วันอาทิตย์, ธันวาคม 30, 2555

États membres de l’Union européenne


Berlin est la capitale de l’Allemagne. On parle allemand en Allemagne.
Vienne est la capitale de l’Autriche. On parle allemand en Autriche.
Bruxelles est la capitale de la Belgique. On parle français , néerlandais , allemand en Belgique.
Sofia est la capitale de la Bulgarie. On parle bulgare en Bulgarie.
Nicosie est la capitale de Chypre. On parle grec et turc en Chypre.
Copenhague est la capitale de la Danemark. On parle danois en Danemark.
Madrid est la capitale de l’Espagne. On parle espagnol en Espagne.
Tallinn est la capitale de l’Estonie. On parle estonien en Estonie.
Helsinki est la capitale de la Finlande. On parle finnois et suédois en Finlande.
Paris est la capital de la France. On parle français en France.
Athènes est la capital de la Grèce. On parle grec en Grèce.
Budapest est la capitale de l’Hongrie. On parle hongrois en Hongrie.
Dublin est la capital de la Irlande. On parle irlandais et anglais en Irlande.
Rome est la capital de la Italie. On parle italien en Italie.
Riga est la capital de la Lettonie. On parle letton en Lettonie.
Vilnius est la capital de la Lituanie. On parle lituanien en Lituanie.
Luxembourg est la capital du Luxembourg. On parle luxembourgeois, français et allemand en Luxembourg.
La Valette est la capital de Malte. On parle maltais et anglais à Malte.
Amsterdam est la capital de les Pays-Bas. On parle néerlandais aux Pays-bas.
Varsovie est la capital de la Pologne. On parle polonais en Pologne.
Lisbonne est la capital du Portugal. On parle portugais en Portugal.
Prague est la capital de la République tchèque. On parle tchèque en République tchèque.
Bucarest est la capital de la Roumanie. On parle roumain en Roumanie.
Londres est la capital du Royaume-Uni. On parle anglais au Royaume Uni.
Bratislava est la capital de la Slovaquie. On parle slovaque en Slovaquie.
Ljubljana est la capital de la Slovénie. On parle slovène en Slovénie.
Stockholm est la capital de la Suède. On parle suédois en Suède.



วันเสาร์, ธันวาคม 29, 2555

สตาลิน


สตาลิน (Josif Dzhugashvili Stalin)

stralin.jpg (5216 bytes)               
 เลนิน เรียก โยซิฟ ยูกาชวีลี สตาลิน ว่ามนุษย์เหล็กกล้า เนื่องจากเขาเป็นคนใจแข็งและเยือกเย็น ในยามที่มีอันตราย สตาลิน เป็นนักปฎิวัติ เขาเคยถูกจำคุกและเนรเทศไปไซบีเรีย แต่หลบหนีได้ และต่อมาได้ร่วมกับเลนินและพรรคบอลเชวิก
               สตาลิน เป็นผู้นำการปฎิวัติ ในปี ค.ศ. 1917 ซึ่งนำไปสู่การกำเนิดของรุสเซียใหม่ สหภาพโซเซียลิสต์ หลังมรณกรรมของเลนิน สตาลินได้เป็นประมุขรัฐบาล เขามุ่งหวังจะเปลี่ยนประเทศรุสเซียจากประเทศเกษตรกรรม เป็นประเทศอุตสาหกรรม โดยดำเนินการไปตามลำดับโครงการห้าปี เขายังดำเนินการกวาดล้างต่างๆ ประชาชนเป็นพันๆคน ผู้ที่ต่อต้านเขา ถูกขังคุก หรือ ประหาร
               ในสงครามโลกครั้งที่2 สตาลินป้องกันรุสเซีย ไว้จากการรุกรานของพวกนาซีเยอรมัน   ในปี ค.ศ. 1941 หลังสงครามเขาได้ปกครองอย่างทารุณกระทั่งมรณะกรรมของเขา เขาเป็นคนโหดร้าย แต่ในเวลาที่เขาตายลง รุสเซีย ได้กลายเป็นประเทศอภิมหามหาอำนาจของโลกประเทศหนึ่ง.

การ์ตีเย


การ์ตีเย (Jacques Cartier)

            
    
ในปี ค.ศ. 1534 ชาก การ์ตีเย นักเดินเรือชาวฝรั่งเศส ได้พยายามทีจะค้นหาเส้นทางเดินเรือสายตะวันตกเฉียงเหนือ อ้อมอเมริกาเหนือไปยังประเทศจีน แต่ไม่สำเร็จ
                 ในปี ค.ศ.1536 จึงเดินทางกลับ และได้ค้นพบและสำรวจอ่าวเซนต์ลอเรนว์ กับแม่น้ำเซนต์ลอเรนซ์ เขาได้เรียนรู้จากอินเดียแดงเผ่าหนึ่งว่า เขากำลังอยู่ในดินแดนที่พวกเขาเรียกว่า แคนาดา การ์ตีเยเดินทางไปตามแม่น้ำเซนต์ลอเรนซ์ เข้าไปไกลในแผ่นดินจนถึงที่ซึ่งในปัจจุบันนี้เรียกว่า นครมอนตรีออล เมืองหลวงของมณฑลควิเบก.

ขอบคุณเนื้อหจาก บ้านจอมยุทธ์

วันอังคาร, ธันวาคม 18, 2555

Je me présente.


Salut Luisa !
Je me présente.
       Je m’appelle Piyakarn JAPÏDEE ou Nongnoo. Je suis thaïlandaise. J’aime le voyager. J’adore Léonard De VINCI. Je n’aime pas du sport mais j’aime regarder le sport. Et toi ?
Salut
Piyakarn JAPÏDEE

วันพุธ, ธันวาคม 12, 2555

ราชาดนตรียุคฮิปปี้ 'รวี แชงการ์' ลาโลกในวัย92


นักเล่นซิตาร์ผู้เป็นตำนาน รวี แชงการ์ เสียชีวิตในวัย 92 หลังการผ่าตัดที่แคลิฟอร์เนีย นายกรัฐมนตรีอินเดียยกย่องเป็นสมบัติของชาติ
 ราชาดนตรียุคฮิปปี้ 'รวี แชงการ์' ลาโลกในวัย92
รวี แชงการ์ ชาวอินเดีย ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจของวงดนตรียุคบุปผาชน เดอะ บีเทิล และนักไวโอลิน เยฮูดี เมนูฮิน ได้สิ้นใจเมื่อวันอังคาร ในโรงพยาบาลที่เมืองซานดิเอโก มลรัฐแคลิฟอร์เนีย หลังการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ เขาเป็นบิดาของนักร้องนักแต่งเพลงชาวอเมริกัน โนราห์ โจนส์ และนักเล่นซิตาร์ อนุสกา แชงการ์

@ รวี แชงการ์ กับบุตรสาว อนุสการ์

นายกรัฐมนตรีอินเดีย มันโมฮัน ซิงห์ ได้กล่าวเชิดชูแชงการ์ ที่ได้ทำให้โลกรู้จักเครื่องดนตรีประจำชาติ ซิตาร์ และเพลงคลาสสิกของอินเดีย โดยบอกว่าเขาเป็น "สมบัติของชาติ และเป็นทูตแห่งมรดกทางวัฒนธรรมของอินเดีย"

"ยุคสมัยหนึ่งได้ผ่านพ้นไป ประเทศชาติร่วมกับผมในการแสดงความคารวะต่ออัจฉริยภาพอันหาที่เปรียบมิได้ของเขา ศิลปะของเขา และความอ่อนน้อมถ่อมตนของเขา" ซิงห์กล่าว

แชงการ์ ซึ่งมีบ้านในแคลิฟอร์เนียและอินเดีย เกิดในวรรณะพราหมณ์ ที่เมืองพาราณสี ทางตอนเหนือของอินเดียเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2463

เขาเคยสอนมิตรผู้ล่วงลับ จอร์จ แฮริสัน แห่งวงบีเทิล ให้เล่นซิตาร์ และได้ร่วมงานกันหลายครั้ง เช่น คอนเสิร์ตเพื่อบังกลาเทศ เมื่อปี 2514 เพื่อเรียกร้องให้ผู้คนหันมาสนใจประเทศที่บอบช้ำด้วยสงครามแห่งนี้ แฮร์ริสันได้เรียกเขาว่า "พ่อทูนหัวของดนตรีโลก" ขณะที่เมนูฮิน ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นนักไวโอลินที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 20 เปรียบแชงการ์เหมือนโมสาร์ต

แชงการ์ ผู้เคยได้รับรางวัลแกรมมี่ 3 ครั้ง เคยร่วมคอนเสิร์ตกับเจนิส โจพลิน และจิมี เฮนดริกซ์ ในเทศกาลวูดสต็อกที่มลรัฐนิวยอร์กเมื่อปี 2512 ซึ่งมีผู้คนเข้าฟังราว 500,000 คน ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมที่สำคัญที่สุดครั้งหนึ่งของศตวรรษที่ 20

เหล่าบุปผาชน หรือฮิปปี้ ต่างยกย่องแชงการ์ ซึ่งมักแต่งกายด้วยชุดพื้นเมืองของอินเดีย และนั่งกับพื้นขณะเล่นซิตาร์

ภรรยาของเขา สุกัญญา และอนุสกา บุตรสาวหนึ่งในสองคนของแชงการ์ เปิดเผยข่าวการถึงแก่กรรมทางทวิตเตอร์ว่า เขามีสุขภาพไม่ดีตลอดหลายปีมานี้ เมื่อวันพฤหัสบดีที่แล้ว เขาได้เข้ารับการผ่าตัด แม้หมอได้พยายามอย่างสุดกำลัง แต่เขาไม่สามารถทนรับการผ่าตัดได้ "เราอยู่เคียงข้างเขาในตอนที่เขาจากไป"

"แม้เป็นห้วงเวลาเวลาของความโศกเศร้า แต่ก็เป็นโมงยามที่เราทุกคนจะขอบคุณที่เราได้มีเขาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเรา"

ครอบครัวของเขาและมูลนิธิรวีแชงการ์ บอกว่า เขาป่วยด้วยระบบทางเดินหายใจและโรคหัวใจ

แชงการ์ได้เล่นคอนเสิร์ตครั้งหลังสุดเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ที่เมืองลองบีช แคลิฟอร์เนีย ร่วมกับอนุสกา ลูกสาวผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแกรมมี เขาอาศัยอยู่กับภรรยาคนที่สอง, ลูกสาว 2 คน, หลาน 3 คน และเหลน 4 คน

ทางครอบครัวเผยว่า จะประกาศแผนการจัดพิธีไว้อาลัยในเร็ววันนี้ และว่า ในคืนก่อนที่จะผ่าตัด เขาได้รับแจ้งว่า อัลบั้มล่าสุดของเขา The Living Room Sessions, Part 1ได้รับการเสนอเข้าชิงรางวัลแกรมมีประจำปี 2013

Source : AFP

วันศุกร์, ธันวาคม 07, 2555

เกาหลีใต้: ความปราชัยของการศึกษา ชัยชนะของรร.กวดวิชา พันธนาการที่สะบัดไม่หลุดของเยาวชน


เกาหลีใต้: ความปราชัยของการศึกษา ชัยชนะของรร.กวดวิชา พันธนาการที่สะบัดไม่หลุดของเยาวชน


ในคืนวันฝนตกในกรุงโซล เจ้าหน้าที่ราชการหกคนรวมตัวกันที่สำนักงาน เพื่อเตรียมตัวก่อนที่จะออกไปลาดตระเวนยามค่ำคืน หน้าที่ของพวกเขาก็ไม่ยากอะไรนัก ซึ่งก็คือการค้นหาเด็กๆที่ยังคงติวหนังสือหลังจากเวลาสี่ทุ่ม และหยุดการกระทำของเยาวชนเหล่านั้น

ในเกาหลีใต้ การเรียนหนักเช่นนี้ถือเป็นเรื่องปกติ และนำมาสู่มาตรการลดอาการเสพติดการติวหนังสือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามสถาบันกวดวิชาที่ยังคงเปิดสอนเกินเวลา หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า "ฮักวอน" (hagwon) ทางการเริ่มบังคับใช้กฎเคอร์ฟิวแก่สถาบันเหล่านั้น หรือแม้กระทั่งการให้เงินล่อใจแก่ประชาชนที่สามารถชี้จุดให้ทางการทราบว่ามีโรงเรียนกวดวิชาใดที่เปิดหลังสี่ทุ่ม

โรงเรียนกวดวิชาในย่านกังนัม

ปฏิบัติการเป็นไปอย่างเรียบง่าย โดยมีชา บอง ชุล เจ้าหน้าที่สำนักงานการศึกษาเขตกังนัมของกรุงโซล เป็นหัวหน้าทีม เขากล่าวว่า ในการลาดตระเวนครั้งหนึ่ง เคยตรวจพบเด็กหญิง-ชายมากกว่า 10 คนรวมตัวอยู่บนอาคารโรงเรียนกวดวิชาแห่งหนึ่งหลังห้าทุ่ม ก่อนที่จะแนะนำให้เด็กๆกลับบ้านเสีย โดยกล่าวแต่เพียงว่า คนที่กระทำผิดคือโรงเรียนกวดวิชา ไม่ใช่พวกเขา

ชากล่าวว่า โดยทั่วไปเขาจะเริ่มออกสำรวจเมื่อเวลาผ่านไป 20 นาทีหลังสี่ทุ่มเป็นต้นไป ดังนั้น คนที่ถูกจับได้จึงไม่มีข้อแก้ตัวใดๆ ก่อนที่จะมุ่งหน้าไปยังย่านแดจิดอง ซึ่งเป็นย่านที่เต็มไปด้วยโรงเรียนกวดวิชาสารพัดแบบ บนท้องถนนเต็มไปด้วยพ่อแม่ผู้ปกครองที่มารับบุตรหลานของตน

เมื่อเวลาห้าทุ่มมาถึง เขาเดินเลี้ยวเข้าไปยังตรอกเล็กๆแห่งหนึ่ง ก่อนที่จะเดินขึ้นชั้นบนของอาคารต้องสงสัย บนชั้นสอง เจ้าหน้าที่หญิงของหน่วยเป็นผู้เคาะประตูเรียกคนที่อยู่ด้านใน ก่อนที่จะมีเสียงแว่วๆออกมาให้รอสักครู่ เช่นนั้น เขาจึงส่งให้หนึ่งในทีมลงไปดักอยู่ด้านล่างบริเวณหน้าลิฟท์ และการจับกุมก็เริ่มขึ้น


การบุกทลายโรงเรียนกวดวิชาเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการลด"วัฒนธรรมการศึกษาอย่างเอาเป็นเอาตาย"ของเกาหลีใต้ ในการสอบแข่งขันทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ รัฐบาลได้พยายามปรับเปลี่ยนรูปแบบของข้อสอบและนโยบายการรับเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย เพื่อหวังลดความกดดันของนักเรียน และมุ่งเน้นไปที่การเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์แทน

แต่ปัญหาดังกล่าว นับวันยิ่งจะฝังรากลึกลงในระบบการศึกษาของเอเชีย ที่เกิดค่านิยมใหม่ว่า การศึกษาที่ดีที่สุดเท่านั้น จึงจะนำมาสู่ความสำเร็จทางอาชีพการงาน โดยพบว่าครอบครัวชาวจีน เริ่มจ้างครูสอนพิเศษให้แก่ลูกหลายของตนมาตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 7

แต่เกาหลีใต้ไปไกลกว่านั้น โดยในปี 2010 พบว่ากว่า 74% ของนักเรียนเกาหลีทั้งหมด จะต้องเคยร่วมการกวดวิชาไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง บางครั้งเราเรียกการศึกษาเช่นนี้ว่า "การศึกษาเงา" (shadow education) โดยนักเรียนแต่ละคนจะต้องเสียค่าใช้จ่ายไปเฉลี่ยปีละ 2,600 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 78,000 บาท)


นอกจากนั้นยังพบว่า จำนวนครูในโรงเรียนกวดวิชามีมากกว่าครูในโรงเรียนปกติ และครูหรือติวเตอร์ที่ได้รับความนิยม อาจมีรายได้มากกว่าหลายล้านดอลลาร์ต่อปี ทั้งการสอนผ่านออนไลน์ และการสอนแบบตัวต่อตัว จนครั้งหนึ่ง รัฐมนตรีศึกษาธิการของสิงคโปร์ ได้ให้คำตอบต่อคำถามที่ว่า ประเทศควรพึ่งพาการเรียนการสอนแบบโรงเรียนกวดวิชาหรือไม่ โดยเขาตอบอย่างมีความหวังว่า "ที่บ้านเราคงไม่เลวร้ายเท่าที่เกาหลี"

ในกรุงโซล นักเรียนจำนวนมากที่พลาดหวังกับการสอบเข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ ต่างใช้เวลาตลอดทั้งปี ในการทุ่มเทศึกษาในโรงเรียนกวดวิชา เพื่อพัฒนาคะแนนให้สูงพอที่จะสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่ต้องการ ไม่เว้นแม้แต่การแข่งขันเพื่อเข้าเรียนในโรงเรียนกวดวิชาชั้นนำ ที่สถาบันแดซุง การรับนักเรียนจะพิจารณาถึงคะแนนทดสอบ โดยมีเพียง 14% ของผู้เข้าสอบทั้งหมดเท่านั้นที่สมหวัง หลังจากการเรียนอย่างหนักทั้งสิ้น 14 ชม.ต่อวัน นักเรียนกว่า 70%ของที่นี่ สามารถเข้าเรียนในสถาบันระดับอุดมศึกษาชั้นนำ 3 อันดับแรกของประเทศได้สำเร็จ


เมื่อมองจากสายตาของคนนอก ผลการศึกษาของนักเรียนที่นี่ถือว่าน่าภูมิใจ และเป็นที่อิจฉาของประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคะแนนในวิชาการอ่านและคณิตศาสตร์ จนกระทั่งประธานาธิบดีบารัก โอบามา และรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการสหรัฐฯ ต้องเอ่ยปากชมความกระตือรือร้นของพ่อแม่ชาวเกาหลี ที่สนับสนุนการศึกษาของบุตรหลานอย่างเต็มกำลัง

หากว่าปราศจากความลุ่มหลงในการศึกษาแล้ว เกาหลีใต้อาจไม่ได้เปลี่ยนแปลงสู่ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกเช่นในทุกวันนี้ โดยนับตั้งแต่ปี 1962  ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) พุ่งขึ้นมากถึง 40,000% และทำให้เกาหลีใต้กลายเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 13 ของโลก


ขณะที่ผู้นำประเทศ แสดงความกังวลว่า หากยังคงปล่อยให้ระบบที่ไม่มีความยืดหยุ่นและขาดการจัดลำดับความสำคัญดำเนินต่อไป เศรษฐกิจก็จะประสบกับภาวะชะงักงันในที่สุด และความเติบโตก็จะอยู่ในภาวะถดถอย ขณะที่พ่อแม่ผู้ปกครองยังคงต้องแบกรับภาระในการจ่ายค่าเรียนพิเศษให้แก่ลูกหลานของตนต่อไป

แต่ในเอเชีย ไม่ได้มีเพียงเกาหลีที่ต้องประสบกับภาวะเช่นนี้ ขณะที่หลายโรงเรียนพยายามปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เป็น"อเมริกัน"มากขึ้น แต่พบว่าโรงเรียนในสหรัฐฯบางแห่งพยายามปรับเปลี่ยนให้เป็นแบบ"เอเชีย"แทน

ในประเทศจีน มหาวิทยาลัยหลายแห่งเริ่มใช้บททดสอบใหม่ โดยมุ่งเน้นไปยังนักศึกษาที่มีความสามารถพิเศษ นอกเหนือจากความรู้จากการศึกษาจากตำราเรียนทั่วไป ขณะที่ไต้หวัน เริ่มประกาศใช้นโบายใหม่ โดยเด็กๆไม่ต้องหน้าดำคร่ำเครียดกับการทำข้อสอบเพื่อเข้าเรียนในระดับมัธยมปลายอีกต่อไป และหากว่าเกาหลี ซึ่งอยู่ ณ ตำแหน่งสูงสุดของการศึกษาแบบสุดขั้ว สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เหมาะสม นั่นจะทำให้เกาหลีเป็นประเทศต้นแบบให้แก่ประเทศอื่นๆได้ไม่ยาก

แต่ปัญหาไม่ได้อยู่ที่เด็กๆชาวเกาหลีใต้ได้รับการศึกษาที่ไม่เพียงพอ หรือเล่าเรียนให้หนักมากพอ แต่กลับพบว่าพวกเขาเรียนกันอย่างไม่รอบคอบพอ จากการสำรวจในบางโรงเรียนพบว่า หนึ่งในสามของนักเรียนแอบงีบหลับระหว่างที่ครูกำลังสอน และดูเหมือนว่าไม่มีใครสนใจจะปลุกพวกเขาให้ตื่น ร้านกิฟท์ช็อปหลายแห่งจำหน่ายหมอนที่ทำขึ้นมาพิเศษ เพื่อให้ผู้ใช้สวมบริเวณแขนและนอนหลับบนโต๊ะเรียนได้อย่างสบายยิ่งขึ้น นั่นเท่ากับว่า เด็กสามารถหลับในชั้นเรียนได้มากขึ้น แต่ต้องไปใช้เวลาในชั้นเรียนพิเศษจนดึกดื่นเพิ่มขึ้น

เมื่อเปรียบเทียบกับฟินแลนด์ ซึ่งเป็นประเทศเดียวในยุโรป ที่ยังคงมีระบบการสอบเข้าเรียนชั้นมัธยมปลายคล้ายคลึงกับเกาหลีใต้ พบว่าฟินแลนด์มีค่าใช้จ่ายในการเข้าเรียนทั้งในโรงเรียนรัฐบาลและเอกชนรวมกันน้อยกว่าของเกาหลีใต้ และมีเพียงนักเรียนเพียง 13% เท่านั้น ที่ต้องเรียนพิเศษหลังการศึกษาภาคปกติ


ชาวเกาหลีจำนวนมากต่างโอดครวญกับความไร้ประสิทธิภาพในระบบการศึกษามานานหลายปี ขณะที่รัฐบาลได้พยายามที่จะทำให้ระบบการศึกษา"มีความเป็นมนุษย์"ยิ่งขึ้นกว่านี้อยู่หลายครั้ง อาทิ ลดความซับซ้อนของข้อสอบแอดมิชชันลง เพิ่มประสิทธิภาพของการเรียนนอกเวลา และไปไกลถึงขั้นการแบนโรงเรียนกวดวิชาในช่วงยุค 1980 แต่จากความพยายามครั้งแล้วครั้งเล่าดังกล่าว ยิ่งทำให้โรงเรียนกวดวิชากลับมาเข้มแข็งยิ่งขึ้น เนื่องมาจากค่านิยมการให้รางวัลยังคงไม่เปลี่ยนแปลง เด็กชาวเกาหลีมุมานะเพื่อการศึกษาเพียงเพื่อเหตุผลเดียว นั่นก็คือการได้เล่าเรียนในมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ แม้หนทางจะยากลำบาก แต่ผลตอบแทนหากทำได้กลับยิ่งใหญ่กว่านั้น

แต่ ณ ขณะนี้ หน่วยงานการศึกษากล่าวแย้งว่า การปฏิรูปมิได้พุ่งเป้าไปที่"อาการ"ของความไร้สมรรถภาพเท่านั้น แต่ยังมุ่งไปที่ต้นเหตุของมัน และพยายามทำงานเพื่อเร่งปรับปรุงโรงเรียนรัฐบาลทั่วไป โดยการประเมินคุณภาพครูอาจารย์และวิธีการทำงานอย่างเข้มงวด ที่รวมถึงการให้นักเรียน ผู้ปกครอง และคณาจารย์ด้วยกันทำแบบสำรวจความคิดเห็น และฝึกอบรมความรู้ให้แก่ครูที่ได้รับคะแนนจากการประเมินต่ำ

ในขณะเดียวกัน รัฐบาลหวังที่จะลดความเครียดของนักเรียน โดยวิธีการลงโทษทางกายทุกประเภทถูกสั่งห้ามโดยเด็ดขาด แม้ว่านักเรียนจำนวนมากจะกล่าวว่า พวกเขายังเห็นวิธีการเช่นนี้อยู่ก็ตาม นอกจากนั้น การสอบแอดมิชชันเข้าโรงเรียนมัธยมปลายแบบ"พิเศษ" อาทิเช่น โรงเรียนที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ ก็ถูกยกเลิกด้วยเช่นกัน

ขณะที่โรงเรียนในระดับกลาง จะรับเด็กเข้าเรียนโดยพิจารณาถึงเกณฑ์พื้นฐานของเกรดเฉลี่ยและการสัมภาษณ์ โดยเจ้าหน้าที่ที่ทำการสอบกว่า 500 คน จะถูกส่งไปยังมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วประเทศ เพื่อทำการคัดเลือกผู้เข้าเรียน โดยมิได้คำนึงเฉพาะแต่คะแนนสอบและเกรดเฉลี่ยอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังพิจารณาถึงความสามารถของแต่ละบุคคลด้วย

ไม่มีใครออกมาแก้ตัวให้แก่สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน นักเรียนชายชั้น ม.ปลายคนหนึ่งกล่าวว่า "พวกเราเรียนตลอดเวลา ยกเว้นก็แต่ตอนนอนเท่านั้น"

โดยปกติ การเรียนหนังสือในเกาหลีจะเริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ 8 โมงเช้า และสิ้นสุดลงประมาณ 4 ทุ่ม กระทั่งถึงตีหนึ่ง ขึ้นอยู่กับแรงฮึดของนักเรียนแต่ละคน แต่ก็มียกเว้นในโรงเรียนที่สอนในสายวิชาชีพบ้าง แต่ส่วนใหญ่มักต้องยอมสยบให้แก่พ่อแม่ที่คอยรบเร้าให้เรียนเพิ่ม หรือแรงกดดันที่ได้เห็นเพื่อนๆคนอื่น นักเรียนชายคนหนึ่งเปิดเผยว่า เขารู้สึกเจ็บปวดใจทุกครั้งที่เห็นเพื่อนๆกลายเป็นคู่แข่งกัน แทนที่จะช่วยเหลือกันอย่างแต่ก่อน

ผู้ปกครองกลายเป็นตัวขับสำคัญในสังเวียนการแข่งขันด้านการศึกษา และไม่มีทางที่จะเปลี่ยนความคิดได้ง่ายๆ ฮานยุนฮี ครูสอนภาษาอังกฤษที่โรงเรียนมัธยมจองบาล ในเมืองอิลซาน ย่านชานกรุงโซล ความวิตกกังวลของผู้ปกครองเป็นสิ่งที่ไม่มีทางลบออกง่ายๆ เธอแนะนำให้นักเรียนของเธอเลิกเรียนพิเศษเสีย และตั้งใจเรียนในชั้นเรียนยิ่งขึ้น แต่ผู้ปกครองก็ยังรู้สึกกังวลทุกครั้งที่บุตรหลานของตนไม่ได้ไปเรียนพิเศษหลังเลิกเรียน

บางครั้งก็เป็นการยากที่จะทราบว่า "ใครแข่งขันกับใคร" เด็กๆ หรือว่าเหล่าแม่ๆของพวกเขา ในข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยปี 1964 มีคำถามหนึ่งถามว่า ส่วนประกอบในท็อฟฟี่มีอะไรบ้าง แต่ผู้ออกข้อสอบกลับทำให้มันมีสองคำตอบโดยไม่ตั้งใจ และเพื่อเป็นการประท้วงความประมาทเลินเล่อในครั้งนั้น บรรดาแม่ของเด็กทั้งหลาย ได้ประท้วงโดยการทำท็อฟฟี่หน้าที่ทำการรัฐบาล โดยใช้ส่วนผสมต่างๆกัน และในที่สุด พวกเธอก็เป็นฝ่ายชนะ และทำให้รมช.ศึกษาธิการต้องขอลาออก ทำให้นักเรียนหลายคนสามารถเข้าเรียนมหาวิทยาลัยได้อีกครั้ง

กระทรวงศึกษาธิการ ยังชี้ให้เห็นถึงความสำเร็จประการหนึ่ง ซึ่งก็คือสามารถตัดค่าใช้จ่ายในส่วนการศึกษาภาคเอกชนได้ถึง 3.5% ในปี 2010 ซึ่งถือว่าลดลงครั้งแรกนับตั้งแต่ที่มีการจับตาดูตัวเลขนี้ตั้งแต่ปี 2007 ขณะที่ชาวเกาหลียังคงใช้จ่ายเงินเป็นค่าเรียนพิเศษมากถึง 2% ของจีดีพีทั้งประเทศ

แอนดรูว์ คิมเชื่อว่าระบบการศึกษาของเกาหลีใต้ยังมาไม่ถูกทาง

แอนดรูว์ คิม ซึ่งเป็นติวเตอร์สอนภาษาอังกฤษที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งของสถาบัน Megastudy โรงเรียนกวดวิชาที่ใหญ่ที่สุดของเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า เขามีรายได้จากการสอนแบบออนไลน์ และในชั้นเรียน มากกว่า 4 ล้านดอลลาร์เมื่อปีที่แล้ว  เขาเห็นด้วยที่ว่าระบบการศึกษายังอยู่ไกลเกินกว่าที่จะเรียกได้ว่า"อุดมคติ" และเขายังไม่เห็นว่านโยบายปฏิรูปการศึกษาจะส่งผลกระทบใดต่อรายได้ของเขา แอนดรูว์กล่าวว่า ยิ่งมาตรการเข้มงวดเท่าใด โรงเรียนกวดวิชาก็สามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมได้มากเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น เพื่อเป็นการแก้ลำนโยบายการประกาศเคอร์ฟิวแก่โรงเรียนกวดวิชาของรัฐบาล โรงเรียนต่างๆก็ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนเป็นแบบออนไลน์มากยิ่งขึ้น

ขณะที่โรงเรียนกวดวิชาที่ยังคงเปิดท้าทายกฎหมาย ก็ยังคงเปิดหลังเวลาเคอร์ฟิวโดยใช้วิธีการพรางตัว

จากการสำรวจในย่านแดจิดอง เจ้าหน้าที่ได้รอจนกระทั่งมีคนมาเปิดประตู ก่อนที่จะเข้าไปสำรวจด้านใน ซึ่งเป็นห้องขนาดเล็กที่มีเพดานเตี้ย อากาศเหม็นอับ โดยมีหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ให้ความสว่าง นักเรียนกว่า 40 คน จะมีโต๊ะเขียนหนังสือเล็กๆเป็นของตนเอง ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้ว สภาพไม่แตกต่างจากห้องสมุดเล็กๆเท่าใดนัก มากกว่าจะเป็นโรงเรียนกวดวิชา

นักเรียนทุกคนได้รับเอกสารและการบ้านอย่างเดียวกัน และมีผู้ใหญ่กลุ่มหนึ่งที่ดูคล้ายว่าทำหน้าที่เป็นครู ซึ่งหนึ่งในนั้นปฏิเสธว่าตนไม่ได้ทำอะไรผิด โดยกล่าวว่าตนมาทำงานของตนเองเท่านั้น และไม่ได้มาสอนหนังสือแต่อย่างใด ขณะที่ชา บอง ชุล ส่ายศีรษะ และกล่าวว่าเขาเคยประนีประนอมมาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ได้รับเบาะแสที่แจ้งมาจำนวนมากเกี่ยวกับที่นี่ ว่ากำลังดำเนินกิจการโรงเรียนกวดวิชาที่ผิดกฎหมาย

หลังจากนั้น กลุ่มเจ้าหน้าที่ได้เดินทางไปยังห้องสมุดอีกหลายแห่ง แต่ไม่พบสิ่งใดน่าสงสัย ในเวลาราวเที่ยงคืน ก่อนที่ทุกคนจะแยกย้ายกันกลับบ้าน หลังจากที่ได้ช่วยปลดปล่อยนักเรียนกว่า 40 คน จากจำนวนกว่า 4 ล้านคน ให้เป็นอิสระจากพันธนาการของการศึกษา

ที่มา  http://www.matichon.co.th

วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 29, 2555

Schengen Area


The Schengen Area comprises the territories of twenty-six European countries that have implemented the Schengen Agreement signed in the town of Schengen, Luxembourg, in 1985. The Schengen Area operates very much like a single state for international travel with external border controls for those travelling in and out of the area, but with no internal border controls when travelling between Schengen countries.
The Schengen rules were absorbed into European Union law by the Amsterdam Treaty in 1997, and entered into force in 1999; although the area officially includes four non-EU member states—Iceland, Liechtenstein, Norway, Switzerland—and de facto includes three European micro-states—Monaco, San Marino, and the Vatican City. All but two EU member states—Ireland and the United Kingdom—are required to implement Schengen rules. With the exception of Bulgaria, Cyprus and Romania, all other EU member states have already complied. The area currently covers a population of over 400 million people and an area of 4,312,099 square kilometres (1,664,911 sq mi).
Implementing the Schengen rules involves eliminating internal border controls with other Schengen members, while simultaneously strengthening external border controls with non-member states. The Schengen rules include provisions on a common policy on the temporary entry of persons (including the Schengen visa), the harmonisation of external border controls, and cross-border police and judicial co-operation.
Whether a passport or an EU approved national identity card is required for identity checks done at airports, hotels, or by police, depends on national rules and varies between countries. Occasionally, regular border controls are used between Schengen countries.

History

The Schengen Area came in existence on 26 March 1995 when the Schengen Agreement along with its implementing convention was implemented by seven EU member states. During the negotiations which led up to the signing of the Amsterdam Treaty in 1997, EU leaders agreed to bring the Schengen Agreement, Convention and the rules created under them into the main body of EU law, the acquis communautaire; thus bringing a project which had developed outside the framework of the EU into the EU mainstream. This duly happened with the entrance into force of the Amsterdam Treaty in 1999.
There were concerns over the borders of Austria with former communist countries to the east and south, and so Austrian entry was delayed until procedures could be further evaluated and placed in operation. In the case of Italy's delayed entry, there were concerns over securing the very large coastline of the country and the multitude of immigrants from North Africa, Asia and the Balkans across the nearby seas. Both were admitted in 1997, over a year and a half after the originating countries.

Members
labelled map of Europe showing Schengen Area

 Schengen Area (EU) 
 Schengen Area (non-EU) 
 Set to implement later 
 EU member states outside Schengen




The Schengen Area currently consists of twenty-six states, all but four of which are members of the European Union (EU). Two of the non-EU members, Iceland and Norway, are part of the Nordic Passport Union and are officially classified as states associated with the Schengen activities of the EU. The third, Switzerland, was subsequently allowed to participate in the same manner in 2008. The fourth, Liechtenstein, joined on 19 December 2011, becoming the newest member of the Schengen Area.De facto, the Schengen Area also includes three European micro-states, Monaco, San Marino and the Vatican City, that maintain open or semi-open borders with Schengen countries. Two EU members—Ireland and the United Kingdom—negotiated opt-outs from Schengen and continue to operate systematic border controls with other EU member states.
Before fully implementing the Schengen rules, each state needs to have its preparedness assessed in four areas: air borders, visas, police cooperation, and personal data protection. This evaluation process involves a questionnaire and visits by EU experts to selected institutions and workplaces in the country under assessment.

Territories of Schengen states outside the Area


There are territories of member states that are exempted from the Schengen Agreement and most of these are outside Europe (or remote islands in Europe).
The French overseas departments of French Guiana, Guadeloupe, Martinique and Réunion, and the overseas collectivities of Saint Barthélemy and Saint Martin are part of the European Union but do not form part of the Schengen Area. A fifth French Overseas Department, Mayotte, was created on 31 March 2011 when its status was changed from being an overseas collectivity. It is due to become part of the EU as an EU outermost region on 1 January 2014. The EU's freedom of movement provisions apply, but each territory operates its own visa regime for non-European Economic Area (EEA), non-Swiss nationals. While a visa valid for one of these territories will be valid for all, visa exemption lists differ. A Schengen visa, even one issued by France, is not valid for these territories. A visa for Sint Maarten (which is valid for travelling to the Dutch side of the island of Saint Martin) is also valid for the French side. France also has several territories which are neither part of the EU nor the Schengen Area. These are: French Polynesia, French Southern and Antarctic Lands, New Caledonia, Saint-Pierre and Miquelon, and Wallis and Futuna.
Only the European territory of the Netherlands is part of the Schengen Area. Six Dutch territories in the Caribbean are outside the Area. Three of these territories—Bonaire, Sint Eustatius and Saba (collectively known as the BES islands)—are special municipalities within the Netherlands proper. The other three—Aruba, Curaçao and Sint Maarten—are autonomous countries within the Kingdom of the Netherlands. All islands retain their status as Overseas countries and territories and are thus not part of the European Union. The six territories have a separate visa system from the European part of the Netherlands and people travelling between these islands and the Schengen Area are subjected to systematic identity checks.
Svalbard is part of Norway and has a special status under international law. It is not part of the Schengen Area. There is no visa regime in existence for Svalbard either for entry, residence or work, although it is difficult to visit Svalbard without travelling through the Schengen Area, although there are charter flights from Russia. In 2011 the Norwegian government imposed identity checks on individuals wishing to enter and leave Svalbard, with the border between Svalbard and the rest of Norway being treated as an external Schengen border. A Schengen visa must be multiple entry to allow returning to Norway. There is no welfare or asylum system for immigrants on Svalbard, and people incapable of supporting themselves may be sent away.
The Danish territories of the Faroe Islands and Greenland are neither part of the European Union nor the Schengen Area, though the Faroes are part of the Nordic Passport Union. Visas to Denmark are not automatically valid in the Faroe Islands and Greenland. A passport or an acceptable identity card must be brought and is needed both for the identity check at boarding and for the check at the arrival airport.
Mount Athos, a province of Greece, is part of the Schengen area, though a special permit may be required for entry and women are not allowed in any case.

EU member states with opt-outs

Ireland and the United Kingdom were the only EU members which, prior to the 2004 enlargement, had not signed the Schengen Agreement. Both countries maintain a Common Travel Area with passport-free travel for their citizens between them and the three British Crown Dependencies of Jersey, Guernsey and the Isle of Man, which are outside of the European Union.
The UK declined to join Schengen Convention elements related to passport control, one argument being that, for an island, frontier controls are a better and less intrusive way to prevent illegal immigration than other measures, such as identity cards, residence permits, and registration with the police, which are appropriate for countries with "extensive and permeable land borders". Ireland does not share Britain's view that free movement without border checks should apply only to EU citizens, but has not signed the Schengen Implementation Convention because it "would not be in the interest of Ireland to have a situation where the common travel area with Britain would be ended and Ireland would impose both exit and entry controls on persons travelling between here and Britain and, in addition, on the land frontier".
When Schengen was subsumed into the EU by the Treaty of Amsterdam, Ireland and the UK obtained an opt-out from the part of the treaty which was to incorporate the Schengen rules (or acquis) into EU Law. Under the relevant protocol, Ireland and the United Kingdom may request to participate in aspects of the Schengen acquis but this is subject to the approval of the Schengen states.
The UK formally requested to participate in certain provisions of the Schengen acquis—Title III relating to Police Security and Judicial Cooperation—in 1999, and this request was approved by the Council of the European Union on 29 May 2000.[36] The United Kingdom's formal participation in the previously approved areas of cooperation was put into effect by a 2004 Council decision that came into effect on 1 January 2005.
In contrast while Ireland initially submitted a request to participate in the Schengen acquis in 2002, which was approved by the Council of the European Union, that decision has not yet been put into effect. In February 2010 the Irish Minister for Justice, in response to a parliamentary question, said that: "[t]he measures which will enable Ireland to meet its Schengen requirements are currently being progressed".
A previous 1999 report by the European Union Select Committee of the House of Lords recommended "full United Kingdom participation" in all the various four Titles of the Schengen Implementing Convention.

Status of the European microstates

Liechtenstein is since 2011 a full member of the Schengen Area.
The other four microstates are not parties to the Schengen Agreement, cannot issue Schengen visas and, with the exception of Monaco, are not part of the Schengen Area. San Marino and the Vatican City are both landlocked states surrounded by Italy. As they both have open borders, they can be considered as being de facto within the Schengen Area. San Marino and Vatican City do not perform border checks for arrivals from outside Schengen, but these are not needed since neither of them have any airports or seaports. Helicopters are not permitted to go from outside Schengen or a ship directly to San Marino or the Vatican City.
Border controls remain at Andorra's borders with both France and Spain. Citizens of EU countries require either their national identity cards or passports to enter Andorra, while anyone else requires a passport or equivalent. Those travellers who need a visa to enter the Schengen Area need a multiple-entry visa to visit Andorra, because entering Andorra means leaving the Schengen Area.
Monaco has an open border with France. Schengen laws are administered as if it were a part of France. Both French and Monégasque authorities carry out checks at Monaco's seaport and heliport.
San Marino has an open border with Italy, although some random checks are made by Guardia di Finanza and San Marino's Guardia di Rocca.
The Vatican City has an open border with Italy. The microstate has shown an interest in joining the Schengen agreement for closer cooperation in information sharing and similar activities covered by the Schengen Information System.





ขอบคุณข้อมูลจาก wikipedia.com



4 ชาติเอเชียติด"ท็อปไฟว์"ระบบการศึกษาดีที่สุดในโลก "ไทย" อยู่อันดับ 37



ฟินแลนด์และเกาหลีใต้ได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีระบบการศึกษาที่ดีที่สุดในโลก เป็นอันดับหนึ่งและสองตามลำดับ ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว จากการจัดอันดับโดยบริษัทด้านการศึกษาชื่อดังจากสหรัฐฯ "เพียร์สัน"
การจัดอันดับ ใช้การรวบรวมข้อมูลจากผลการสอบในระดับนานาชาติและข้อมูลเช่นอัตราการศึกษาในระหว่างปี 2006 และ 2010 เซอร์ไมเคิล บาร์เบอร์ หัวหน้าฝ่ายที่ปรึกษาด้านการศึกษาของเพียร์สัน เปิดเผยว่า ประเทศที่ติดในอันดับที่ดีส่วนใหญ่มักจะให้ความสำคัญกับครูผู้สอน รวมถึงการมีวัฒนธรรมด้านการศึกษาที่ดี
ตามหลังฟินแลนด์และเกาหลีใต้ ประเทศที่มีระบบการศึกษาที่ดีที่สุดในอันดับที่ 3-5 นั้น ล้วนมาจากเอเชียทั้งสิ้น ได้แก่ ฮ่องกง (จีน) อันดับ 3, ญี่ปุ่น อันดับ 4 และ สิงคโปร์ ในอันดับ 5 ขณะที่อันดับ 6 ตกเป็นของอังกฤษ ตามมาด้วยเนเธอร์แลนด์ ในอันดับที่ 7 และ นิวซีแลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ และแคนาดาในอันดับที่ 8-10 ตามลำดับ ขณะที่ประเทศมหาอำนาจอื่นๆอย่างสหรัฐฯ ฝรั่งเศส และเยอรมนี อยู่ในอันดับรองลงไป
โดยในการจัดอันดับที่มีจำนวน 40 ประเทศนั้น อินโดนีเซีย บราซิล และเม็กซิโกมีคะแนนต่ำสุด ในอันดับที่ 40, 39 และ 38 ตามลำดับ ขณะที่ไทยอยู่ในอันดับที่ 37

รายงานระบุว่า ความสำเร็จของประเทศในเอเชีย ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากประเทศดังกล่าวให้ความสำคัญกับการศึกษามากเป็นพิเศษ อีกทั้งผู้ปกครองต่างก็พร้อมจะทุ่มเทให้บุตรหลานของตนได้รับการศึกษาที่ดีและมีคุณภาพ เพื่อความเจริญก้าวหน้าในชีวิต

แต่สิ่งที่สำคัญนอกจากการทุ่มเทให้บุตรหลานได้รับการศึกษาที่ดีนั้น สะท้อนให้เห็นค่านิยมที่ให้คุณค่าต่อการศึกษาในระดับสูง รวมถึงการคาดหวังของผู้ปกครอง ซึ่งยังคงเป็นปัจจัยสำคัญแม้ครอบครัวจะย้ายไปยังประเทศอื่น
ขณะที่อันดับหนึ่งและสองอย่างฟินแลนด์และเกาหลีใต้ ค่อนข้างมีความแตกต่างกันหลายประการ แต่มีปัจจัยร่วมกันคือความเชื่อทางสังคมที่ให้ความสำคัญต่อการศึกษาและจุดประสงค์ด้านศีลธรรมที่แอบแฝงอยู่

รายงานดังกล่าวยังเน้นเรื่องคุณภาพของครูผู้สอน และความจำเป็นต่อการจ้างครูที่ดีที่สุด ซึ่งอาจรวมถึงการได้รับความเคารพในทางวิชาชีพและสถานะทางสังคม เช่นเดียวกับรายได้ที่ได้รับ อย่างไรก็ดี การจัดอันดับไม่ได้แสดงจุดเชื่อมโยงที่แน่ชัดระหว่างรายได้สูงและการสอนที่มีคุณภาพ รายงานระบุว่า ระบบการศึกษาที่สูงและต่ำยังมีผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจโดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่พึ่งพาแรงงานที่ใช้ทักษะ

ขอบคุณเนื้อหาจาก http://campus.sanook.com

วันเสาร์, พฤศจิกายน 24, 2555

เจ้าฟ้า "ดาราทอง"

ในปลายทศวรรษที่ ๑๘๓๐ สมัยที่สยามยังไม่เป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไปในยุโรป เจ้าชายสยามองค์หนึ่งทรงทำให้ชื่อของประเทศสยามระบือลื่อเลื่องลงหนังสือพิมพ์ทุกฉบับในอังกฤษ ชื่อเสียงขจรขจายทั่วประเทศอื่นๆในยุโรปที่สนใจกีฬา เพราะทรงชนะเลิศอันดับหนึ่งของการแข่งรถระหว่างชาติทั่วทวีปยุโรป ๓ ปีซ้อน คือปี ๑๙๓๖ ปี ๑๙๓๗ และ ปี ๑๙๓๘ จนคว้าตำแหน่ง " ดาราทอง " ของสมาคมนักแข่งรถอังกฤษมาครองได้


เกียรติประวัติที่ควรจารึกไว้ คือ 


ทรงชนะที่หนึ่ง ๔ ครั้ง จากการชิงถ้วยเจ้าชายเรนีย์แห่งโมนาโก ชิงรางวัลระหว่างชาติที่บรูคแลนด์ส ชิงรางวัลใหญ่ของปีการ์ดี และชิงรางวัลของอาลบี

ชนะที่สอง ๒ ครั้ง จากการแข่งที่เกาะแห่งเมน และการแข่งขันที่กรุงดับลิน

ชนะที่สาม ๒ ครั้งจากการแข่งที่ภูเขาไอเฟิล และการชิงแชมเปี้ยนภูเขาที่บรูคแลนด์ส

เจ้าชายสยามองค์นั้นคือพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช หรือคนไทยเรียกกันสั้นๆว่า “พระองค์พีระ”



เมื่อเสด็จกลับสยาม สื่อมวลชนไทยในสมัยนั้นถวายสมญาว่า " เจ้าดาราทอง " ราษฎรไปรับเสด็จกันคับคั่ง ทรงกลายเป็นวีรบุรุษในวงการกีฬาและขวัญใจประชาชน สีฟ้าสดของรถแข่งที่ทรงขับ เรียกกันว่าสีฟ้าพีระ หรือ Bira blue กลายเป็นสีฮิตกันพักใหญ่ของสาวๆ ในงานเลี้ยงที่จัดขึ้นต้อนรับพระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช แขกสาวๆในงานแต่งกายด้วยสีฟ้าสด สวยละลานตากันทั้งงาน 

พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช ประสูติเมื่อวันที่ ๑๕ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ ทรงถือกำเนิดเป็นหม่อมเจ้า พระโอรสในเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ สมเด็จกรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ผู้เป็นพระราชอนุชาพระองค์เล็กร่วมพระชนกชนนีกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หม่อมมารดาของพระองค์พีระ คือหม่อมเล็ก สกุลเดิมยงใจยุทธ เป็นป้าของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม เลื่อนหม่อมเจ้าพีรพงศ์ภาณุเดชขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช ภาษาชาวบ้านเรียกว่า " พระองค์เจ้าตั้ง " คือพระองค์เจ้าที่เลื่อนขึ้นจากหม่อมเจ้า โอรสธิดาของท่านดำรงฐานันดรเป็นหม่อมราชวงศ์ ตามลำดับฐานันดรเดิมของท่านพ่อ

อย่างไรก็ตาม ชีวิตของพระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช ในเบื้องต้น ดำเนินไปเหมือนเจ้าชายในเทพนิยาย นอกจากชาติกำเนิดสูงแล้ว เจ้าชายสยามก็ยังมีการศึกษาดีเยี่ยมสำหรับเจ้าชายไทยในสมัยนั้น

ในปีพ.ศ.๒๔๖๓ทรงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ เมื่อพระชนม์ ๑๓ ชันษา ก็เสด็จไปศึกษาต่อที่โรงเรียน อีตัน ณ กรุงลอนดอน ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมขึ้นชื่อที่สุดของอังกฤษ มีแต่เจ้านายและลูกผู้ดีมีตระกูลเรียนกันทั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็เคยทรงศึกษาที่นี่เช่นกัน

พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช เป็นเด็กชายลักษณะดี เป็นที่เมตตาของผู้ใหญ่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเมตตาประหนึ่งเป็นพระราชบุตร ทรงรับไว้ในปกครอง

เมื่อเสด็จไปอังกฤษ พระองค์พีระทรงพบกับพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุลจักรพงศ์( พระโอรสในเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ) ซึ่งทรงศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ถ้าลำดับญาติกันแล้วพระองค์พีระอยู่ในฐานะอา และพระองค์จุลเป็นหลาน แต่ว่าพระองค์จุลทรงมีพระชันษาแก่กว่า ๗ ปี เกิดถูกชะตาเหมือนเป็นพี่ชายน้องชายแท้ๆ 





พระองค์จุลจึงทรงทูลขอพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอเป็นผู้ปกครองพระองค์พีระแทน ทรงสนับสนุนให้เข้าแข่งกีฬา จนได้ชัยชนะ โดยที่ทรงดูแลออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดให้ และทรงอุปการะพระองค์พีระอย่างดีจนตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ 



วันอังคาร, พฤศจิกายน 13, 2555

Hideyo Noguchi คุณหมอนักสู้



Hideyo Noguchi (野口 英世 Noguchi Hideyo?, November 24, 1876 – May 21, 1928), also known as Seisaku Noguchi (野口 清作 Noguchi Seisaku?), was a prominent Japanese bacteriologist who discovered the agent of syphilis as the cause of progressive paralytic disease in 1911.

Early life
Noguchi Hideyo was born in Inawashiro, Fukushima prefecture in 1876. When he was one and a half years old he fell down into a fireplace and suffered a burn injury on his left hand. There was no doctor in the small village, but one of the men examined the boy. "The fingers of the left hand are mostly gone," he said, "and the left arm and the left foot and the right hand are burned; I know not how badly."
In 1883 he entered Mitsuwa elementary school. Thanks to generous contributions from his teacher Kobayashi and his friends, he was able to receive surgery on his badly burned left hand. He recovered about 70% mobility and functionality in his left hand through the operation.
Noguchi decided to become a doctor to help those in need. He apprenticed himself to Dr. Kanae Watanabe (渡部 鼎 Watanabe Kanae?), the same doctor who had performed the surgery on his hand. He entered Saisei Gakusha that later became Nippon Medical School. He passed the examinations to practice medicine when he was twenty years old in 1897. He showed signs of great talent and was supported in his studies by Dr. Morinosuke Chiwaki. In 1898, he changed his first name to Hideyo after reading a novel about a doctor who had the same name - Seisaku - as him. The doctor in the novel was intelligent like Noguchi, but became lazy and ruined his life.

Career
In 1900 Noguchi moved to the United States, where he obtained a job as a research assistant with Dr. Simon Flexner at the University of Pennsylvania and later at the Rockefeller Institute of Medical Research. He thrived in this environment.At this time his work concerned poisonous snakes. In part, his move was motivated by difficulties in obtaining a medical position in Japan, as prospective employers were concerned about the impact the hand deformity would have on potential patients. In a research setting, this handicap became a non-issue. He and his peers learned from their work and from each other. In this period, a fellow research assistant in Flexner's lab was Frenchman Alexis Carrel, who would go on to win a Nobel Prize in 1912;[2] and Noguchi's work would later attract the Prize committee's scrutiny. The Nobel Foundation archives have been only recently opened for public inspection; and what was once only speculation is now confirmed. He was nominated for the Nobel Prize in Physiology or Medicine in 1913-1915, 1920, 1921 and 1924-1927.
While working at the Rockefeller Institute of Medical Research in 1913, he demonstrated the presence of Treponema pallidum (syphilitic spirochete) in the brain of a progressive paralysis patient, proving that the spirochete was the cause of the disease. Dr. Noguchi's name is remembered in the binomial attached to another spirochete, Leptospira noguchii.
In 1918, Noguchi traveled extensively in Central America and South America to do research for a vaccine for yellow fever, and to research Oroya fever, poliomyelitis and trachoma. He believed that yellow fever was caused by spirochaete bacteria instead of a virus, and spent much of the next ten years attempting to prove this theory. His work on yellow fever was widely criticized as taking an inaccurate approach which was contradicting contemporary research, and confusing yellow fever with other pathogens. In 1927-28 three different papers appeared in medical journals which discredited his theories. Happily, it turned out he had confused yellow fever with leptospirosis, and his "yellow fever" vaccine was successfully used to treat the latter disease.


Death
In 1928, Noguchi traveled to Africa in an attempt to prove his findings about yellow fever. While working in Accra, Gold Coast (modern-day Ghana) he died from yellow fever on May 21, 1928,his last words being "I don't understand.


Impact
Noguchi is still famous for his pioneering work, although later research was not able to reproduce many of his claims including having discovered the causes of polio, rabies, syphilis, trachoma, and yellow fever. In part, this was due to the early stage of research on such diseases, as virology and bacteriology were not fully separated until the appearance of electron microscopes. In 1928, when Noguchi died: "the nature of any filterable virus (was)... entirely unknown and the group of virus diseases...was loosely held together by the threat of filterability of the active agents. To be fair, one should accept that he conducted his research on yellow fever at a period in which virology itself was not defined and delienated."  Noguchi's most famous contribution is his identification of the causative agent of syphillis (the bacteria Treponema pallidimn) in the brain tissues of patients suffering from partial paralysis due to meningoencephalitis. Other lasting contributions include the use of snake venom in serums, the identification of the leishmaniasis pathogen and of Carrion's disease with Oroya fever. Cricitisms of his work are that: His finding that Noguchia granulosis causes trachoma was questioned within a year of his death, and overturned shortly thereafter. His identification of the rabies pathogen was wrong,] because the medium he invented to cultivate bacteria was seriously prone to contamination. Overall, Noguchi's contribution should be evaluated by the methods and laboratories available then.

Selected works
1904: The Action of Snake Venom Upon Cold-blooded Animals.
Washington, D.C.: Carnegie Institution. [OCLC 2377892]
1909: Snake Venoms: An Investigation of Venomous Snakes with Special Reference to the Phenomena of Their Venoms.
Washington, D.C.: Carnegie Institution. [OCLC 14796920]
1911: Serum Diagnosis of Syphilis and the Butyric Acid Test for Syphilis.
Philadelphia: J. B. Lippincott. [OCLC 3201239]
1923: Laboratory Diagnosis of Syphilis: A Manual for Students and Physicians.
New York: P. B. Hoeber. [OCLC 14783533]

Honors during Noguchi's lifetime
Noguchi was honored with both Japanese and foreign decorations. He received honorary degrees from a number of universities.
He was self-effacing in his public life, and he often referred to himself with naive objectiveness, as "funny Noguchi;" but those who knew him well reported that he "gloated in honors." When Noguchi was awarded an honorary doctorate at Yale, William Lyon Phelps observed that the Kings of Spain, Denmark and Sweden had conferred awards, but "perhaps he appreciates even more than royal honors the admiration and the gratitude of the people."
Kyoto Imperial University - Doctor of Medicine, 1909.
Order of Dannebrog, 1913 (Denmark).
Order of Isabella the Catholic, 1913 (Spain).
Order of the Polar Star, 1914 (Sweden).
Tokyo Imperial University - Doctor of Science, 1914.
Order of the Rising Sun, Gold Rays with Rosette, 1915.
Imperial Award, Imperial Academy (Japan) - 1915.
Central University of Ecuador, 1919 - (Ecuador).
National University of San Marcos, 1920 - (Peru)
Medicine School of Merida - "Doctor Honoris Causa en Medicina y Cirugía", 1920 - (México)
University of Guayaquil, 1919 - Ecuador.
Yale University, 1921 - (United States).

Posthumous honors
Noguchi's remains were returned to the United States and buried in New York City's Woodlawn Cemetery.
In 1928, the Japanese government awarded Noguchi the Order of the Rising Sun, Gold and Silver Star, which represents the second highest of eight classes associated with the award.
In 1979, the Noguchi Memorial Institute of Medical Research (NMIMR) was founded with funds donated by the Japanese government. The Institute is located at the University of Ghana in Legon, a suburb north of Accra.
Dr. Noguchi's portrait has been printed on Japanese 1000 yen banknotes since 2004.[28] In addition, the house where he was born and brought up is preserved and is part of a museum to his life and its achievements near Inawashiro.
Noguchi's name is honored at the Centro de Investigaciones Regionales Dr. Hideyo Noguchi at the Universidad Autónoma de Yucatán.

Human experimentation
In 1911 and 1912 at the Rockefeller Institute in New York City, Noguchi was working to develop a syphilis skin test similar to the tuberculin skin test. The subjects were recruited from clinics and hospitals in New York. In the experiment, Noguchi injected an extract of syphilis called luetin under the subjects' upper arm skin. Skin reactions varied among healthy subjects and syphilis patients by the disease's stage and its treatment. Of the 571 subjects, 315 had syphilis. The remaining subjects were "controls" who did not have syphilis and were orphans or hospital patients. The hospital patients had nonsyphilitic diseases, such as malaria, leprosy, tuberculosis, and pneumonia. Finally, of the controls, were normal individuals, mostly children between the ages of 2 and 18 years. Critics at the time noted that Noguchi violated the rights of orphans and hospital patients.
In Noguchi's defense, Rockefeller Institute business manager Jerome D. Greene wrote a letter to the anti-vivisection society which had protested the experiment. Greene pointed out that Noguchi had tested the extract on himself before administering it to subjects, and his fellow researchers had done the same. Nevertheless, in May 1912 the New York Society for the Prevention for Cruelty to Children asked the New York district attorney to press charges against Noguchi; he declined.