ้นโดย
จอร์จ สตีเฟนสันวิ่งได้เพียง 29 ไมล์ต่อชั่วโมง เท่านั้น แต่นั่นคือต้นกำเนิดของกิจการรถไฟทั้งในประเทศอังกฤษ รวมถึงกิจการ
รถไฟของโลก
สตีเฟนสันเกิดเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ. 1781 ที่เมืองนิวคลาสเซิล ประเทศอังกฤษ บิดาของเขาชื่อ โรเบิร์ต สตีเฟนสัน
(Robert Stephenson) เป็นกรรมกรในเหมืองแร่ที่ยากจน ทำให้สตีเฟนสันไม่มีโอกาสได้เข้าเรียนในโรงเรียนเลย อีกทั้งต้อง
ทำงานช่วยเหลือครอบครัวโดยการรับจ้างดูแลฝูงวัว ต่อมาเมื่อเขาอายุได้ 14 ปี ได้เข้าไปทำงานเป็นกรรมในเหมืองถ่ายหิน โดยมี
หน้าที่คัดแยกถ่านหิน และเป็นผู้ช่วยของบิดาในอัตราค่าแรง 1 ปอนด์ต่อสัปดาห์ ในระหว่างที่เขาทำงานในเหมือนถ่านหิน เขาได้
เรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องยนต์กลไกต่าง ๆ ที่ใช้ภายในเหลืองซึ่งเป็นสิ่งที่เขาให้ความสนใจเป็นพิเศษ นอกจากนี้เขายังใช้เวลาในตอน
กลางคืนไปเรียนหนังสือเกี่ยวกับทฤษฎีวิศวกรรมเบื้องต้นอีกด้วย และจากความรู้ความสนใจเรื่องเครื่องกลก็ได้นำประโยชน์มาสู่ เขาในวันหนึ่ง เมื่อเครื่องสูบน้ำภายในเหมืองเกิดเสีย นายช่างของเหมืองหลายคนได้พยายามหาวิธีแก้ไข แต่ไม่สามารถทำได้
แม้แต่หัวหน้าวิศวกรรมของเหมืองก็ไม่สามารถซ่อมได้ สตีเฟนสันรับอาสาซ่อมเครื่องสูบน้ำ และเขาก็สามารถซ่อมได้ เขาได้รับ รางวัลจากผู้จัดการเหมืองจำนวน 10 ปอนด์ และได้เลื่อนตำแหน่งเป็นคนคุมเครื่องจักร ได้รับเงินเดือนปีละ 100 ปอนด์ ทำให้
ฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัวดีขึ้นอย่างมาก
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1768 เจมส์ วัตต์ (James Watt) นักประดิษฐ์ชาวอังกฤษสามารถสร้างเครื่องจักรไอน้ำได้สำเร็จ ได้มีนักประดิษฐ์จำนวนมากนำเครื่องจักรไอน้ำมาใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องจักรชนิดต่าง ๆ มากมาย แต่ก็ไม่เป็นผลมากนัก เช่น
ในปี ค.ศ.1800 นักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศสได้สร้างรถจักรไอน้ำขึ้นแต่ไม่ประสบความสำเร็จเพราะเมื่อนำไปทดลองวิ่งได้วิ่งชน
กำแพง ถึงเขาจะ ได้เสียชีวิตแต่ก็ต้องบาดเจ็บสาหัส ทำให้ต้องล้มเลิกไป ต่อมานักประดิษฐ์ชาวสก๊อตได้นำเครื่องจักรไอน้ำมาสร้าง
เรือกลไฟ ซึ่งได้รับความนิยมอยู่พอสมควรแต่เครื่องจักรไอน้ำใช้การได้ไม่ดีนัก เพราะมีกำลังไม่มากพอ เรือจึงวิ่งด้วยความเร็ว
ไม่มากนัก ต่อมาในปี ค.ศ. 1800 วิชาร์ดทราวิค (Richard Travick) วิศวกรชาวอังกฤษได้สร้างรถจักรไอน้ำเป็นผลสำเร็จ ทาง
เหมืองแร่ที่สตีเฟนสันทำงานอยู่ได้นำรถจักรชนิดนี้มาใช้งานขนถ่านหินภายในเหมือง แต่รถจักรไอน้ำของทราวิคมีข้อเสียหลายอย่าง
ทั้งวิ่งได้ช้า และน้ำหนักมากก็ทำให้ถนนได้รับความเสียหาย จึงมีการสร้างราง (คล้ายรางรถไฟ) สำหรับรถจักรวิ่ง แต่ก็ยังคงมี
ปัญหาอยู่ คือ รถมักตกรางอยู่บ่อย ๆ ทำให้ไม่เป็นที่นิยมนัก ต่อมาจึงมีผู้ปรับเปลี่ยนล้อของรถให้เป็นเหล็ก และมีร่องสำหรับวิ่งบน
รางเหล็กที่สร้างขึ้น แต่ปัญหาที่รถวิ่งได้ช้ามากก็ยังคงมีปัญหา สตีเฟนสันรับอาสาเจ้าของเหมืองว่าจะปรับปรุง ให้รถจักรมีความเร็ว
และประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเจ้าของเหมืองก็ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี สตีเฟนสันใช้เวลานานถึง 10 เดือน ในที่สุดรถจักรของเตา
ก็เป็นผลสำเร็จ ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1814 รถจักรของสตีเฟนสันมีตัวถึงเป็นไม้ มีล้อเหล็ก 4 ล้อ วิ่งได้ 4 ไมล์ต่อชั่วโมง
สามารถลากรถถ่านหินได้ถึง 30 ตัน สตีเฟนสันตั้งชื่อรถองเขาว่า บลูเซอร์ (Blueser)
ในระหว่างนั้นเอ็ดเวิร์ด พิส (Edward Piss) ได้สร้างทางรถไฟจากเมืองสตอคตัน (Stockton) ไปยังเมืองดาร์ลิงตัน
(Daringtion) สำหรับให้รถบรรทุกสินค้าวิ่งได้สะดวกรวดเร็วขึ้น นับว่าเป็นทางรถไฟสายแรกของโลก สตีเฟนสันได้เดินทาง
มาหาพิสเพื่อให้พิสสนับสนุนเขา ในการสร้างรถจักรไอน้ำ โดยสตีเฟนสันได้นำรถจักรที่เขาสร้างมาด้วย พิสได้เห็นถึงความ
สามารถของสตีเฟนสันจึงตกลงให้การสนับสนุนสตีเฟนสัน ในการสร้างหัวรถจักร โดยสตีเฟนสันได้รับค่าจ้างเป็นเงินปีละ
300 ปอนด์ เขาทำงานอย่างหนักตลอดเวลา อีกทั้งได้จ้างผู้ช่วยด้วยเงินส่วนตัวของเขามาช่วยทำงานและในปี ค.ศ. 1825 หัวรถ
จักรคันแรกของโลกก็เกิดขึ้น โดยมีอัตราความเร็ว 15 ไมล์ต่อชั่วโมงแต่ถึงอย่างนั้น รถไฟก็ยังไม่เป็นที่นิยมเท่าไรนัก เพราะคน
ส่วนใหญ่ยังเข้าใจว่า รถจักรยานวิ่งได้ช้าจนกระทั่วคนทั่วไปเริ่มรู้ว่ารถไฟของสตีเฟนสันสามารถวิ่งได้เร็ว และสะดวกสบายกว่า
รถม้า อีกทั้งก็ไม่ต้องหยุดพักเวลาเดินทางไกล ๆ แม้ว่ากิจการรถไฟจะดำเนินไปได้ด้วยดี แต่ก็ถูกขัดขวางในการสร้างทางรถไฟ
จากเจ้าของกิจการรถม้าที่เสียผลประโยชน์ เจ้าของที่ดิน เป็นต้น แต่ทางรัฐบาลอังกฤษได้เล็งเห็นประโยชน์ของกิจการรถไฟ
จึงประกาศใช้กฤษฎีกาใช้สร้างทางรถไฟขึ้นในปี ค.ศ. 1826 ระหว่างเมืองแมนเชสเตอร์ (Manchester) ถึงเมืองลิเวอร์พลู
(Liverpool) การสร้างทางรถไฟสายนี้เป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะต้องสร้างสะพานถึง 36 แห่ง ตัดผ่านภูเขาสูงเจาะ
อุโมงค์ รวมถึงต้องถมบึงบางแห่งด้วย แต่ในที่สุดทุกอย่างก็เป็นได้ด้วยความเรียบร้อย
ในปี ค.ศ. 1872 ทางรถไฟสายนี้ได้เปิดทำการเป็นครั้งแรก สตีเฟนสันได้นำหัวรถจักรคันใหม่ที่เขาได้พัฒนาปรับปรุง
จนมีประสิทธิภาพมากขึ้น และวิ่งได้เร็วถึง 29 ไมล์ต่อชั่วโมง และนายกรัฐมนตรีของอังกฤษดยุคแห่งเวลลิงตัน (Dule of
Wellington) เดินทางมาเป็นเกียรติในงานเปิดทำการเส้นทางรถไฟนี้ ตีเฟนสันถือได้ว่าเป็นบุคคลที่มีความสำคัญที่ทำการ
บุกเบิกกิจการรถไฟให้มีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น เพราะไม่เพียงแต่เป็นผู้สร้างหัวรถจักรเท่านั้น เขายังเป็นผู้คุมงานสร้างทาง
รถไฟอีกด้วย กิจการรถไฟในประเทศอังกฤษมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้นเป็นลำดับ และขยายเส้นทางไปยังเมืองต่าง ๆ ทั่วทั้ง
ประเทศ ไม่เฉพาะในอังกฤษเท่านั้น กิจการรถไฟยังได้ขยายตัวไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย แม้ว่าใน
ปัจจุบันการเดินทางจะมีให้เลือกมากมายหลายทาง ทั้งทางรถยนต์ เครื่องบิน และเรือ แต่การเดินทางด้วยรถไฟก็ยังคงเป็นที่นิยม
กันอยู่ เพราะสะดวก ประหยัด และปลอดภัย
สตีเฟนสันเสียชีวิตในวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1848 ศพของเขาถูกฝังอยู่ที่โบสถ์เวสต์มินสเตอร์ (Westminster Church)
แม้ว่าเขาจะเสียชีวิตไปแล้ว แต่กิจการรถไฟก็ยังคงดำเนินต่อไปโดยผู้ที่สืบทอดกิจการต่อจากเขาก็คือ ริชาร์ด สตีเฟนสัน (Richard
Stephenson) ซึ่งถือได้ว่าคือผู้ที่บุกเบิกกิจการรถไฟจนมีความก้าวหน้ามาจนทุกวันนี้