วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 27, 2554
วันศุกร์, พฤศจิกายน 18, 2554
ทำไมเราถึงต้องเรียนฝรั่งเศสโดยพบกับ...10 เหตุผลที่ควรเรียนภาษาฝรั่งเศส
ภาษา ต่างประเทศล้วนเป็นสิ่งมีคุณค่าในตัวภาษาเอง ส่วนที่ว่าเรียนแล้วจะใช้สื่อสารได้แค่ไหนคงต้องขึ้นอยู่กับความตั้งใจ ความมุ่งมั่น การฝึกฝนจนชำนาญของผู้เรียน และนี่คือ 10 เหตุผลที่ควรเรียนภาษาฝรั่งเศส
1. ภาษา สนทนาแห่งโลก ผู้คนจำนวนมากว่า 200 ล้านคนใน 5 ทวีปสนทนาโดยใช้ภาษาฝรั่งเศส ประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสทั้ง 68 ประเทศและรัฐบาลต่างรวมกลุ่มกัน ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาต่างประเทศที่เข้าใจกันอย่างกว้างขวางรองมาจากภาษา อังกฤษและเป็นภาษาที่มีการใช้ในการสนทนามากเป็นลำดับที่ 9 ของโลก
2. ภาษา เพื่อการสรรหาอาชีพ การสนทนาภาษาฝรั่งเศสและภาษาอังกฤษเป็นคุณสมบัติโดดเด่นทุกหนทุกแห่งสำหรับ โอกาสในการหาอาชีพในตลาดอาชีพสากล ทั้งในประเทศฝรั่งเศสเองหรือประเทศอื่นที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส (แคนาดา สวิสเซอร์แลนด์ เบลเยี่ยม และทวีปแอฟริกา) ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศในลำดับที่ 5 ของโลกที่มีอำนาจในทางพาณิชย์และเป็นประเทศในลำดับที่ 3 ในการต้อนรับนักลงทุนชาวต่างชาติ
3. ภาษาแห่งวัฒนธรรม ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาสากลสำหรับเรื่องอาหาร แฟชั่น ภาพยนตร์ ศิลปะ เต้นรำ และการออกแบบ การรู้จักภาษาฝรั่งเศสสามารถเข้าถึงในการเข้าใจต้นแบบของวรรณกรรมฝรั่งเศส รวมทั้ง ภาพยนตร์ บทเพลง และวรรณกรรมของประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสอื่นๆ ด้วย ได้แก่ ผลงานของ Victor Hugo, Molière, Edith Piaf, Sartre หรือ นักฟุตบอลอย่าง Zinedine Zidane…
4. ภาษาเพื่อการเดินทาง ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีผู้มาเยือนมากกว่า 70 ล้านคนต่อปี และสถานที่ที่น่าเยี่ยมชม คือ ปารีส และ ทุกแคว้นของประเทศฝรั่งเศส ความรู้ในภาษาฝรั่งเศสเปิดโอกาสให้เข้าใจวัฒนธรรม ความคิด และวิถีชีวิตของคนฝรั่งเศส และประเทศอื่นๆที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสได้ดียิ่งขึ้น
5. ภาษาเพื่อการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย ความรู้ ความเข้าใจภาษาฝรั่งเศส จะสามารถศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง สถาบันการศึกษาชั้นสูง ชั้นนำระดับโลกในฝรั่งเศสได้ ในระดับ มหาวิทยาลัยนี้ รัฐบาลยังมีทุนการศึกษาหลายทุนสำหรับนักเรียนที่เรียนดีอีกด้วย
6. ภาษาเพื่อความสัมพันธ์นานาชาติ ภาษา ฝรั่งเศสเป็นภาษาแห่งโอกาสในการทำงาน และภาษาทางการของสหประชาชาติ สหภาพ ยุโรป ยูเนสโก้ องค์การนาโต้สภาโอลิมปิกสากล ฯลฯ ภาษาใน 3 เมืองสำคัญของยุโรป Strasbourg , Bruxelles และ Luxembourg
7. ภาษา สำหรับการเปิดโลกทัศน์ นอกจากอังกฤษและภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่ 3 ในอินเตอร์เน็ต การเข้าใจในภาษาฝรั่งเศส สามารถเข้าใจในโลกการสื่อสารกับต่างประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสทั่วทุกทวีป และการรู้ข่าวสาร ระหว่างประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส
8. ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่ง่ายต่อการเข้าใจ มีวิธีมากมายที่จะสนุกกับการเรียนรู้ภาษาฝรั่งเศสทั้งเด็กและผู้ใหญ่ และสามารถใช้ภาษาฝรั่งเศสในการสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว
9. การ เข้าใจภาษาฝรั่งเศสช่วยในการเข้าใจภาษาอื่น โดยเฉพาะภาษาที่มีรากศัพท์มาจาภาษาละติน 50% ของคำศัพท์ภาษาอังกฤษในปัจจุบันมีส่วนคล้ายกับภาษาฝรั่งเศส
10. ภาษา แห่งความรักและจิตวิญญาณ การเข้าใจภาษาฝรั่งเศสเป็นความสุขในการเข้าใจภาษาที่สวยงาม ไพเราะ ซึ่งถูก เรียกว่าเป็นภาษาแห่งความรัก ภาษาฝรั่งเศสยังเป็นภาษาแห่งการวิเคราะห์ ที่ มีโครงสร้างให้เกิดความคิด พิจารณา วิพากษ์วิจารณ์ และสามารถใช้ในการ ปรึกษา เจรจา และการต่อรอง
วันพุธ, พฤศจิกายน 16, 2554
เฟอร์ดินานด์ แมกเจลแลน
เส้นทางเดินเรือรอบโลกของแมกเจลแลน
เฟอร์ดินานด์ แมกเจลแลน (โปรตุเกส: Fernão de Magalhães; สเปน: Fernando de Magallanes; อังกฤษ: Ferdinand Magellan; ประมาณ พ.ศ. 2023 – 27 เมษายน 2064) เป็นนักเดินเรือชาวโปรตุเกส
เกิดที่เมืองซาโบรซาหรือโปร์ตู ประเทศโปรตุเกส หลังรับราชการทหารที่อินเดียตะวันออกและที่โมร็อกโก มาเจลลันได้เสนอตัวทำงานให้กับประเทศสเปน
มาเจลลันได้เดินเรือออกจากเมืองเซวิลล์ในปี พ.ศ. 2062 เลาะไปตามชายฝั่งของ อเมริกาใต้ (แหลมเวอร์จิ้น) จนถึงมหาสมุทรที่มาเจลลันตั้งชื่อว่า "แปซิฟิก" ในปี พ.ศ. 2063
แมกเจลแลนถูกฆ่าตายในฟิลิปปินส์ แต่เรือของเขาก็ได้เดินทางกลับไปถึงสเปนในปี พ.ศ. 2065 ซึ่งเป็นการบรรจบรอบของการเดินทางรอบโลกเป็นครั้งแรก
ชื่อของช่องแคบมาเจลลันเป็นการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่เขา
เฟอร์ดินันด์ แมกเจลลัน มีชีวิตอยู่ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พระเชษฐาธิราช) สมัยอยุธยา
ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เส้นทางเดินเรือรอบโลกของแมกเจลแลน
เฟอร์ดินานด์ แมกเจลแลน (โปรตุเกส: Fernão de Magalhães; สเปน: Fernando de Magallanes; อังกฤษ: Ferdinand Magellan; ประมาณ พ.ศ. 2023 – 27 เมษายน 2064) เป็นนักเดินเรือชาวโปรตุเกส
เกิดที่เมืองซาโบรซาหรือโปร์ตู ประเทศโปรตุเกส หลังรับราชการทหารที่อินเดียตะวันออกและที่โมร็อกโก มาเจลลันได้เสนอตัวทำงานให้กับประเทศสเปน
มาเจลลันได้เดินเรือออกจากเมืองเซวิลล์ในปี พ.ศ. 2062 เลาะไปตามชายฝั่งของ อเมริกาใต้ (แหลมเวอร์จิ้น) จนถึงมหาสมุทรที่มาเจลลันตั้งชื่อว่า "แปซิฟิก" ในปี พ.ศ. 2063
แมกเจลแลนถูกฆ่าตายในฟิลิปปินส์ แต่เรือของเขาก็ได้เดินทางกลับไปถึงสเปนในปี พ.ศ. 2065 ซึ่งเป็นการบรรจบรอบของการเดินทางรอบโลกเป็นครั้งแรก
ชื่อของช่องแคบมาเจลลันเป็นการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่เขา
เฟอร์ดินันด์ แมกเจลลัน มีชีวิตอยู่ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พระเชษฐาธิราช) สมัยอยุธยา
ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วันอังคาร, พฤศจิกายน 08, 2554
พ.ศ.นี้ เรียนภาษาไหน ถึงจะรุ่ง
เท่าที่พี่มิ้นท์รู้ว่าเนี่ย ตอนนี้หลายๆ โรงเรียนก็พยายามเพิ่มหลักสูตรสายศิลป์-ภาษา หรือเพิ่มรายวิชาเลือกที่เกี่ยวกับภาษามากขึ้น พี่มิ้นท์มองว่ามันดีมากๆ เลย แต่ตัวเลือกที่มันเยอะๆ แบบนั้น เชื่อว่าน้องๆ คงเลือกเรียนกันไม่ถูก คงได้แต่เลือกตามใจชอบ ถ้าอยากเรียนก็เรียน ไม่อยากเรียนฉันก็ไม่เรียน ดังนั้น วันนี้พี่มิ้นท์จะมาแนะนำภาษาที่สามให้น้องๆ ได้เลือกเรียนกัน ไว้เผื่อเลือกเรียนต่อ ม.4หรือเรียนต่อในมหาวิทยาลัยก็ได้
ภาษาจีน ประเทศยักษ์ใหญ่ระดับโลก มีอิทธิพลต่อโลกหลายอย่าง ที่สำคัญ คือ เรื่องของการค้า เรียกได้ว่าเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของโลกเลยก็ว่าได้ ดังนั้นภาษานี้น่าเลือกมากๆ สำหรับคนที่อยากมีธุรกิจส่วนตัว ส่วนตัวแล้วมองว่าเป็นภาษาที่ยาก เขียนยาก อ่านยาก และท่องจำเยอะมากกก แต่ถ้าได้ภาษานี้ขึ้นมาก็คุ้มค่ามากๆ เลยล่ะ และถ้าพูดกันตามตรง ภาษานี้ก็เริ่มเกลื่อนแล้ว เพราะเป็นภาษาแรกๆ
ที่เปิดสอนเป็นภาษาที่สามในโรงเรียน ถ้ายังคิดว่ามันยาก ไปดูภาษาต่อไปกันเลย
ภาษาญี่ปุ่น หลายๆ คนอยากเรียนภาษานี้เพราะเป็นภาษาที่น่ารัก เมืองเค้าน่าเที่ยว และหวังว่าซักวันนึงจะได้ไปใช้ภาษาญี่ปุ่นที่ประเทศญี่ปุ่น แต่ความเป็นจริงแล้วภาษานี้ก็ไมได้ด้อยไปกว่าภาษาอื่นเลย แต่คนเลือกเรียนน้อยกว่าภาษาจีนก็เพราะว่ายากและจำเยอะเหมือนกัน ถ้าเรียนภาษานี้ต้องขอบอกว่าทำงานได้หลากหลายมากๆ เป็นล่ามแปลการ์ตูน แปลหนังสือ ยิ่งตอนนี้เนี่ยบริษัทญี่ปุ่นมาเปิดในไทยค่อนข้างมาก ธุรกิจของญี่ปุ่นจะเติบโตเร็ว มั่นคงและสวัสดิการดีมากๆ และรู้ๆ กันอยู่ว่าคนญี่ปุ่นจะพูดภาษาอังกฤษไม่ค่อยได้ ดังนั้นจะพูดภาษาไทยไม่ได้ด้วยก็คงไม่แปลก ดังนั้นถ้าเราได้ภาษาญี่ปุ่นและทำงานในองค์กรญี่ปุ่น(แม้จะอยู่ในประเทศไทยก็ตาม) รับรองว่ารวยเละ!!
พี่มิ้นท์เคยเรียนภาษาญี่ปุ่นมาประมาณ 5 ปีค่ะ และเคยมีโอกาสไปแลกเปลี่ยนที่ประเทศญี่ปุ่นด้วย (แต่ไปแค่สองอาทิตย์เองง่ะ) เท่าที่สัมผัสมานะ ที่นั่นเค้าไม่พูดภาษาอังกฤษกันเลยค่ะ แต่บางคนก็พยายามนะ ยิ่งพยายามยิ่งฟังยาก ดังนั้นถ้าคิดจะไปเที่ยวประเทศนี้ ในส่วนที่ไม่ใช่เมืองใหญ่ๆ เตรียมตัวใช้ภาษาใบ้ได้เลย
ภาษาเกาหลี เป็นอีกหนึ่งภาษาในโซนเอเชียที่กำลังเป็นที่นิยม ทั้งหมดมันเริ่มต้นมาจากเกาหลีฟีเวอร์ทั้งดารา นักร้อง ซีรีย์ ฯลฯ แล้วเด็กไทยก็คลั่งไคล้แบบลืมชีวิต ความชื่นชอบทำให้หลายคนรู้สึกอยากเรียนภาษาขึ้นมา และปัจจุบันคนไทยก็เรียนภาษานี้เพิ่มขึ้น บางโรงเรียนก็เริ่มมีสอนแล้วด้วย ถ้าโรงเรียนใครไม่มี แต่อยากเรียน อาจจะต้องหาที่เรียนเพิ่มกันเองแล้วล่ะค่ะ
ภาษาเยอรมัน บางโรงเรียนก็มีภาษาเยอรมันเปิดสอน หรือหาเรียนเพิ่มเติมกันในตอนมหาวิทยาลัยก็ได้ ภาษานี้ยังไม่ใช่ภาษาที่ป๊อบ แต่น่าเลือกเรียนเพราะว่าความไม่ป๊อบนี่แหละค่ะ แม้ว่าคนเยอรมันจะสื่อสารภาษาอังกฤษได้ แต่จะดีแค่ไหนถ้าเราได้ไปทำงานในเมืองเค้า และใช้ภาษาเค้าได้ ดังนั้นความที่ยังไม่ป๊อบ เราก็จะเป็นคนกลุ่มน้อยที่เรียน ซึ่งโอกาสในการหางานทำและได้เงินดีๆ นั้นมีมากทีเดียว อีกอย่างก็เป็นประเทศที่น่าอยู่และเศรษฐกิจก็ดีด้วย
ภาษาสเปน น้องๆ คงสงสัยว่าภาษานี้น่าเรียนตรงไหน จริงๆ แล้วภาษานี้เป็นภาษาที่มีคนเรียนมากเป็นอันดับที่2 ของโลกรองจากภาษาอังกฤษ และเป็นภาษาที่คนใช้เป็นภาษาแม่มากที่สุดในโลกรองจากภาษาจีนกลางอีกด้วย เป็นอีกหนึ่งภาษาที่น่าเรียนและสนุก ส่วนภาษาที่คล้ายๆ กันในกลุ่มนี้ ก็เช่น ภาษาโปรตุเกส ภาษาฝรั่งเศส(แต่เค้าว่ากันว่าสเปนง่ายกว่าภาษาฝรั่งเศสมาก) ถ้าน้องๆ ได้มีโอกาสเดินทางหรือไปทำงานในแถบยุโรป มีภาษานี้ไม่ผิดหวังแน่นอน อ้อที่สำคัญ เป็น 1ใน 6 ภาษาทางการขององค์การสหประชาชาติด้วยนะ
ภาษารัสเซีย เค้าว่ากันว่าภาษานี้กำลังมาแรง ถึงขนาดมหาวิทยาลัยแห่งนึงเปิดสอนเป็นรัสเซียศึกษาและมีภาษารัสเซียให้เรียนกันเลยทีเดียว ความต้องการคนที่รู้ภาษานี้มีมาก ในขณะที่คนไทยรู้ภาษานี้น้อย ทำให้โอกาสในการทำงานมีสูงมากๆๆๆ แต่ก็เป็นอีกภาษานึงที่เรียนยากทีเดียว คนพูดเร็วกันติดจรวด ดังนั้น ต้องขยันท่องศัพท์ให้มากๆ ตั้งใจเรียนเพื่ออนาคตนะคะ (ภาษารัสเซียก็เป็นภาษาทางการขององค์การสหประชาชาติเหมือนกัน)
ภาษาเวียดนาม เขมร มาเลเซีย ไม่ได้มาแนะนำกันมั่วซั่วนะคะ อย่าเพิ่งมองว่าเป็นภาษาที่ไม่น่าเรียน ภาษาของประเทศเพื่อนบ้านเราจะสำคัญในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าด้วยเหตุผลที่ว่า บทบาทของประชาคมอาเซียนจะมีมากขึ้น ซึ่งการมีกลุ่มประชาคมอาเซียนเข้ามา จะทำให้ประเทศในกลุ่มอาเซียนมีความเสรีกันมากขึ้น ทั้งการทำงาน ภาษา วัฒนธรรม ตอนนี้กลุ่มประเทศรอบๆ เพื่อนบ้านเราเค้าก็เริ่มเรียนภาษาไทยกันแล้ว คิดดูแล้วกันว่าอีกหน่อยเปิดแบบเสรีขึ้นมาจริงๆ ประเทศเพื่อนบ้านเค้าได้ภาษาเราก็มาทำงานในบ้านเรา มาแย่งงานเรา ถ้าเราไม่ได้ภาษาอื่น(ภาษาอังกฤษก็ไม่ได้) และฝีมือด้อยกว่าก็ตกงานนะจ๊ะ เอาเป็นว่าภาษากลุ่มประเทศเพื่อนบ้านของเราน่าเรียนมากๆ เพื่ออนาคตล้วนๆ นอกจากนี้เวลาไปเที่ยวจะได้สบายด้วย เพราะสื่อสารกันได้
แนะนำกันไปขนาดนี้ ใครสนใจภาษาไหนบ้าง ตอนนี้พี่มิ้นท์รู้สึกอยากเรียนภาษาสเปนอะ ว่างๆ หาโอกาสไปเรียนดีกว่า :) สุดท้ายอยากย้ำกับน้องๆ ทุกคนว่า ภาษาเป็นสิ่งสำคัญมากๆ ในสมัยนี้ เราจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจกันก็ด้วยภาษาที่เราสื่อสาร และมันจะมีอิทธิพลต่อเรามากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งหน้าที่การงาน รายได้ ฯลฯ ดังนั้นทุกภาษามีความสำคัญเท่ากันหมด ถ้าเรารู้จักนำภาษานั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์จริงๆ
ปล1. ในการสอบPAT หมวดภาษาต่างประเทศ มีภาษาให้เลือก คือ จีน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เยอรมัน อาหรับ และบาลี ปล2. พี่มิ้นท์เคยเรียนภาษาฝรั่งเศสด้วย ยากมาก เรียนไม่ไหว ฮ่าๆ ใครมีประสบการณ์เรียนภาษาไหนบ้าง มาแชร์กัน
ที่มา เด็กดี ขอบคุณค่าาา
5 วิธี! เก็บหนังสือไม่ให้เปียก ในวิกฤตน้ำท่วม!
1.ย้ายขึ้นที่สูง วิธีเบสิคมากๆ สำหรับคนที่มีบ้านหลายชั้น ลงแค่แรงเพียงอย่างเดียว อยากให้ปลอดภัยแค่ไหน ก็ไว้สูงเท่าที่จะขนขึ้นไปได้ อันนี้น้องๆ ก็ต้องตามข่าวนะคะว่าพื้นที่ของเราเสี่ยงน้ำท่วมกี่เมตร จริงๆ แล้ว แค่ชั้น 2-3 ก็น่าจะรอดแล้วค่ะ
สำหรับใครที่ไม่สามารถย้ายไปไหนได้จริงๆ อาจจะด้วยอยู่บ้านชั้นเดียว หรือเก็บไว้ในตู้แล้วหนังสือเยอะมาก หรือชั้น 2 ขนของขึ้นไปเก็บจนเต็มแล้วก็ตาม ถ้าจำเป็นต้องให้มันจมจริงๆ ลองดูวิธีเหล่านี้ดูค่ะ
2.หุ้มด้วยถุงพลาสติกหลายๆ ชั้น ย้ำว่าหลายๆ ชั้น มัดให้แน่นหนา ก่อนนำมาใช้ก็ดูให้ดีว่าถุงไม่รั่ว ที่สำคัญควรเป็นถุงที่มีความหนาหน่อย เพราะไม่งั้นเกี่ยวนู่นเกี่ยวนี่อาจจะขาดได้ง่ายๆ ถุงหนาๆ จะกันน้ำไปในตัวด้วย(เคยเห็นมั้ย ถุงหนาๆ เวลาโดนน้ำ น้ำจะจับเป็นก้อนไหล แต่ถุงไม่เปียก) เป็นวิธีที่ใช้งบน้อย แต่ก็ได้ผลเหมือนกันสำหรับใครที่ไม่สามารถย้ายไปไหนได้จริงๆ อาจจะด้วยอยู่บ้านชั้นเดียว หรือเก็บไว้ในตู้แล้วหนังสือเยอะมาก หรือชั้น 2 ขนของขึ้นไปเก็บจนเต็มแล้วก็ตาม ถ้าจำเป็นต้องให้มันจมจริงๆ ลองดูวิธีเหล่านี้ดูค่ะ
3.ใส่ถุงใส่กับข้าว วิธีนี้อาจจะสิ้นเปลืองหน่อย ให้เราเอาหนังสือใส่ถุงกับข้าวทีละเล่ม พับส่วนที่เกินให้เรียบร้อย แล้วใช้สก็อตเทปพันปิดปากถุงให้สนิท หนึ่งถุงต่อหนึ่งเล่มค่ะ ถ้าเราพันถุงไว้แน่นหนาพอ น้ำก็ไม่เข้าแน่นอน ถ้าเกิดน้ำท่วมขึ้นมาจริงๆ ก็สามารถลอยได้ด้วย เพราะหนังสือเล่มเดียวมันจะเบากว่าการแพ็คใส่ลัง
4.ใส่ลังพลาสติก แบบมีฝาล็อค แบบที่แม่ค้าขนเสื้อผ้าไปขายของ พอปิดฝาแล้วก็ยิงกาวซิลิโคนรอบๆ ฝาปิด แล้วใส่ถุงมัดให้แน่น กาวซิลิโคนราคาหลอดละไม่เกิน 200 บาท หวังว่าคงไม่ใจดำขึ้นราคากันนะ T^T ตอนนี้ก็ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า เพราะใช้ติดแน่นกันน้ำได้ผลดีจริงๆ หรือถ้าหาซื้อลำบาก ใช้สก็อตเทปแแบบเหนียวๆ ทนๆ พันไว้รอบๆ หลายๆ รอบ
แต่ถ้าหนังสือที่ใส่กล่องไม่เต็ม ก็ยัดถุงพลาสติกเข้าไปด้วยก็ได้ ซึ่งคุณสมบัติของลังพลาสติกก็จะหนาแน่น กันน้ำเข้าได้แน่นอน ยิ่งยิงกาวซิลิโคนที่กันน้ำเข้าไปอีก ใส่ถุงอีกครั้ง รับรองน้ำหน้าไหนก็ไม่เข้ากล่องซักหยด
5.ถ้าหนังสืออยู่ในตู้ที่มีฝาหรือประตูปิด ก็ใช้วิธีเดียวกัน คือ ใช้กาวซิลิโคน ยิงรอยต่อ/ ขาพับ ของตู้ให้หมดทุกด้าน รับรองว่าหนังสือก็ไม่เปียก แต่แนะนำเพิ่มเติมว่าควรหาอะไรหนุนใต้ตู้ให้สูงซักหน่อย เพราะถ้าเป็นไม้ ตู้อาจจะเสียได้นะ
ที่มา เด็กดี ขอบคุณค่าาา
วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 03, 2554
หนังไทยขาดวิตามินเอ็ม (มันนี่) ไม่ตายก็เลี้ยงไม่โต
มีโอกาสไปดูภาพยนตร์หรือเรียกกันง่าย ๆ ว่า “หนัง” หลายเรื่องทั้งหนังไทย หนังเทศ ล่าสุดได้ไปชมหนังคนโขน ร่วมกับ นางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เห็นแล้วก็ชื่นชมผู้สร้างที่มีหัวใจไทย อยากถ่ายทอดความเป็นไทยให้คนไทยภาคภูมิใจกัน
มาถึงเรื่องของการส่งเสริมอุตสาห กรรมภาพยนตร์กัน บทบาทหน้าที่นี้ เป็นของ กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ซึ่งเรื่องของการสนับสนุนเกี่ยวกับภาพยนตร์ จะเป็นภารกิจของ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) ซึ่งที่ผ่านมาผู้บริหารวธ.ได้พยายามผลักดันการส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ทั้งกลุ่มของผู้กำกับหน้าใหม่ ภาคเอกชน แต่งบประมาณที่รัฐบาลสนับสนุนแต่ละครั้ง เพียงแค่ระดับร้อยล้านบาทเท่านั้น!!!!
ในปีงบประมาณ 2555 วธ.ได้เสนอของบประมาณสนับสนุนอุตสาหกรรมภาพยนตร์จำนวน 500 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นงบประมาณ สนับสนุนด้านอุตสาหกรรมภาพยนตร์ 400 ล้านบาท และพัฒนาบทภาพยนตร์ 100 ล้านบาท ถือว่า เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ภาครัฐเห็นความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวมากขึ้น เพราะอุตสาหกรรมภาพยนตร์นำรายได้เข้าสู่ประเทศมากโขอยู่ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ เช่น สาธารณรัฐเกาหลีที่ให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไม่ต่ำกว่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไม่ใช่เงินวอนหรือเงินบาท ลองคิดดูว่า เขาจะพัฒนาอุตสาหกรรมของเขาได้มากขนาดไหน เพียงแค่ส่งละครเกาหลีมาขายในบ้านเราก็รวยอื้อซ่ากันแล้ว
ล่าสุดได้อ่านข้อมูลจากนิตยสาร อาร์ตสแควร์ ของ สศร.พบข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติอย่างน่าสนใจ จึงอยากนำมาสะท้อนให้ทุกฝ่ายและอยากให้รัฐบาลเห็นความสำคัญของการส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ โดยเฉพาะการจัดเทศกาลภาพยนตร์ประจำของประเทศไทย ที่ทุกวันนี้ ไร้งบประมาณและไม่มีการวางแผนการจัดงานอย่างจริงจังทำให้ งานเทศกาลภาพยนตร์ของไทยต้องชะงักงันไป
ซึ่งในข้อมูลของอาร์ตสแควร์ ระบุไว้ว่า เทศกาลหนังที่สำคัญของโลก โดยเฉพาะในยุโรป จะมีเทศกาลภาพยนตร์เมือง คานส์ สาธารณรัฐฝรั่งเศส เป็นเทศกาลหนังเบอร์หนึ่งของโลก หนังที่จะฉายที่นั่นได้จะต้องห้ามฉายที่อื่นก่อน (ยกเว้นเฉพาะประเทศของผู้กำกับนั้น ๆ) จะเป็นเทศกาลหนังที่เน้นตัวผู้กำกับ ผลงานของผู้กำกับชั้นนำของโลก โดยเทศกาลภาพยนตร์ที่เมืองคานส์มักจะได้รับการยอมรับมากกว่าเทศกาลอื่น ส่วนที่รองลงมาจากคานส์ จะเป็นงานเทศกาลภาพยนตร์ เวนิส และงานเทศกาลภาพยนตร์ เบอร์ลิน ซึ่งก็ถือว่าเป็นเทศกาลภาพยนตร์ที่มีความเก่าแก่เช่นกัน
ในส่วนของสหรัฐอเมริกา เทศกาลภาพยนตร์ โตรอนโต ชื่ออาจจะไม่ค่อยคุ้นหูคนไทยนัก แต่เป็นงานที่ใหญ่สุดในอเมริกาเหนือ ซึ่งสหรัฐอเมริกาไม่มีเทศกาลหนังที่มีความสำคัญระดับโลก จึงทำให้โตรอนโตเป็นเทศกาลสำคัญที่จะทำให้เข้าถึงตลาดหนังอเมริกันไปด้วย และถ้าภาพยนตร์เรื่องใดเป็นที่สนใจของที่นั่น นั่นก็หมายถึงตลาดทั่วโลกด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม เทศกาลที่โด่งดังมากที่สุดในสหรัฐ จะเป็นเทศกาลหนังอินดี้ที่ชื่อ ซันแดนซ์ เคยมีความสำคัญในช่วงทศวรรษ 1990 แต่เมื่อหนังอินดี้อเมริกาเสื่อมคลาย จึงทำให้ลดบทบาทเป็นเพียงงานระดับประเทศเท่านั้น
ขณะที่งานเทศกาลภาพยนตร์ ร็อตเตอร์ดัม ซึ่งจัดขึ้นปลายเดือนมกราคมของทุกปีที่เนเธอร์แลนด์ ก็ให้ความสำคัญกับหนังอินดี้จากทั่วทุกมุมโลก กลับมีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะชื่อเสียงในการค้นพบผู้กำกับหน้าใหม่ที่จะโด่งดังในอนาคต ร็อตเตอร์ดัมสนับสนุนผู้กำกับอินดี้แทบทุกรูปแบบ ไม่เพียงแต่ฉายหนังเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการให้ทุนทำหนังที่ชื่อฮูเบิร์ตบอลล์ฟันด์ และเทศกาลหนังนี้แหละที่เป็นผู้สนับสนุนภาพยนตร์เรื่องแรก ดอกไม้ในมือมาร (Mysterious Object at Noon) ของ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ตั้งแต่เพิ่งเรียนจบใหม่ ๆ จากชิคาโก...ผู้กำกับสำคัญล่าสุดของไทยอย่าง อาทิตย์ อัสสรัตน์ อโนชา วีระเศรษฐกุล และ ศิวโรจน์ คงสกุล ล้วนเกิดจากการชนะรางวัลที่เทศกาลหนังนี้ด้วยกันทั้งสิ้น
งานเทศกาลภาพยนตร์ โลคาร์โน ทางตอนใต้ของสวิตเซอร์แลนด์แห่งนี้ ก็กำลังเป็นที่จับตามองในขณะนี้ว่ามีความสำคัญอยู่ในลำดับที่ 4 รองจากคานส์ เวนิส และเบอร์ลิน จากเดิมที่มีความสำคัญเพียงในระดับภูมิภาคยุโรปนั้น หนังของผู้กำกับรุ่นเก่ารุ่นใหม่จะไปฉายโชว์และประกวดที่นั่นทุกเดือนสิงหาคม
สำหรับในเอเชียนั้น คงจะต้องยกประโยชน์ให้กับ ฮ่องกง และ ปูซาน ในฐานะศูนย์กลางสำหรับเลือกหนังเอเชีย ฮ่องกงจัดขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1977 เพราะเป็นเวทีสำคัญที่จะเลือกงานจากประเทศจีน จากจุดที่เริ่มต้นก่อนประเทศใด ๆ ในเอเชียจึงกลายเป็นแม่เหล็กดึงนักท่องเทศกาลหนังจากทั่วโลกให้มาเยือน
ในช่วงห้าปีหลังที่ผ่านมา ปูซาน กลายเป็นเทศกาลหนังเอเชียที่มีความสำคัญอย่างรวดเร็วด้วยการจัดการที่เข้มแข็ง จุดเด่นของปูซานอยู่ตรงที่สามารถรวบรวมงานทุกอย่างเกี่ยวกับภาพยนตร์ไว้ได้หมด ทั้งฉายหนัง ตลาด การให้ทุนแก่ผู้กำกับอิสระ งานสัมมนาทั้งในเชิงอุตสาหกรรมและวิชาการ งานเลี้ยงต่าง ๆ จึงทำให้ปูซานได้รับความสนใจจากคนทุกมุมโลกที่หยิบยกงานเทศกาลต่าง ๆ มานำเสนอนั้น จะทำให้เห็นว่า การจัดงานเทศกาลทำให้เกิดการแข่งขันและเกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ที่สำคัญ จะทำให้มีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลมาชมหนังและแหล่งท่องเที่ยวในประเทศนั้น ๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งจะส่งผลในเรื่องของรายได้ที่จะเข้ามามหาศาลอีกด้วย
การพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของไทย นางสุกุมล ได้บอกไว้ว่า จะต้องมีการส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ให้ครอบคลุมทั้งหมด รวมทั้งจะต้องมีการพัฒนาบุคลากรด้านภาพยนตร์ของเราด้วย ซึ่งการนำไปร่วมงานเทศกาลต่าง ๆ ก็เป็นจุดหนึ่งที่เปิดตัวหนังไทย และผู้กำกับหน้าใหม่ ที่สำคัญล่าสุด สศร.กำลังดำเนินการโครงการส่งเสริมผลักดันให้เมืองที่มีศักยภาพเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองวัฒนธรรมสร้างสรรค์ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก ผลักดันให้เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ให้เป็นเครือข่ายเมืองวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ด้านภาพยนตร์ ของยูเนสโกด้วย
“เราจะต้องหารือกับทางรัฐบาลในการหางบประมาณมาสนับสนุนการจัดงานเทศกาลภาพยนตร์ของไทยและจะหางบประมาณมาสนับสนุนอุตสาหกรรมภาพยนตร์มากขึ้น ส่วนความคืบหน้าการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ เพื่อพัฒนาวงการภาพยนตร์ก็ได้ข้อสรุปแล้วว่าจะอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย พ.ศ. 2551 จัดตั้งกองทุนดังกล่าว โดยขณะนี้กำลังจัดทำรายละเอียดจัดตั้งกองทุน และอยู่ระหว่างดำเนินการของบฯปี 2555 ประมาณ 200 ล้านบาทมาเป็นทุนดำเนินการ” รมว.วัฒนธรรม กล่าว
อย่างไรก็ตาม บทบาทของการส่งเสริมภาพยนตร์ยังคงต้องดำเนินต่อไป และต้องแก้ปัญหาเรื่องงบประมาณที่เกิดขึ้น รวมทั้งต้องหารือกับทุกภาคส่วนโดยเฉพาะรัฐบาลและภาคเอกชนว่าจะทำอย่างไรให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์ของไทยนั้นเติบโตได้อย่างเข้มแข็งและมีความต่อเนื่องเหมือนกับประเทศอื่น ๆ บ้าง???.
มนตรี ประทุม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)