วันอาทิตย์, ธันวาคม 30, 2555

États membres de l’Union européenne


Berlin est la capitale de l’Allemagne. On parle allemand en Allemagne.
Vienne est la capitale de l’Autriche. On parle allemand en Autriche.
Bruxelles est la capitale de la Belgique. On parle français , néerlandais , allemand en Belgique.
Sofia est la capitale de la Bulgarie. On parle bulgare en Bulgarie.
Nicosie est la capitale de Chypre. On parle grec et turc en Chypre.
Copenhague est la capitale de la Danemark. On parle danois en Danemark.
Madrid est la capitale de l’Espagne. On parle espagnol en Espagne.
Tallinn est la capitale de l’Estonie. On parle estonien en Estonie.
Helsinki est la capitale de la Finlande. On parle finnois et suédois en Finlande.
Paris est la capital de la France. On parle français en France.
Athènes est la capital de la Grèce. On parle grec en Grèce.
Budapest est la capitale de l’Hongrie. On parle hongrois en Hongrie.
Dublin est la capital de la Irlande. On parle irlandais et anglais en Irlande.
Rome est la capital de la Italie. On parle italien en Italie.
Riga est la capital de la Lettonie. On parle letton en Lettonie.
Vilnius est la capital de la Lituanie. On parle lituanien en Lituanie.
Luxembourg est la capital du Luxembourg. On parle luxembourgeois, français et allemand en Luxembourg.
La Valette est la capital de Malte. On parle maltais et anglais à Malte.
Amsterdam est la capital de les Pays-Bas. On parle néerlandais aux Pays-bas.
Varsovie est la capital de la Pologne. On parle polonais en Pologne.
Lisbonne est la capital du Portugal. On parle portugais en Portugal.
Prague est la capital de la République tchèque. On parle tchèque en République tchèque.
Bucarest est la capital de la Roumanie. On parle roumain en Roumanie.
Londres est la capital du Royaume-Uni. On parle anglais au Royaume Uni.
Bratislava est la capital de la Slovaquie. On parle slovaque en Slovaquie.
Ljubljana est la capital de la Slovénie. On parle slovène en Slovénie.
Stockholm est la capital de la Suède. On parle suédois en Suède.



วันเสาร์, ธันวาคม 29, 2555

สตาลิน


สตาลิน (Josif Dzhugashvili Stalin)

stralin.jpg (5216 bytes)               
 เลนิน เรียก โยซิฟ ยูกาชวีลี สตาลิน ว่ามนุษย์เหล็กกล้า เนื่องจากเขาเป็นคนใจแข็งและเยือกเย็น ในยามที่มีอันตราย สตาลิน เป็นนักปฎิวัติ เขาเคยถูกจำคุกและเนรเทศไปไซบีเรีย แต่หลบหนีได้ และต่อมาได้ร่วมกับเลนินและพรรคบอลเชวิก
               สตาลิน เป็นผู้นำการปฎิวัติ ในปี ค.ศ. 1917 ซึ่งนำไปสู่การกำเนิดของรุสเซียใหม่ สหภาพโซเซียลิสต์ หลังมรณกรรมของเลนิน สตาลินได้เป็นประมุขรัฐบาล เขามุ่งหวังจะเปลี่ยนประเทศรุสเซียจากประเทศเกษตรกรรม เป็นประเทศอุตสาหกรรม โดยดำเนินการไปตามลำดับโครงการห้าปี เขายังดำเนินการกวาดล้างต่างๆ ประชาชนเป็นพันๆคน ผู้ที่ต่อต้านเขา ถูกขังคุก หรือ ประหาร
               ในสงครามโลกครั้งที่2 สตาลินป้องกันรุสเซีย ไว้จากการรุกรานของพวกนาซีเยอรมัน   ในปี ค.ศ. 1941 หลังสงครามเขาได้ปกครองอย่างทารุณกระทั่งมรณะกรรมของเขา เขาเป็นคนโหดร้าย แต่ในเวลาที่เขาตายลง รุสเซีย ได้กลายเป็นประเทศอภิมหามหาอำนาจของโลกประเทศหนึ่ง.

การ์ตีเย


การ์ตีเย (Jacques Cartier)

            
    
ในปี ค.ศ. 1534 ชาก การ์ตีเย นักเดินเรือชาวฝรั่งเศส ได้พยายามทีจะค้นหาเส้นทางเดินเรือสายตะวันตกเฉียงเหนือ อ้อมอเมริกาเหนือไปยังประเทศจีน แต่ไม่สำเร็จ
                 ในปี ค.ศ.1536 จึงเดินทางกลับ และได้ค้นพบและสำรวจอ่าวเซนต์ลอเรนว์ กับแม่น้ำเซนต์ลอเรนซ์ เขาได้เรียนรู้จากอินเดียแดงเผ่าหนึ่งว่า เขากำลังอยู่ในดินแดนที่พวกเขาเรียกว่า แคนาดา การ์ตีเยเดินทางไปตามแม่น้ำเซนต์ลอเรนซ์ เข้าไปไกลในแผ่นดินจนถึงที่ซึ่งในปัจจุบันนี้เรียกว่า นครมอนตรีออล เมืองหลวงของมณฑลควิเบก.

ขอบคุณเนื้อหจาก บ้านจอมยุทธ์

วันอังคาร, ธันวาคม 18, 2555

Je me présente.


Salut Luisa !
Je me présente.
       Je m’appelle Piyakarn JAPÏDEE ou Nongnoo. Je suis thaïlandaise. J’aime le voyager. J’adore Léonard De VINCI. Je n’aime pas du sport mais j’aime regarder le sport. Et toi ?
Salut
Piyakarn JAPÏDEE

วันพุธ, ธันวาคม 12, 2555

ราชาดนตรียุคฮิปปี้ 'รวี แชงการ์' ลาโลกในวัย92


นักเล่นซิตาร์ผู้เป็นตำนาน รวี แชงการ์ เสียชีวิตในวัย 92 หลังการผ่าตัดที่แคลิฟอร์เนีย นายกรัฐมนตรีอินเดียยกย่องเป็นสมบัติของชาติ
 ราชาดนตรียุคฮิปปี้ 'รวี แชงการ์' ลาโลกในวัย92
รวี แชงการ์ ชาวอินเดีย ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจของวงดนตรียุคบุปผาชน เดอะ บีเทิล และนักไวโอลิน เยฮูดี เมนูฮิน ได้สิ้นใจเมื่อวันอังคาร ในโรงพยาบาลที่เมืองซานดิเอโก มลรัฐแคลิฟอร์เนีย หลังการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ เขาเป็นบิดาของนักร้องนักแต่งเพลงชาวอเมริกัน โนราห์ โจนส์ และนักเล่นซิตาร์ อนุสกา แชงการ์

@ รวี แชงการ์ กับบุตรสาว อนุสการ์

นายกรัฐมนตรีอินเดีย มันโมฮัน ซิงห์ ได้กล่าวเชิดชูแชงการ์ ที่ได้ทำให้โลกรู้จักเครื่องดนตรีประจำชาติ ซิตาร์ และเพลงคลาสสิกของอินเดีย โดยบอกว่าเขาเป็น "สมบัติของชาติ และเป็นทูตแห่งมรดกทางวัฒนธรรมของอินเดีย"

"ยุคสมัยหนึ่งได้ผ่านพ้นไป ประเทศชาติร่วมกับผมในการแสดงความคารวะต่ออัจฉริยภาพอันหาที่เปรียบมิได้ของเขา ศิลปะของเขา และความอ่อนน้อมถ่อมตนของเขา" ซิงห์กล่าว

แชงการ์ ซึ่งมีบ้านในแคลิฟอร์เนียและอินเดีย เกิดในวรรณะพราหมณ์ ที่เมืองพาราณสี ทางตอนเหนือของอินเดียเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2463

เขาเคยสอนมิตรผู้ล่วงลับ จอร์จ แฮริสัน แห่งวงบีเทิล ให้เล่นซิตาร์ และได้ร่วมงานกันหลายครั้ง เช่น คอนเสิร์ตเพื่อบังกลาเทศ เมื่อปี 2514 เพื่อเรียกร้องให้ผู้คนหันมาสนใจประเทศที่บอบช้ำด้วยสงครามแห่งนี้ แฮร์ริสันได้เรียกเขาว่า "พ่อทูนหัวของดนตรีโลก" ขณะที่เมนูฮิน ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นนักไวโอลินที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 20 เปรียบแชงการ์เหมือนโมสาร์ต

แชงการ์ ผู้เคยได้รับรางวัลแกรมมี่ 3 ครั้ง เคยร่วมคอนเสิร์ตกับเจนิส โจพลิน และจิมี เฮนดริกซ์ ในเทศกาลวูดสต็อกที่มลรัฐนิวยอร์กเมื่อปี 2512 ซึ่งมีผู้คนเข้าฟังราว 500,000 คน ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมที่สำคัญที่สุดครั้งหนึ่งของศตวรรษที่ 20

เหล่าบุปผาชน หรือฮิปปี้ ต่างยกย่องแชงการ์ ซึ่งมักแต่งกายด้วยชุดพื้นเมืองของอินเดีย และนั่งกับพื้นขณะเล่นซิตาร์

ภรรยาของเขา สุกัญญา และอนุสกา บุตรสาวหนึ่งในสองคนของแชงการ์ เปิดเผยข่าวการถึงแก่กรรมทางทวิตเตอร์ว่า เขามีสุขภาพไม่ดีตลอดหลายปีมานี้ เมื่อวันพฤหัสบดีที่แล้ว เขาได้เข้ารับการผ่าตัด แม้หมอได้พยายามอย่างสุดกำลัง แต่เขาไม่สามารถทนรับการผ่าตัดได้ "เราอยู่เคียงข้างเขาในตอนที่เขาจากไป"

"แม้เป็นห้วงเวลาเวลาของความโศกเศร้า แต่ก็เป็นโมงยามที่เราทุกคนจะขอบคุณที่เราได้มีเขาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเรา"

ครอบครัวของเขาและมูลนิธิรวีแชงการ์ บอกว่า เขาป่วยด้วยระบบทางเดินหายใจและโรคหัวใจ

แชงการ์ได้เล่นคอนเสิร์ตครั้งหลังสุดเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ที่เมืองลองบีช แคลิฟอร์เนีย ร่วมกับอนุสกา ลูกสาวผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแกรมมี เขาอาศัยอยู่กับภรรยาคนที่สอง, ลูกสาว 2 คน, หลาน 3 คน และเหลน 4 คน

ทางครอบครัวเผยว่า จะประกาศแผนการจัดพิธีไว้อาลัยในเร็ววันนี้ และว่า ในคืนก่อนที่จะผ่าตัด เขาได้รับแจ้งว่า อัลบั้มล่าสุดของเขา The Living Room Sessions, Part 1ได้รับการเสนอเข้าชิงรางวัลแกรมมีประจำปี 2013

Source : AFP

วันศุกร์, ธันวาคม 07, 2555

เกาหลีใต้: ความปราชัยของการศึกษา ชัยชนะของรร.กวดวิชา พันธนาการที่สะบัดไม่หลุดของเยาวชน


เกาหลีใต้: ความปราชัยของการศึกษา ชัยชนะของรร.กวดวิชา พันธนาการที่สะบัดไม่หลุดของเยาวชน


ในคืนวันฝนตกในกรุงโซล เจ้าหน้าที่ราชการหกคนรวมตัวกันที่สำนักงาน เพื่อเตรียมตัวก่อนที่จะออกไปลาดตระเวนยามค่ำคืน หน้าที่ของพวกเขาก็ไม่ยากอะไรนัก ซึ่งก็คือการค้นหาเด็กๆที่ยังคงติวหนังสือหลังจากเวลาสี่ทุ่ม และหยุดการกระทำของเยาวชนเหล่านั้น

ในเกาหลีใต้ การเรียนหนักเช่นนี้ถือเป็นเรื่องปกติ และนำมาสู่มาตรการลดอาการเสพติดการติวหนังสือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามสถาบันกวดวิชาที่ยังคงเปิดสอนเกินเวลา หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า "ฮักวอน" (hagwon) ทางการเริ่มบังคับใช้กฎเคอร์ฟิวแก่สถาบันเหล่านั้น หรือแม้กระทั่งการให้เงินล่อใจแก่ประชาชนที่สามารถชี้จุดให้ทางการทราบว่ามีโรงเรียนกวดวิชาใดที่เปิดหลังสี่ทุ่ม

โรงเรียนกวดวิชาในย่านกังนัม

ปฏิบัติการเป็นไปอย่างเรียบง่าย โดยมีชา บอง ชุล เจ้าหน้าที่สำนักงานการศึกษาเขตกังนัมของกรุงโซล เป็นหัวหน้าทีม เขากล่าวว่า ในการลาดตระเวนครั้งหนึ่ง เคยตรวจพบเด็กหญิง-ชายมากกว่า 10 คนรวมตัวอยู่บนอาคารโรงเรียนกวดวิชาแห่งหนึ่งหลังห้าทุ่ม ก่อนที่จะแนะนำให้เด็กๆกลับบ้านเสีย โดยกล่าวแต่เพียงว่า คนที่กระทำผิดคือโรงเรียนกวดวิชา ไม่ใช่พวกเขา

ชากล่าวว่า โดยทั่วไปเขาจะเริ่มออกสำรวจเมื่อเวลาผ่านไป 20 นาทีหลังสี่ทุ่มเป็นต้นไป ดังนั้น คนที่ถูกจับได้จึงไม่มีข้อแก้ตัวใดๆ ก่อนที่จะมุ่งหน้าไปยังย่านแดจิดอง ซึ่งเป็นย่านที่เต็มไปด้วยโรงเรียนกวดวิชาสารพัดแบบ บนท้องถนนเต็มไปด้วยพ่อแม่ผู้ปกครองที่มารับบุตรหลานของตน

เมื่อเวลาห้าทุ่มมาถึง เขาเดินเลี้ยวเข้าไปยังตรอกเล็กๆแห่งหนึ่ง ก่อนที่จะเดินขึ้นชั้นบนของอาคารต้องสงสัย บนชั้นสอง เจ้าหน้าที่หญิงของหน่วยเป็นผู้เคาะประตูเรียกคนที่อยู่ด้านใน ก่อนที่จะมีเสียงแว่วๆออกมาให้รอสักครู่ เช่นนั้น เขาจึงส่งให้หนึ่งในทีมลงไปดักอยู่ด้านล่างบริเวณหน้าลิฟท์ และการจับกุมก็เริ่มขึ้น


การบุกทลายโรงเรียนกวดวิชาเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการลด"วัฒนธรรมการศึกษาอย่างเอาเป็นเอาตาย"ของเกาหลีใต้ ในการสอบแข่งขันทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ รัฐบาลได้พยายามปรับเปลี่ยนรูปแบบของข้อสอบและนโยบายการรับเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย เพื่อหวังลดความกดดันของนักเรียน และมุ่งเน้นไปที่การเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์แทน

แต่ปัญหาดังกล่าว นับวันยิ่งจะฝังรากลึกลงในระบบการศึกษาของเอเชีย ที่เกิดค่านิยมใหม่ว่า การศึกษาที่ดีที่สุดเท่านั้น จึงจะนำมาสู่ความสำเร็จทางอาชีพการงาน โดยพบว่าครอบครัวชาวจีน เริ่มจ้างครูสอนพิเศษให้แก่ลูกหลายของตนมาตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 7

แต่เกาหลีใต้ไปไกลกว่านั้น โดยในปี 2010 พบว่ากว่า 74% ของนักเรียนเกาหลีทั้งหมด จะต้องเคยร่วมการกวดวิชาไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง บางครั้งเราเรียกการศึกษาเช่นนี้ว่า "การศึกษาเงา" (shadow education) โดยนักเรียนแต่ละคนจะต้องเสียค่าใช้จ่ายไปเฉลี่ยปีละ 2,600 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 78,000 บาท)


นอกจากนั้นยังพบว่า จำนวนครูในโรงเรียนกวดวิชามีมากกว่าครูในโรงเรียนปกติ และครูหรือติวเตอร์ที่ได้รับความนิยม อาจมีรายได้มากกว่าหลายล้านดอลลาร์ต่อปี ทั้งการสอนผ่านออนไลน์ และการสอนแบบตัวต่อตัว จนครั้งหนึ่ง รัฐมนตรีศึกษาธิการของสิงคโปร์ ได้ให้คำตอบต่อคำถามที่ว่า ประเทศควรพึ่งพาการเรียนการสอนแบบโรงเรียนกวดวิชาหรือไม่ โดยเขาตอบอย่างมีความหวังว่า "ที่บ้านเราคงไม่เลวร้ายเท่าที่เกาหลี"

ในกรุงโซล นักเรียนจำนวนมากที่พลาดหวังกับการสอบเข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ ต่างใช้เวลาตลอดทั้งปี ในการทุ่มเทศึกษาในโรงเรียนกวดวิชา เพื่อพัฒนาคะแนนให้สูงพอที่จะสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่ต้องการ ไม่เว้นแม้แต่การแข่งขันเพื่อเข้าเรียนในโรงเรียนกวดวิชาชั้นนำ ที่สถาบันแดซุง การรับนักเรียนจะพิจารณาถึงคะแนนทดสอบ โดยมีเพียง 14% ของผู้เข้าสอบทั้งหมดเท่านั้นที่สมหวัง หลังจากการเรียนอย่างหนักทั้งสิ้น 14 ชม.ต่อวัน นักเรียนกว่า 70%ของที่นี่ สามารถเข้าเรียนในสถาบันระดับอุดมศึกษาชั้นนำ 3 อันดับแรกของประเทศได้สำเร็จ


เมื่อมองจากสายตาของคนนอก ผลการศึกษาของนักเรียนที่นี่ถือว่าน่าภูมิใจ และเป็นที่อิจฉาของประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคะแนนในวิชาการอ่านและคณิตศาสตร์ จนกระทั่งประธานาธิบดีบารัก โอบามา และรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการสหรัฐฯ ต้องเอ่ยปากชมความกระตือรือร้นของพ่อแม่ชาวเกาหลี ที่สนับสนุนการศึกษาของบุตรหลานอย่างเต็มกำลัง

หากว่าปราศจากความลุ่มหลงในการศึกษาแล้ว เกาหลีใต้อาจไม่ได้เปลี่ยนแปลงสู่ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกเช่นในทุกวันนี้ โดยนับตั้งแต่ปี 1962  ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) พุ่งขึ้นมากถึง 40,000% และทำให้เกาหลีใต้กลายเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 13 ของโลก


ขณะที่ผู้นำประเทศ แสดงความกังวลว่า หากยังคงปล่อยให้ระบบที่ไม่มีความยืดหยุ่นและขาดการจัดลำดับความสำคัญดำเนินต่อไป เศรษฐกิจก็จะประสบกับภาวะชะงักงันในที่สุด และความเติบโตก็จะอยู่ในภาวะถดถอย ขณะที่พ่อแม่ผู้ปกครองยังคงต้องแบกรับภาระในการจ่ายค่าเรียนพิเศษให้แก่ลูกหลานของตนต่อไป

แต่ในเอเชีย ไม่ได้มีเพียงเกาหลีที่ต้องประสบกับภาวะเช่นนี้ ขณะที่หลายโรงเรียนพยายามปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เป็น"อเมริกัน"มากขึ้น แต่พบว่าโรงเรียนในสหรัฐฯบางแห่งพยายามปรับเปลี่ยนให้เป็นแบบ"เอเชีย"แทน

ในประเทศจีน มหาวิทยาลัยหลายแห่งเริ่มใช้บททดสอบใหม่ โดยมุ่งเน้นไปยังนักศึกษาที่มีความสามารถพิเศษ นอกเหนือจากความรู้จากการศึกษาจากตำราเรียนทั่วไป ขณะที่ไต้หวัน เริ่มประกาศใช้นโบายใหม่ โดยเด็กๆไม่ต้องหน้าดำคร่ำเครียดกับการทำข้อสอบเพื่อเข้าเรียนในระดับมัธยมปลายอีกต่อไป และหากว่าเกาหลี ซึ่งอยู่ ณ ตำแหน่งสูงสุดของการศึกษาแบบสุดขั้ว สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เหมาะสม นั่นจะทำให้เกาหลีเป็นประเทศต้นแบบให้แก่ประเทศอื่นๆได้ไม่ยาก

แต่ปัญหาไม่ได้อยู่ที่เด็กๆชาวเกาหลีใต้ได้รับการศึกษาที่ไม่เพียงพอ หรือเล่าเรียนให้หนักมากพอ แต่กลับพบว่าพวกเขาเรียนกันอย่างไม่รอบคอบพอ จากการสำรวจในบางโรงเรียนพบว่า หนึ่งในสามของนักเรียนแอบงีบหลับระหว่างที่ครูกำลังสอน และดูเหมือนว่าไม่มีใครสนใจจะปลุกพวกเขาให้ตื่น ร้านกิฟท์ช็อปหลายแห่งจำหน่ายหมอนที่ทำขึ้นมาพิเศษ เพื่อให้ผู้ใช้สวมบริเวณแขนและนอนหลับบนโต๊ะเรียนได้อย่างสบายยิ่งขึ้น นั่นเท่ากับว่า เด็กสามารถหลับในชั้นเรียนได้มากขึ้น แต่ต้องไปใช้เวลาในชั้นเรียนพิเศษจนดึกดื่นเพิ่มขึ้น

เมื่อเปรียบเทียบกับฟินแลนด์ ซึ่งเป็นประเทศเดียวในยุโรป ที่ยังคงมีระบบการสอบเข้าเรียนชั้นมัธยมปลายคล้ายคลึงกับเกาหลีใต้ พบว่าฟินแลนด์มีค่าใช้จ่ายในการเข้าเรียนทั้งในโรงเรียนรัฐบาลและเอกชนรวมกันน้อยกว่าของเกาหลีใต้ และมีเพียงนักเรียนเพียง 13% เท่านั้น ที่ต้องเรียนพิเศษหลังการศึกษาภาคปกติ


ชาวเกาหลีจำนวนมากต่างโอดครวญกับความไร้ประสิทธิภาพในระบบการศึกษามานานหลายปี ขณะที่รัฐบาลได้พยายามที่จะทำให้ระบบการศึกษา"มีความเป็นมนุษย์"ยิ่งขึ้นกว่านี้อยู่หลายครั้ง อาทิ ลดความซับซ้อนของข้อสอบแอดมิชชันลง เพิ่มประสิทธิภาพของการเรียนนอกเวลา และไปไกลถึงขั้นการแบนโรงเรียนกวดวิชาในช่วงยุค 1980 แต่จากความพยายามครั้งแล้วครั้งเล่าดังกล่าว ยิ่งทำให้โรงเรียนกวดวิชากลับมาเข้มแข็งยิ่งขึ้น เนื่องมาจากค่านิยมการให้รางวัลยังคงไม่เปลี่ยนแปลง เด็กชาวเกาหลีมุมานะเพื่อการศึกษาเพียงเพื่อเหตุผลเดียว นั่นก็คือการได้เล่าเรียนในมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ แม้หนทางจะยากลำบาก แต่ผลตอบแทนหากทำได้กลับยิ่งใหญ่กว่านั้น

แต่ ณ ขณะนี้ หน่วยงานการศึกษากล่าวแย้งว่า การปฏิรูปมิได้พุ่งเป้าไปที่"อาการ"ของความไร้สมรรถภาพเท่านั้น แต่ยังมุ่งไปที่ต้นเหตุของมัน และพยายามทำงานเพื่อเร่งปรับปรุงโรงเรียนรัฐบาลทั่วไป โดยการประเมินคุณภาพครูอาจารย์และวิธีการทำงานอย่างเข้มงวด ที่รวมถึงการให้นักเรียน ผู้ปกครอง และคณาจารย์ด้วยกันทำแบบสำรวจความคิดเห็น และฝึกอบรมความรู้ให้แก่ครูที่ได้รับคะแนนจากการประเมินต่ำ

ในขณะเดียวกัน รัฐบาลหวังที่จะลดความเครียดของนักเรียน โดยวิธีการลงโทษทางกายทุกประเภทถูกสั่งห้ามโดยเด็ดขาด แม้ว่านักเรียนจำนวนมากจะกล่าวว่า พวกเขายังเห็นวิธีการเช่นนี้อยู่ก็ตาม นอกจากนั้น การสอบแอดมิชชันเข้าโรงเรียนมัธยมปลายแบบ"พิเศษ" อาทิเช่น โรงเรียนที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ ก็ถูกยกเลิกด้วยเช่นกัน

ขณะที่โรงเรียนในระดับกลาง จะรับเด็กเข้าเรียนโดยพิจารณาถึงเกณฑ์พื้นฐานของเกรดเฉลี่ยและการสัมภาษณ์ โดยเจ้าหน้าที่ที่ทำการสอบกว่า 500 คน จะถูกส่งไปยังมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วประเทศ เพื่อทำการคัดเลือกผู้เข้าเรียน โดยมิได้คำนึงเฉพาะแต่คะแนนสอบและเกรดเฉลี่ยอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังพิจารณาถึงความสามารถของแต่ละบุคคลด้วย

ไม่มีใครออกมาแก้ตัวให้แก่สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน นักเรียนชายชั้น ม.ปลายคนหนึ่งกล่าวว่า "พวกเราเรียนตลอดเวลา ยกเว้นก็แต่ตอนนอนเท่านั้น"

โดยปกติ การเรียนหนังสือในเกาหลีจะเริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ 8 โมงเช้า และสิ้นสุดลงประมาณ 4 ทุ่ม กระทั่งถึงตีหนึ่ง ขึ้นอยู่กับแรงฮึดของนักเรียนแต่ละคน แต่ก็มียกเว้นในโรงเรียนที่สอนในสายวิชาชีพบ้าง แต่ส่วนใหญ่มักต้องยอมสยบให้แก่พ่อแม่ที่คอยรบเร้าให้เรียนเพิ่ม หรือแรงกดดันที่ได้เห็นเพื่อนๆคนอื่น นักเรียนชายคนหนึ่งเปิดเผยว่า เขารู้สึกเจ็บปวดใจทุกครั้งที่เห็นเพื่อนๆกลายเป็นคู่แข่งกัน แทนที่จะช่วยเหลือกันอย่างแต่ก่อน

ผู้ปกครองกลายเป็นตัวขับสำคัญในสังเวียนการแข่งขันด้านการศึกษา และไม่มีทางที่จะเปลี่ยนความคิดได้ง่ายๆ ฮานยุนฮี ครูสอนภาษาอังกฤษที่โรงเรียนมัธยมจองบาล ในเมืองอิลซาน ย่านชานกรุงโซล ความวิตกกังวลของผู้ปกครองเป็นสิ่งที่ไม่มีทางลบออกง่ายๆ เธอแนะนำให้นักเรียนของเธอเลิกเรียนพิเศษเสีย และตั้งใจเรียนในชั้นเรียนยิ่งขึ้น แต่ผู้ปกครองก็ยังรู้สึกกังวลทุกครั้งที่บุตรหลานของตนไม่ได้ไปเรียนพิเศษหลังเลิกเรียน

บางครั้งก็เป็นการยากที่จะทราบว่า "ใครแข่งขันกับใคร" เด็กๆ หรือว่าเหล่าแม่ๆของพวกเขา ในข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยปี 1964 มีคำถามหนึ่งถามว่า ส่วนประกอบในท็อฟฟี่มีอะไรบ้าง แต่ผู้ออกข้อสอบกลับทำให้มันมีสองคำตอบโดยไม่ตั้งใจ และเพื่อเป็นการประท้วงความประมาทเลินเล่อในครั้งนั้น บรรดาแม่ของเด็กทั้งหลาย ได้ประท้วงโดยการทำท็อฟฟี่หน้าที่ทำการรัฐบาล โดยใช้ส่วนผสมต่างๆกัน และในที่สุด พวกเธอก็เป็นฝ่ายชนะ และทำให้รมช.ศึกษาธิการต้องขอลาออก ทำให้นักเรียนหลายคนสามารถเข้าเรียนมหาวิทยาลัยได้อีกครั้ง

กระทรวงศึกษาธิการ ยังชี้ให้เห็นถึงความสำเร็จประการหนึ่ง ซึ่งก็คือสามารถตัดค่าใช้จ่ายในส่วนการศึกษาภาคเอกชนได้ถึง 3.5% ในปี 2010 ซึ่งถือว่าลดลงครั้งแรกนับตั้งแต่ที่มีการจับตาดูตัวเลขนี้ตั้งแต่ปี 2007 ขณะที่ชาวเกาหลียังคงใช้จ่ายเงินเป็นค่าเรียนพิเศษมากถึง 2% ของจีดีพีทั้งประเทศ

แอนดรูว์ คิมเชื่อว่าระบบการศึกษาของเกาหลีใต้ยังมาไม่ถูกทาง

แอนดรูว์ คิม ซึ่งเป็นติวเตอร์สอนภาษาอังกฤษที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งของสถาบัน Megastudy โรงเรียนกวดวิชาที่ใหญ่ที่สุดของเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า เขามีรายได้จากการสอนแบบออนไลน์ และในชั้นเรียน มากกว่า 4 ล้านดอลลาร์เมื่อปีที่แล้ว  เขาเห็นด้วยที่ว่าระบบการศึกษายังอยู่ไกลเกินกว่าที่จะเรียกได้ว่า"อุดมคติ" และเขายังไม่เห็นว่านโยบายปฏิรูปการศึกษาจะส่งผลกระทบใดต่อรายได้ของเขา แอนดรูว์กล่าวว่า ยิ่งมาตรการเข้มงวดเท่าใด โรงเรียนกวดวิชาก็สามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมได้มากเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น เพื่อเป็นการแก้ลำนโยบายการประกาศเคอร์ฟิวแก่โรงเรียนกวดวิชาของรัฐบาล โรงเรียนต่างๆก็ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนเป็นแบบออนไลน์มากยิ่งขึ้น

ขณะที่โรงเรียนกวดวิชาที่ยังคงเปิดท้าทายกฎหมาย ก็ยังคงเปิดหลังเวลาเคอร์ฟิวโดยใช้วิธีการพรางตัว

จากการสำรวจในย่านแดจิดอง เจ้าหน้าที่ได้รอจนกระทั่งมีคนมาเปิดประตู ก่อนที่จะเข้าไปสำรวจด้านใน ซึ่งเป็นห้องขนาดเล็กที่มีเพดานเตี้ย อากาศเหม็นอับ โดยมีหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ให้ความสว่าง นักเรียนกว่า 40 คน จะมีโต๊ะเขียนหนังสือเล็กๆเป็นของตนเอง ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้ว สภาพไม่แตกต่างจากห้องสมุดเล็กๆเท่าใดนัก มากกว่าจะเป็นโรงเรียนกวดวิชา

นักเรียนทุกคนได้รับเอกสารและการบ้านอย่างเดียวกัน และมีผู้ใหญ่กลุ่มหนึ่งที่ดูคล้ายว่าทำหน้าที่เป็นครู ซึ่งหนึ่งในนั้นปฏิเสธว่าตนไม่ได้ทำอะไรผิด โดยกล่าวว่าตนมาทำงานของตนเองเท่านั้น และไม่ได้มาสอนหนังสือแต่อย่างใด ขณะที่ชา บอง ชุล ส่ายศีรษะ และกล่าวว่าเขาเคยประนีประนอมมาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ได้รับเบาะแสที่แจ้งมาจำนวนมากเกี่ยวกับที่นี่ ว่ากำลังดำเนินกิจการโรงเรียนกวดวิชาที่ผิดกฎหมาย

หลังจากนั้น กลุ่มเจ้าหน้าที่ได้เดินทางไปยังห้องสมุดอีกหลายแห่ง แต่ไม่พบสิ่งใดน่าสงสัย ในเวลาราวเที่ยงคืน ก่อนที่ทุกคนจะแยกย้ายกันกลับบ้าน หลังจากที่ได้ช่วยปลดปล่อยนักเรียนกว่า 40 คน จากจำนวนกว่า 4 ล้านคน ให้เป็นอิสระจากพันธนาการของการศึกษา

ที่มา  http://www.matichon.co.th